Content analysis ทําอย่างไร

การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพที่ถูกใช้อย่างกว้างขวาง มากกว่าการเป็นวิธีการเดี่ยว ๆ , การใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงแนวทางที่แตกต่างกันสามแนวทาง คือ conventional, directed และ summative โดยทั้งสามแนวทางถูกใช้เพื่อที่จะแปลความหมายจากเนื้อหาของข้อมูลที่เป็นตัวบท และดังนั้นจึงเป็นวิธีการที่ยึดติดอยู่กับกระบวนทัศน์ธรรมชาตินิยม (naturalistic paradigm) ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสามแนวทางเหล่านี้คือประเด็นของการให้รหัส (coding),ที่มาของการให้รหัส และภัยคุกคามต่อความเชื่อถือได้ (trustworthiness) ใน conventional content analysis นั้น การจัดกลุ่มการให้รหัสมาจากข้อมูลตัวบท (text data) โดยตรง ขณะที่ directed approach นั้น การวิเคราะห์จะเริ่มต้นด้วยทฤษฎีหรือข้อค้นพบจาการวิจัยที่เกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นการชี้นำสำหรับการให้รหัสเริ่มต้น ขณะที่ summative content analysis นั้นจะเกี่ยวข้องกับการนับ (counting) และการเปรียบเทียบ, คำสำคัญหรือเนื้อหา, และมักจะตามมาด้วยการตีความเกี่ยวกับตัวบทที่สำคัญ

การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นวิธีการวิจัยที่เข้ามาสู่การใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาทางด้านสุขภาพในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา บรรดานักวิจัยตระหนักถึงการวิเคราะห์เนื้อหาในฐานะที่เป็นวิธีการที่ยืดหยุ่นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลตัวบท การวิเคราะห์เนื้อหาบรรยายถึงกลุ่มของแนวทางของการวิเคราะห์ที่มีขอบเขตจาก impressionistic, intuitive, interpretative ไปสู่การวิเคราะห์เชิงระบบ, การวิเคราะห์เกี่ยวกับตัวบทที่เข้มงวดมากขึ้น รูปแบบเฉพาะของแนวทางการวิเคราะห์เนื้อหาถูกเลือกโดยนักวิจัยที่มีความหลากหลายตามความสนใจทางด้านทฤษฎีและสาระสำคัญของนักวิจัยและปัญหาที่กำลังถูกศึกษา แม้ว่าความยืนหยุ่นนี้ได้ทำให้การวิเคราะห์เนื้อหามีประโยชน์สำหรับนักวิจัยที่หลากลาย แต่การขาดคำนิยามที่ชัดเจนและกระบวนการที่ชัดเจนได้เป็นข้อจำกัดในการนำการวิเคราะห์เนื้อหาไปใช้

การแสดงให้เห็นความแตกต่างของกาวิเคราะห์เนื้อหามักถูกจำกัดต่อการจำแนกมันในฐานะที่เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ตลอดการวิเคราะห์มากขึ้นของแนวทางในที่ซึ่งการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพสามารถถูกใช้ได้นั้นจะแสดงให้เห็นประเด็นสำคัญสำหรับบรรดานักวิจัยที่จะพิจารณาในการออกแบบการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ไปที่การใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและกระบวนการวิเคราะห์ที่ถูกใช้ในแต่ละการศึกษา ดั้งนั้นจึงเป็นการหลีกเลี่ยงความยากที่จะเข้าใจของวิธีการ

ภูมิหลังเกี่ยวกับการพัฒนาการวิเคราะห์เนื้อหา

การวิเคราะห์เนื้อหามีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานในการวิจัย ย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 18 ในสแกนดิเนเวีย ในอเมริกานั้น การวิเคราะห์เนื้อหาถูกใช้ครั้งแรกในฐานะที่เป็นเทคนิคการวิเคราะห์เมื่อเริ่มต้นศตวรรษที่ 20 มรช่วงเริ่มต้นนั้น บรรดานัดวิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในฐานะที่เป็นทั้งวิธีการเชิงคุณภาพและวิธีการเชิงปริมาณในการศึกษาของพวกเขา ต่อมา การวิเคราะห์เนื้อหาถูกใช้อย่างสำคัญในฐานะที่เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ, ด้วยข้อมูลตัวบทที่ถูกให้รหัสเข้าสู่การจัดกลุ่มที่ชัดเจนและจากนั้นก็บรรยายโดยการสถิติ แนวทางนี้บางครั้งถูกอ้างอิงถึงในฐานะที่เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณของข้อมูลเชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพเป็นหนึ่งในวิธีการจำนวนมากที่ถูกใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นตัวบท วิธีการอื่น ๆ ประกอบไปด้วย การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนา ทฤษฎีฐานราก ปรากฏการณ์นิยม และการวิจัยประวัติศาสตร์ การวิจัยที่ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพให้ความสนใจไปที่ลักษณะของภาษาในฐานะที่เป็นการเสื่อสารกับความความสนใจต่อเนื้อหาหรือความหมายเกี่ยวกับตัวบทของตัวบท ข้อมูลที่เป็นตัวบทจะเป็นคำพูด สิ่งพิมพ์ หรือรูปแบบของอิเล็กทรอนิคส์ และอาจจะได้มากว่า narrative response, คำถามเชิงสำรวจแบบปลายเปิดการสัมภาษณ์ การทำประชุมกลุ่ม การสังเกต หรือสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น บทความ หนังสือ หรือ manual การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพไปไกลกว่าเพียงการนับคำเพื่อที่จะทดสอดภาษาอย่างเข้มข้นสำหรับเป้าเผ้าหมายของการจัดจำแนกตัวบทต่าง ๆ จำนวนมากเจ้าสู่จำนวนการจัดกลุ่มที่ประสิทธิภาพที่แสดงให้เห็นถึงความเหมายที่เหมือนกัน/คล้ายกัน การจัดกลุ่มต่างๆ เหล่านั้นสามารถแสดงให้เห็นถึงการสื่อสารที่ชัดเจนหรือการสื่อสารที่ถูกอนุมาน

“เป้าหมายของการวิเคราะห์เนื้อหา คือ การให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ภายใต้การศึกษา”

ในบทความนี้

“การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ถูฏนิยามในฐานะที่เป็น วิธีการวิจัยสำหรับการตีความเชิงอัตวิสัยของเนื้อหาของข้อมูลตัวบท ผ่านกระบวนการจัดกลุ่มเชิงระบบของการให้รหัสและการระบุประเด็นหรือแบบแผน”

การวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม (Conventional Content Analysis)

นักวิจัย ก. ใช้ Conventional Content Analysis เพื่อที่จะวิเคราะห์เนื้อหาในการศึกษา โดยทั่วไป Conventional Content Analysis ถูกใช้กับการศึกษาที่ออกแบบมาโดยมีเป้าหมายในการบรรยายปรากฏการณ์ ประเภทของการออกแบบนี้มักจะมีความเหมาะสมเมื่อทฤษฎีที่มีอยู่หรือวรรณกรรมการวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์มีอยู่จำกัด นักวิจัยหลีกเลี่ยงการใช้การจัดกลุ่มที่คิดไว้ล่วงหน้า แต่ยอมให้การจัดกลุ่มและการตั้งชื่อการจัดกลุ่มไหลออกมาจากข้อมูล นักวิจัยมีข้อมูลจำนวนมากที่จะทำให้ได้ความเข้าใจใหม่ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงบรรยายในฐานะเป็นการพัฒนาการจัดกลุ่มเชิงอุปนัย (inductive category development) วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจำวนมากมีแนวทางนี้ร่วมกันในการออกแบบการวิจัยและการวิเคราะห์

หากข้อมูลถูกรวบรวมเบื้องผ่านการสัมภาษณ์ คำถามปลายเปิดจะถูกใช้ การค้นหายังมีแนวโน้มที่จะเป็นปลายเปิดหรือเฉพาะเจาะจงต่อการให้ความเห็นของผู้มีส่วนร่วมมากกว่าทฤษฎีที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ เช่น “คุณสามารถบอกเราเกี่ยวกับสิ่งนั้นมากขึ้นได้หรือไม่?”

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มต้นด้วยการอ่านข้อมูลทั้งหมดอย่างซ้ำ ๆ เพื่อที่จะบรรลุถึงการแช่/การหมกมุ่นและการได้มาซึ่งความหมายทั้งหมด

จากนั้น ข้อมูลจะถูกอ่านคำต่อคำเพื่อที่จะได้มาซึ่งรหัส โดยการเน้นครั้งแรกถึงคำที่แท้จริงจากตัวบทที่ปรากฏอยู่เพื่อที่จะจับความคิดหรือแนวคิดที่สำคัญ

ต่อมา นักวิจัยจะเข้าถึงตัวบทโดยการสร้างการบันทึกความประทับใจแรก, ความคิดแรก, และการวิเคราะห์เริ่มต้น ขณะที่ขั้นตอนนี้ดำเนินไป, การติดป้าย (label) สำหรับรหัสที่เกิดขึ้นที่เป็นการสะท้อนเกี่ยวกับมากกว่าความคิดที่สำคัญความคิดเดียว การติดป้ายเหล่านี้มักมาโดยตรงจากตัวบทและจากนั้นจากการเป็นหัวข้อการให้รหัสเบื้องต้น จากนั้นรหัสจะถูกจัดประเภทเข้าสู่กลุ่มต่าง ๆ บนฐานที่ว่า รหัสที่แตกต่างกันเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันอย่างไร กลุ่มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ถูกใช้เพื่อที่จะจักระบบและจัดกลุ่มรหัสต่าง ๆ เข้าสู่คลัสเตอร์ที่มีความหมาย โดนทางอุดมคติแล้วจำนวนของคลัสสเตอร์จะอยู่ระหว่าง 10-15 เพื่อที่จะเก็บคลัสเตอร์ต่าง ๆ ให้กว้างพอที่จะจัดประเภทของรหัสจำนวนมาก

การขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มย่อย ๆ (subcategories) นักวิจัยสามารถที่จะรวมหรือจัดระบบกลุ่มย่อย ๆ จำวนมากเข้สกลุ่มย่อยที่มีจำนวนน้อยลง แผนภาพต้นไม้สามารถถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยในการจัดระบบกลุ่มต่างๆเหล่านี้เจ้าสู่โครงสร้างแบบลำดับชั้น ต่อมาการนิยามสำหรับแต่ละกลุ่ม, กลุ่มย่อย และรหัสจะถูกพัฒนาขึ้น การเตรียมความพร้อมสำหรับการรายข้อค้นพบ, ตัวอย่างของแต่ละรหัสและกลุ่มถูกระบุจากข้อมูล การขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา นักวิจัยอาจจะตัดสินใจที่จะระบุความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มและกลุ่มย่อยเพิ่มเติมบนฐานของการเกิดขึ้นพร้อมกัน, การเกิดขึ้นก่อน, และการเกิดขึ้นมาทีหลัง

ด้วย Conventional Content Analysis ต่อการวิเคราะห์เนื้อหา, ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องหรือข้อค้นพบในการวิจัยอื่น ๆ ถูกกล่าวถึงในส่วนของการอภิปรายผลของการศึกษา

ข้อดีของ Conventional Content Analysis คือ การได้มาซึ่งสารสนเทศโดยตรงจากผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาโดยไม่ได้การกำหนดกลุ่มหรือมุมมองต่าง ๆ ทางทฤษฎีไว้ล่วงหน้า การศึกษาของนักวิจัย ก. พรรณนาคำถามการวิจัยที่เหมาะสมสำหรับแนวทางนี้ ความรู้ถูกสร้างขึ้นมาจากการวิเคราะห์เนื้อหาของผู้วิจัยที่วางอยู่บนฐานของมุมมองเฉพาะของผู้มีส่วนร่วมและบนฐานรากของข้อมูลที่แม้จริง เทคนิคการสุ่มตีวอย่างของผู้วิจัยถูกสร้างโครงสร้างเพื่อที่จะจับความซับซ้อนนั้น

ความท้าทายหนึ่งของการวิเคราะห์เนื้อหาประเภทนี้ คือ ความล้มเหลวที่จะพัฒนาความเข้าใจที่สมบูรณ์ของบริบท ดังนั้น จึงล้มเหลวที่ระบุการจัดกลุ่มต่าง ๆ ที่สำคัญ ประเด็นนี้สามารถส่งผลในขอค้นพบที่ไม่สามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างถูกต้อง Lincoln and Guba (1985) บรรยายถึงสิ่งนี้ในฐานะที่เป็นความน่าเชื่อถือ (creditability) ภายในกระบวนทัศน์ธรรมชาตินิยมของ trustworthiness หรือถูกต้องภายใน (internal validity) ภายกระบวนทัศน์ของ reliability และ validity โดย creditability สามารถถูกสร้างขึ้นมาได้โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น peer debriefing, triangulation…….

ความท้าทายของ Conventional Content Analysis คือ การที่มันสามารถที่จะทำให้ถูกสับสนได้อย่างง่ายกับวิธีการเชิงคุณภาพอื่น ๆ เช่น วิธีการทฤษฎีฐานราก หรือปรากฏการณ์วิทยา วิธีการเหล่านี้มีแนวทางการวิเคราะห์เริ่มต้นที่เหมือนกันแต่ไปไกลกว่าการวิเคราะห์เนื้อหาที่จะพัฒนาทฤษฎีหรือทำความเข้าใจประสบการณ์ที่ดำรงอยู่มากกว่า Conventional Content Analysis ถูกจำกัดทั้งในการพัฒนาทฤษฎีและการพรรณนาประสบการณ์ที่มีชีวิตอยู่, เพราะทั้งกระบวนการสุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์ทำให้ความสัมพันธ์ทางทฤษฎีระหว่างแนวคิดเป็นเรื่องยากที่จะอนุมานจากข้อค้นพบ อย่างมากที่สุด Conventional Content Analysis เป็นการพัฒนาแนวติดหรือการสร้างตัวแบบ

Directed Content Analysis

บางครั้ง, ทฤษฎีที่มีอยู่หรือการวิจัยที่มีอยู่ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้นยังไม่ความไม่สมบูรณ์หรืออาจจะเป็นประโยชน์จากการบรรยายเพิ่มเติม นักวิจัยเชิงคุณภาพอาจจะเลือกใช้ Directed Content Analysis เช่นตามที่นักวิจัย ข. ได้ทำ Potter and Levine-Donnerstein (1999) อาจจะจัดจัดกลุ่มในฐานะที่เป็นการใช้เชิงนิรนัย (deductive) ของทฤษฎีบนพื้นฐานความแตกต่างของพวกเขาบนบทบาทของทฤษฎี, ย่างไรก็ตาม หลักการความเชื่อที่สำคัญของกระบวนทัศน์ธรรมชาตินิยมสร้างรูปแบบพื้นฐานของแนวทางทั่วไปของนักวิจัย ข. ที่จะออกแบบการศึกษาและการวิเคราะห์

เป้าหมายของ Directed Content Analysis คือ การสร้างความถูกต้อง (validate) sขยายทางด้านแนวคิดของกรอบการทำงานทางทฤษฎีหรือทฤษฎี

การใช้ทฤษฎีที่มีอยู่หรืองานวิจัยที่มีอยู่ก่อนหน้านี้สามารถช่วยให้มุ่งไปที่คำถามของการวิจัย มันสามารถให้การทำนายเกี่ยวกับตัวแปรต่าง ๆ ของความสนใจหรือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ดังนั้น จึงเป็นการช่วยกำหนดหัวข้อการให้รหัสเบื้องต้นหรือความสัมพันธ์ระหว่างรหัสต่างๆ นี้อาจจะถูกอ้างอิงถึงในฐานะที่เป็น deductive category application

การวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้ Directed Content Analysis ถูกชี้นำโดยกระบวนการที่ถูกสร้างโครงสร้างมากกว่าใน conventional approach การใช้ทฤษฎีที่มีอยู่หรืองานวิจัยที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ นักวิจัยจะเริ่มต้นโดยการระยุแนวคิดหรือตัวแปรที่สำคัญในฐานะที่เป็นการจัดกลุ่มเริ่มต้น ต่อมาจะเป็นการกำหนดนิยามปฏิบัติการของแต่ละกลุ่มโดยการใช้ทฤษฎี

หากข้อมูลถูกรวบรวมเริ่มต้นผ่านการสัมภาษณ์ คำถามปลายเปิดอาจจะถูกใช้ ตามด้วยคำถามที่ม่งเป้าหมายเกี่ยวกับกลุ่มต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดเอาไว้ล่วงหน้า หลังจากคำถามปลายเปิด นักวิจัย ข. ใช้การค้นหาอย่างเฉพาะต่อการสำรวจประสบการณ์ของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับ...การให้รหัสสามารถเริ่มต้นด้วยสองกลยุทธ์ ขึ้นอยู่กับคำถามการวิจัย หากเป้าหมายของการวิจัยคือการระบุและจัดกลุ่มกรณีทั้งหมดของปรากฏการณ์เฉพาะ...จากนั้นมันอาจจะเป็นประโยชน์ที่จะอ่านต้นฉบับและเน้นตัวบททั้งหมดเกี่ยวกับความประทับใจแรกที่ปรากฏเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์ ขั้นตอนต่อมาในการวิเคราะห์จะเป็นการให้รหัสข้อความทั้งหมดที่ถูกเน้นโดยการใช้รหัสที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ตัวบทใด ๆ ที่ไม่สามารถถูกจัดกลุ่มกับหัวข้อการให้รหัสในตอนแรกจะถูกกำหนดเป็นรหัสใหม่

กลยุทธ์ที่สอง ที่สามารถถูกใช้ใน Directed Content Analysis คือ การให้รหัสอย่างทันทีทันใดกับรหัสที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ข้อมูลที่ไม่สามารถถูกให้รหัสได้จะถูกระบุและถูกวิเคราะห์ภายหลังเพื่อที่จะกำหนด หากพวกเขาแสดงให้เห็นถึงกลุ่มใหม่หรือกลุ่มย่อยของรหัสที่มีอยู่ ทางเลือกที่แต่ละแนวทางเหล่านี้จะถูกใช้จะขึ้นอยู่กับข้อมูลและเป้าหมายของผู้วิจัย หากผู้วิจัยต้องการที่จะให้แน่ใจเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด เช่น ปฏิกิริยาทางด้านอารมณ์, การเน้นตัวบทที่ถูกระบุโดยปราศจากการให้รหัสอาจจะเพิ่ม trustworthiness หากผู้วิจัยรู้สึกมั่นใจว่าการให้รหัสในขั้นต้นจะไม่ได้ลำเอียงการระบุตัวบทที่เกี่ยวข้อง, จากนั้น การให้รหัสสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ทันที การขึ้นอยู่กับประเภทและความกว้างของกลุ่ม นักวิจัยอาจจะจำเป็นที่จะต้องระบุกลุ่มย่อยกับการวิเคราะห์ต่อมา

ข้อค้นพบจาก Directed Content Analysis เสนอหลักฐานที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนสำหรับทฤษฎี หลักฐานนี้สามารถที่จะถูกนำเสนอโดยการแสดงให้เห็นรหัสด้วยตัวอย่างและด้วยการนำเสนอหลักฐานเชิงพรรณนา เพราะการออกแบบการศึกษาและการวิเคราะห์อาจจะเป็นเป็นผลในข้อมูลที่ถูกให้รหัสที่สามารถถูกเปรียบเทียบได้อย่างมีความหมายโดยการใช้การทดสอบความแตกต่างทางสถิติ, การใช้การเปรียบเทียบเทียบแบบการจัดอันดับของความถี่ของรหัสสามารถที่จะถูกนำมาใช้ได้ นักวิจัยอาจจะเลือกที่จะที่บรรยายข้อค้นพบในการศึกษาของเขาโดยการรายงานการเกิดขึ้นของรหัสที่แสดงให้เห็นถึง 5 กลุ่มหลักที่มาจาก.....และการเกิดขึ้นของปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่ถูกระบุใหม่ เขายังสามารถรายงานเชิงพรรณนาถึงเปอร์เซ็นต์ของรหัสที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนสำหรับแต่ละผู้มีส่วนร่วมและสำหรับตัวอย่างทั้งหมด

ทฤษฎีหรืองานวิจัยที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ถูกใช้เพื่อที่จะชี้นำการอภิปรายข้อค้นพบ กลุ่มที่ถูกระบุใหม่อาจจะเสนอมุมมองที่ตรงข้ามของปรากฏการณ์หรืออาจจะแก้ไข ขยาย แลเพิ่มเติมทฤษฎี

จุดแข็งที่สำคัญของ Directed Content Analysis คือ การที่ทฤษฎีที่มีอยู่สามารถได้รับการสนับสนุน และถูกขยายเพิ่มเติม นอกจากนี้ ในฐานะที่การวิจัยในสาขาได้เพิ่มขึ้น Directed Content Analysis จะสร้างความชัดเจนถึงความจริงที่นักวิจัยเหมือนจะไม่กำลังทำงานอยู่จากมุมมองดั้งเดิมที่มักจะถูกมองในฐานะที่เป็นลักษณะเด่นของการออกแบบของกลุ่มธรรมชาตินิยม

Directed Content Analysis ได้เสนอความท้าทายต่อกระบวนทัศน์ธรรมชาตินิยม การใช้ทฤษฎีมีข้อจำกัดในที่ซึ่งนักวิจัยความลำเอียงที่เข้มข้นที่รอบรู้ ดังนั้น นักวิจัยอาจจะมีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะค้นหาหลักฐานเชิงการสนับสนุนทฤษฎีมากกว่าที่จะไม่สนับสนุนทฤษฎีประการที่สอง ในการตอบคำถามที่ต้องการค้นหา ผู้มีส่วนร่วมบางคนอาจจะได้ให้คำชี้นำในการตอบคำถามในทิศทางที่แน่นอนหรือเห็นด้วยกับคำถามที่สร้างพอใจให้แก่นักวิจัย ประการที่สาม การเน้นบนทฤษฎีมากเกินไปสามารถที่บังตานักวิจัยต่อลักษณะที่เกี่ยวกับบริบทของปรากฏการณ์ ข้อจำกัดเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นเป็นกลาง (neutrality) หรือความสามารถในการยืนยันได้ (confirmability) ของ trustworthiness ในฐานะที่เป็นแนวคิดที่ไปด้วยกันกับความวัตถุวิสัย เพื่อที่จะบรรลุความเป็นกลางหรือผลไม่มีความลำเอียง, การทดลองตรวจสอบและกระบวนการตรวจสอบสามารถถูกนำมาใช้ได้ การมีการตรวจสอบซ้ำและการพิจารณาคำนิยามก่อนการศึกษาสามารถเพิ่มความถูกต้องของการจัดกลุ่มที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าได้

Summative Content Analysis

โดยรูปแบบแล้ว การศึกษาโดยการใช้ Summative Content Analysis กับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพได้เริ่มต้นด้วยการระบุและการแสดงจำนวนคำหรือเนื้อหาที่แน่นอนในตัวบทด้วยเป้าหมายของการทำความเข้าในการใช้เกี่ยวกับบริบทของคำหรือเนื้อหา การระบุจำนวนนี้เป็นความพยายามที่ไม่ใช้การสรุปความหมาย แต่เป็นการสำรวจการใช้มากกว่า การวิเคราะห์สำหรับการปรากฏของคำโดยเฉพาะหรือเนื้อหาในวัตถุดิบทางตัวบทถูกอนุมานถึงในฐานะที่เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏชัดเจน หากการวิเคราะห์หยุดลงในขั้นตอนนี้ การวิเคราะห์จะเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ, การให้ความสนใจไปที่การนับความถี่ของคำหรือเนื้อหาโดยเฉพาะ Summative Content Analysis ของการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพไปไกลกว่าเพียงแค่การนับจำนวนคำสู่การรวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหาที่แฝงอยู่ด้วย

การวิเคราะห์เนื้อหาแฝงกล่าวถึงกระบวนการของการตีความเนื้อหา ในการวิเคราะห์นี้จุดเน้นจะอยู่ที่การค้นหาความหมายสำคัญที่ซ่อนอยู่ของคำหรือเนื้อหา

นักวิจัยรายงานการใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากแนวทางนี้ในการศึกษาที่วิเคราะห์ประเภทต้นฉบับในวารสาร หรือเนื้อหาเฉพาะในตำรา นักวิจัยเหล่านี้เริ่มต้นด้วยการนำจำนวนหน้าที่ครอบคลุมหัวข้อเฉพาะจากนั้นจะตามมาด้วยการพรรณนาและตีความเนื้อหา , รวมถึงการประเมินคุณภาพของเนื้อหา คนอื่น ๆ ได้เปรียบเทียบผลของการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยข้อมูลอื่น ๆ ที่ถูกรวบรวมภายในโครงการวิจัยเดียวดัน เช่น การเปรียบเทียบความพึงพอใจของรูปแบบที่หลากหลายของรายการทีวีกับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจสังคมของผู้มีส่วนร่วม

ใน Summative Content Analysis ขอการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มต้นด้วยการค้นหาการเกิดขึ้นของคำที่ถูกระบุด้วยมือหรือด้วยคอมพิวเตอร์, คำถูกนับความถี่สำหรับแต่ละคำที่ถูกระบุถูกนำมาคำนวณ ด้วยแหล่งที่มาหรือผู้พูดยังถูกระบุเช่นกัน นักวิจัย ค. ต้องการที่จะรู้ความถี่ของคำที่ถูกใช้เพื่อที่จะกล่าวถึงความตาย แต่ยังคงเพื่อที่จะเข้าใจบริบทที่สำคัญและซ่อนอยู่สำหรับการใช้คำที่ชัดเจนกับการใช้คำที่สละสลวย เขาอธิบายบริบทของการใช้คำที่สละสลวยกับคำที่ชัดเจนโดยการรายงานเกี่ยวกับว่า การใช้ของพวกเขาแตกต่างกันอย่างไรโยตัวแปรต่าง ๆ เช่น ผู้พูด (คนไข้กับนักคลินิก) การนับจำนวนคำถูกใช้เพื่อที่จะระบุแบบแผนในข้อมูลและเพื่อที่ให้สร้างบริบทให้กับรหัส มันทำให้การแปลความหมายของบริบทเข้ามาเกี่ยวข้องกับการใช้คำหรือประโยต นักวิจัยพยายามที่จะสำรวจการใช้คำหรือสำรวจขอบเขตของความหมายที่คำสามารถมีอยู่ในการใช้ทั่วไป

Summative Content Analysis ต่อการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพมีประโยชน์ที่แน่นอน มันเป็นแนวทางที่ไม่ยุ่งกับคนอื่นและไม่มีปฏิกิริยาต่อการศึกษาปรากฏการณ์ของความสนใจ มันยังให้ความเข้าใจพื้นฐานเข้าสู่ประเด็นที่ว่า คำต่าง ๆ ถูกใช้จริง ๆ อย่างไร อย่างไรก็ตาม ข้อค้นพบจากแนวทางนี้ถูกจำกัดโดยการไม่ให้ความสนใจของพวกเขาต่อความหมายที่กว้างกว่าในที่เสนอข้อมูล ตามหลักฐานของ trustworthiness รูปแบบของการศึกษาขึ้นอยู่กับ creditability กลไกที่จะแสดงให้เห็นถึง creditability หรือ internal consistency คือ การแสดงให้เห็นว่าหลักฐานเกี่ยวกับบริบทมรความสอดคล้องกับการตีความ โดยทางเลือกแล้ว นักวิจัยสามารถตรวจสอบกับผู้มีส่วนร่วมของพวกเขาเกี่ยวกับความหมายที่ตั้งใจของพวกเขาผ่านกระบวนการของการตรวจสอบสมาชิก (member check)

การสรุปลักษณะสำคัญ

แนวทางทั้งหมดของการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพต้องการกระบวนการการวิเคราะห์ที่คล้ายกันใน 7 ขั้นตอน คือ

1.ดารสร้างคำถามการวิจัยเพื่อที่จะถูกตอบคำถาม

2.การเลือกกลุ่มตัวอย่างที่จะถูกวิเคราะห์

3.ดารระบุกลุ่มที่จะถูกประยุกต์ใช้

4.ดารร้างกระบวนการให้รหัสและการฝึกผู้ใส่รหัส

5.การนำประบวนการใส่หัสไปใช้

6.การกำหนด trustworthiness

7.การวิเคราะห์ผลของการใส่รหัส

เราได้สรุปว่า ความแตกต่างของกระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับแนวทางการวิเคราะห์เนื้อหาเฉพาะที่ถูกใช้อย่างไร ความสำเร็จของการวิเคราะห์เนื้อหาขึ้นอยู่อย่างสำคัญกับกระบวนการใส่รหัส กระบวนการใส่รหัสพื้นฐานในการวิเคราะห์เนื้อหาเป็นการจัดระบบจำนวนตัวบทจำนวนมากเข้าสู่การจัดกลุ่มของเนื้อหาที่น้อยลงมาก การจัดกลุ่มเป็นแบบแผนหรือประเด็นที่ถูกแสดงโดยตรงในตัวบทหรือได้มาจากตัวบทผ่านการวิเคราะห์ จากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ จะถูกระบุ ในการหระบวนการใส่รหัส นักวิจัยจะใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการสร้างหรือพัฒนาแผนการใส่รหัสเพื่อที่จะชี้นำผู้ใส่รหัสเพื่อที่จะทำหารตัดสินใจในการวิเคราะห์เนื้อหา แผนการใส่รหัสเป็นเครื่องมือการแปลความหมายที่จัดระบบข้อมูลเข้าสู่กลุ่มต่าง ๆ รายการใส่รหัสประกอบไปด้วยกระบวนการและกฎของการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบ เป็นตรรกะ และเป็นวิทยาศาสตร์ การพัฒนาแผนการใส่รหัสที่ดีเป็นสิ่งสำคัญต่อ trustworthiness ในการวิจัยที่ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างแนวทางการวิเคราะห์เนื้อหาแบบ conventional, directed และ summative ต่อการวิเคราะห์มีศูนย์กลางอยู่ที่ว่า การใส่รหัสเริ่มต้นถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างไร ใน conventional การจัดกลุ่มต่าง ๆ ได้มาจากข้อมูลระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจันมักจะสามารถที่จะได้ความเข้าใจที่มากกว่าจองปรากฏการณ์ด้วนแนวทางนี้ ขณะที่ directed CA นักวิจัยใช้ทฤษฎีที่มีอยู่หรืองานวิจัยที่มีอยู่ก่อนเพื่อที่จะพัฒนาแผนการใส่รหัสเริ่มแรกก่อนที่จะเริ่มวิเคราะห์ข้อมูล ขณะที่ดำเนินการวิเคราะห์ การใส่รหัสเพิ่มเติมถูกพัฒนาขั้นมา และแผนการใส่รหัสเริ่มต้นได้ถูกทบทวนและแก้ไข นักวิจัยที่ใช้ directed approach ต่อการวิเคราะห์เนื้อหาสามารถขยายหรือขัดเกลาทฤษฎีที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วน summative approach ต่อการวิเคราะห์เนื้อหามีความแตกต่างโดยรากฐานจากแนวทางทั้งสองข้างต้น มากกว่าการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ตัวบทมักถูกเข้าถึงในฐานะที่เป็นคำ ๆ เดียวหรือในความสัมพันธ์กับเนื้อหาเฉพาะ การวิเคราะห์แบบแผนต่าง ๆ นำไปสู่การแปลความหมายของความหมายที่เกี่ยวกับบริบทของตำหรือเนื้อหาเฉพาะ

ความแตกต่างในการใส่รหัสที่สำคัญระหว่าง 3 แนวทางของการวิเคราะห์เนื้อหา

ประเภทของการวิเคราะห์เนื้อหา

การศึกษาเริ่มต้นด้วย

ช่วงเวลาของการนิยามรหัสหรือคำสำคัญ

ที่มาของรหัสหรือคำสำคัญ

Conventional

การสังเกต

การใส่รหัสถูกนิยามระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล

การใส่รหัสได้มาจากข้อมูล

Directed

ทฤษฎี

การใส่รหัสถูกนิยามก่อนและระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล

การใส่รหัสได้มาจากทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Summative

คำสำคัญ

คำสำคัญถูกระบุก่อนและระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล

คำสำคัญได้มาจากความสนใจของนักวิจัยหรือการทบทวนวรรณกรรม

บทสรุป

วัตถุประสงค์ของการวิจัยที่แตกต่างกันต้องการการออกแบบการวิจัยและเทคนิคการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน คำถามที่ว่าการศึกษาจำเป็นที่จะต้องใช้ conventional, directed หรือ summative กับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นสามารถถูกตอบโดยการเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยเฉพาะ และสถานะของศาสตร์ในพื้นที่ของความสนใจกับเทคนิคการวิเคราะห์ที่เหมาะสม

มันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวิจัยทางสุขภาพที่จะวิเคราะห์แนวทางเฉพาะต่อการวิเคราะห์เนื้อหา ที่พวกเขากำลังจะใช้ในการศึกษาของพวกเขาก่อนการเริ่มวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างและการยึดมั่นต่อกระบวนการวิเคราะห์หรือแผนการใส่รหัสจะเพิ่ม trustworthiness หรือ validity ของการศึกษา การพรรณนาอย่างระมัดระวังของประเภทของแนวทางต่อการวิเคราะห์เนื้อหาที่ถูกใช้สามารถให้ภาษาที่เป็นสากลสำหรับนักวิจัยด้านสุขภาพและสร้างความเข้มแข็งให้กับพื้นฐานแบบวิทยาศาสตร์ของวิธีการ การวิเคราะห์เนื้อหาเสนอวิธีการวิจัยที่ยืดหยุ่นและเกี่ยวกับการปฏิบัติให้แก้นักวิจัยสำหรับการพัฒนาและการขยายความรู้ของประสบการณ์ของมนุษย์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม

#####################################

สรุปแนวทาง 3 แนวทางต่อการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ.pdf


[1] แปลและเรียบเรียงจาก Hsieh H.-F. & Shannon S. (2005) Three approaches to qualitative content analysis. Qualitative Health Research 15, 1277– 1288.

การวิเคราะห์เนื้อหา content analysis ทำอย่างไร

2. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) หรือ การวิเคราะห์ข้อมูล เอกสารอาจท าได้ทั้งโดยวิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพ วิธีการเชิง ปริมาณ คือ การท าให้ข้อมูลเอกสาร ได้แก่ ถ้อยค า ประโยคหรือใจความใน เอกสารเป็นจานวนที่วัดได้ แล้วแจงนับจานวนของถ้อยค า ประโยค หรือใจความ เหล่า ...

การวิเคราะห์ข้อมูลทำอย่างไร

การวิเคราะห์ข้อมูล.
1. กลับไปอ่านจุดมุ่งหมายหรือข้อความที่เป็นปัญหาจนแจ่มแจ้งก่อน.
2. ดูแต่ละหัวข้อปัญหาว่าต้องการข้อมูลประเภทใด และจะใช้วิธีการสถิติอะไร.
3. สถิติเหล่านั้นหาได้หรือไม่จากข้อมูล เพื่อไปแก้ปัญหาจากจุดมุ่งหมายแต่ละข้อ.
4. เลือกข้อมูลที่ได้มา นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ แบ่งตามเนื้อหาของปัญหาแต่ละข้อ.

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีใด

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นวิธีการสร้างข้อสรุปจากข้อมูลจำานวนหนึ่งซึ่งมักไม่ใช้สถิติในการ วิเคราะห์ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ อาจใช้กับการวิจัยเชิงปริมาณที่ผู้วิจัยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล เชิงคุณภาพ เช่น แบบสอบถามปลายเปิด การสัมภาษณ์การสังเกต จดบันทึก สำาหรับสาระในบทความนี้ ผู้เขียนมุ่งนำาเสนอสาระ เกี่ยว ...

Content analysis หมายถึงข้อใด

การวิเคราะห์เนื้อหา , การวิเคราะห์เนื้อหา, Example: Content analysis หมายถึง การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นวิธีการในทางสังคมศาสตร์เพื่อการศึกษาเนื้อหาของการสื่อสาร โดยการแยกแยะแจกแจงเนื้อหาหรือแนวคิดที่ปรากฏในตำรา หนังสือ เอกสาร ข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ บทสนทนา หรือรูปภาพ วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ เนื้อหาเพื่อผลิตสื่อการสอน ...