เครื่องยนต์ 4 จังหวะลำดับอย่างไร

หลักการทำงานของเครื่องยนต์นั้นเป็นอย่างไร..มาชมกันครับ

เครื่องยนต์ 4 จังหวะลำดับอย่างไร

          ซึ่งเครื่องยนต์ที่เราจะกล่าวถึงกันในวันนี้เรียกว่า เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน หรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยปกติเครื่องยนต์จะทำงานได้นั้นจะอาศัยองค์ประกอบของระบบหลักดังนี้

  1. ระบบน้ำมัน (เบนซิน หรือ ดีเซล)
  2. ระบบอากาศ
  3. ระบบจุดระเบิด (สามารถจุดได้ 2 แบบ จุดระเบิดด้วยประกายไฟ และ จุดระเบิดด้วยการอัดอากาศ)

          โดยเครื่องยนต์ทั่วไปที่เราใช้ๆกันในรถยนต์นั้นก็จะมีการทำงานเป็น 4 จังหวะ ที่เราเรียกกันว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะนี่แหละครับ ซึ่งหลายๆคนก็คงจะได้เคยยินคำว่า ดูด อัด ระเบิด คาย ซึ่งทั้ง 4 อย่างนี้เป็นสิ่งที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้นั่นเอง

  • จังหวะดูด ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลงและวาล์วในไอดีจะเปิดออก ไอดีจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบจากสภาพสุญญากาศภายในกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบเคลื่อนลงต่ำสุดวาล์วไอดีก็จะปิดครับ
  • จังหวะอัด ลูกสูบเคลื่อนที่จากจุดต่ำสุดขึ้นไป (วาล์วไอดีและไอเสียปิดอยู่) ไอดีในกระบอกสูบจะถูกอัดให้มีปริมาตรเล็กลง
  • จังหวะกำลัง (ระเบิด) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ใกล้ตำแหน่งสูงสุด (ศูนย์ตายบน) ในจังหวะอัด จะเกิดประกายไฟที่หัวเทียน (เครื่องเบนซิน) ไอดีก็จะถูกเผาไหม้ (จุดระเบิด) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งบนสุดลูกสูบก็จะเริ่มเคลื่อนที่ลง ในระหว่างการเผาไหม้ ก็จะให้กำลังงานออกมาโดยส่งผ่านลูกสูบ ก้านสูบ ไปสู่เพลาข้อเหวี่ยง
  • จังหวะคายไอเสีย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ใกล้ตำแหน่งล่างสุด (ศูนย์ตายล่าง) วาล์วไอเสียก็จะเปิดออก หลังจากลูกสูบเคลื่อนที่ลงตำแหน่งต่ำสุดแล้ว ก็จะเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นและไอเสียก็่จะถูกไล่ออกไปผ่านวาล์วไอเสีย (จังหวะคายไอเสีย) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งบนสุดก็จะเคลื่อนที่ลง วาล์วไอเสียก็จะปิด และวาล์วไอดีจะเปิดออกเพื่อเริ่มจังหวะดูดอีกครั้งหนึ่ง

เครื่องยนต์ 4 จังหวะลำดับอย่างไร

                    เป็นอย่างไรกันบ้างครับเพื่อนๆกับสาระความรู้ดีๆเกี่ยวกับเครื่องยนต์ที่ทาง BoxzaRacing นำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆชาว BoxzaRacing ไม่มากก็น้อยนะครับ และในครั้งหน้า BoxzaRacing จะนำเกร็ดความรู้แบบไหนมาฝากกันอีกก็ต้องติดตามกันนะครับ สำหรับวันนี้คงต้องลากันไปก่อน ขอบคุณและสวัสดีครับ       ขอขอบคุณข้อมูลจาก techniccar.com      

เครื่องยนต์ 4 จังหวะลำดับอย่างไร

เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

                เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine) เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine หรือ ICE) ชนิดหนึ่งถูกพัฒนาโดยรูดอล์ฟ ดีเซล (Rudolf Diesel) ชาวเยอรมันในปี ค.ศ. 1893  เครื่องยนต์ดีเซลมีอัตราส่วนการอัด 16 22 : 1 แต่ถ้ามีตัวอัดบรรจุอากาศเทอร์โบ (Turbocharger) อัตราส่วนการอัดจะต่ำกว่า 20 : 1  มีความดันในจังหวะอัด 30 55 บาร์ (bar) (30.59 – 56.08 kgf/cm2) ทำให้อุณหภูมิอากาศที่อัดตัวเป็น 700 900 o ซ. เมื่อเชื้อเพลิงดีเซลถูกฉีดด้วยความดันสูงเข้าไปในห้องเผาไหม้จะเกิดการจุดระเบิด โดยไม่ต้องใช้ประกายไฟเหมือนกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน จึงถูกจัดอยู่ในประเภทของเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัดตัว (Compression Ignition Engine)
หมายเหตุ  หลักการที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นหลักการพื้นฐานเหมือนกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ปั๊มเชื้อเพลิงแบบแถวเรียง หรือจานจ่าย, รวมไปถึงเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล
                เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะมีหลักการทำงานคือใน 1 กลวัตร (Cycle) ของแต่ละสูบ เพลาข้อเหวี่ยงจะหมุน 2 รอบ ต่อการจุดระเบิดให้กำลังงาน 1 ครั้ง นั่นหมายถึงลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น-ลงรวม 4 ครั้ง (ขึ้น 2 ครั้ง และลง 2 ครั้ง) คือเพลาข้อเหวี่ยงหมุนรอบที่ 1 ลูกสูบเคลื่อนที่ลงในจังหวะดูด (Intake Stroke). ต่อมาลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด (Compression Stroke) เพลาข้อเหวี่ยงหมุนรอบที่ ลูกสูบเคลื่อนที่ลงในจังหวะกำลัง หรือจังหวะระเบิด (Power Stroke or Expansion Stroke) สุดท้ายลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะคาย (Exhaust Stroke) ถ้าเครื่องยนต์มีหลายสูบ แต่ละสูบจะทำงานเวียนตามลำดับการจุดระเบิด

                เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ มีหลักการทำงานดังต่อไปนี้

เครื่องยนต์ 4 จังหวะลำดับอย่างไร

รูปที่ จังหวะดูด

                จังหวะดูด (Intake Stroke) ลิ้นไอดีจะเริ่มเปิดก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน (ดังแสดงในรูปที่ 1 ในตำแหน่งที่ 1) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากศูนย์ตายบน (TDC หรือ Top Dead Center) อากาศจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่เลยจากศูนย์ตายล่าง (BDC  หรือ Bottom Dead Center) อากาศจะยังคงไหลเข้ากระบอกสูบด้วยแรงเฉื่อยจนกว่าลิ้นไอดีจะปิด (ดังแสดงในรูปที่ 1 ในตำแหน่งที่ 2)

เครื่องยนต์ 4 จังหวะลำดับอย่างไร

รูปที่ จังหวะอัด

                จังหวะอัด (Compression Stroke) เมื่อลิ้นไอดีปิด (ดังแสดงในรูปที่ 2 ในตำแหน่งที่ 2) อันเป็นจุดเริ่มต้นของจังหวะอัดซึ่งลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบน จังหวะนี้อากาศประมาณ 16-22 ส่วนที่ถูกดูดเข้ากระบอกสูบมาในจังหวะดูดจะถูกอัดตัวให้มีปริมาตรเล็กลงเหลือประมาณ 1 ส่วน ดังนั้นอากาศจึงมีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้นพร้อมสำหรับการสันดาป

                หมายเหตุ  ช่วงปลายของจังหวะอัดคือก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน (ดังแสดงในรูปที่ 2 ในตำแหน่งที่ 3) หัวฉีดจะเริ่มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงก่อนที่หัวลูกสูบจะเคลื่อนถึงศูนย์ตายบนกี่องศานั้นขึ้นอยู่กับสภาวะต่างๆ เช่นความเร็วรอบ, อุณหภูมิ และภาระ (Load) ของเครื่องยนต์ เป็นต้น ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลบางรุ่นบางสภาวะอาจเริ่มฉีดน้ำมันที่ศูนย์ตายบน หรือหลังศูนย์ตายบนเล็กน้อย)

เครื่องยนต์ 4 จังหวะลำดับอย่างไร

รูปที่ 3 จังหวะกำลัง

                จังหวะกำลัง (Power Stroke) (ซึ่งเริ่มนับจากหัวลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบน) หรือบางครั้งเรียกว่า จังหวะระเบิด (Expansion Stroke) (ซึ่งเริ่มนับจากหัวหัวฉีด ฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง) กำลังจากการระเบิดหรือการสันดาป (Combustion) ภายในห้องเผาไหม้จะผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาเป็นกำลังงานขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ ในจังหวะนี้จะไปสิ้นสุดจนกว่าลิ้นไอเสียจะเปิด (ดังแสดงในรูปที่ 3 ในตำแหน่งที่ 5)

                หมายเหตุ  ในความเป็นจริงแล้วการจุดระเบิดถูกเริ่มต้นก่อนที่หัวลูกสูบจะถึงศูนย์ตายบนแล้วมาระเบิดรุนแรงที่สุดในช่วงที่หัวลูกสูบเคลื่อนที่เลยจากศูนย์ตายบนมาแล้วเล็กน้อย 

เครื่องยนต์ 4 จังหวะลำดับอย่างไร

รูปที่ จังหวะคาย

                จังหวะคาย (Exhaust Stroke) จังหวะนี้เริ่มต้นจากลิ้นไอเสียจะเริ่มเปิดก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายล่าง (ดังแสดงในรูปที่ 4 ในตำแหน่งที่ 5) แก๊สไอเสียซึ่งยังมีความดันจากการขยายตัวอยู่จะระบายออกทางลิ้นไอเสีย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่เลยจากศูนย์ตายล่าง (BDC) จะผลักดันให้ไอเสียไหลออกไปจากกระบอกสูบ

                หมายเหตุ  ขณะที่หัวลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบนนั้น ลิ้นไอเสียยังไม่ปิดสนิทแต่จะเปิดเล็กน้อยแล้วไปปิดเมื่อเลยจากศูนย์ตายบนไปเล็กน้อย (ดังแสดงในรูปที่ 4 ในตำแหน่งที่ 6) ซึ่งในช่วงนี้ไอเสียจะสามารถไหลออกจากกระบอกสูบด้วยแรงเฉื่อย และขณะเดียวกันนี้จะเกิดแรงดูดอากาศให้เริ่มเข้ากระบอกสูบ ช่วงที่ลิ้นไอเสียเริ่มปิด และไอดีเริ่มเปิดนี้เรียกว่าซ้อนเหลื่อม (Overlap) 

หมายเหตุ  ลำดับการจุดระเบิดที่นิยมใช้ ดังแสดงในตาราง

จำนวนกระบอกสูบ

ลำดับการจุดระเบิด (Firing Order)

4 สูบแถวเรียง

1, 3, 4, 2

5 สูบแถวเรียง

1, 2, 4, 5, 3

6 สูบแถวเรียง

1, 5, 3, 6, 2, 4

6 สูบวางรูปตัว V

1, 2, 3, 4, 5, 6

เครื่องยนต์ 4 จังหวะลำดับอย่างไร

คลิปที่ 1 การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ