นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างไร

Show

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี      

 

ความพอประมาณ

คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป

ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจที่ดี ควรตั้งอยู่บนการไตร่ตรองถึงเหตุ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ตัดสินใจตามอารมณ์ หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์

คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานในบริษัทใหญ่ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ เช่น เตรียมแผนสำรองสำหรับแต่ละสถานการณ์ การมีรายได้หลายทางเพื่อลดความเสี่ยงในวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

โดยการดำรงชีวิตตามหลักการทั้งสามข้อนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบวิชาชีพช่วยให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้า หรือความรู้ในการลงทุนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้นักลงทุน ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่า พื้นฐานความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหตุผลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลักคุณธรรม ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบสุข

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การพึ่งพาตัวเองได้เป็นเพียงส่วนเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเมื่อทุกคนสามารถดูแลตัวเอง และครอบครัวได้แล้ว ขั้นต่อไปอาจทำการพัฒนาธุรกิจ โดยมีการรวมกลุ่มกันในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการรวมกลุ่มกันนั้น ไม่จำกัดเฉพาะการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เกษตรกร ในรูปของสหกรณ์ การทำงานในเมืองก็สามารถมีการรวมกลุ่มกันได้ เช่น การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน การแลกเปลี่ยนแนวคิดการลงทุน เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ รวมไปจนถึงการแบ่งปันความช่วยเหลือส่งกลับคืนสู่สังคม ไปสู่กลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ เช่น กิจกรรมจิตอาสา เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

จะเห็นได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ด้วยการใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ และเผื่อแผ่ไปถึงสังคม ซึ่งเราสามารถนำหลักการปฏิบัติไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตการทำงาน และการดำรงชีวิตครับ

การน้อมนำแนว"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"มาประยุกต์ใช้ในชีวิตและการงาน

นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างไร

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

ท่านและผม เป็นคนไทยที่โชคดีที่สุดในโลกนี้แล้ว เพราะเรามีพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่ท่านรักประชาชนของท่าน โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน พระองค์ท่านต้องทำงานมาตลอดเพื่อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขของราษฎรของท่าน ผมได้รับการศึกษามามากพอสมควร มีโอกาสใรการเรียนรู้ต่างๆมากกว่าคนอื่นๆในเรื่องที่พระองค์ท่าน ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ที่เรารับรู้ได้อย่างชัดเจนก็คือเรื่องของ"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"  

และผมก็เป็นหนึ่งของคนไทยมากกว่า 60 ล้านคน ที่ได้เรียนรู้ทฤษฎีนี้ เรารู้อย่างเดียวนั้นจะไม่สามารถทำให้เกิดประโยชนย?ต่อตนเองและประเทศชาติเลย เราต้องน้อมนำแนว"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"มาประยุกต์ใช้ในชีวิตและการงานของตนเองให้มากที่สุด ก่อนอื่นผมอยากนำบทความต่างๆที่เป็นความรู้มาแบ่งปันให้คนไทยได้อ่าน จะได้มีความเข้าใจมากขึ้น

"..ผมคิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สิ่งที่พระราชทานมา และบอกให้เราปิดบ้านตัวเองนะ อย่าไปคบกับใคร ไม่ใช่บอกให้เราบอกว่า จนไว้ดี อย่าไปรวย ไม่ใช่ แต่ผมคิดว่าพื้นฐานจริงๆ แล้วก็คือ ต้องมีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ต้องอดทน ต้องขยันหมั่นเพียร และอันสุดท้าย ต้องมีวิชาการ วิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม..”
        นั่นเป็นการกล่าวทิ้งท้ายของน.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีในการแสดงปาฐกถาพิเศษ ในพิธีเปิด ‘ชมรมเศรษฐธรรม’ ของสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549 ณ วังเทวเวสม์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
       

ในปาฐกถาครั้งนั้น องคมนตรีท่านนี้ก็ได้กล่าวในตอนต้นว่า ยังมีคนที่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
        “หลายคนหาว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่ออ่านปั๊บ...ไม่อยากให้คนรวย อยากให้คนจนไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่เลย หรือเข้าใจว่าเหมาะสำหรับชาวไร่ ชาวนา เท่านั้น ซึ่งก็ไม่ใช่อีกเหมือน กัน” น.พ.เกษม กล่าวย้ำ
       

จะเห็นได้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาเป็น หลักเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินชีวิตของคนทุกระดับชั้น และการบริหารองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนทุก ระดับทุกขนาด         นั่นคือใช้กับคนในสังคม และวงการธุรกิจ แม้ไม่ใช่คน ร่ำรวยก็สามารถดำเนินชีวิตด้วย‘ทางสายกลาง’ ที่มีความมั่นคงได้ หรือเป็นผู้มั่งคั่ง ก็ร่ำรวยอย่างมีสติ รวยอย่างมีคุณค่า มีประโยชน์สำหรับสังคม และประเทศชาติ

นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างไร

3 ห่วง 2 เงื่อนไข
        เพราะหลักการของ ‘ความพอเพียง’ ที่ยึดหลัก พอประมาณมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันความไม่แน่นอน 3 หลักที่ว่านี้ เสมือนห่วงสัญลักษณ์ ที่เราเคยเห็นในกีฬาโอลิมปิก 3 ห่วงที่ต้องสอดคล้องกันไป
        ขณะเดียวกัน การขับเคลื่อนของ 3 ห่วงดังกล่าว ก็มีเงื่อนไขความรู้ (คือ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (คือ ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน)
        เมื่อเป็นดังนี้ได้ก็จะนำไปสู่การมีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูงที่มีการแข่งขันสูง

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญ

อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่นได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"

นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ประกอบไปด้วย ๓ หลักการ คือ

๑. ความพอประมาณ คือ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

๒. ความมีเหตุผล คือ การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

๓. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว

ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิต และ เงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร

จุดเริ่มต้นของแนวคิดปรัชญาความพอเพียง มาจากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ “หลักการทรงงาน ๒๓ ข้อ” ซึ่งพระองค์ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเสมอมา และได้ทรงพระราชทานเป็นแนวทางให้กับพสกนิกร อาทิ “ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ” โดยศึกษารายละเอียดครบถ้วนอย่างเป็นระบบ ทั้งจากเอกสารและสอบถามผู้รู้, “ทำตามลำดับขั้น” โดยเริ่มต้นทำงานจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดก่อน โดยเรื่องความพอเพียงนั้นปรากฏอยู่ใน ๓ หลักการ คือ

๑. การพึ่งตนเอง คือ การอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถพึ่งตนเองได้

๒. พออยู่พอกิน คือ การมีชีวิตอยู่ในขั้นของความพอดี

๓. เศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำเนินไปในทางสายกลาง ด้วยความพอประมาณและความมีเหตุผล

ซึ่งอาจจดจำง่ายๆ ในชื่อ ๓ พ. คือ “พึ่งตนเอง” “พออยู่พอกิน” “พอเพียง”

๓ หลักการสั้นๆ ง่ายๆ แห่งความพอเพียง ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ที่ไม่ได้มีเพียงเรื่องของหลักการด้านงานเกษตร อาทิ การทำไร่นาสวนผสม หรือการพัฒนาชุมชนเพียงเท่านั้น แต่หลักการ ๓ พ. ยังเป็นแนวทางที่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกเรื่อง และเข้าถึงผู้คนทุกกลุ่ม ซึ่งการใช้ชีวิตด้วยการพึ่งตนเอง พออยู่พอกิน และพอเพียง ตามรอยที่พ่อนำทางไว้ ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติตามได้พบกับความสุขที่แท้จริง และไม่หวาดหวั่นกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เพราะเมื่อเข้าใจถึงแก่นแท้ของคำว่าพอแล้ว ไม่ว่าโลกจะโลกาภิวัตน์ไปมากเพียงใด ก็ไม่ได้ทำให้ความมั่นคงผาสุก ลดน้อยลง

เอนทรีนี้เป็นการให้ความรู้ เพื่อให้เกิดแนวคิดกับเราให้มากขึ้น ขอให้ท่านพยาอ่านแล้วทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ความรู้ทำให้เรามีสติ มีปัญญา จะเป็นเครื่องมือช่วยให้เราเกิดความไม่ประมาท 

ผมหวังว่าผู้ที่แวะเข้ามาอ่านจะเกิดปัญญา มีสติ ด้วยการน้อมนำแนว"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"มาประยุกต์ใช้ในชีวิตและการงาน

จัดทำและเรียบเรียงโดย อาจารย์ป๋อง(นายธีธัช บำรุงทรัพย์) โทร 089-827-2715 ธีธัชฟาร์ม 

Facebook: https://www.facebook.com/Earthwormsfarm
Website: https://teetatfarm.wordpress.com/ 
Website: http://www.youtube.com/teetatfarm 

ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/teetatfarm/2013/08/23/entry-1

นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป เช่น ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อที่จะจัดการการใช้จ่ายเงินได้อย่างเป็นระบบ ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง มีจิตสํานึกที่ดี เอื้ออาทร เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตัว

การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน คืออะไร สามารถทําได้อย่างไรบ้าง

การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชนนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นการใช้หลักปรัชญาในขอบเขตที่กว้างขึ้นกว่าในระดับบุคคลและครอบครัว ซึ่งต้องอาศัยความร่วมแรง ร่วมมือ และร่วมใจ จากคนจำนวนมากขึ้น เพื่อจะร่วมกันทำสิ่งต่างๆ ที่เกิดประโยชน์แก่คนกลุ่มอื่นในชุมชนด้วย มิได้สร้างประโยชน์ให้แต่ตนเองหรือครอบครัวเพียงอย่างเดียว

การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับข้อใด

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ

สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้อย่างไร

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว ต้องยึดมั่นหลักการ “พึ่งตนเอง” ด้วยการบริหารจัดการอย่างพอดีและประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกแต่ละคนจะต้องรู้จักตนเอง เช่น รู้ข้อมูลรายรับ –รายจ่ายของตนเองและครอบครัว รักษาระดับการใช้จ่ายของตนเองไม่ให้เป็นหนี้และสมาชิกจะต้องรู้จักดึงความสามารถที่มีอยู่ในตนอง ...

นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน คืออะไร สามารถทําได้อย่างไรบ้าง การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับข้อใด สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้อย่างไร การนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจําวัน10ข้อ เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจําวัน ตัวอย่าง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ความมีเหตุผล ในชีวิตประจําวัน แนวทางการดําเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสิ่งแวดล้อม แนวทางการดําเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านวัฒนธรรม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้ แนวทางการดําเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเศรษฐกิจ