นักเรียนจะเลือกภาชนะบรรจุอาหารที่แปรรูปอาหารอย่างไร

เพื่อสุขภาพที่ดี นอกจากจะต้องใส่ใจคัดสรรวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงอาหารแล้ว ยังต้องพิถีพิถันกับการเลือกภาชนะให้ดี และใช้อย่างถูกวิธีด้วย วันนี้มารู้จักภาชนะชนิดต่างๆ กันค่ะ

อะลูมิเนียม

ชาวบ้านส่วนใหญ่มักนิยมใช้ภาชนะที่ทำจากอะลูมิเนียม เนื่องจากคงทนและราคาถูก แต่มีคำเตือนจากนักวิจัยว่าหากนำอะลูมิเนียมไปใช้กับของเปรี้ยว หรือของที่มีความเป็นกรดสูง เช่น แกงส้มในหม้ออะลูมิเนียม อาจมีอะลูมิเนียมละลายออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งหากได้รับสารอะลูมิเนียมเข้าไปจำนวนมาก เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่อาจทำให้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลการวิจัยที่แย้งว่าอะลูมิเนียมที่ละลายออกมาปนในอาหารมีปริมาณเพียงเล็กน้อย ไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่หากไม่อยากเสี่ยง ก็อาจจะเลี่ยงการใช้อะลูมิเนียมกับอาหารรสเปรี้ยวหรืออาหารที่มีความเป็นกรด

สเตนเลส

ภาชนะที่ทำจากสเตนเลสเป็นภาชนะอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กัน เนื่องจากทนทานต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นสนิม ทนความร้อน ความเย็น และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลันได้ดี สเตนเลสเป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของโลหะหลายชนิด หากเป็นสเตนเลสที่มีส่วนผสมของโครเมียม เมื่อนำมาใช้หุงต้มก็จะมีธาตุเหล็กและโครเมียมปะปนในอาหารเล็กน้อย ถือเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายจึงไม่เป็นอันตราย แต่หากเป็นสเตนเลสที่มีส่วนผสมของนิกเกิล อาจทำให้ผู้ที่แพ้นิกเกิลเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้ อย่างไรก็ตาม นิกเกิลจะละลายออกมาในอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชู ผู้ที่แพ้นิกเกิลอาจเลือกใช้ภาชนะสเตนเลสที่เคลือบสารอีนาเมล ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด

ทองแดง

ภาชนะที่ทำมาจากทองแดง หากนำมาปรุงอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะสามารถละลายทองแดงออกมาได้ ทองแดงเป็นธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย การได้รับทองแดงในปริมาณเล็กน้อยจึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ แต่หากร่างกายสะสมทองแดงในปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการท้องเสียและอาเจียนจากทองแดงเป็นพิษได้ เพื่อป้องกันปัญหานี้ จึงมีการนำภาชนะทองแดงมาเคลือบด้วยดีบุก แต่ดีบุกที่เคลือบไว้ก็จะเสื่อมไปตามอายุการใช้งาน ฉะนั้นเมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่

ทองเหลือง

ทองเหลืองเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี มีความต้านทานต่อการเกิดสนิมได้ดีพอสมควร นิยมทำขนมในกระทะทองเหลือง เช่น ผลไม้กวน เพราะมักจะไม่ติดกระทะ และไม่ทำให้สีของอาหารเปลี่ยนไป

เซรามิก

ภาชนะเซรามิกที่เคลือบด้วยสีสันลวดลายสวยงาม อาจมีส่วนผสมของสารตะกั่วอยู่ หากมีปริมาณมากเกินไปจะเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อนำไปใส่อาหารร้อนจัด เช่น กาแฟร้อน ชาร้อน และอาหารรสเปรี้ยวหรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำผลไม้ เพราะจะทำให้สารตะกั่วในสีละลายออกมาปนเปื้อนในอาหารได้

แก้ว

ภาชนะที่ทำจากแก้ว ส่วนใหญ่จะมีความปลอดภัย ยกเว้นแก้วเนื้อบาง ไม่ควรใส่น้ำเดือดหรือนำเข้าเตาไมโครเวฟ เพราะอาจแตกได้ แต่หากเป็นแก้วคุณภาพดีก็จัดว่าเป็นภาชนะที่ใช้กับเตาไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัยที่สุด ถ้าเป็นแก้วที่มีฝาปิดก็สามารถทนต่อความดันที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับความร้อนโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ต้องไม่ตกแต่งขอบหรือลวดลายด้วยสีทองหรือเงิน เพราะจะมีสารตะกั่วออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้ นอกจากนี้ ภาชนะที่ทำจากแก้วยังเหมาะสำหรับการเก็บอาหารที่รับประทานไม่หมดอีกด้วย

เมลามีน

เมลามีนผลิตจากอะมิโนเรซินที่เป็นโพลีเมอร์ของเมลามีนกับฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งหากนำไปใช้ไม่ถูกต้อง เช่น ใส่อาหารร้อนจัด น้ำเดือด หรือนำไปใช้กับเตาไมโครเวฟ อาจทำให้ได้รับอันตรายจากสารฟอร์มาลดีไฮด์ที่เป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินหายใจได้ สำหรับภาชนะเมลามีนที่ซื้อมาใหม่ ควรล้างด้วยน้ำเดือดก่อนการใช้งาน เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกและฟอร์มาลดีไฮด์บางส่วนออกไป ไม่ควรใช้ใยสังเคราะห์ เช่น ฝอยเหล็กหรือสก็อตไบรท์มาขัดถู เพราะจะทำให้สารที่เคลือบผิวเมลามีนหลุดออก ทำให้มีริ้วรอย สีและโลหะหนักจะออกมาปนเปื้อนในอาหารได้ นอกจากนี้รอยขูดขีดที่เกิดขึ้นอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้อีกด้วย

พลาสติก

หากการผลิตไม่คัดเลือกเม็ดพลาสติกที่มีคุณภาพและไม่ควบคุมวิธีการผลิตให้ดีแล้ว พลาสติกซึ่งเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่เรียกว่า โพลีเมอร์ จะแตกตัวเป็นโมโนเมอร์ ละลายออกมาปนในอาหารได้ หากเป็นพลาสติกที่ผสมสี ตะกั่วและสารพิษในสีก็จะออกมาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ในกระบวนการผลิตยังมีการใช้สารเคมีหลายชนิด ซึ่งอาจตกค้างอยู่บริเวณผิวหน้าพลาสติก หากสัมผัสถูกอาหารก็กลายเป็นสารก่อมะเร็งได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมคุณภาพภาชนะพลาสติกไม่ให้มีปริมาณโมโนเมอร์ สี และสารเคมีต่างๆ เกินกว่าที่กำหนด นอกจากนี้พลาสติกจะมีหลายเกรดซึ่งผลิตมาสำหรับการใช้งานเฉพาะอย่าง จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสม

  • อย่าใช้ภาชนะพลาสติกใส่อาหารร้อนจัด อาหารที่มีรสเปรี้ยวหรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด
  • ขวดพลาสติกใสที่บรรจุน้ำดื่มขาย ควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่ควรนำมากรอกน้ำดื่มใส่ตู้เย็น หากจะกรอกน้ำแช่ตู้เย็นควรเลือกขวดพลาสติกที่ผลิตมาโดยเฉพาะหรือขวดแก้วจะดีกว่า
  • ขวดพลาสติกใสที่บรรจุน้ำมันพืช น้ำปลา ซอส น้ำดื่ม อย่าเก็บในที่ร้อน เนื่องจากจะเร่งให้สารเคมีละลายออกมา
  • การล้างภาชนะพลาสติกควรระวังอย่าให้ขูดขีดเป็นรอยถลอก จะทำให้สารเคมีละลายออกมามากขึ้น

Relate topics

  • รณรงค์เลิกใช้โฟม June,23 2015 09.54
  • รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก June,16 2015 14.31
  • ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 ) June,16 2015 14.24
  • ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 ) June,11 2015 21.30
  • รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ

    นักเรียนมีวิธีการเลือกภาชนะบรรจุอาหารอย่างไรบ้าง

    วิธีเลือก บรรจุภัณฑ์อาหาร อย่างถูกต้องและปลอดภัย.
    สุขอนามัย ... .
    การรับรองมาตรฐาน GMP/HACCP CODEX. ... .
    มีความมั่นคงแข็งแรง ... .
    มีการออกแบบอย่างพิถีพิถัน ... .
    สามารถย่อยสลายและนำมารีไซเคิลได้.

    การเลือกภาชนะบรรจุอาหารที่แปรรูปและถนอมอาหารอย่างไร

    และสิ่งสำคัญในการเก็บถนอมอาหารประเภทที่ปรุงสำเร็จแล้วควรเลือกใส่ในภาชนะที่สะอาดและมีฝาปิด อย่างกล่องถนอมอาหารที่ไมโครแบน (Microban) ซึ่งจะช่วยยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เรามั่นใจได้ว่าภาชนะสามารถปกป้องอาหารจากแบคทีเรียภายนอกได้ และมีเทคโนโลยีพิเศษล็อก 2 ชั้น ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ จึงถนอมอาหารได้ ...

    ข้อใดเป็นการเลือกใช้ภาชนะสำหรับใส่อาหารที่เหมาะสมที่สุด

    อย่าใช้ภาชนะพลาสติกใส่อาหารร้อนจัด อาหารที่มีรสเปรี้ยวหรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด ขวดพลาสติกใสที่บรรจุน้ำดื่มขาย ควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่ควรนำมากรอกน้ำดื่มใส่ตู้เย็น หากจะกรอกน้ำแช่ตู้เย็นควรเลือกขวดพลาสติกที่ผลิตมาโดยเฉพาะหรือขวดแก้วจะดีกว่า

    วิธีการแปรรูปอาหารมีวิธีการใดบ้าง

    การแปรรูปอาหารมีหลายแบบมีตั้งแต่แบบดั้งเดิมเช่น การใช้ความร้อน การหมัก การดอง การ รมควัน การท าแห้งและการบ่ม ไปจนถึงการแปรรูปที่ทันสมัยอาศัยความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรม เช่น การบรรจุกระป๋อง การพาสเจอไรส์ การแช่เยือกแข็ง การใช้ความร้อนสูง การใช้ความดันสูง หรือการบรรจุภายใต้ภาวะบรรยากาศที่เหมาะสม