เสียง แหบ เสียง หาย ทํา ไง ดี

ใครที่เป็นหวัด หรือใช้เสียงมาก จนเสียงแหบแห้ง เสียงหาย “X-RAY สุขภาพ” ในวันนี้มีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวมาฝากผู้อ่านทุกท่าน อาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2556 เวลา 00.00 น.

บอกต่อ : 0

0

0

0

ใครที่เป็นหวัด หรือใช้เสียงมาก จนเสียงแหบแห้ง เสียงหาย “X-RAY สุขภาพ” ในวันนี้มีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวมาฝากผู้อ่านทุกท่าน 

รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทย ศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า เวลาเป็นหวัด เยื่อบุจมูกอักเสบ ซึ่งเยื่อบุจมูกจะต่อกับเยื่อบุคอ เยื่อบุสายเสียง หลอดลม เป็นเยื่อบุอันเดียวกัน เมื่อใดก็ตามที่เราเป็นหวัดมีการอักเสบในจมูกถ้าดูแลตัวเองดีเชื้อไวรัสจะไม่ลงคอ ไม่มีคออักเสบ แต่ถ้าดูแลตัวเองไม่ดี จากจมูกก็ลงคอคนไข้จะมีคออักเสบ กลืนน้ำลาย เจ็บคอ มีไข้ หากดูแลไม่ดีอีกก็จะลงไปที่สายเสียง พอสายเสียงอักเสบ ก็ทำให้เสียงแหบแห้ง เสียงหาย ซึ่ง

อาการเสียงแหบแห้งเกิดจากสายเสียงบวม ปกติสายเสียงของคนเราถ้าไม่บวมเสียงจะใส เป็นปกติ พอสายเสียงบวมจะมีลมรั่วเกิดขึ้นทำให้ปิดไม่สนิท ทำให้เสียงแหบแห้ง เสียงหาย ถ้าดูแลไม่ดีอีกจากสายเสียงอักเสบก็ลงไปหลอดลม ทำให้หลอดลมอักเสบ เกิดอาการไอ มีเสมหะ ถ้าเป็นหวัดแล้วรีบรักษาจะไม่เกิดสายเสียงอักเสบ จนเสียงแหบแห้ง เสียงหาย 

สายเสียงอักเสบ เกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเป็นหวัด ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 80% คนที่ดูแลไม่ดี อดหลับ อดนอน เครียด เชื้อไวรัสจะลงไปที่สายเสียง แต่ถ้าดูแลตัวเองดีจะหยุดอยู่แค่จมูกและคอไม่ลงไปสายเสียง คนไข้ช่วงนี้เยอะเพราะเป็นหวัดกัน บางคนไอมาก ก็มีปัญหาสายเสียงได้ เพราะมีการกระแทกของสายเสียง พอสายเสียงกระแทกกันก็บวม  ดังนั้นไม่มีความจำเป็นต้องกินยาแก้อักเสบ หรือยาต้านจุลชีพ แต่คนไข้ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจมักขอยาจากหมอทุกครั้ง 

สาเหตุรองลงมา คือ การใช้เสียงผิดวิธี ชอบตะโกน ใช้เสียงมากและนานเกินไป ทำให้สายเสียงอักเสบ เช่น กลุ่มที่ใช้เสียงเป็นอาชีพนักร้อง นักการเมือง พระที่ต้องเทศน์บ่อย ๆ นักแสดงต้องใช้เสียง ต้องตะเบ็ง ตะโกน ส่วนสาเหตุอื่น ๆ เช่น จากแบคทีเรียพบน้อย  เราจะสงสัยว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียก็ต่อเมื่ออาการไม่หายเสียที คือ ถ้าเป็นเชื้อไวรัส ปฏิบัติตัวถูกต้องอาการจะหายภายใน 7-10 วัน ถ้าเกิน 7-10 วันแล้วไม่หาย ให้สงสัยว่าอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 

วิธีการรักษาสายเสียงอักเสบ มีดังนี้ 

พักการใช้เสียง ดีที่สุดคือไม่พูด ไม่ว่าจะพูดเบาหรือดัง สายเสียงจะกระแทกกัน พูดทีกระแทกกันหลายร้อยครั้ง แม้กระซิบก็มีการกระแทกกันของสายเสียง ดีที่สุดคือไม่ใช้เสียงเลย หากจำเป็นต้องสื่อสารอาจใช้กระดาษ ใช้ภาษาใบ้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องใช้เสียงในลักษณะที่ไม่ต้องเค้นเสียงมาก  เพราะเวลาเสียงแหบคนจะเค้นเสียงให้มีเสียงคุณภาพดีเท่าเดิม แต่หารู้ไม่ว่าการเค้นเสียงจะยิ่งทำให้มีการบาดเจ็บของสายเสียงมากขึ้น หากยังใช้เสียงอยู่ก็ทำให้หายช้า 

ดื่มน้ำมาก ๆ สายเสียงเปรียบเสมือนลูกสูบรถยนต์ ถ้าไม่มีน้ำมันหล่อลื่นจะเกิดการเสียดสีและเกิดความร้อน เวลามีการอักเสบของสายเสียงจะมีการระเหยของน้ำไปด้วย น้ำหล่อลื่นกันการกระแทกของสายเสียงก็น้อย ตัวหล่อลื่นก็น้อย ดังนั้นควรดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 3 ลิตรต่อวัน ถ้าคออักเสบ เจ็บคอ ไม่ควรดื่มน้ำอุ่นจัด สามารถดื่มน้ำเย็นได้ อย่างเวลาต่อมทอนซิลอักเสบเจ็บคอมาก เราจะแนะนำให้คนไข้กินไอศกรีม หรืออะไรเย็น ๆ เพราะจะชา แต่ถ้าคนไข้มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และไอร่วมด้วย การดื่มน้ำเย็นไม่เหมาะ ควรจะเป็นน้ำอุณหภูมิห้อง คือ ถ้าไม่ได้เจ็บคอ มีแต่คัดจมูก มีเสมหะ ไอ ดื่มน้ำอุ่นได้ 

หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด รสเผ็ด เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบมากขึ้น ไม่ควรทานอาหารที่ร้อนจัดหรืออุ่น หลีกเลี่ยงอาหารผัด อาหารทอด 

ดูแลความสะอาดช่องปาก กลั้วคอเป็นประจำ เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสอยู่ในคอมากขึ้น การกลั้วคอจะช่วยได้ นอกจากน้ำเปล่าแล้ว อาจใช้น้ำเกลือกลั้วคอได้ ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการอักเสบ ระคายคอมากขึ้น 

การอมยาอมหรือลูกอมแก้เจ็บคอใช้ได้ แต่ส่วนใหญ่คนไข้มักจะไปซื้อยาอมหรือลูกอมที่มียาฆ่าเชื้ออยู่ ปัญหาคือเวลาเจ็บคอซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส การอมยาอมที่มียาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านจุลชีพในปริมาณต่ำ ๆ อาจจะมีข้อเสีย ไปกระตุ้นให้แบคทีเรียดื้อยาได้ ทั้งนี้ปริมาณของยาต่ำมากไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อยู่แล้ว ดังนั้นการให้ยาปริมาณต่ำ ๆ เข้าไป อาจไปกระตุ้นเชื้อแบคทีเรียให้เกิดการดื้อยาได้ นอกจากนี้ยาอมประเภทนี้มักจะมียาชาผสมอยู่ เพื่อทำให้คนไข้มีอาการเจ็บคอน้อยลง เมื่อใช้แล้วหายชา หายเจ็บ คนไข้ไปใช้เสียงมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บของสายเสียงมากขึ้น ดังนั้นต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง 

ถามว่าเมื่อใดควรไปพบแพทย์ ขอเรียนว่า ถ้าคออักเสบจากเชื้อไวรัส ปฏิบัติตัวดีจะหายภายใน 7-10 วัน แต่ถ้าการเจ็บคอเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่หายภายใน 7-10 วัน และมีภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น กลืนติด กินลำบาก หายใจลำบาก ความรุนแรงของโรคมากขึ้นเรื่อย ๆ ควรไปพบแพทย์.

เสียงแหบ คือ ภาวะที่มีเสียงเปลี่ยนผิดปกติไปจากเดิม เช่น เสียงเบาลง เสียงหยาบ เสียงเค้น เสียงสูงหรือต่ำกว่าปกติ ไม่มีเสียง เสียงขาดหาย เป็นช่วงๆ ภาวะเสียงเปลี่ยนนี้ มักเกิดจากความผิดปกติที่สายเสียง ซึ่งมีอยู่ 2 เส้น ในกล่องเสียงของเรา ขณะหายใจสายเสียงจะขยับออกจากกันส่วนขณะพูดหรือออกเสียงนั้น สายเสียงจะขยับเข้ามาชิดกันตรงกลางลมที่ถูกขับดันออกมาจากปอดจะทำให้สายเสียงนั้นสั่นพริ้ว และเกิดเป็นเสียงขึ้น ยิ่งสายเสียงถูกทำให้ตึงมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสั่นพริ้วได้เร็วขึ้นเท่านั้นและเสียงที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งแหลมขึ้นไปด้วย ภาวะที่มีก้อนหรือบวมที่สายเสียงจะทำให้สายเสียงไม่สามารถขยับมาชิดกันได้ จึงทำให้มีเสียงเปลี่ยนไป

กินอะไรทำให้เสียงแหบ

นอกจากน้ำเปล่าจะช่วยบำรุงสายเสียง ยังช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกติด้วย ดื่มชาอุ่น ๆ ผสมน้ำผึ้งมะนาว เป็นวิธีสุดคลาสสิคที่ได้ผล และนิยมกันมาก โดยเฉพาะศิลปินนักร้องที่ต้องใช้เสียงเป็นประจำ หลายคนอาจแนะนำให้กินน้ำผึ้งเพียว ๆ ผสมมะนาว เพราะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยบำรุงเสียงให้สดใสขึ้น

เสียงแหบ หายกี่วัน

“เสียงแหบ” เกิดได้จากหลายสาเหตุ คนเราสามารถมีเสียงแหบได้จากการใช้เสียงเยอะ ตะโกน หรือเป็นหลอดลมอักเสบ แต่ส่วนใหญ่เสียงจะค่อยๆ กลับมาภายใน 2-3 วัน แต่ถ้ามีอาการเสียงแหบติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ คุณควรเข้าพบหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ ซึ่งอาชีพที่ใช้เสียงมากเช่น ครู นักร้อง นักแสดง พิธีกร เป็นต้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเกี่ยว ...

เสียงแหบเกิดจากสาเหตุอะไร

เสียงแหบ คือ ภาวะที่มีเสียงเปลี่ยนผิดปกติไปจากเดิม เช่น เสียงเบาลง เสียงหยาบ เสียงเค้น เสียงสูงหรือต่ำกว่าปกติ ไม่มีเสียง เสียงขาดหาย เป็นช่วงๆ ภาวะเสียงเปลี่ยนนี้ มักเกิดจากความผิดปกติที่สายเสียง ซึ่งมีอยู่ 2 เส้น ในกล่องเสียงของเรา ขณะหายใจสายเสียงจะขยับออกจากกันส่วนขณะพูดหรือออกเสียงนั้น สายเสียงจะขยับเข้ามาชิดกัน ...

หลอดเสียงอักเสบกี่วันหาย

การรักษากล่องเสียงอักเสบจะต้องอาศัยทั้งการรับประทานยาแก้อักเสบตามที่แพทย์สั่งและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่กัน โดยจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ (เป็นอย่างน้อย) จึงหายจากโรค ซึ่งพฤติกรรมที่ควรทำ ได้แก่ พักการใช้เสียง พูดให้น้อย ไม่ตะโกน อยู่ในสถานที่ที่รักษาความสะอาด เลี่ยงควันต่าง ๆ และมลภาวะในอากาศ เลี่ยงการรับประทาน ...