การ สูญ เสีย การ ได้ยิน จาก การ ทํา งาน

ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ได้กำหนดระดับเสียงต่อเนื่องที่ยอมให้สัมผัสได้ ดังนี้


    - ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 91 db
    - เกินกว่าวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 8ชั่วโมง และ ไม่เกิน 90 db
    - เกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 80 db

การสูญเสียการได้ยิน ที่เกิดจากเสียงดังนั้นมี 2 ชนิดได้แก่


    การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว (Temporary hearing loss)    ซึ่งมักเกิดในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรกของการทำงาน และพบว่ากลับคืนสู่สภาพเดิมได้ใน 14-16 ชั่วโมง ภายหลังหยุดการสัมผัสเสียง
    การสูญเสียแบบถาวร (Permanent hearing loss)     เกิดขึ้นเมื่อหูได้ยินเสียงที่มีความเข้มสูงมากเป็นประจำ เป็นระยะเวลาหลายปี เกิดจากการทำลาย Cell รับเสียง ซึ่งจะไม่มีโอกาสกลับคืนสู่สภาพปกติได้

 วัตถุประสงค์การตรวจการได้ยินในโรงงาน 


- เป็นข้อมูลพื้นฐานในคนงานเข้าใหม่ 
- เป็นการค้นหาปัญหาการสูญเสียการได้ยิน ในระยะเริ่มต้น เพื่อจะได้รับการปรับปรังแก้ไข สภาพแวดล้อมทางเสียง  และการใช้เครื่องป้องกัน เสียง(ear plug ,ear muff) อย่างเคร่งครัดต่อไป - เพื่อติดตามผลระบบควบคุมป้องกันด้านสิ่งแวดล้อม

ผลตรวจการได้ยินนำไปใช้ทำอะไร 


-แบบที่ 1  การทดสอบสมรรถภาพการได้ยินก่อนเข้างาน(Pre Placement) เพื่อเป็น Baseline ใช้เปรียบเทียบกับปีต่อ ๆไป โดยจะคิดค่าเฉลี่ยการได้ยิน(db) ที่ความถี่ 500,1000,2000, และ 3000 Hertz (AV.SHL.) และที่ความถี่ 4000 และ 6000 Hertz (AV.NIHL.) ถ้ามีค่าเกิน 30- 45 db ไม่ควรรับเข้าทำงานในแผนกที่ต้องสัมผัสเสียงดัง


-แบบที่ 2  การทดสอบสมรรถภาพ การได้ยินประจำปี (Periodic Exam) เพื่อเปรียบเทียบว่ามีความเสื่อมของการได้ยินหรือไม่ โดยจะคิดค่าเฉลี่ยการได้ยิน(db) ที่มีค่าความถี่ 2000,3000 และ 4000 Hertz (AV.STS.) ถ้าเสื่อมลงจากเดิมเกิน 10 (db) ถือว่าผิดปกติ

ควรได้รับการตรวจซ้ำภายใน 1 –3 เดือน

ตรวจพิเศษสมรรถภาพการได้ยิน  เพียง 450 บาท
ด้วยความปรารถนาดี คลินิกตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน   โทร. 0-2518-1818 ต่อ 102

การ สูญ เสีย การ ได้ยิน จาก การ ทํา งาน

ชนิดของการสูญเสียการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยินจากมลภาวะทางเสียง (Noise-Induced hearing loss)

การสูญเสียการได้ยินชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกวัย เนื่องจากสาเหตุเกิดจากการรับฟังเสียงที่ดังเกินไปซึ่งทำให้เซลล์ขน (hair cells) ที่อยู่ภายในหูชั้นในถูกทำลาย โดยที่การสูญเสียการได้ยินประเภทนี้อาจเกิดจากการได้รับฟังเสียงเพียงครั้งเดียวที่ดังมากๆ เช่น เสียงปืนที่ดังข้างๆ หูที่ไม่มีเครื่องป้องกันเสียง หรือ เกิดจากการฟังเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล (dB) ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน เช่น การฟังเพลงด้วยหูฟังที่ปรับระดับความดังไว้ที่สูงสุด หรือการทำงานกับเครื่องจักรกลที่มีเสียงดังโดยไม่ใส่เครื่องป้องกันเสียงมานานอย่างต่อเนื่อง

การสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน (Sudden hearing loss)

โดยทั่วไปแล้วการสูญเสียการได้ยินมักเกิดขึ้นช้าๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอายุที่มากขึ้น แต่การสูญเสียการได้ยินประเภทนี้สามารถเกิดได้อย่างทันทีทันใด ซึ่งมีสาเหตุมาจากการได้ยินเสียงที่ดังมากเกินไปจนทำให้เกิดความเสียหายอย่างเฉียบพลัน รวมไปถึงสาเหตุจากโรคบางอย่าง เนื้องอก การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือการใช้ยาที่มีพิษต่อหู ในผู้ป่วยส่วนใหญ่การได้ยินจะกลับมาได้เมื่อเวลาผ่านไปไม่ว่าจะดีขึ้นด้วยการใช้ยาหรือกลับมาหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่ในผู้ป่วยบางรายการสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นถาวรได้เช่นกัน

การสูญเสียการได้ยินจากประสาทหูเสื่อม (Sensorineural hearing loss)

การสูญเสียการได้ยินชนิดนี้จะเกี่ยวข้องกับความเสื่อมของหูชั้นใน โดยที่ขนเล็กๆ ที่เรียงกันในส่วนทางเดินของเสียงภายในหูชั้นในเกิดความเสียหาย การสูญเสียการได้ยินชนิดนี้ส่วนใหญ่มักเกิดจากการรับฟังเสียงที่ดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน การติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส การสะสมของของเหลวในหูชั้นใน การบาดเจ็บอย่างกะทันหัน และการเสื่อมตามวัย ซึ่งการที่ประสาทหูเสื่อมนี้ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด ดังนั้นการใช้เครื่องช่วยฟังจึงเป็นวิธีเดียวสำหรับการรักษาการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรนี้

การสูญเสียการได้ยินแบบการนำเสียงเสีย (Conductive hearing loss)

การสูญเสียการได้ยินชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อหูชั้นในไม่สามารถรับสัญญาณคลื่นเสียงได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บของหูชั้นกลาง การที่มีของเหลวสะสมอยู่หลังเยื่อแก้วหู หรือมีขี้หูสะสมมากเกินไป การรักษาการได้ยินประเภทนี้มักใช้ยาในการรักษา แต่หากการใช้ยาหรือการผ่าตัดไม่สามารถทำได้ การใช้เครื่องช่วยฟังก็อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับแก้ปัญหาการสูญเสียการได้ยินประเภทนี้

บทความจาก เครื่องช่วยฟัง Rexton