มีลูกด้วยกันแต่ไม่ได้จดทะเบียน ฟ้องได้ไหม

เมื่อคนสองคนชายและหญิงมาเจอกัน รักกัน อยู่ด้วยกันตามประเพณีแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย อยู่ด้วยกันจนมีลูกแต่มาวันหนึ่งแยกกันอยู่ คำถามคือ “ลูกเป็นสิทธิ์ของใคร?” และการไม่ได้จดทะเบียนนี้จะส่งผลต่อลูกอย่างไรบ้าง

Show

สารบัญ

  • พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
  • ความสำคัญของการจดทะเบียนสมรส
    • แง่สามีภรรยา
    • แง่ของการมีลูก
  • หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส
    • ลูกนอกสมรส จะถือเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้เป็นแม่ฝ่ายเดียวเท่านั้น
    • ลูกนอกสมรสไม่มีสิทธิได้รับมรดกจากผู้เป็นพ่อ
    • ลูกนอกสมรส ไม่มีสิทธิฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่ละเมิดผู้เป็นพ่อจนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้
  • หากต้องการจดทะเบียนรับรองบุตร
    • กรณีที่ 1 : ได้รับความยินยอมจากบุตรและมารดา
    • กรณีที่ 2 : ไม่ได้รับความยินยอมจากบุตรและมารดา
  • พ่อจะมีสิทธิดูแลบุตรได้ในกรณีใดบ้าง?
    • กรณีที่ 1 – จดทะเบียนรับรองบุตร
    • กรณีที่ 2 – พ่อแม่สมรสหลังลูกเกิด
    • กรณีที่ 3 – ศาลให้สิทธิพ่อ
  • มีลูก มีได้จดทะเบียน เรียกค่าเลี้ยงดูได้ไหม?
  • หลักเกณฑ์การฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร
    • จดทะเบียนรับรองบุตร
    • ฟ้องศาล
    • มีนัดไกล่เกลี่ย
    • ขอศาลบังคับคดี

พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ทนายเกิดผล แก้วเกิด ได้ออกมาให้ข้อมูลและไขข้อข้องใจไว้ดังนี้ค่ะ

“หากในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่แยกทางกัน แล้วฝ่ายชายเอาลูกไปเลี้ยง โดยที่ฝ่ายหญิงไม่ยินยอม ฝ่ายจะดึงดันทำได้หรือไม่ และจะมีความผิดอะไรหรือไม่?”

สำหรับกรณีนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนค่ะ อ้างถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 บัญญัติไว้ว่า…
มาตรา 1546 เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น
ซึ่งหมายความว่า บุตรทุกคนเป็นบุตรของฝ่ายหญิงฝ่ายเดียว ฝ่ายชายไม่มีสิทธิ์ในตัวบุตร ดังนั้นมารดาจึงมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวตามกฎหมาย และมีอำนาจ ดังนี้
มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ…

  1. กำหนดที่อยู่ของบุตร
  2. ทำโทษบุตรตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
  3. ให้บุตรได้ทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
  4. เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ทั้งนี้ คำว่า “บุคคลอื่นหมายรวมถึงชายที่เป็นบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วย” ตามฎีกาที่ 3461/2541 วินิจฉัยไว้ว่า…
ฎีกาที่ 3461/2541
บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4) หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองซึ่งได้แก่ บิดา มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลยผู้มิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1) ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
…หรือแม้มารดาจะเคยให้ความยินยอมหรือตกลงให้บุตรไปอยู่กับฝ่ายบิดา ข้อตกลงดังกล่าวก็สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกคำสั่งได้เสมอ ฝ่ายบิดาจะยกเอาเหตุนี้มาอ้างเพื่อให้พ้นผิดไม่ได้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3780/2543

ความสำคัญของการจดทะเบียนสมรส

“ทะเบียนสมรส” แม้เป็นเพียงกระดาษใบเดียวก็จริง แต่สิ่งนี้จะเป็นหลักฐานสำคัญทางกฎหมายที่สามารถยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกันได้โดยมีกฎหมายรับรองสิทธิไว้อย่างถูกต้องและชัดเจนโดยมีความสำคัญในแง่ต่างๆ ทางกฎหมาย ดังนี้

แง่สามีภรรยา

  • สามารถเรียกร้องสิทธิได้ อาทิ ต้องการฟ้องร้องกันเนื่องจากสามีนอกใจหรือภรรยามีชู้
  • ต่างฝ่ายต่างสามารถดำเนินคดีอาญาแทนกันได้ กรณีสามีหรือภรรยาถูกทำร้ายร่างกาย
  • นำไปใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี

แง่ของการมีลูก

  • ลูกที่เกิดมาจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของสามีทันที
  • มีสิทธิได้รับมรดกของผู้เป็นพ่อ
  • หากเกิดกรณีหย่าร้างกัน ภรรยาสามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงดูจากสามีได้

หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส

หากคู่สมรสคู่ไหนไม่ได้มีการจดทะเบียน แล้วหากมีลูกด้วยกันจะทำให้ลูกที่เกิดมาเป็น “ลูกนอกสมรส” แล้วจะส่งผลต่อลูกอย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

ลูกนอกสมรส จะถือเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้เป็นแม่ฝ่ายเดียวเท่านั้น

ถึงแม้ว่าลูกจะใช้นามสกุลของผู้เป็นพ่อก็ตาม เพราะการให้ใช้นามสกุลนับเป็นการรับรองบุตรโดยพฤติการณ์เท่านั้นแต่ลูกนอกกฎหมายนี้มีสิทธิต่อผู้เป็นพ่อเช่นเดียวกันกับลูกถูกกฎหมายทุกอย่าง แต่ไม่ถือว่าเป็นพ่อลูกกันตามกฎหมาย

ลูกนอกสมรสไม่มีสิทธิได้รับมรดกจากผู้เป็นพ่อ

เพราะถือเป็นลูกนอกกฎหมายยกเว้นว่าผู้เป็นพ่อมีการรับรองว่าให้ใช้นามสกุลหรือจดทะเบียนรับรองการเป็นบุตรเท่านั้น

ลูกนอกสมรส ไม่มีสิทธิฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่ละเมิดผู้เป็นพ่อจนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้

ยกเว้นจะได้รับการรับรองบุตร และในขณะเดียวกันผู้เป็นพ่อก็ไม่สามารถเรียกร้องหรือฟ้องร้องดำเนินคดี หากมีผู้ละเมิดร่างกายลูกจนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้ แต่ผู้เป็นแม่สามารถฟ้องร้องได้คนเดียวเท่านั้น

หากต้องการจดทะเบียนรับรองบุตร

กรณีที่ 1 : ได้รับความยินยอมจากบุตรและมารดา

หากเป็นอย่างกรณีนี้ คือได้รับความยินยอมของทั้งลูกและผู้เป็นแม่ คุณพ่อสามารถไปจดทะเบียนรับรองได้เลย โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วย ดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สูติบัตรของลูก
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • หนังสือแสดงความยินยอมทั้งของบุตรและมารดา

กรณีที่ 2 : ไม่ได้รับความยินยอมจากบุตรและมารดา

หากเป็นในกรณีนี้ที่บิดาไม่ได้รับความยินยอมจากทั้งลูกและผู้เป็นแม่ บิดาต้องยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อให้ศาลตัดสินและมีคำพิพากษาให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรได้ก่อน แล้วจึงนำคำพิพากษาดังกล่าวไปยื่นขอจดทะเบียนในขั้นตอนต่อไป พร้อมกับนำเอกสารตามกรณีที่ 1 ไปด้วย
ถ้าเป็นกรณีที่ 2 นี้ ต้องใช้ระยะเวลานานซักหน่อย (กินระยะเวลาเป็นปี) กว่าศาลจะพิจารณาคดีและมีคำพิพากษาออกมา เพราะต้องใช้หลักฐานต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อประกอบคำพิพากษา และมีหลายขั้นตอนกว่าสำเร็จลุล่วง

พ่อจะมีสิทธิดูแลบุตรได้ในกรณีใดบ้าง?

ผู้เป็นพ่อจะมีสิทธิที่จะได้เลี้ยงดูบุตรใน 3 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 – จดทะเบียนรับรองบุตร

ข้อนี้ไม่ใช่กรณีที่คุณพ่อมีชื่อในใบเกิดลูกนะคะ เป็นคนละกรณีกัน แต่กรณีนี้ หมายถึง คุณพ่อต้องไปจดทะเบียนรับรองบุตรที่อำเภอ โดยมีคุณแม่และลูกให้ความยินยอมด้วย แต่ถ้าหากลูกยังเล็กเกินไปที่จะตัดสินใจ ศาลจะเป็นผู้ตัดสินให้ โดยพิจารณาจากเหตุผลที่ว่าถ้าคุณพ่อได้เซ็นรับรองบุตรแล้ว บุตรจะได้ปรับประโยชน์สูงสุดอย่างไรบ้าง

กรณีที่ 2 – พ่อแม่สมรสหลังลูกเกิด

หมายความว่า แม่คลอดลูกออกมาก่อน แล้วค่อยจะทะเบียนกับคุณพ่อภายหลัง ลักษณะเช่นนี้คุณพ่อจะมีสิทธิในการเลี้ยงดูลูก

กรณีที่ 3 – ศาลให้สิทธิพ่อ

กรณีนี้คุณพ่อต้องฟ้องศาล เพื่อให้ศาลช่วยพิจารณาและตัดสินค่ะ ซึ่งต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้คุณพ่อมีสิทธิเลี้ยงดูลูกได้

มีลูก มีได้จดทะเบียน เรียกค่าเลี้ยงดูได้ไหม?

กรณีที่คุณแม่มีลูกด้วยกัน ต้องการเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตร แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส คุณพ่อของบุตรจึงไม่ได้เป็นคุณพ่อที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น หากคุณแม่ต้องการค่าเลี้ยงดูบุตรจากคุณพ่อ สามารถทำได้โดยจะต้องมีการจดทะเบียนกันในภายหลัง หรือคุณพ่อต้องจดรับรองบุตร หรือกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ของบุตรไม่ยินยอมให้ทำการจดทะเบียนรับรองบุตร ดังนั้น ต้องใช้วิธีการฟ้องศาล เพื่อให้ศาลเป็นผู้พิพากษาว่าลูกที่เกิดมานี้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคุณพ่อ

หลักเกณฑ์การฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร

สำหรับหลักเกณฑ์ในการฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรมี ดังนี้

จดทะเบียนรับรองบุตร

การจดทะเบียนรับรองบุตรสามารถจดได้ที่อำเภอ และคุณพ่อคุณแม่รวมถึงลูกต้องให้การยินยอม แต่หลายคนเข้าใจว่า เพียงแค่ลูกใช้นามสกุลของคุณพ่อ ลูกก็มีสิทธิได้ค่าเลี้ยงดูซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด สิ่งนี้ไม่ได้เรียกว่าเป็นการรับรองบุตร ซึ่งการจะได้ค่าเลี้ยงดูจากคุณพ่อจะใช้การจดทะเบียนรับรองบุตรเท่านั้น ซึ่งจะเป็นเอกสารที่มีผลทางกฎหมาย

ฟ้องศาล

การฟ้องศาลเพื่อเรียกค่าเลี้ยงดู สามารถฟ้องเป็นค่าเลี้ยงดูแบบรายเดือนก็ได้ หรือถ้าหากคู่กรณีตกลงกันกับคุณแม่ว่าต้องการจ่ายเป็นก้อนก็สามารถทำได้เช่นกัน การฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูนั้น บุตรจะได้รับจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะหรือจนกว่าบุตรจะเรียนจบในระดับปริญญาตรี ทั้งนี้การฟ้องเพื่อขอเรียกค่าเลี้ยงดูนั้น นับเป็นคดีแพ่ง และจะต้องฟ้องศาลเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดที่ลูกมีภูมิลำเนาเกิด

มีนัดไกล่เกลี่ย

หลังจากที่ทนายส่งเรื่องฟ้องแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นนัดไกล่เกลี่ย หากตกลง เจรจากันได้ก็จะจบภายใน 2-4 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 จะสามารถตกลงกันได้ในขั้นตอนนี้ แต่ถ้าหากตกลงกันไม่ได้ ศาลก็ต้องขอหลักฐานเพิ่มเติม ได้แก่ ใบสูติบัตรที่มีชื่อคุณพ่อ, ใบยินยอมให้ลูกใช้นามสกุลพ่อ และผลตรวจ DNA เป็นต้น โดยมากแล้วค่าเลี้ยงดูรายเดือนจะไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท โดยพิจารณาจากฐานะ, อาชีพ และรายได้ของคุณพ่อคุณแม่ เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อบุตร

ขอศาลบังคับคดี

หากศาลมีคำพิพากษาแล้วว่าให้คุณพ่อส่งค่าเลี้ยงดูบุตร แต่คุณพ่อยังเพิกเฉยไม่ชำระ คุณแม่สามารถยื่นขอคำบังคับคดีจากศาล เพื่อออกคำสั่งให้อายัติเงินเดือน หรือทรัพย์สินอื่น ๆ มาเป็นค่าเลี้ยงดูบุตรได้ และ/หรือ คุณพ่อมีเงินที่จะจ่าย แต่ไม่ยอมจ่าย สามารถขอให้ศาลสั่งจำคุกได้เลยชั่วคราวเป็นครั้ง ๆ ไป จนกว่าคุณพ่อจะชำระค่าเลี้ยงดูบุตรตามที่ศาลพิพากษาก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ หากในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงค่าเลี้ยงดูที่มากขึ้น คุณแม่สามารถยื่นต่อศาลขอให้เปลี่ยนแปลงค่าเลี้ยงดูบุตรตามค่าใช้จ่ายที่มีอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงบุตรเป็นหลัก

บางครอบครัวอาจมองว่าทะเบียนสมรสเป็นเพียงกระดาษใบเดียว จริงค่ะเป็นกระดาษใบเดียวแต่กระดาษแผ่นนี้จะมีผลในทางกฎหมายเป็นอย่างมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลดีต่อคุณแม่และลูกน้อยทั้งนั้นนะคะ

อ้างอิงข้อมูล; punpro.com, nitilawandwinner.com


มีลูกด้วยกันแต่ไม่ได้จดทะเบียน ฟ้องได้ไหม

แม่โน้ต

3,182,263 views

Mommy Blogger ที่มียอดวิวในเว็บไซต์ simplymommynote.net มากกว่า 200,000 วิว ต่อเดือน ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ Tradigital รักการเขียน มีลูกสาว และครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดเรื่องราว ชอบเรียนรู้เรื่องจิตวิทยา และสิ่งใหม่ ๆ IG : notepatsita Facebook

ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรส ฟ้องได้ไหม

1. หากฝ่ายสามีหรือภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อฝ่ายสามีหรือภริยามีคนอื่นหรือมีชู้ จะไม่มีสิทธิในการฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชู้ได้ และไม่สามารถเรียกค่าทดแทนจากฝ่ายสามีหรือภริยาได้

บุตร จะเป็นบุตร ที่ ถูก ต้อง ของบิดา ที่ ไม่ ได้ จดทะเบียน สมรส กับ มารดา ได้ อย่างไร

ถ้าไม่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกำหนดไว้ว่า ลูกที่เกิดมา “ถือว่า” เป็นบุตรโดยชอบตามกฎหมายของมารดา โดยไม่จำเป็นต้องรับรองบุตรเพราะลูกเกิดมาจากฝ่ายแม่แน่นอนอยู่แล้ว

ลูกนอกสมรสเป็นสิทธิ์ของใคร

แต่กรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน กฎหมายให้ถือว่าเด็กที่เกิดจากหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงเพียงคนเดียว ตามมาตรา 1546 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ลูกของใคร กฎหมาย

คุณพ่อจะมีสิทธิในตัวลูก หรือลูกจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (ซึ่งบิดาและมารดาของบุตรจะมีอำนาจปกครองบุตรร่วมกัน) ก็ต่อเมื่อ บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง บิดาได้จดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร (ต้องได้รับความยินยอมทั้งจากมารดาและเด็กโดยตามปกติต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนที่อำเภอ)