มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

Highlight

  • ความสุขในการทำงาน คือการรับรู้ทางอารมณ์ที่ดีต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ความจงรักภักดี และอัตราการลาออกที่น้อยลง
  • มีปัจจัยในการสร้างความสุขในการทำงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการมีรายได้ที่เพียงพอ, การมีเจ้านายที่ดี หรือการมีชีวิตและการทำงานที่สมดุล 
  • HR สามารถส่งเสริมการสร้างความสุขในการทำงานได้จากการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในองค์กร, ใช้ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น, ชื่นชมและให้ฟีคแบคพนักงาน รวมไปถึงมอบผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม
  • เพราะการดึงศักยภาพของคนให้ได้มากที่สุดต้องแลกมาด้วยแรงกดดันมหาศาล องค์กรยุคใหม่จึงไม่สามารถมองข้ามประเด็นความสุขในการทำงานของพนักงานได้เลย

ความสุขคืออะไร เป็นคำถามที่ดูเหมือนจะตอบง่าย แต่ก็ตอบยาก เพราะขณะที่ใครหลายคนดูเหมือนจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่คนเหล่านั้นก็กลับค้นหาและพยายามไขว่คว้ามันใหม่อยู่เสมอ ท่ามกลางแนวคิดการค้นหาความสุขมากมาย จึงเกิดคำถามใหม่เกิดขึ้นมาว่า เราจะสร้างความสุขที่ยั่งยืนได้อย่างไร เช่นเดียวกับ ความสุขในการทำงาน (Workplace Happiness) ที่จะเป็นตัวสร้างความผูกพันและแรงจูงใจในองค์กร โดยจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน การสร้างความจงรักภักดีของพนักงาน และลดอัตราการลาออกให้น้อยลง หลายคนองค์กรจึงหันมาใส่ใจการสร้างความสุขในที่ทำงานมากขึ้น ต่อจากนี้คือแนวทางการสร้างความสุขในการทำงานให้ยั่งยืน เพื่อให้ทุกองค์กรสามารถนำไปปรับใช้กัน

Contents

  • ความสุขในการทำงานคืออะไร
  • ความสำคัญของความสุขในการทำงาน
  • ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน
    • 1. มีรายได้ที่เพียงพอ
    • 2. มีเจ้านายที่ดี
    • 3. มีเพื่อนร่วมงานที่ยอดเยี่ยม
    • 4. มีความอิสระ
    • 5 มีชีวิตและการทำงานที่สมดุล (Work Life Balance)
  • HR จะส่งเสริมการสร้างความสุขในการทำงานได้อย่างไร
    • 1. ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในองค์กร
    • 2. ใช้ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น
    • 3. ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางอาชีพ
    • 4. ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะใหม่
    • 5. ชื่นชมและให้ฟีคแบคกับพนักงาน
    • 6. มอบผลตอบแทนและสวัสดิการที่ดี
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • ตัวอย่างโมเดลการสร้างความสุขในการทำงาน
    • BAMBA Model
    • PERK Model
    • Happy Workplace
  • บทสรุป

ความสุขในการทำงานคืออะไร

มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

ความสุขในการทำงาน คือการรับรู้ทางอารมณ์ของพนักงานในทางที่ดีต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมาย สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การได้รับการยกย่อง การยอมรับ ความมั่นคง ความก้าวหน้า หรือแม้กระทั่งความปลอดภัยในการทำงาน รวมไปถึงปัจจัยทางด้านบุคคล เช่น เพื่อนร่วมงานที่ดีหรือหัวหน้างานที่เมตตา ซึ่งทั้งหมดเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ โดยความสุขในที่ทำงานประกอบไปด้วย

  • ความรื่นรมย์ในการทำงาน (Arousal)เป็นความรู้สึกสนุกขณะทำงานโดยไม่มีความรู้สึกวิตกกังวลใดๆ
  • ความพึงพอใจในงาน (Pleasure) เป็นความรู้สึกพอใจขณะทำงาน โดยไม่มีความทุกข์ใจในการปฏิบัติตน
  • ความกระตือรือร้นในการทำงาน (Self-validation) เป็นความรู้สึกอยากทำงาน เต็มไปด้วยความตื่นตัวและมีชีวิตชีวา

Did You Know?

ถ้าไม่มีความสุขในการทำงานก็จะเกิดขึ้นอาการ Burnout Syndrome มีข้อมูลจาก วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ที่สำรวจผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานครช่วงปลายปี 2562 จํานวน 1,280 คน พบว่า 12% ของคนวัยทำงานอยู่ในภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) และ 57% กำลังตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง ซึ่งกลุ่ม Gen Z เป็นวัยที่ตกอยู่ในภาวะหมดไฟมากที่สุดถึง 17% รองลงมาคือกลุ่ม Gen Y ที่ 13% และกลุ่ม Baby Boomer ที่ตกอยู่ในภาวะหมดไฟ 7% ผลสำรวจนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า การดูแลสุขภาพจิตใจของพนักงานในองค์กรเป็นเรื่องจำเป็น หลายองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับความสุขในการทำงานมากขึ้น

มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

Burnout Syndrome – ชาร์ตพลังให้พนักงานที่หมดไฟ ให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของความสุขในการทำงาน

ทุกวันนี้การวัดผลธุรกิจไม่ได้มองแค่การเติบโตทางตัวเลขเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงความท้าทายในการสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ ซึ่งตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นมาได้นั้น ก็คือคนหรือพนักงานขององค์กรนั่นเอง ทว่าการดึงศักยภาพของคนออกมาให้ได้มากที่สุดต้องแลกมาด้วยแรงกดดันมหาศาล องค์กรยุคใหม่จึงไม่สามารถมองข้ามประเด็นความสุขในการทำงานของพนักงานได้เลย ทั้งนี้มีงานวิจัยสารพัดที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับประสิทธิภาพองค์กรอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น

  • พนักงานที่มีความสุขจะอยู่กับองค์กรนานกว่าพนักงานที่ไม่มีความสุข 4 เท่า
  • พนักงานที่มีความสุขจะมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น 12%
  • พนักงานที่มีความสุขจะทุ่มเทในการทำงานมากขึ้นเป็น 2 เท่า
  • พนักงานที่มีความสุขจะมีพลังงานในการทำงานมากกว่าพนักงานที่ไม่มีความสุข 65%

ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน

 มีหลายปัจจัยที่ทำให้พนักงานความสุขในที่ทำงาน โดยในที่นี้เราขอสรุปออกมาทั้ง 5 ปัจจัยครอบคลุมความสุขในการทำงาน ดังนี้

1. มีรายได้ที่เพียงพอ

แน่นอน ค่าแรงที่สูงขึ้นส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานที่สูงขึ้นตาม มีรายการของ World Happiness Report (WHR) ที่บอกว่า คนทำงานที่มีรายได้สูงจะมีความสุขและพอใจในชีวิตหรือการทำงานมากกว่าคนที่มีรายได้ต่ำ อย่างไรก็ตาม การแสวงหาความสุขในที่ทำงานไม่จำเป็นต้องเท่ากับการแสวงหารายได้ที่มากขึ้น เพราะการเพิ่มเงินไม่ได้ส่งผลต่อการเพิ่มความสุขเสมอไป ยกตัวอย่าง การเพิ่มเงินเดือน 100 ดอลลาร์ (ประมาณ 3200 บาท) จะทำให้คนที่รายได้ต่ำมีความสุขมากกว่าคนที่มีรายได้สูงอยู่แล้ว สอดคล้องกับอีกหนึ่งผลการวิจัยที่บอกว่า เงินไม่ได้สร้างความสุขสำหรับคนที่มีรายได้เกิน 75,000 ดอลลาร์ต่อปี (2 ล้านบาทขึ้นไป) สรุปก็คือ การมีเงินมากไม่มีผลต่อความสุข แต่การมีความมั่นคงทางการเงินต่างหากที่ทำให้มีความสุขมากกว่า

2. มีเจ้านายที่ดี

มีหลายงานวิจัยที่บอกว่า หัวหน้าที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสุขในที่ทำงาน เหมือนที่ เบนจามิน อาร์ทส์ (Benjamin Artz) ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซินและคณะ ได้ศึกษาความสามารถของหัวหน้างานแล้วพบว่า การมีหัวหน้าที่มีความสามารถและมีความรอบรู้สูงมีอิทธิพลเชิงบวกเป็นอย่างมากต่อระดับความพึงพอใจของพนักงาน โดยเฉพาะหัวหน้างานสามารถกำหนดสภาวะการทำงานของพนักงานได้เหมือนกัน ฉะนั้นการมีหัวหน้าที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในแต่ละสาขาขององค์กร ก็จะเพิ่มความสุขและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ถึง 12%

3. มีเพื่อนร่วมงานที่ยอดเยี่ยม

การทำงานคือการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่การฉายเดี่ยว ความสามัคคีจึงเป็นปัจจัยให้การทำงานประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น หากมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานย่อมส่งผลเสียต่อกระบวนการแน่นอน ขณะเดียวกัน ถ้าหากมีความสัมพันธ์อันดี ทุกคนก็จะร่วมมือร่วมใจฝ่าฟันอุปสรรคนั้นไปด้วยกัน

4. มีความอิสระ

หัวหน้าที่ให้ความอิสระจะทำให้พนักงานมีความสุขมากขึ้น มากกว่ามีหัวหน้าที่ชอบควบคุมทุกอย่างทุกขั้นตอนจนกลายเป็นเผด็จการ โดยมีงานวิจัยที่บอกว่า การบริหารงานแบบย่อยเฝ้าดูทุกขั้นตอน (micromanagement) ทำให้ขวัญกำลังใจของพนักงานต่ำลง อัตราการลาออกสูงขึ้น และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ขณะที่ความอิสระ (แม้กระทั่งความอิสระในช่วงเวลา Work From Home) ก็จะช่วยลดความเครียด และเพิ่มความสบายใจในการทำงานมากขึ้น

5 มีชีวิตและการทำงานที่สมดุล (Work Life Balance)

ถึงแม้จะมีความอิสระ มีความหลากหลายของงาน แต่สิ่งสำคัญที่สุดของความสุขพนักงานคือการได้หยุดงาน เพราะการทำงานมากเกินไป ไม่เพียงส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตแล้ว แต่ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกายด้วย ซึ่งไม่มีผลงานวิจัยใดๆ เลยที่บอกว่า ยิ่งทำงานนานเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผลดี ฉะนั้นการสร้าง Work Life Balance จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดต่อความสุขในที่ทำงาน

HR จะส่งเสริมการสร้างความสุขในการทำงานได้อย่างไร

เพราะคนคือหัวใจขององค์กร การรักษาความสุขของพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหาร หัวหน้างาน รวมไปถึงทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ควรให้ความสำคัญ ซึ่งจะว่าไปแล้วการสร้างความสุขในการทำงานนับเป็นหนึ่งในหน้าที่ของ HR ด้วย โดยสามารถส่งเสริมได้ ดังนี้

1. ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในองค์กร

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กรจะช่วยให้พนักงานมีความผูกพันกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในทีม หรือระหว่างแผนก สิ่งนี้จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรรู้จักกัน และเข้าใจกระบวนการทำงานซึ่งกันและกัน ส่งผลให้ระบบการทำงานมีความคล่องตัวมากขึ้น โดย HR มีเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์มากมายให้เลือกใช้ เช่น การสร้าง Team Building ผ่าน Company Outings เป็นต้น

2. ใช้ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น

การทำงานแบบยืดหยุ่นเป็นที่ถกเถียงในหลากหลายองค์กรมากขึ้น โดยเฉพาะปัจจุบันที่หลายคนจำเป็นต้อง Work From Home ทำให้กฎระเบียบข้อบังคับแบบเดิมๆ ไม่สามารถใช้ได้ในสถานการณ์นี้ HR จึงมีหน้าที่ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจทางเลือกในการทำงานแบบยืดหยุ่น ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงให้เหมาะสมกับแต่ละคน รวมถึงพฤติกรรมการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปด้วย ฉะนั้นองค์กรใดที่สามารถปรับเปลี่ยนข้อจำกัดเพื่อรองรับการทำงานให้สะดวกที่สุด องค์กรนั้นก็จะได้คนที่มีศักยภาพเข้าไปร่วมงานได้มากที่สุด

3. ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางอาชีพ

ด้วยรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป เส้นทางอาชีพ หรือ Career Path ก็ค่อยๆ เลือนลานลง พนักงานคนหนึ่งอาจไม่ได้มีแค่เส้นทางเดียวในเลือกเดิน แถมยังมีงานหลากหลายให้รับผิดชอบ สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารและ HR ควรตระหนักก็คือการวางแผนพัฒนาอาชีพ (Career Development) ให้ก้าวหน้า องค์กรจึงต้องพร้อมให้ข้อเสนอแนะหรือช่วยออกแบบความก้าวหน้าทางอาชีพของพนักงานด้วย

4. ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะใหม่

การเรียนรู้ในที่นี้ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ในองค์กรอย่างเดียว แต่คือการเรียนรู้ภายนอกด้วยเช่นกัน เนื่องจากทุกวันนี้โลกการทำงานได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดงานใหม่และทักษะใหม่ๆ ตามมา ซึ่งบางครั้งเป็นทักษะที่ไม่ได้มีสอนตามหลักสูตรปกติทั่วไป หากมีการส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาตัวเอง ผลประโยชน์ก็จะกลับมาสู่องค์กร ขณะที่พนักงานก็จะรู้สึกดีที่ได้อัพเกรดความสามารถของตัวเองแบบฟรีๆ

5. ชื่นชมและให้ฟีคแบคกับพนักงาน

คงไม่มีการกระทำใดๆ ที่สร้างความสุขได้ดีไปกว่าการเอ่ยปากชื่นชม สิ่งนี้จะช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจพนักงานได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยสามารถทำผ่านการประเมินผลงานประจำปี ซึ่งจะช่วยให้พนักงานทราบถึงความคาดหวังขององค์กร ลำดับความสำคัญ ขอบเขตการทำงาน และคุณค่าของงานที่ทำอยู่ ทั้งนี้ข้อเสนอแนะหรือ Feedback มีได้ทั้งแง่บวกและแง่ลบ อย่าให้แต่คำชม และไม่กล้าให้คำติ เพราะข้อมูลทุกอย่างล้วนสามารถนำไปวิเคราะห์และแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นได้

6. มอบผลตอบแทนและสวัสดิการที่ดี

นอกเหนือจากเงินเดือนแล้ว สวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความสุขให้คนทำงานได้เหมือนกัน ซึ่งไม่เพียงการมอบสวัสดิการพื้นฐาน เช่น สิทธิ์ในการรักษาพยาบาล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ แต่รวมไปถึงสวัสดิการด้านความปลอดภัยและความสะดวกสบายใจองค์กร ถ้าทุกอย่างตอบโจทย์คนทำงานก็จะเพิ่มความสุขในระยะยาวได้เลย

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

Q: ทำยังไงให้พนักงานรู้สึกมีความสุข ทั้งเรื่องงาน เรื่องเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างาน ถ้าในฐานะ HR เราควรเริ่มจากตรงไหนก่อน

อยากวางรากฐานที่จะทำให้บรรยากาศการทำงานเป็นไปในทางบวก สร้างที่ทำงานที่มีความสุข

A: ขอนำ Model ในเรื่อง Engagement มาตอบครับ

โดยเราเชื่อว่าพนักงานที่จะมีความสุขหรือ Engage ได้นั้นจำเป็นต้องมี 3 พฤติกรรม คือ

  1. Say พูดถึงองค์กรในแง่ดี
  2. Stay อยู่กับองค์กร
  3. Strive ทำงานให้ดีที่สุดเพื่อองค์กร

มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

สถิติความสุขในที่ทำงานของไทยปี 2021 จาก Milieu Insight

มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

Milieu Insight ได้สำรวจความสุขในที่ทำงานของพนักงานทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 6,800 คน ทั้งจากประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนามและไทย พบว่า คนไทยกว่า 44% รู้สึกว่าปีนี้ไม่มีความสุขมากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีความสุขสูงที่สุดในกลุ่มตัวอย่างอีกด้วย

มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

โดย ความสุขในที่ทำงาน ของคนไทยเกิดจาก เงินเดือน 48% ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน 45% การจัดการงานปัจจุบัย 36% และความหมายในการทำงาน 33%

มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

ขณะที่ การไม่มีความสุขในที่ทำงาน ของคนไทยเกิดจาก ปริมาณงานที่มากเกินไป 23% การไม่มีโอกาสในการเติบโต 21% เงินเดือน 21% และสวัสดิการบริษัท 20%

ตัวอย่างโมเดลการสร้างความสุขในการทำงาน

BAMBA Model

BAMBA Model เป็นแนวคิดของ ราช รักกุนาธาน (Raj Raghunathan) ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความสุข If You’re So Smart, Why Aren’t You Happy? ซึ่งถ้าหากผู้บริหารหรือ HR โฟกัสสิ่งเหล่านี้ ก็จะสร้างความสุขให้กับพนักงานได้เพิ่มขึ้น โดยแต่ละตัวมีความหมายดังนี้

  1. B – Basic needsคือความต้องการพื้นฐานที่สุดในการทำงาน นั่นคือความต้องการทางร่างกายและความต้องการทางอารมณ์ เช่น ได้เงินเดือนเพียงพอต่อการค่าใช้จ่ายหรือเปล่า การนั่งทำงานเหมาะสมกับสรีระหรือไม่ บรรยากาศในออฟฟิศปลอดโปร่งไหม เป็นต้น
  2. A – Autonomyคือความอิสระในการทำงานโดยไม่ถูกควบคุม ความอิสระในที่นี้ไม่ใช่แค่เรื่องทางกายภาพอย่างเดียว แต่คือความอิสระในการแสดงความคิดเห็นด้วย
  3. M – Mastery คือความชำนาญในทำงาน โดยเฉพาะความชำนาญที่เกิดจากงานที่ตัวเองที่ชอบ มากกว่าการทำตามใบสั่งอย่างเดียว สิ่งนี้จะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นและการเติบโตทางอาชีพ องค์กรจึงควรส่งเสริมให้เกิดเรียนรู้ทักษะนั้นๆ ด้วย
  4. B – Belongingคือการเป็นส่วนหนึ่งในที่ทำงาน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมความรู้สึกแปลกแยกนับเป็นผลร้ายต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง Work From Home ที่การรักษาความสัมพันธ์เป็นเรื่องยาก มันก็เหมือนประโยคที่ใครหลายคนบอกว่า คนส่วนใหญ่ไม่ได้ลาออกเพราะงาน แต่ลาออกเพราะคน
  5. A – Abundance Cultureคือวัฒนธรรมองค์กรที่สมบูรณ์ บางทีการสร้างวัฒนธรรมเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ เช่น CEO ของ Campbell Soups เคยเขียนการ์ดแสดงความขอบคุณ 5 ใบต่อวัน ตลอดอาชีพจึงขอบคุณพนักงานกว่า 3 หมื่นฉบับ เปลี่ยนจากองค์กรที่ประสบปัญหาให้ยอดขายเอาชนะคู่แข่งได้สำเร็จ

PERK Model

Greater Good Magazine เว็บไซต์บทความวิทยาศาสตร์แห่งความสุขได้แนะนำ PERK Model ในการสร้างความสุขในที่ทำงานไว้ 4 เสาหลัก ซึ่งผู้บริหารและ HR ควรให้การส่งเสริม ดังนี้

  1. P – Purposeคือเป้าหมายในการทำงาน เพราะพนักงานจะรู้สึกมีคุณค่า หากรู้ว่ากำลังทำประโยชน์อะไรให้กับองค์กรหรือคนอื่นอยู่ และจะเกิดผลดีมาก ถ้าเป้าหมายขององค์กรสอดคล้องกับเป้าหมายของพนักงานเช่นกัน
  2. E – Engagementคือการส่วนร่วมกับองค์กรซึ่งจะช่วยสร้างให้เกิดความผูกพัน ทำให้พนักงานอยากร่วมงานในระยะยาว และเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรในที่สุด
  3. R – Resilienceคือความยืดหยุ่นในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการรับมือ ปรับตัว หรือเรียนรู้จากความล้มเหลว ความยืดหยุ่นไม่ได้หมายถึงการหนีปัญหา แต่คือการเผชิญหน้าความท้าทายด้วยความจริงใจต่างหาก
  4. K – Kindness คือความเมตตา ทั้งความเมตตาในตัวเองและความเมตตาต่อผู้อื่น ผ่านการปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสม การสร้างความเชื่อใจ การแบ่งปันความรู้ เช่นเดียวกับผู้นำที่จะต้องเป็นผู้ฟังที่ดีหรือมีความสุภาพ โดยจะพัฒนาสู่ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ต่อไป

Happy Workplace

องค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการจัดการความสุขของมนุษย์ โดยมุ่งเน้นไปที่ความสมดุลระหว่างความสุขของตัวเอง ครอบครัว และสังคม โดยมี 8 หลัก ดังนี้

  1. Happy Body – สุขภาพดีคือการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป
  2. Happy Heart – น้ำใจงามคือความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน รวมถึงมีความชื่นชมยินดีและเข้าใจในผู้อื่น
  3. Happy Relax – การผ่อนคลายคือสภาวะไร้ความเครียดที่ส่งผลต่อชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน มีการพักผ่อนที่เพียงพอ อารมณ์ดีและยิ้มแย้มแจ่มใส
  4. Happy Brain – หาความรู้ คือความใฝ่รู้ที่จะแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ หรือทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อพัฒนาตนให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
  5. Happy Soul – การมีคุณธรรมคือการมีจิตใจที่ดีตามหลักศีลธรรม มีความเกรงกลัวต่อการทำบาป รวมถึงการทำสมาธิให้มีจิตวิญญาณอันสงบสุข
  6. Happy Money – การปลอดหนี้คือการมีรายรับรายจ่ายที่มั่นคง สามารถบริหารจัดการการเงินได้อย่างเหมาะสม รู้จักการออมและลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคต
  7. Happy Family – ครอบครัวดีคือการมีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่อบอุ่น เต็มไปด้วยความสุข ไม่มีการทำงานที่เบียดบังช่วงเวลาแห่งความครอบครัว
  8. Happy Society – สังคมดี คือการร่วมสร้างสังคมและชุมชนที่ดีในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างกัน สามารถไว้วางใจกัน และมีความรักความสามัคคีต่อกัน 

Did You Know?

ปัจจุบันมีการเพิ่ม Happy ตัวที่ 9 Happy Work Life – การงานดี คือความสุขจากประสบการณ์การทำงานกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการมีความสุขกับสภาพแวดล้อมโดยรวม ความพึงพอใจกับสวัสดิการ รวมไปถึงการได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้น และการได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่าด้วย

บทสรุป

มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

“Out of every goal human beings want to attain, happiness is usually the greatest.” – Tom Miles

เพราะความสุขเป็นสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา ความสุขในการทำงานของพนักงานจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรควรให้ความใส่ใจ เห็นได้จากงานวิจัยสารพัดที่บ่งบอกว่า ความสุขส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งนั่นนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าขององค์กรต่อไป นอกจากกระบวนการที่อยู่ในบทนี้ ยังมีแนวคิดและกระบวนการสร้างความสุขในที่ทำงานอีกมากมาย อยู่ที่องค์กรของคุณเหมาะสมกับแนวคิดไหนมากกว่ากัน ถึงกระนั้นสิ่งหนึ่งที่ทุกแนวทางมองเห็นเหมือนกัน ก็คือการให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล และมองคนทำงานให้เห็น “คน” มากขึ้น ซึ่งนั่นก็สร้างความสุขพื้นฐานที่ยั่งยืนให้พนักงานของคุณแล้ว

คุณมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการหาคำตอบใช่หรือเปล่า?

มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

หากคุณรู้สึกว่าได้รับเทคนิคดี ๆ จากบทความนี้และอยากได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก

สามารถตั้งคำถามได้ในชุมชนของเรา ! แล้วคุณจะได้รับคำตอบมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ

มี ความ สุข กับ การ ทํา งาน

ที่มา

  • positivepsychology
  • lattice
  • memory
  • hr-gazette
  • cezannehr
  • knolskape
  • greatergood
  • tpso4.m-society