แนวทางการ ดำเนิน ชีวิตแบบเศรษฐกิจ พอ เพียง พออยู่พอกิน พอใช้

   

แนวทางการ ดำเนิน ชีวิตแบบเศรษฐกิจ พอ เพียง พออยู่พอกิน พอใช้

   
               " ���ɰ�Ԩ����§ �繻�Ѫ�Ҫ��֧�Ƿҧ��ô�ç������л�ԺѵԵ��ͧ��ЪҪ�㹷ء�дѺ ������дѺ��ͺ���� �дѺ��������֧�дѺ�Ѱ ���㹡�þѲ����к����û���������Թ�� �ҧ��¡�ҧ ��੾�С�þѲ�����ɰ�Ԩ���������Ƿѹ����š�ؤ�š����Ѳ�� ��������§ ���¶֧�����ͻ���ҳ �������˵ؼ� ����֧�������� ���е�ͧ���к����Ԥ����ѹ㹵�Ǵվ�����õ�͡���ռš�з��� �ѹ�Դ�ҡ�������¹ �ŧ�����¹͡������� ��駹��е�ͧ����¤����ͺ��� �����ͺ�ͺ ��Ф������Ѵ���ѧ���ҧ��� 㹡�ù��Ԫҡ�õ�ҧ� ����㹡���ҧἹ��С�ô��Թ��÷ء��鹵͹ ��Т�����ǡѹ�е�ͧ��������ҧ��鹰ҹ�Ե㨢ͧ��㹪ҵ���੾�����˹�ҷ��ͧ�Ѱ �ѡ��ɮ���йѡ��áԨ㹷ء�дѺ������ӹ֡㹤س���� ���������ѵ���ب�Ե �������դ����ͺ������������ ���Թ���Ե���¤���ʹ�� �������� ��ʵ� �ѭ�� ��Ф����ͺ�ͺ��������������о������͡���ͧ�Ѻ�������¹�ŧ���ҧ�Ǵ������С��ҧ��ҧ��駴�ҹ�ѵ�� �ѧ�� ����Ǵ���� ����Ѳ������ҡ�š��¹͡�������ҧ�� �
   
����Ҫ������Ҵ������ɰ�Ԩ����§
               �...��þѲ�һ���Ȩ��繵�ͧ�ӵ���ӴѺ��� ��ͧ���ҧ��鹰ҹ��� �������� �͡Թ ����ͧ��ЪҪ���ǹ�˭����ͧ�鹡�͹ �����Ըա������ػ�ó�������Ѵ��١��ͧ�����ѡ�Ԫҡ�� ��������鹰ҹ������蹤������������� ��л�Ժѵ������� �֧�������ҧ���������������ԭ ��аҹзҧ���ɰ�Ԩ��鹷���٧������ӴѺ����...� (18 �á�Ҥ� 2517) ����ɰ�Ԩ����§� ���Ǿ���Ҫ����㹾�кҷ���稾������������ ������Ҫ�ҹ�ҹҹ���� 30 �� ���ǤԴ��������躹�ҡ�ҹ�ͧ�Ѳ������� ���Ƿҧ��þѲ�ҷ���駺���鹰ҹ�ͧ�ҧ��¡�ҧ ��Ф���������ҷ �ӹ֧�֧�����ͻ���ҳ �������˵ؼ� ������ҧ���Ԥ����ѹ㹵���ͧ ��ʹ������������Фس���� �繾�鹰ҹ㹡�ô�ç���Ե ����Ӥѭ�е�ͧ�� �ʵ� �ѭ�� ��Ф������Ô ��觨й����� ������آ� 㹡�ô��Թ���Ե���ҧ���ԧ �...����蹨�������ҧ�á��ҧ�� ��������ͧ��������� ������ͧ���� ������ͧ���������觷���������� �����������վ͡Թ ��Т����ء���դ������ö�ҷ���������ͧ�� ������͡Թ �դ���ʧ� ��зӧҹ��駨Ե͸�ɰҹ��駻�Ըҹ 㹷ҧ������������ͧ������Ẻ������͡Թ �������Ҩ�������ͧ���ҧ�ʹ ������դ���������͡Թ �դ���ʧ� ���º��º�Ѻ��������� �������ѡ�Ҥ���������͡Թ����� ��ҡ���ʹ����Ǵ��...� (4 �ѹ�Ҥ� 2517)
               ��к������ҷ��� �ç�������Ƿҧ��þѲ�ҷ���鹡�â��µ�Ƿҧ���ɰ�Ԩ�ͧ���������ѡ�� ��§���ҧ�����Ҩ���Դ�ѭ���� �֧�ç�鹡���վ͡Թ����ͧ��ЪҪ���ǹ�˭�����ͧ�鹡�͹ ������վ�鹰ҹ������蹤����������������� �֧���ҧ������ԭ��аҹзҧ���ɰ�Ԩ����٧���
������¶֧ ᷹�����鹡�â��µ�Ǣͧ�Ҥ�ص��ˡ����ӡ�þѲ�һ���� ��÷������ҧ������蹤��ҧ���ɰ�Ԩ��鹰ҹ��͹ ��蹤�� ������ЪҪ�㹪�����ǹ�˭���վ͡Թ��͹ ���Ƿҧ��þѲ�ҷ���鹡�á�Ш������� �������ҧ��鹰ҹ��Ф�����蹧���ҧ���ɰ�Ԩ������ͧ����� ��͹�鹡�þѲ����дѺ�٧���� �ç��͹����ͧ������͡Թ ������ 2517 ��� ����� 30 ���һշ������ ���ȷҧ��þѲ����������¹�ŧ
                �...����ͻ� 2517 �ѹ�����ٴ�֧��� ��Ҥ�û�Ժѵ������վ͡Թ ���վ͡Թ��������� ���ɰ�Ԩ����§����ͧ ������Ф��վ��վ͡Թ ������ ��觶�ҷ�駻���Ⱦ��վ͡Թ����觴� ��л���������ҹ�鹡���������������վ͡Թ �ҧ�������ҡ �ҧ������������...� (4 �ѹ�Ҥ� 2541)
   

พออยู่ พอกิน พอใช้ คือ คำสอนของพ่อ ที่สอนคนไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า ๒๐ ปีแล้ว แต่ลูกๆทั้งหลาย หาได้เอาใจใส่ ใส่ใจอย่างจริงจัง ตั้งแต่ ชาวบ้าน ประชาชนทั่วไป ข้าราชการทุกระดับชั้น นักการเมืองในทุกระดับชั้น บางคนก็พูดเอาสวย เอาคะแนน ว่าขอรับใส่เกล้า และจะปฏิบัติตามคำสอน เขาก็ช่างใส่เกล้าจริงๆ คือ ใส่ไว้ ใส่แล้วใส่เลย แล้วก็ไม่ได้มีการนำออกมาใช้ มานำใช้ มาแนะนำต่อ มาขยายผลต่อใดๆทั้งสิ้น อย่างที่เราคนไทยเห็นกับสิ่งที่เป็นอยู่

อะไรคือ พออยู่ พอกิน พอใช้

พออยู่ คือ การที่เราปลูกป่าที่ให้ไม้ พืช ที่จำเป็นต่อการนำมาใช้ทำ ที่อยู่อาศัยต่างๆ เช่น ไม้ทำเสา ไม้ทำพื้น ไม้ทำฝา ไม้ทำโครงสร้างบ้านต่างๆ เป็นต้น ครั้นเมื่อเหลือใช้ เราก็แบ่งจ่ายแจก ขาย เป็นรายได้เสริมให้ครอบครัวได้

แนวทางการ ดำเนิน ชีวิตแบบเศรษฐกิจ พอ เพียง พออยู่พอกิน พอใช้

พอกิน คือ การที่เราปลูกป่าเพื่อให้ได้พืชที่เราจะนำมาใช้กินได้อย่างพอเพียง เช่น ข้าว ผัก ฯลฯ เมื่อเหลือกินแล้ว เราก็แบ่งออกขายหารายได้เสริมได้

แนวทางการ ดำเนิน ชีวิตแบบเศรษฐกิจ พอ เพียง พออยู่พอกิน พอใช้

พอใช้ คือ การปลูกป่าให้มีพืชที่เราจะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยา ขนม ผลไม้ เครื่องปรุง เป็นต้น ครั้นเมื่อเราใช้ได้อย่างพอเพียงแล้ว เราก็แบ่งออกขายหารายได้แก่ครอบครัวได้

แนวทางการ ดำเนิน ชีวิตแบบเศรษฐกิจ พอ เพียง พออยู่พอกิน พอใช้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540 ซึ่งได้มีการขานรับนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติกันหลายหน่วยงาน แต่คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้
ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีนี้ ทรงได้มีมหากรุณาธิคุณอธิบายเพิ่มเติมว่า
“. . . ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงและทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ. . .”
จากนั้น ได้ทรงขยายความ คำว่า “พอเพียง” เพิ่มเติมต่อไปว่า หมายถึง “พอมีพอกิน”
“. . . พอมีพอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี. . .”
“. . . ประเทศไทยสมัยก่อนนี้ พอมีพอกิน มาสมัยนี้อิสระ ไม่มีพอมีพอกิน จึงจะต้องเป็นนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้ทุกคนพอเพียงได้ พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ. . .” ทรงเปรียบเทียบคำว่า พอเพียง กับคำว่า Self-Sufficiency ว่า
“. . . Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง. . . เป็นไปตามที่เค้าเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง. . .
. . . คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริง ผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น
พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ได้ . . .
แต่ว่าพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอใจในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนผู้อื่นน้อย
ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้ อาจจะมี มีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติงานก็พอเพียง. . .”
“. . . ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่าความพอประมาณและความมีเหตุผล. . .”
ได้มีพระราชกระแสเพิ่มเติมระหว่างเข้าเฝ้าถวายงานมาอีกว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐาน ของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั้นเอง สิ่งก่อสร้างจะอยู่มั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป
. . . ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เศษหนึ่ง
ส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่
แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ . . .
จากพระราชดำรัส: เศรษฐกิจพอเพียง
มิได้จำกัดเฉพาะของเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเพียงเท่านั้น แต่เป็นเศรษฐกิจของทุกคนทุกอาชีพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและอยู่ในชนบท เช่น ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าจะต้องขยายกิจการเพราะความเจริญเติบโตจากเนื้อของงาน โดยอาศัยการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือหากจะกู้ยืมก็กระทำตามความเหมาะสม ไม่ใช่กู้มาลงทุนจนเกินตัวจนไม่เหลือที่มั่นให้ยืนอยู่ได้ เมื่อภาวะของเงินผันผวน ประชาชนก็จะต้องไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว สำหรับเกษตรกรนั้นก็ทำไร่ทำนา ปลูกพืชแบบผสมผสานในที่แห้งแล้งตามแนว “ทฤษฎีใหม่” ได้สำเร็จ หากไม่มีความพอประมาณในใจตน นึกแต่จะซื้อรถปิคอัพคันใหม่ หรือเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ อยู่ร่ำไป ก็ย่อมไม่ถือว่าประพฤติตนอยู่ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้ที่จริง คือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี
. . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ
ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น . . .

หลักการพึ่งตนเอง หากขยายความออกไป อาจจะสามารถยึดหลักสำคัญของความพอดีได้ 5 ประการคือ
ความพอดีด้านจิตใจ : ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
ความพอดีด้านสังคม : ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง
ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป
ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง
ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตตภาพ และฐานะของตน

กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่เริ่มงานพัฒนาเมื่อ 50 ปี ที่แล้ว และทรงยึดมั่นหลักการนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านการเกษตร เราเน้นการ ผลิตสินค้า เพื่อส่งออกเป็นเชิงพาณิชย์ คือ เมื่อปลูกข้าวก็นำไปขาย และก็นำเงินไปซื้อข้าว เมื่อเงินหมดก็จะไปกู้ เป็นอย่างนี้มาโดยตลอดจนกระทั่ง ชาวนาไทยตกอยู่ในภาวะหนี้สิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาด้านนี้ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งธนาคารข้าว ธนาคารโค-กระบือขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎร นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งที่มาของ “เศรษฐกิจพอเพียง” นับตั้งแต่อดีตกาล แม้กระทั่งโครงการแรกๆ แถวจังหวัดเพชรบุรี ก็ทรงกำชับหน่วยราชการมิให้นำเครื่องมือกลหนักเข้าไปทำงาน รับสั่งว่าหากนำเข้าไปเร็วนัก ชาวบ้านจะละทิ้งจอบ เสียม และในอนาคตจะช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งก็เป็นจริงในปัจจุบัน

จากนั้นได้ทรงคิดค้นวิธีการที่จะช่วยเหลือ ราษฎรด้านการเกษตร จึงได้ทรงคิด “ทฤษฎีใหม่” ขึ้น เมื่อปี 2535 ณ ครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี เพื่อเป็น ตัวอย่างสำหรับการทำการเกษตรให้แก่ราษฎร ในการจัดการด้านที่ดินและแหล่งน้ำในลักษณะ 30:30:30:10 คือ ขุดสระและเลี้ยงปลา 30 ปลูกข้าว 30 ปลูกพืชไร่พืชสวน 30 และสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ปลูกพืชสวน และเลี้ยงสัตว์ใน 10 สุดท้าย
. . . การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้
และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้ เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเอง
มีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง
และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง . . .
ต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมมา โดยตลอด เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความแข็งแรงพอ ก่อนที่จะไปผลิตเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ โดยยึดหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้น คือ

  • ขั้นที่ 1 มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดการใช้จ่าย
  • ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม
  • ขั้นที่ 3 สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์การพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสารข้อมูล

สำหรับในภาคอุตสาหกรรม ก็สามารถนำ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ได้ คือ เน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ก็จะต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตสินค้า เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ในประเทศก่อน จึงจะทำให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่างเช่นปัจจุบัน ดังนั้น เราจะต้องช่วยเหลือประเทศให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้จุดประกายระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งจะเป็นการช่วยลด ปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่เรานำมาใช้ในการผลิตให้เป็นลักษณะพึ่งพา ซึ่งมีมาแล้วเกือบ 20 ปี แต่ทุกคนมองข้ามประเด็นนี้ไป ตลอดจนได้รับผลจากภายนอกประเทศทำให้ประชาชนหลงลืม และมึนเมาอยู่กับการเป็นนักบริโภคนิยม รับเอาของต่างชาติเข้ามาอย่างไม่รู้ตัว และรวดเร็วจนทำให้เศรษฐกิจของไทยตกต่ำ
. . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น
พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่
พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา
และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น . . .

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า
. . . ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง. . .
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า
. . . ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพ ของตนเป็นหลักสำคัญ. . .
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า
. . . ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น. . .
4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า
. . . การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง. . .
5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาทว่า . . . พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น. . .
ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุดคือ คำว่า “พอ” ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็จะพบกับความสุข