ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

ช่วงนี้หลายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลายแห่งในจังหวัดกาฬสินธุ์   กำลังขมักเขม้นในการบันทึกข้อมูลพิกัดทางภูมิศาสตร์(ค่า X,Y) ในโปรแกรมฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล( JHCIS) หลายท่านเริ่มมีปัญหา เพราะมีหลังคาเรือนใหม่ๆเกิดขึ้นหลายหลัง และยังไม่มีพิกัดทางภูมิศาสตร์(พิกัด X,Y ที่เป็น X,Y เพราะจังหวัดกาฬสินธุ์ใช้พิกัดในระบบ UTM) เครื่องหาพิกัดที่จะใช้ในการหาพิกัดในแต่ละโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก็ไม่มี เพราะทั้งจังหวัดมีอยู่ 4-5 เครื่องเอง  แต่ก็ไม่ต้องคกใจเพราะเรามีเครื่องมือดีๆที่มีอยู่แล้ว และใช้งานได้ฟรี โดยที่เราไม่ต้องไปซื้อเครื่องหาพิกัดให้สิ้นเปลืองงบประมาณอันมีน้อยนิดของแต่ละโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครื่องมือนี้ก็คือ Google Map  เรามาเริ่มทำกันเลยครับ  ก่อนอื่นเราต้องมี Google Account ก่อนนะครับ หากไม่มีก็สมัครได้ครับ หรือหากใครที่ใช้ E-MAIL ของ Gmail อยู่ก็แสดงว่าท่านมี Google Account แล้วละครับ

วิธีการหาค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์แบบ UTM (ค่า X,Y) จาก Google Map

1.ก่อนอื่นเข้าไปที่หน้า LOG IN ของ Gmail ของเราก่อนครับ พิมพ์ชื่อผู้ใช้  รหัสผ่าน และกดปุ่มลงชื่อเข้าใช้งาน

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

 

2.ที่หน้า Email จะมีบริการแผนที่ ให้เราคลิกที่คำว่า แผนที่(Google Map )เลยครับ

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

 

3.เมื่อเราเข้าสู่บริการของ Google Map ก็ให้ทำการค้นหาแผนที่ที่เราต้องการหาพิกัด ตัวอย่างผมจะหาพิกัดหลังคาเรือนในหมู่บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ ผูก็จะพิมพ์คำค้นหาเป็น บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามรูป

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

 

3.บริการของ Google Map จะแสดงแผนที่ของบ้านที่เราค้นหามาให้ตามรูป

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

4.ทำการเปลี่ยนโหมดจากแผนที่ให้เป็น โหมดภาพถ่ายทางดาวเทียม เพราะเราต้องการจะรู้ว่าบ้านที่เราต้องการหาพิกัดอยู่ตรงไหนของมุมโลก โดยกดปุ่ม ดาวเทียมตามรูปเลยครับ

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

 

5.Google Map จะแสดงภาพถ่ายทางดาวเทียมให้เราได้เห็นครับ เราก็ใช้ Mouse เลื่อนหาหลังคาเรือนที่เราต้องการหาพิกัด  สมมุติผมจะหาพิกัดของบ้านหลังที่มีลูกศรชื้นะครับ

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

 

6.ให้เราคลิกที่ปุ่ม สถานที่ของฉัน เพื่อสร้างสถานที่ที่เราต้องการ

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

7.คลิกที่ปุ่ม สร้างแผนที่ ต่อเลยครับ

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

8. Google Map จะมีเครื่องมือขึ้นมาให้เราได้ทำเครื่องหมาย เพื่อระบุตำแหน่ง ให้เราคลิกแล้วลากเครื่องหมายตามรูป ไปยังตำแหน่งที่เราต้องการหาพิกัด X,Y (พิกัดแบบ UTM) โดยใช้ Google Map  ตามรูป

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

 

9.ลากเครื่องหมายดังกล่าวมาที่ตำแหน่งที่เราจะหาพิกัด

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

 

10.เมื่อเราวางเสร็จ Google Map จะให้เราใส่ชื่อ และอธิบายพิกัดที่เราสร้างขึ้นใหม่ ให้เราคลิก ตกลง เลยครับ

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

 

10.ทำการคลิกเมาส์ข้างขวา ตรงจุดสีฟ้าที่เราสร้าง แล้วคลิกที่เมนู  นี่คืออะไร  ตามรูป

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

11.เมื่อเราคลิกเสร็จตรงแถบที่เราค้นหาก็จะแสดงพิกัดทางภูมิศาสตรฺ์ซึ่งเป็นรหัสพิกัดอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า รหัสแบบ Geographic ออกมาให้ตามรูป ซึ่งยังเป็นรหัสพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่เรายังไม่ใช้ เพราะเราจะใช้พิกัดทางภูมิศาสตร์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า พิกัดทางภูมิศาสตร์แบบ UTM ซึ่งจะแสดงเป็นพิกัด X, พิกัด Y เราต้องทำการแปลงพิกัดจาก Geographic ไปเป็น UTM อีกทีหนึ่งครับ ถึงตอนนี้ก็อย่าเพิ่งเบื่อนะครับเหลืออีกนิดหนึ่งงานเราก็จะเสร็จแล้ว

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

12.ให้เราไปที่เว็บไซต์ http://home.hiwaay.net/~taylorc/toolbox/geography/geoutm.html  ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแปลงรหัสพิกัดภูมิศาสตร์จาก Geographic ไปเป็น UTM  หรือจาก UTM ไปเป็นแบบ Geographic  แล้วนำค่าพิกัดที่ได้จากข้อ 11 มาวางไว้ที่ช่อง lat(ละติจูด)   และ lon(ลองติจูด)  (หากใส่ผิดตำแหน่งทางเว็บเขาก็จะแจ้งให้เราใส่ใหม่อีกที ไม่ต้องตกใจครับ เพราะผมก็ใส่ผิดประจำ) แล้วกดปุ่มตามรูป

ระบบพิกัดในแผนที่

31 Aug 2015 อมร เพ็ชรสว่าง หมวดหมู่ของบทความ: เทคโนโลยีอวกาศ ภูมิสารสนเทศ

4. ระบบพิกัดในแผนที่

     เนื่องจากโลกเป็นทรงกลมเมื่อมีการกำหนดตำแหน่งต่างๆ บนโลก จึงต้องถ่ายทอดตำแหน่งจากพื้นที่จริงลงมาสู่แผนที่ด้วยระบบพิกัด โดยระบบพิกัดแผนที่ คือ การอ้างอิงตำแหน่งของโลกที่ถ่ายทอดลงมาสู่แผนที่ซึ่งมีลักษณะแบนราบ โดยกำหนดให้มีจุดกำเนิดของพิกัดอยู่บนผิวโลก และมีลักษณะเป็นระบบพิกัดฉาก อันเกิดจากการตัดกันของแกนสมมติ ตั้งแต่ 2 แกนขึ้นไป ระบบพิกัดแผนที่มีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ ระบบพิกัด 2 มิติ และระบบพิกัด 3 มิติ ซึ่งพิกัดเหล่านี้ได้อ้างอิงกับตำแหน่งบนโลกด้วยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์
 

1.  ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic coordinate systems)  

เป็นระบบพิกัดที่กำหนดตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลก ด้วยวิธีการอ้างอิงบอกตำแหน่งเป็นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด (Latitude) และลองจิจูด (Longitude) ตามระยะเชิงมุมที่ห่างจากศูนย์กำเนิดของละติจูดและลองจิจูดที่กำหนดขึ้นสำหรับศูนย์กำเนิดของละติจูด (Origin of latitude) นั้น กำหนดขึ้นจากแนวระดับที่ตัดผ่านศูนย์กลางของโลกและตั้งฉากกับแกนหมุน เรียกแนวระนาบศูนย์กำเนิดนั้นว่า เส้นระนาบศูนย์สูตรซึ่งแบ่งโลกออกเป็นซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ฉะนั้นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด จะเป็นค่าเชิงมุมที่เกิดจากมุมที่ศูนย์กลางของโลก กับแนวระดับฐานกำเนิดมุมที่เส้นระนาบศูนย์สูตร โดยวัดค่าของมุมออกไปทางซีกโลกเหนือและทางซีกโลกใต้ ค่าของมุมจะสิ้นสุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ มีค่าเชิงมุม 90 องศาพอดี ดังนั้นการใช้ค่าระยะเชิงมุมของละติจูดอ้างอิงบอกตำแหน่งต่างๆ นอกจากจะกำหนดเรียกค่าวัดเป็น องศา ลิปดา และพิลิปดา แล้ว จะกำกับด้วยตัวอักษรบอกทิศทางเหนือหรือใต้เสมอ เช่น ละติจูดที่ 30 องศา 20 ลิปดา 15 พิลิปดาเหนือ

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

ส่วนศูนย์กำเนิดของลองจิจูด (Origin of longitude) นั้น กำหนดขึ้นจากแนวระนาบทางตั้งที่ผ่านแกนหมุนของโลกตรงบริเวณตำแหน่งบนพื้นโลกที่ผ่านหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ เมืองกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ เรียกศูนย์กำเนิดนี้ว่า เส้นเมริเดียนแรก (Prime meridian) เป็นเส้นที่แบ่งโลกออกเป็นซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก

ค่าระยะเชิงมุมของลองจิจูดเป็นค่าที่วัดมุมออกไปทางตะวันตก และตะวันออกของเส้นเมริเดียนแรกวัดจากศูนย์กลางของโลกตามแนวระนาบที่มีเส้นเมริเดียนแรกเป็นฐานกำเนิดมุม ค่าของมุมจะสิ้นสุดที่เส้นเมริเดียนตรงข้ามกับเส้นเมริเดียนแรกซึ่งมีค่าของมุมซีกโลกละ 180 องศา การใช้ค่าอ้างอิงบอกตำแหน่งใช้เรียกกำหนดเช่นเดียวกับละติจูด แต่ต่างกันที่ต้องบอกเป็นซีกโลกตะวันตก หรือซีกโลกตะวันออกแทน เช่น ลองจิจูดที่ 90 องศา 20 ลิปดา 45 พิลิปดาตะวันตก

2. ระบบพิกัดยูทีเอ็ม (UTM coordinate systems)  

ระบบพิกัดยูทีเอ็ม เป็นระบบที่ปรับมาจากระบบเส้นโครงแผนที่แบบทรานสเวิร์สเมอร์เคเตอร์ เพื่อเป็นการรักษารูปร่างโดยใช้ทรงกระบอกตัดลูกโลกระหว่างละติจูด 84 องศาเหนือ – 80 องศาใต้ โดยมีรัศมีทรงกระบอกสั้นกว่ารัศมีของลูกโลก ผิวทรงกระบอกจะผ่านเข้าไปตามแนวเมริเดียนของโซน 2 แนว คือ ตัดเข้ากับตัดออกเรียกลักษณะนี้ว่า เส้นตัด (Secant) ทำให้ความถูกต้องมีมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณสองข้างเมริเดียนกลาง

ระบบพิกัดชนิดนี้กองทัพของสหรัฐอเมริกาได้นำมาใช้ในปี ค.ศ. 1946 เพื่อให้ได้แผนที่ที่มีความละเอียดถูกต้องมากยิ่งขึ้น ระบบนี้ได้มาจากการฉายแผนที่แบบคงทิศทาง รักษารูปร่าง และมีข้อกำหนดในรายละเอียดต่างๆ ให้ถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานเพื่อใช้งานครอบคลุมได้ทั่วโลก กำหนดให้ใช้หน่วยวัดระยะทางเป็นเมตร ระบบพิกัดยูทีเอ็ม ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายทั้งในกิจการทหารและกิจการพลเรือน สำหรับประเทศไทย รัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ทำความตกลงทำแผนที่ภายในประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2493 โดยได้ใช้ระบบเส้นโครงแผนที่แบบทรานสเวิร์สเมอร์เคเตอร์ ระบบพิกัดยูทีเอ็ม

พื้นที่ของโลกระหว่างละติจูด 80 องศาใต้ ถึงละติจูด 84 องศาเหนือ ถูกแบ่งออกเป็นเขต (Zone) เขตละ 6 องศา รวมเป็น 60 เขต (Zone) ตามแนวลองจิจูดโดยมีหมายเลขกำกับโซนตั้งแต่ 1 ถึง 60 ตามลำดับ โดยโซนที่ 1 อยู่ระหว่างลองจิจูด 180 องศาตะวันตก ถึง 174 องศาตะวันตก โซนที่ 2 ก็อยู่ถัดไปทางด้านตะวันออกตามลำดับจนถึงโซนที่ 60 ซึ่งอยู่ระหว่างลองจิจูด 174 องศาตะวันออก ถึง 180 องศาตะวันออก และประชิดกับโซนที่ 1 ในแต่ละโซนจะมีเมริเดียนกลาง (Central meridian) เป็นของตนเอง ตัวอย่าง เช่น โซนที่ 1 ลองจิจูด 180-174 ตะวันตก มีลองจิจูด 177 ตะวันตก เป็นเมริเดียนกลาง ซึ่งจะมีแบบนี้จนครบทุกโซน

พื้นที่ในแต่ละโซนถูกแบ่งย่อยให้เป็นขอบเขตสี่เหลี่ยม โดยแนวเส้นขนานละติจูดช่วงละ 8 องศา เริ่มจากเส้นขนานละติจูด 80 องศาใต้ แบ่งทีละ 8 องศา ผ่านเส้นระนาบศูนย์สูตรไปจนถึงเส้นขนานละติจูด 72 องศาเหนือ และจากเส้นขนานละติจูด 72-84 องศาเหนือ แบ่งออกเป็นช่องละ 12 องศา รวมทั้งหมดแบ่งได้ 20 ช่องพื้นที่สี่เหลี่ยมเหล่านี้เรียกว่า เขตกริด (Grid zone) ซึ่งมีทั้งหมด 1,200 โซน การแบ่งวิธีนี้ทำให้เกิดสี่เหลี่ยมผืนผ้าเขตกริดขนาด 6 องศา x 8 องศา ยกเว้นช่วงระหว่างเส้นขนานละติจูด 72-84 องศาเหนือ มีขนาดเขตกริดเท่ากับ 6 องศา x 12 องศา เมื่อแบ่งเสร็จแล้วได้กำหนดอักษรโรมันกำกับไว้ตั้งแต่ C ถึง X (ยกเว้น I กับ O) โดยเริ่มกำหนดอักษร C ตั้งแต่โซนของละติจูด 80 องศาใต้

การแบ่งตารางเขตกริดเหล่านี้ จะมีเลขอักษรประจำโซนของกริด (UTM Grid zone destination) โดยการอ่านหมายเลขไปทางขวาแล้วอ่านขึ้น เช่น “47 Q” หมายถึง เลขกำกับโซนในแนวตั้งที่ 47 และอักษรกำกับโซนในแนวนอนที่ Q สำหรับอักษร A, B และ Y, Z ใช้สำหรับกำกับในยูนิเวอร์ซัลโพลาร์สเตริโอกราฟิก (Universal Polar Stereographic : UPS) บริเวณขั้วโลกทั้งสองข้าง

ตามระบบพิกัดยูทีเอ็มใช้หน่วยระยะทางเป็นเมตร โดยในแต่ละโซนเส้นเมริเดียนกลางตัดกับเส้นระนาบศูนย์สูตรเป็นมุมฉาก ณ จุดตัดนี้เรียกว่า จุดกำเนิดโซน ของระบบพิกัดยูทีเอ็ม ทิศทางที่ขนานกับแนวเมริเดียนกลาง และชี้ขึ้นไปทางเหนือ เรียกว่า ทิศเหนือกริด มีการกำหนดค่าพิกัดตะวันออกให้เส้นเมริเดียนกลางเป็น 500,000 เมตร (Easting 500,000 m.) ห่างจากจุดกำเนิดสมมติ (False origin) และกำหนดให้พิกัดเหนือสำหรับเส้นระนาบศูนย์สูตรไว้เป็น 2 กรณี สำหรับซีกโลกเหนือให้มีค่าเป็น 0 เมตร (Northing 0 m.) ห่างจากเส้นระนาบศูนย์สูตร ส่วนบริเวณใต้เส้นระนาบศูนย์สูตรมีค่าเป็น 10,000,000 เมตร (Northing 10,000,000 m.) ห่างจากจุดกำเนิดสมมติ ดังนั้นจุดศูนย์กำเนิดโซนของระบบพิกัดยูทีเอ็ม จึงมีค่าพิกัดเป็น E 500,000 m ; N 0 m สำหรับการใช้งานในซีกโลกเหนือและ E 500,000 m.;N 10,000,000 m. สำหรับซีกโลกใต้ นอกจากนี้ขอบเขตการใช้ค่าพิกัดยูทีเอ็มสามารถเหลื่อมเข้าไปในโซนข้างเคียงได้เป็นพื้นที่กว้าง 40 กิโลเมตร เพื่อความสะดวกในการใช้งานบริเวณขอบโซน

3. ระบบพิกัดแผนที่ GLO (General Land Office grid system)

เป็นระบบพิกัดแผนที่อีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการแบ่งพื้นที่สำรวจเพื่อจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ มักใช้ในการอ่านและการทำแผนที่ธรณีวิทยา ระบบพิกัดนี้มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ และให้ความหมายในแต่ละส่วนดังนี้

  • เส้นฐานและเส้นเขตเมือง (Base line and Township line) ในบริเวณที่สำรวจเส้นละติจูดที่ใช้ในการอ้างอิง (จะเป็นเส้นใดก็ได้) เรียกว่าเส้นฐาน เส้นขนานเหนือและใต้เส้นฐานในระยะห่างกันทุก 6 ไมล์ คือ เส้นเขตเมือง
  • เส้นเมริเดียนหลักและเส้นพิสัย (Principal meridian and Range line) เส้นลองจิจูดที่ใช้อ้างอิงในการสำรวจ เรียกว่า เส้นเมริเดียนหลัก จุดที่ตัดกับเส้นฐานเรียกว่า จุดเริ่มต้น (Initial point) เส้นที่ลากขนานกับเส้นเมริเดียนหลัก ไปทางตะวันออกและตะวันตกในระยะห่างทุก 6 ไมล์ คือ เส้นพิสัย
  • เขตเมือง คือ พื้นที่จัตุรัสกว้างด้านละ 6 ไมล์ ซึ่งล้อมรอบด้วยเส้นเขตเมือง และเส้นพิสัย พื้นที่ 36 ตารางไมล์นี้ กำหนดได้โดยใช้ตำแหน่งซึ่งห่างจากเส้นฐาน และเส้นเมริเดียนหลัก เช่น 2N., R.1W. อยู่ในเส้นเขตเมือง ที่ 2 เหนือจาก เส้นฐาน และเส้นพิสัย ที่ 1 ตะวันตกของเส้นเมริเดียนหลัก
  • ส่วนย่อย (Section) พื้นที่ 36 ตารางไมล์ ของเส้นเขตเมืองแบ่งออกเป็นรูปจัตุรัส 36 รูป มีพื้นที่รูปละ 1 ตารางไมล์ พื้นที่ 1 ตารางไมล์นี้เรียกว่า ส่วนย่อย
  • แผนที่รูปสี่เหลี่ยม (Quadrangle) แผนที่ภูมิประเทศซึ่งแบ่งตามระบบนี้ โดยปกติเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรียกว่า แผนที่รูปสี่เหลี่ยม พื้นที่ของแผนที่รูปสี่เหลี่ยมล้อมรอบด้วยลองจิจูดทางทิศตะวันออกและตะวันตก และละติจูดทางทิศเหนือและใต้ ชื่อของแผนที่รูปสี่เหลี่ยมเรียกตามชื่อเมืองสำคัญ หรือลักษณะภูมิประเทศที่เด่นในแผนที่ฉบับนั้น แผนที่รูปสี่เหลี่ยมที่ใช้ในสหรัฐฯ แบ่งออกตามระยะห่างระหว่างลองจิจูดและละติจูดล้อมรอบอยู่เป็น 4 ชนิด คือ

แผนที่ชุด         1        องศา    (1 Degree series)       ใช้มาตราส่วน    1: 250,000

แผนที่ชุด         30      ลิปดา   (30 Minute series)      ใช้มาตราส่วน    1: 125,000

แผนที่ชุด         15      ลิปดา   (15 Minute series)      ใช้มาตราส่วน    1: 62,500

แผนที่ชุด         7.5     ลิปดา   (7.5 Minute series)     ใช้มาตราส่วน   1: 24,000

วิธีอ่านตำแหน่งสถานที่จากแผนที่ระบบ GLO

– หาตัวเลขประจำส่วนย่อย ซึ่งสถานที่นั้นตั้งอยู่ เช่น 21 อ่านว่า Sec.21

– หาตำแหน่งของเขตเมือง ในระหว่างเส้นเขตเมืองซึ่งสถานที่นั้นตั้งอยู่ห่างจากขอบซ้ายหรือขวาของแผนที่ เช่น T.1N

– หาตำแหน่งพิสัย ในระหว่างเส้นพิสัย ซึ่งสถานที่นั้นตั้งอยู่ขอบบนหรือล่างของแผนที่ เช่น R.2W

– หากต้องการระบุตำแหน่งภายในส่วนย่อยให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ย่อยลงตามลำดับ ระบุทิศที่พื้นที่ย่อยดังกล่าววางตัวอยู่และอัตราส่วนเมื่อเทียบพื้นที่ย่อยนั้นกับพื้นที่เดิมก่อนแบ่งแล้วเติมลงข้างหน้าตำแหน่งส่วนย่อย ที่อ่านไว้แล้ว เช่น NE 1/4 SW 1/4 Sec.21 T.1N R.2W

ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่

ภาพแสดงการแบ่งพื้นที่ และการอ่านตำแหน่งสถานที่จากแผนที่ระบบพิกัด GLO

 

ตารางพิกัดทางทหาร (Military grid)

เนื่องจากการหาตำแหน่งโดยการใช้หน่วยเป็นองศา ลิปดา พิลิปดา มีความยุ่งยากและล่าช้า ดังนั้นจึงได้มีผู้คิดค้นหาวิธีใหม่ขึ้นโดยมุ่งหมายเพื่อใช้ในกิจการทหาร วิธีดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกว่า “ตารางพิกัดทางทหาร” ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นโครงพิกัดฉากประกอบด้วยหมู่เส้นตรงที่ลากขนานกันและเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ใช้สำหรับวัดระยะที่อยู่ทางตะวันออกของศูนย์กำเนิดสมมติขึ้น และหมู่เส้นตรงที่ลากขนานกันและเกือบอยู่ในแนวตะวันออก-ตะวันตกตัดกับหมู่เส้นตรงแรกเป็นมุมฉากใช้สำหรับวัดระยะที่อยู่เหนือศูนย์กำเนิดที่สมมติขึ้น เส้นตรงทั้ง 2 หมู่นี้ตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและพิมพ์ไว้บนแผนที่ เรียกว่า สี่เหลี่ยมกริด (Grid square) พร้อมทั้งมีตัวเลขแสดงระยะห่างจากศูนย์กำเนิดสมมติกำกับไว้ที่ขอบของแผนที่ ตามปกติจะพิมพ์ระยะที่อยู่ห่างจากศูนย์กำเนิดสมมติด้วยตัวเลขครบทุกตัวเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่มุมล่างด้านซ้ายของแผนที่ ตัวเลขที่บอกขนาดของระยะห่างจากศูนย์กำเนิดสมมติของเส้นอื่นๆ จะงดเว้นการเขียนจำนวนตัวเลข 3 หรือ 4 ตัวที่อยู่ข้างท้ายของเลขจำนวนเต็ม ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของช่วงระยะกริด (Grid interval) ว่ามีขนาดเท่าใด ในกรณีที่เป็นแผนที่ลำดับชุด L7017 และ L7018 จะมีขนาดของช่วงระยะกริดเท่ากับ 1,000 เมตร ฉะนั้นตัวเลขลำดับที่ 3 ที่ละเอาไว้นั้นก็คือ 000 ที่แสดงในตารางพิกัดทางทหาร

ความแตกต่างระหว่างเส้นโครงแผนที่ยูทีเอ็มและตารางพิกัดทางทหารนั้นความจริงแล้วไม่แตกต่างกันเพียงแต่ตารางพิกัดทางทหาร หรือพิกัดกริดนั้นเป็นเครื่องมือในการนำมาใช้อ่านแผนที่ที่ใช้เส้นโครงแผนที่แบบยูทีเอ็มดังนั้นทั้งสองส่วนนี้จึงมีความสำคัญต่อกัน เพราะตารางพิกัดทางทหารเป็นส่วนที่สามารถอธิบายถึงตำแหน่งที่กล่าวอ้างด้วยเส้นโครงแผนที่ระบบยูทีเอ็มให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้นแผนที่ภูมิประเทศที่สร้างขึ้นโดยกรมแผนที่ทหาร จึงนำตารางพิกัดทางทหารเข้ามาใช้ในการระบุตำแหน่งบนแผนที่ ซึ่งเป็นระบบที่เข้าใจง่ายและก่อให้เกิดการใช้แผนที่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การเขียน หรือการอ่านค่ากริดที่ใช้ในกิจการทหารมีข้อควรจำว่าให้ “อ่านไปทางขวาแล้วอ่านขึ้นข้างบน” (Read right up) จุดตัดที่มุมล่างด้านซ้ายเป็นค่าพิกัดกริดของตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้นๆ

ระบบพิกัดแผนที่ จึงมีความสำคัญในการกำหนดตำแหน่งบนแผนที่ เพื่อบอกตำแหน่งของพื้นที่จริงในภูมิประเทศ ระบบพิกัดแผนที่จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้แผนที่ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจ และอ่านให้ถูกต้อง เพื่อสามารถนำแผนที่ไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง