ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป

ความหมายขององค์กร

        "องค์การ  คือ  กลุ่มคนที่รวมตัวกันเพ่อดำเนินการในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์        ที่กำหนดไว้  ในการรวมตัวจะต้องมีการจัดระเบียบการติดต่อ การแบ่งงานกันทำและต้องมีการประสานประโยชน์      ของแต่ละบุคคลด้วย"

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


        องค์การมีองค์ประกอบที่สำคัญ  ดังต่อไปนี้

        1.  วัตถุประสงค์ (objective) หรือจุดมุ่งหมายในการก่อตั้งองค์การ  เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรม    หรือผลผลิตขององค์การ

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


        2.  โครงสร้าง (structure) องค์การจะต้องมีโครงสร้าง  โดยมีการจัดแบ่งหน่วยงานภายในตามหลักความชำนาญเฉพาะ  มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างภายในองค์การ

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


       3.  กระบวนการปฏิบัติงาน (process)  หมายถึง  แบบอย่างวิธีปฏิบัติที่เป็นแบบแผนคงที่แน่นอน  เพื่อให้       ทุกคนในองค์การต้องยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงาน

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป



        4.  บุคคล (person) องค์การจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลทั้งในลักษณะกลุ่มคนที่เป็นสมาชิกภายในองค์การ  ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย  และยังต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกองค์การ  ซึ่งได้แก่  ผู้รับบริการและผู้ให้การสนับสนุน

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


ความหมายขององค์การ

   องค์การ หมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมารวมตัวกันทำงานภายใต้โครงสร้างและการประสานงานที่กำหนด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน แต่ละองค์การจึงต้องมีจุดมุ่งหมาย มีโครงสร้าง มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปและอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมขององค์การ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การต้องใช้แบบจำลองที่อธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับพฤติกรรมระดับบุคคล กลุ่ม และองค์การ จะช่วยให้ผู้บริหารมีความเข้าใจ สามารถทำนายพฤติองค์การ ทำให้การบริหารองค์การเกิดประสิทธิผลตามต้องการ

   องค์การ (Organization) เป็นคำนิยามของการรวมตัวกันอย่างเป็นระบบ หรือบางที่ให้คำจำกัดความว่า เป็น        การจัดการที่มีการร่วมมือและประสานงานกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างที่ตั้งไว้ โดยมีการใช้อำนาจการบริหารที่ชัดเจนมีการแบ่งงานและหน้าที่ มีลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ

การจะทำความเข้าใจคำว่าองค์การนั้น ถ้าดูที่การแบ่งประเภทขององค์การจะทำให้เข้าใจดีขึ้น เช่น

    1. องค์การทางสังคม ครอบครัว สถาบันการศึกษาทุกระดับ โรงเรียน มหาวิทยาลัย  สถาบันศาสนา วัด ศูนย์ปฏิบัติธรรม สถาบัน กลุ่ม ชมรม มูลนิธิ ฯลฯ ที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการเฉพาะอย่างแต่มุ่งประโยชน์ในระดับสังคม

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


     2. องค์การทางราชการ ทุกระบบที่เป็นส่วนราชการ ระดับกระทรวง ทบวง กรม

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


    3. องค์การเอกชน เช่น บริษัทห้างร้านที่ตั้งขึ้นมาด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อมุ่งหากำไรเป็นสำคัญ ลักษณะ ขององค์การทางธุรกิจนั้น แบ่งได้เป็น

     3.1 องค์การที่มีเจ้าของคนเดียวจัดระบบการทำงานโดยมีลูกน้องมาร่วมมือกันทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จและ     ในปัจจุบันธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียวแพร่หลายมากขึ้นเนื่องจากมีช่องทางการตลาดแบบออนไลน์

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


       3.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในองค์การประเภทนี้จะต้องร่วมรับผิดชอบในองค์การร่วมกันในทุกเรื่องทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


       3.3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด องค์การธุรกิจประเภทนี้มีความต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่ เฉพาะหุ้นส่วนเฉพาะ   บางคนเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบไม่จำกัด ผู้ถือหุ้นนอกนั้นรับผิดชอบ “จำกัด” ตามจำนวนหุ้นที่ตัวเองถือครอง

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


           3.4 บริษัทจำกัด เป็นองค์การทางธุรกิจ ที่จัดตั้งขึ้น แล้วแบ่งทุนเป็นหุ้น  ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบจำกัดเพียง     ไม่เกินจำนวนเงินหุ้นที่ตนถือเท่านั้น

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับองค์การ

องค์การ

1.1 ความหมายของการจัดองค์การ

     การจัดองค์การเป็นงานที่ดำเนินมาต่อเนื่องจากการวางแผน เป็นความพยายามที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของโครงสร้างองค์การที่จะช่วยให้แผนที่ได้จัดไว้ประสบความสำเร็จ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง การจัดองค์การ จึงหมายถึงความพยามยามที่ผู้บริหารกำหนดโครงสร้างขององค์การที่สามารถเอื้ออำนวยให้แผนที่จัดทำขึ้นไปสู่สัมฤทธิ์ผลที่ปรารถนาดังนั้นการจัดองค์การอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะขององค์การ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

     1. ทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

     2. ทำให้งานทุกอย่างในองค์การดำเนินไปด้วยความสำเร็จด้วยดี

     3. ทำให้ประหยัดและคุ้มค่าเพราะไม่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนและความล่าช้า

     4. ทำให้องค์การสามารถพัฒนาและเจริญเติบโตต่อไป

     5. ทำให้สมาชิกเกิดการร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน

     6. ทำให้สมาชิกในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

     องค์การคืออะไร (What is Orgnization)

     1. องค์การทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศาสนา (วัด) สมาคม สโมสร ชมรม และกลุ่มกิจกรรมต่างๆ

    2. องค์การทางราชการได้แก่หน่วยงานราชการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมถึงกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ที่เรียกกันว่า ระบบราชการ (Bureaucracy)  ซึ่งเป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่โตมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนมาก

     3. องค์การเอกชนได้แก่ บริษัท ร้านค้าต่างๆที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อประโยชน์ทางการค้าจากลักษณะขององค์การ    ที่ได้กล่าวมาแล้วท่านผู้อ่านคงพอจะมองออกได้ว่าท่านอยู่ท่ามกลางองค์การทั้งสิ้นและบางองค์การก็ยังมีความสัมพันธ์กับองค์การอื่นๆ อีก

    ลักษณะขององค์การ

วิรัช สงวนวงศ์ ( 2537: 20) ได้สรุปว่า องค์การโดยทั่วไปมีลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ คือ

    1) ต้องประกอบด้วยคน

    2) คนในองค์การต้องมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน

    3) ความเกี่ยวข้องดังกล่าวอยู่ในรูปโครงสร้าง

    4) ทุกคนต่างมีจุดมุ่งหมายส่วนบุคคล

    5) การร่วมงานต้องตอบสนองให้ทุกคนพอใจ

สมคิด บางโม (2538: 15) ได้วิเคราะห์องค์การในแง่มุมต่างๆ ดังนี้

    1) องค์การเป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์

    2) องค์การเป็นกลุ่มของบุคคล

    3) องค์การเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ

    4) องค์การเป็นกระบวนการของกลุ่มงาน

   5) องค์การเป็นระบบอย่างหนึ่งผู้เขียนมีแนวความคิดเห็นว่า ลักษณะขององค์การควรพิจารณาเป็น 2 นัย คือ ลักษณะขององค์การในเชิงส่วนประกอบและลักษณะขององค์การในเชิงระบบ

    ลักษณะขององค์การเชิงส่วนประกอบ

ลักษณะเป็นองค์การเชิงส่วนประกอบ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ คือ

1. บุคคลเป็นองค์ประกอบหลัก เป็นแกนกลางขององค์การ เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินกิจกรรม อย่างมีชีวิตชีวา บุคคลนอกจากปฏิบัติงานของตนเองแล้ว ยังมีอิทธิพลในการโน้นน้าวผู้อื่น ร่วมกันกำกับลักษณะขององค์การ และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขององค์การ

2. โครงสร้างเป็นตัวกำหนดรูปร่างของแผนกงาน กลุ่มงาน สายการบังคับบัญชา อำนาจหน้าที่และระเบียบข้อบังคับ โคร้งสร้างจะช่วยให้มองเห็นลักษณะและภาพรวมขององค์การเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของแผนกงาน กลุ่มงานช่วยกำกับความเกี่ยวเนื่องของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบาย

    ลักษณะขององค์การเชิงระบบ

องค์การเป็นระบบหนึ่งของสังคมเป็นที่รวมของกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ เช่น ฝ่ายการจัดซื้อ ฝ่ายการผลิต ฝ่ายการตลาด แต่ละระบบย่อยต่างมีความสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อกิจ กรรมในฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลกระทบต่อระบบย่อยส่วนอื่นด้วย ในการเริ่มต้นให้ระบบเริ่มดำเนินการ องค์การต้องอาศัย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ วิธีการ ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อก่อให้เกิดผลงานตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ องค์การอยู่ท่ามกลางระบบอื่นๆ ของสังคม อยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ในลักษณะของระบบดังนี้

   1. สิ่งที่นำเข้าสู่ระบบ (Input) คือปัจจัยที่จำเป็นและเกื้อหนุนให้องค์การสามารถดำเนินการอย่างประสิทธิภาพ ได้แก่ คน เงินทุน วัสดุ เทคโนโลยี สารสนเทศ

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


   2. กระบวนการ (Process) คือ วิธีการที่นำปัจจัยนำเข้าสู่ระบบโดยดำเนินการเป็นขั้นตอนเพื่อให้ได้มา ซึ่งสิ่งที่ออกจากระบบ ตัวอย่างของกระบวนการ เช่น กระบวนการผลิตกระบวนการจัดการ  ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน เช่น การวางแผน การบริหารงานบุคคล

ลักษณะขององค์การโดยทั่วไป


   3. สิ่งที่ออกจากระบบ (Output) คือ เป้าหมายความต้องการขององค์การอาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ การบริการ กำไร ความพึงพอใจหรือผลตอบแทนต่างๆ 

      4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นตัวช่วยปรับแต่ให้สิ่งที่ออกจากระบบได้มาตรฐานเป็นที่น่าพึงพอใจ ข้อมูลต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกัน จะถูกส่งเข้าย้อนกลับเข้าสู่ระบบเพื่อการปรับสิ่งนำเข้าสู่ระบบและกระบวนการต่างๆ ให้สอดคล้องต่อกันอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

     5. สิ่งแวดล้อม (Environment) อาจแบ่งเป็น สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ ได้แก่ บรรยากาศภายในบริษัท ปฏิสัมพันธ์ของสมาชิก สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ ชุมชนใกล้เคียงองค์การอื่นเศรษฐกิจของประเทศ การเมืองและปัญหาแรงงาน ลักษณะขององค์การเชิงระบบ

ลักษณะขององค์การมีกี่ประการอะไรบ้าง

ประเภทขององค์การ (Types of Organization) 1. องค์การเพื่อประโยชน์ของสมาชิก เช่น พรรคการเมือง สหกรณ์ สโมสร เป็นต้น 2. องค์การทางธุรกิจ ได้แก่ องค์การที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์หรือก าไร 3. องค์การเพื่อการบริหาร ได้แก่ องค์การที่มุ่งสร้างประโยชน์แก่สาธารณชน ทั่วไป เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น

ข้อใดคือลักษณะขององค์การที่ดี

องค์กรที่ดีจะต้องเน้นหนักในเรื่องการปรับปรุงการทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ความเชื่อถือและถูกต้องที่สุด ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาสามารถพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย และคำพูดนั้นก็ต้องเกิดประโยชน์ต่อองค์กร โดยให้ข้อคิดกับคนรุ่นหลังอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องทำงานด้วยความตั้งใจจริง และคำนึงถึงผลประโยชน์ ...