อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

6 ก.ย. 2022

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

ในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ของปี (ม.ค.-มิ.ย.) มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำไม่ขึ้นรูป) มีมูลค่า 3,884.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 40.96 % จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 และคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ การส่งออกจะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามความต้องการสินค้าที่ขยายตัวดีขึ้นจากการที่ประเทศคู่ค้าสำคัญ มีการเปิดประเทศ และกลับสู่การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยยอดส่งออกทั้งปี คาดว่าจะมีมูลค่า 7,392.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20%

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

วิบูลย์ หงษ์ศรีจินดา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลสำคัญของการส่งออกว่า “สินค้าส่งออกสําคัญ 10 รายการของไทย ปี 2564 – 2565 (ม.ค. – มิ.ย.) อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับส่งออกเป็นอันดับ 3 แม้ว่าไทยเองจะไม่มีวัตถุดิบเองและอาศัยการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ แต่ช่างฝีมือของเรานั้นมีคุณภาพมาก สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างปราณีต และชาวต่างชาติเองก็อยากมาค้าขายกับเรา จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนรวมในการวางแผนผลักดันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับร่วมกับภาคเอกชนอย่างจริงจัง”

พร้อมเสริมความเป็นไปได้ของประเทศไทยว่าสามาถยกระดับไปสู่การเป็น ศูนย์กลางการผลิตของอัญมณีและเครื่องประดับของโลกได้ หากภาคเอกชนมีการรวมตัวกันพร้อมได้รับการเปิดทางและนโยบายที่ส่งเสริมจากรัฐบาลทางด้านโอกาสในการทำตลาดในช่วงนี้ คุณวิบูลย์เล็งเห็นช่องว่างในการชิงความได้เปรียบจากประเทศคู่แข่งที่หลายประเทศยังติดอุปสรรคภายใน ทำให้การดำเนินการส่งออกต้องชะลอตัวหรือหยุดชะงักไป

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

“ประเทศจีนเองที่เป็นคู่แข่งสำคัญของเราในตอนนี้และยังมีการล็อคดาวน์ทำให้การส่งออกลดลง และการส่งมอบสินค้าบางส่วนมีความล่าช้าออกไป รวมถึง ฮ่องกงคู่ค้าหลักที่เราส่งออกสินค้าไปนั้น เป็นการทำการตลาดแบบ Re-export ซึ่งตอนนี้ประเทศฮ่องกงก็มีอุปสรรคจากปัญหาภายใน หากเราสามารถช่วงชิงความได้เปรียบตรงนี้ที่ไทยได้เริ่มเปิดประเทศ แล้วหาช่องทางให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าตรงจากไทยโดยไม่ผ่านฮ่องกง ก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าการตลาดมากขึ้นอีก ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยการวางโครงสร้างกลยุทธ์ร่วมกันกับทางรัฐบาล ก่อนที่สิงคโปร์จะเข้ามาช่วงชิงตลาดนี้ต่อจากฮ่องกงแทน”

อย่างไรก็ดีโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งในงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 67 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ที่จัดมาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

คุณวิบูลย์มองว่า “เนื่องด้วยจิวเวลรี่ เป็นสินค้าที่ต้องสัมผัส ถึงจะตัดสินใจได้ ซึ่งงานนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจ เข้ามาหา Partner ทางธุรกิจได้ทุกด้านตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ และภายในงานยังมีกิจกรรมส่งเสริมความแข็งแรงของอุสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมากมาย อย่างโครงการ The New Faces ที่ได้รวบรวมผู้ประกอบการ SMEs ชั้นนำทั่วไทย และกิจกรรมเสวนาให้ความรู้เพื่อต่อยอดให้ไทยเรา สามารถเติบโตเป็นศูนย์กลางการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับของโลกได้ในอนาคต รวมถึงเปิดโอกาสให้นักออกแบบคนรุ่นใหม่ ได้แสดงฝีมือและผลงานในโซน The Jewellers”

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (Bangkok Gems and Jewelry Fair) ครั้งที่ 67 ได้กลับมาจัดงานเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยมีผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้ากว่า 800 ราย รวมกว่า 1,800 คูหา คาดผู้ชมงานไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นราย ตั้งเป้าเจรจาซื้อขายไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท

กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 กันยายน 2565 วันเจรจาธุรกิจ วันที่ 7-9 กันยายน 2565 เวลา 10.00-18.00 น. เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้วันที่ 10 กันยายน เวลา 10.00-18.00 น. และ 11 กันยายน 2565 เวลา 10.00-17.00 น. ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

นโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีแนวทางในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศผ่านการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม นำมาสู่การสนับสนุนอุตสาหกรรม New S-curve หรือ Second Wave S-Curve อันได้แก่ อุตสาหกรรมวัสดุ หรืออุตสาหกรรมแฟชั่น ทั้งด้านการเงิน และการวิจัยและพัฒนา

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เล็งเห็นว่าบรรดาอุตสาหกรรม 2nd Wave S-Curve นี้ ต้องได้รับการผลักดันและพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรแฟชั่นจำพวก อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ ที่มีการส่งออกมากที่สุด โดยพัฒนาผ่านนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ ให้เกิดการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการผลิต และสร้างการยอมรับในตลาดโลกให้ได้มากขึ้น ด้วยการนำ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ เข้ามามีส่วนช่วยในการออกแบบสินค้าใหม่ ๆ พร้อมเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ และความน่าดึงดูดให้กับตัวสินค้ามากขึ้น

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อปี (Compound Annual Growth Rate: CAGR) ทั้งมูลค่าการส่งออกกับการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.79 และร้อยละ 3.55 ตามลำดับ อุตสาหกรรมประเภทนี้จึงถูกมองว่าเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 โดยจากรายงานประจำปีระบุว่า อุตสาหกรรมนี้สามารถสร้างมูลค่าส่งออกประมาณ 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเท่ากับ ร้อยละ 4.74 ของผลิตภัณฑ์ส่งออกโดยรวมของประเทศ การส่งออกและนำเข้าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง 2561)  มีมูลค่าการนำเข้าพุ่งขึ้นจาก 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหากเราลงลึกในรายละเอียด จะเห็นว่าอุตสาหกรรมประเภทนี้ น่าสนใจและน่าผลักดันให้เป็นอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นแหล่งเจียรนัยเพชรพลอยที่สำคัญของโลก เพราะมีเทคนิคและมีช่างฝีมือที่เป็นที่ยอมรับจากทั่วทุกมุมโลก โดยมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมประเภทนี้ หากไม่นับรวมทองคำ จัดว่าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของตลาดโลก อีกทั้งไทยยังขึ้นชื่อเรื่องการผลิตเครื่องประดับแท้    โดยเฉพาะเครื่องเงิน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก

เป็นที่น่าเสียดาย ที่ประเทศไทยมีวัตถุดิบอย่าง ‘ทอง’ จำกัด ทำให้ต้องมีการนำเข้าทองคำที่ยังมิได้แปรรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีมูลค่าสูง ส่งผลกระทบทำให้มีมูลค่านำเข้ามากกว่าส่งออก จึงทำให้อุตสาหกรรมประเภทนี้เกิดภาวะขาดดุลการค้า (Trade Deficit) รวมถึงไทยยังขาดแคลนแหล่งจัดหาเพชรพลอยต่าง ๆ ต้องอาศัยวัตถุดิบจากต่างประเทศ อย่างเช่น จากสวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย 

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

ไทยมีเอกลักษณ์ในการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ความประณีตวิจิตรงดงาม และงานฝีมือ (Craftsmanship) ของช่างฝีมือไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบที่เครื่องจักรในยุคปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ โดยฝีมือของช่างคนไทยเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเรื่องการออกแบบสินค้าที่งดงาม มีความละเอียดลออ และมีความชำนาญในการเจียระไนเพรชพลอยด้วยเทคนิคดั้งเดิมตามท้องถิ่นที่ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้สินค้าประเภทนี้เป็นที่ต้องการในหมู่นักซื้อขายเพชรและเครื่องประดับทั่วโลก 

จากจุดแข็งของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เอง ทำให้ประเทศไทยนับว่าเป็นศูนย์การขายส่ง (Wholesale Hub) และเป็นจุดหมายของผู้ผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลก นับเป็นการนำงานหัตถศิลป์มาผสมผสานร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ของช่างฝีมือไทยได้อย่างโดดเด่นมีเอกลักษณ์

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

การผลิตอุตสาหกรรมประเภทนี้ถือเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย สามารถสร้างรายได้ให้กับช่างฝีมือท้องถิ่น และช่วยเพิ่ม GDP ของประเทศไทย รัฐบาลได้ทำการสนับสนุนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และหัตถศิลป์ของไทย โดยมีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีของโลกภายในระยะเวลา 5 ปี และใช้นโยบาย
ต่าง ๆ ในการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น

มาตรการส่งเสริมช่างฝีมือ : 

ฝึกสอนและจัดการแข่งขันทำเครื่องประดับ เพื่อให้บรรดาช่างฝีมือและนักออกแบบเครื่องประดับรุ่นใหม่ ๆ มาตรการส่งเสริมด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยงเชิงอัญมณี และจัดงานแสดงสินค้า ที่สามารถดึงดูดลูกค้าต่างชาติ ทำให้ผู้ขายและผู้ซื้อได้ติดต่อซื้อขาย และสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ ๆ มาตรการยกเว้นภาษี รัฐบาลไทยได้มีการยกเว้นการเก็บอากรขาเข้า (Import Duty) ของวัตถุดิบและเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องประดับมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) เป็นเวลา 3 ปี สำหรับนักลงทุนไทยและต่างชาติที่ลงทุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงมีการยกเว้นอากรขาเข้าทั้งหมด สำหรับวัตถุดิบอย่างเพชร หรือพลอยที่ยังไม่เจียรนัย เครื่องเจียรนัยเพชรพลอย และอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งถือเป็นการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น ทั้งยังเพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้าให้มากขึ้น

นโยบายลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) :

นโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ช่วยสร้างการเชื่อมโยงกับบรรดาประเทศกลุ่มอาเซียนอื่น ๆ โดยฐานผลิตหลักของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่อยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก สระแก้ว เชียงราย นครปฐม และกาญจนบุรี จะได้รับการส่งเสริมจากทางรัฐ โดยได้รับการยกเว้นภาษีรายได้เป็นเวลา 8 ปี และมีส่วนลดเพิ่มเติมให้กับภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี เพื่อจูงใจให้นักลงทุนหันมาลงทุนในจังหวัดเหล่านี้

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 2564

สิ่งหนึ่งที่เราควรส่งเสริมและสนับสนุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับนั่นก็คือ การนำจุดแข็งของเรามาต่อยอดและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต และมีข้อได้เปรียบหลายด้านในตลาดอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับ หัตถศิลป์ (Craftsmanship) ที่มีเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งช่างไทยมีเทคนิคเฉพาะและมีความประณีตที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และเป็นทักษะที่ทั่วโลกไม่สามารถเลียนแบบได้ หากเรานำข้อได้เปรียบนี้มาบูรณาการและปรับใช้ให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผสมผสานกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ นำมาต่อยอดและพัฒนาให้ดึงดูดตลาดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำนวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีต่าง ๆ มาเป็นส่วนช่วยในกระบวนการผลิต ให้อุตสาหกรรมประเภทนี้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันกับเวทีโลก โดยพัฒนาผ่านการส่งเสริมจากภาครัฐที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้า ก็จะทำให้เราสามารถเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และเป็นผู้นำที่ยืนหนึ่งในตลาดอุตสาหกรรมนี้ได้ในอนาคต

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
https://cms-mice2020-dev.sepplatform.com/th/keyindustries-details/craftsmanship-report-th