การบีบอัดขยะโดยใช้หลักการของคาน

ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับถังขยะโดยลำดับเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. ความเป็นมาของถังขยะพลาสติก

2. การเลือกประเภทถังขยะ

3. ประโยชน์ของการแยกประเภทขยะ

4. พลังงาน

5. การออกแบบตกแต่ง

6. วิธีการใช้ถังขยะให้ถูกสุขลักษณะ

 

ความเป็นมาของถังขยะพลาสติก 

 

ในปี ค.ศ. 1868 ช่างพิมพ์ (Printer) ชาวอเมริกันชื่อ John Wesley Hyatt ได้ค้นพบถังขยะ พลาสติกชนิดแรกของสหรัฐอเมริกา ชื่อ เซลลูลอยด์ (Celluloid หรือ Cellulose Nitrate) โดยการนำเอาไพรอกซิลีน (Pyroxylin) ซึ่งทำจากฝ้ายกับกรดไนตริกผสมการบูร (Solid Camphor) ทำเป็นลูกบิลเลียดแทนการใช้งาช้าง ซึ่งเกิดขาดแคลนมากในระยะนั้นขณะเดียวกันที่อังกฤษได้นำไพรอกซีเลียไปทำเป็น แลคเกอร์ และวัสดุเคลือบผิว (Coating Materials) อื่น ๆ ต่อมาได้มีผู้นำเอาเซลลูลอยด์ดัดแปลงไปใช้ทำเหงือกฟันปลอม (สีชมพู) แทนการใช้ยางแข็ง หลังจากนั้นได้นำเอาไปใช้ทำกระจกรถยนต์  ค.ศ. 1882 บริษัท Eastman ได้ประดิษฐ์ทำเป็นฟิล์มภาพยนตร์ การคิดค้นพลาสติกได้หยุดชะงักไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง  ในปี ค.ศ. 1909 Dr. Leo Hendrink Baekeland ได้ค้นพบพลาสติกชื่อ Phenol – Formalde – hyde โดยการผสม ฟีนอลกับฟอร์มาลดีไฮด์เข้าด้วยกัน พลาสติกชนิดนี้เรารู้จักกันดีในชื่อ Bakelite ซึ่งใช้ทำด้ามกระทะ หูหม้อ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น
            สมาคมวิศวกรพลาสติก (SPE) และสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก (SPI) แห่งสหรัฐอเมริกาได้จำกัดความของพลาสติกไว้ดังนี้

ถังขยะ พลาสติก คือวัสดุที่ประกอบด้วยสารหลายอย่างมีน้ำหนักโมเลกุลสูงลักษณะอ่อนตัวขณะทำ การผลิต ซึ่งโดยมากใช้กรรมวิธีการผลิตด้วยความร้อน หรือแรงอัดหรือทั้งสองอย่าง

การเลือกประเภทถังขยะ

            สีถังขยะ : สีถังขยะแต่ละประเภท เช่น

  1. สีเหลือง กับขยะประเภทของแห้ง เราสามารถนำเอาเศษ ชิ้นส่วนเหลือใช้มาประยุค หรือกลับไปรีไซเคิลนำมาใช้ใหม่ได้

  2. สีเขียวเก็บขยะเปียก

  3. สีฟ้า สีน้ำเงิน เป็นประเภทสิ่งของที่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลใช้งานต่อได้อีก

  4. สีแดง เป็นประเภทขยะอันตราย ห้ามเข้าใกล้ หรือหยิบจับ

    ประโยชน์ของการแยกประเภทขยะ          

  1. ลดปริมาณขยะลง - เพราะแยกแล้วก็ยังคงมีปริมาณเท่าเดิม ลองแยกเป็นประเภทขยะที่ยังมีประโยชน์หรือนำกลับไป Recycle ได้ออกมา เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ ฯลฯ ต่างๆ จำพวกนี้เราอาจจะนำไปขายต่อก็ได้ ซึ่งจะทำให้ปริมาณขยะที่เหลือจริงๆนั้นลดลงพอสมควรและยังมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีก

  2. ประหยัดงบประมาณของภาครัฐ - ถือเป็นการช่วยสังคมในทางหนึ่ง เพราะหากลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัดลงแล้วนั้น นั่นก็แปลว่างบประมาณที่ทางจังหวัดต้องใช้กำจัดขยะนั้นลดลงไปด้วย ลองวาดภาพคร่าวๆก่อน ยกตัวอย่างเช่น ในแต่ละวันนั้น กทม. ต้องกำจัดขยะถึงวันละ 9,000 ตัน ใช้งบประมาณถึง 2,000 ล้านบาทต่อปี ใช้รถเก็บขยะกว่า 2,000 คัน เจ้าหน้าที่เก็บขยะอีก 10,000 คนถังขยะนับหมื่นใบ เรือขนขยะอีกไม่รู้กี่สิบลำ หากเราช่วยกันลดปริมาณขยะลงแล้ว งบประมาณตรงนี้นั้นสามารถนำกลับไปพัฒนาประเทศได้ไม่มากก็น้อย

  3. เพิ่มความปลอดภัย - ทุกวันนี้มีขยะที่เป็นสารพิษอันตรายมากมาย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย ยาฆ่าแมลง กระป๋องสีเสปรย์ ฯลฯ หากเราไม่มีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีนั้นแล้วนั้นหากมีข้อผิดพลาดขึ้นมาอาจจะเกิดอันตรายได้ 

 

 

 

 

 

 

พลังงานกล

พลังงานกล (mechanical energy)พลังงานกล ในทางฟิสิกส์ จะหมายถึง พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่โดยตรงของวัตถุ โดยประกอบไปด้วยพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ ในที่นี้เราจะมาอธิบายพอสังเขป

พลังงานจลน์ (kinetic energy)

       พลังงานจลน์ เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นขณะวัตถุกำลังเคลื่อนที่เนื่องจากมีแรงมากระทำต่อวัตถุและมีค่าเปลี่ยนแปลงตามอัตราเร็วของวัตถุเคลื่อนที่ พลังงานจลน์ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่   เช่น

 พลังงานลม ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอนุภาคอากาศ เป็นสภาพของลมพัด พลังงานลมที่แรงมากสามารถหมุนกังหันลมได้

พลังงานคลื่น คลื่นในทะเล และมหาสมุทร ปกติเกิดจากลม ในบางครั้งเกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก เช่น แผ่นดินไหว พลังงานคลื่น สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า

 พลังงานน้ำ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอนุภาคน้ำ เช่น การไหลของกระแสน้ำ การไหลของน้ำตก และการเกิดคลื่นน้ำ พลังงานน้ำที่แรงมากเพียงพอสามารถหมุนกังหันน้ำได้

พลังงานเสียง ทำให้อนุภาคของอากาศเคลื่อนที่เป็นส่วนอัด ส่วนขยาย ความถี่ของส่วนอัดและส่วนขยายที่เกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความดังและลักษณะเสียงจากแหล่งกำเนิด เสียงเมื่อเดินทางมาถึง   หูมนุษย์ทำให้เยื่อแก้วหูเกิดการสั่นมีความถี่ต่างๆ กัน

พลังงานศักย์ (Potential Energy)

พลังงานศักย์โน้มถ่วง (Gravitational Potential Energy) เป็นพลังงานศักย์ที่สะสมในวัตถุ เมื่ออยู่บน ที่สูง พลังงานศักย์โน้มถ่วงจะมีค่ามาก หรือ ค่าน้อย ขึ้นอยู่กับระดับความสูงจากพื้นโลก สามารถหาค่าได้จากงานที่ทำหรือการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในแนวดิ่ง มีความสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง

 

 

 

 

การออกแบบตกแต่ง

การออกแบบตกแต่ง เป็นการออกแบบเพื่อช่วยเสริมเติมแต่ง รูปลักษณ์ของโครงสร้างให้งดงามน่าดูยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยโดยคำนึงถึง วัสดุรูปแบบ สัดส่วน และสีสัน เป็นสำคัญ เป็นงานตกแต่งที่มีขนาดเล็กๆ จนถึงมีโครงสร้างขนาดใหญ่ๆ ประเภทของงานออกแบบตกแต่งมีดังนี้
1.1 การออกแบบตกแต่งภายใน หมายถึง การสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคาร บ้านเรือน หรือสถานที่ต่างๆ ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ให้เกิดความสะดวกสบายเหมาะสมต่อการใช้สอย และความงามในรูปแบบ โดยการจัดวางกลุ่มของเครื่องเรือน เช่น โต๊ะ เกาอี้ ชั้นวางของ ตู้ เตียง โคมไฟ ม่าน เป็นต้น
1.2 การตกแต่งภายนอก หมายถึง การจัดตกแต่งบริเวณภายนอกอาคาร สถานที่ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมให้สัมพันธ์กับอาคารรวมทั้งการจัดถนน ทางเดินสัญจร กลุ่มของต้นไม้ และการดูแลรักษา รูปแบบของการจัดเช่นเดียวกันกับการตกแต่งภายใน

วิธีการใช้ถังขยะให้ถูกสุขลักษณะ

            ชั้นบรรยากาศบนโลกอันสวยงามเราเริ่มถูกทำลายลงจากน้ำมือมนุษย์เราเอง ยิ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยี ความเสียหายก็ยิ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่จะทำอย่างไรในเมื่อเราถูกกำหนดมาแล้วว่าต้องพัฒนาอยู่เสมอ วิธีต่ออายุชั้นบรรยากาศด้วยน้ำมือมนุษย์จึงเป็นวิธีการเดียวที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนลงได้ เริ่มต้นจากการลดปริมาณขยะโดยการทิ้งขยะให้ลงถัง จากนั้นเป็นการเลือกใช้ถังขยะให้ถูกสุขลักษณะดังต่อไปนี้

             เลือกประเภทถังขยะให้สอดคล้องกับประเภทขยะเพื่อให้ง่ายต่อการกำจัดชิ้นส่วน

ควรมีถุงพลาสติกรองก่อนเสมอ ป้องกันการแผ่เชื้อ และสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย

หากถังเกิดชำรุด แตก เสียหาย ควรเปลี่ยนใหม่ เพื่อลดอุบัติเหตุและลดแหล่งสะสมเชื้อโรค

บริเวณ พื้นที่ ตำแหน่งต้องอยู่ในที่โล่งแจ้ง ไม่มีหญ้าขึ้น ปิด รก เพราะจะเป็นที่อาศัยของพาหะนำโรคร้ายได้

ควรมีฝากเปิด-ปิด เพื่อปกปิดกลิ่นเหม็นจากเศษอาหาร ซึ่งควรเป็นชนิดฝากผลักจะสะดวกกว่า

สำหรับถังขยะที่ตั้งอยู่ในสถานที่สาธารณะ ควรเป็นชนิดที่มีที่เขี่ยบุหรี่เป็นฟังก์ชันเสริม เพื่อความสะอาด และป้องกันไฟไหมจากก้นบุหรี่

อย่าปล่อยให้ขยะเต็ม จนล้นถัง แลดูแล้วสกปรก ไม่สะอาดตา

        สำหรับขยะชนิดอันตรายมีสารเคมี สารปรอทปะปนอยู่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากไม่มีถังเก็บควรใส่ถุง พลาสติกสีดำ มัดปากถุงให้มิดชิด

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

          นาย ชัชวาล ยง   นาย บรรณกร ชาภิรมย์ 3.นาย ธานี กาพย์กลอน   และนาย พัชรินทร์ ยงบรรทม นักเรียนจากโรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม ได้สร้างเครื่องอัดกระป๋อง ได้ผลจากการทดลองใช้คือ เรื่องอัดกระป๋องสามารถใช้งานได้ดี และต่อเนื่องในปริมาณมาก สามารถอัดกระป๋องให้เล็กลงได้ โดยที่ไม่ต้องใช้มือบีบกระป๋องอย่างที่เคยทำ



บทที่ 3

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

 

            วิธีการดำเนินการวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย ตำบลบ้านถ้ำ    อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เกี่ยวกับถังขยะบีบอัดพลังงานกล ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยมีการดำเนินการตามขั้นตอนสำคัญดังนี้

            1. กลุ่มตัวอย่าง

            2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

            3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

            4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

            5. การวิเคราะห์ข้อมูล

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชาวบ้านหมู่บ้าน สันทราย ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ที่อายุระหว่าง 10-60 ปี จำนวน 40 คน  

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรที่ใช้ในการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับถังขยะบีบอัดพลังงานกล   

 


สถานภาพ


จำนวน (คน)


1. เพศ


    1.1 ชาย


    1.2 หญิง


 


17


23


รวม


61


2. อายุ


    2.1  น้อยกว่า 10 ปี


    2.2   10 60 ปี


    2.3   60 ปี ขึ้นไป


 


0


34


6


รวม


40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

            เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งได้พัฒนามาจาก ตัวอย่างแบบสอบถาม คุณครูศศิร์อร  ศักดิ์กิตติพงศา ซึ่งแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้

            ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามชนิดตรวจเช็ครายการ (Check list) ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปรอิสระ (เพศ อายุ)

            ตอนที่ 2 เป็น แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า  (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ ตามวิธีการของ เรนซิสลิเคอร์ท (Rensis  Likert) คือ อยู่ในระดับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ปานกลาง  ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เกี่ยวกับถังขยะบีบอัดพลังงานกล

 

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

            1. ศึกษาค้นคว้า ตำรา เอกสาร บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ความคิดเห็นของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา และรายละเอียดวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางการสร้างถังขยะบีบอัดพลังงานกล

            2. ศึกษาวิธีการสร้างถังขยะรูปแบบต่างๆ ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการบีบอัด และพลังงานกล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างถังขยะบีบอัดพลังงานกล

            3. พัฒนาแบบสอบถามปลายปิด ใช้ในการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของชาวบ้านที่มีต่อถังขยะบีบอัดพลังงานกล

            4. นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขถังขยะบีบอัดพลังงานกล แล้วนำไปจัดพิมพ์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการลงพื้นที่ให้ชาวบ้านทดลงใช้ถังขยะบีบอัด

พลังงานกล แล้วตอบแบบสอบถาม ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้

            1. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีลงพื้นที่ให้ทดลองใช้ถังขยะบีบอัดพลังงานกล      แล้วแจกแบบสอบถาม และเก็บรวบรวมข้อมูลกลับด้วยการลงพื้นที่กลับไปรับแบบสอบถามคืน

            2. ได้รับแบบสอบถาม กลับคืนและตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแล้ว            มีความสมบูรณ์จำนวน 40 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

            3. นำแบบสอบถาม มาตรวจให้คะแนนดังนี้

                        มีความคิดเห็น      เห็นด้วยอย่างยิ่ง ให้        5  คะแนน

                        มีความคิดเห็น      เห็นด้วย                       ให้        4  คะแนน

                        มีความคิดเห็น      ปานกลาง                     ให้        3  คะแนน

                        มีความคิดเห็น      ไม่เห็นด้วย                   ให้        2 คะแนน

                        มีความคิดเห็น      ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง         ให้        1  คะแนน

            4. นำคะแนนที่ได้จัดพิมพ์ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเตรียมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

            ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

            1. วิเคราะห์สภาพของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้     จังหวัดพะเยา จำแนกตาม เพศ และอายุโดยใช้ความถี่และค่าร้อยละ

            2. วิเคราะห์ความคิดเห็นของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยการหา ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมและรายด้าน

                3. วิเคราะห์ความคิดเห็นของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยการหา ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมและรายด้าน จำแนกตามสถานภาพ

                4. วิเคราะห์ความคิดเห็นของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยการหา ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมรายด้านและรายข้อ

            5. นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ทางสถิติมาแปลผลดังนี้ ตามแนวทางของ เบสต์ (Best. อ้างอิงในสวิด  ดวงจันทร์ 2546: หน้า 58) ซึ่งแบ่งคะแนนเป็นช่วง ๆ มีความหมายดังนี้

            ค่าเฉลี่ย 4.50-5.00  แปลความหมายว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด

            ค่าเฉลี่ย 3.50-4.49  แปลความหมายว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก

            ค่าเฉลี่ย 2.50-3.49  แปลความหมายว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลาง

            ค่าเฉลี่ย 1.50-2.49  แปลความหมายว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับน้อย

            ค่าเฉลี่ย 1.00-1.49  แปลความหมายว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับน้อยที่สุด

 

 

 

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

            แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วย

สถิติพื้นฐาน ดังนี้  บุญสม  ศรีสะอาด (2545 :105)
             1.  ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) 

             2 ค่าเฉลี่ย (Mean)

             3.  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) 

                          4.  ค่าความถี่ (Frequency)



  

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

 

            การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับถังขยะบีบอัด พลังงานกลของชาวบ้าน หมู่บ้านสันทราย ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา               ที่อายุระหว่าง 10-60 ปี ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการการแปรผลที่ได้จากการวิเคราะห์ตามลำดับดังนี้

            ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบดังต่อไปนี้

                       

            ตอนที่ 1 เป็นผลการวิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่ เพศ อายุ          แสดงไว้ในตารางที่ 2

 

ตาราง 2 แสดงจำนวนและร้อยละของครูผู้สอน จำแนกตามเพศ และอายุ

 


สถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง


จำนวน (คน)


ร้อยละ


1. เพศ


    1.1 ชาย


    1.2 หญิง


 


17


23


 


42.50


57.50


รวม


40


             100.00


2. อายุ


    2.1  น้อยกว่า 10 ปี


    2.2   10 - 60 ปี


    2.3   มากกว่า 60 ปีขึ้นไป


 


0


34


6


 


             0.00


85.00


15.00


รวม


40


             100.00

จากตารางที่ 2 แสดงว่า ว่าด้านเพศของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 57.50 ซึ่งมากกว่าเพศชายที่คิดเป็นร้อยละ 42.50 ด้านกลุ่มอายุน้อยกว่า 10 ปี มีจำนวนร้อยละ 0.00 ด้านกลุ่มอายุ10 - 60 ปี          มีจำนวน ร้อยละ 85.00 และด้านกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนร้อยละ 15.00

ตอนที่ 2  เป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของความคิดเห็นของชาวบ้านใน     หมู่บ้านสันทราย ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เกี่ยวกับถังขยะบีบอัดพลังงานกล 

 

ตาราง 3 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย     ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เกี่ยวกับความพึงพอใจในถังขยะบีบอัดพลังงานกล


ความพึงพอใจในถังงานขยะพลังงานกลของชาวบ้านใน


หมู่บ้านสันทรายตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา


µ



ระดับความ


คิดเห็น


1.ถังขยะบีบอัดพลังงานกลมีความแข็งแรงทนทาน


4.65


0.59


มาก


2.ถังขยะบีบอัดพลังงานกลง่ายต่อการใช้งาน


4.05


0.60


มาก


3.ถังขยะบีบอัดพลังงานกลสามารถบีบอัดขยะได้เป็นอย่างดี


  4.50


0.61


มาก


4.ถังขยะบีบอัดพลังงานกลมีรูปทรงสวยงาม ทันสมัย


5.ถังขยะบีบอัดพลังงานกลใช้วัสดุในการสร้างได้อย่างเหมาะสม


6.ถังขยะบีบอัดพลังงานกลสามารถทำความสะอาดได้ง่าย


7.ถังขยะบีบอัดพลังงานกลสามารถใช้งานได้ตามความต้องการ


8.ถังขยะบีบอัดพลังงานกล สร้างสรรค์ในการผลิต


9.ถังขยะบีบอัดพลังงานกลมีความน่าสนใจ


10.ถังขยะบีบอัดพลังงานกลสามารถเพิ่มพื้นที่ให้กับห้องได้


  4.40


4.30


4.30


4.30


4.20


4.50


4.20


0.60


0.47


0.66


0.66


0.41


0.61


0.52


 


มาก


มาก


มาก


มาก


มาก


มาก


มาก


รวม


  4.34


 


0.59


 


มาก

 

จากตาราง  3  แสดงว่า ความพึงพอใจในถังงานขยะพลังงานกลของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย

ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยาโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=4.34) เมื่อพิจารณาในรายข้อ เรื่องของความแข็งแรงทนทานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.65) ส่วนด้านการง่ายต่อการใช้งานค่าเฉลี่ยต่ำสุด (=4.05)

 

 

 

ตาราง 4 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานระดับความคิดเห็นของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย     ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เกี่ยวกับความพึงพอใจในถังขยะบีบอัดพลังงานกลจำแนกตามเพศ

                                    


 


ความพึงพอใจในถังขยะบีบอัด


พลังงานกล


เพศ


ชาย


หญิง


 µ



ระดับ


 µ



ระดับ


1. ถังขยะบีบอัดพลังงานกลมีความแข็งแรงทนทาน


2. ถังขยะบีบอัดพลังงานกลง่ายต่อการใช้งาน


3. ถังขยะบีบอัดพลังงานกลสามารถบีบอัดขยะได้เป็นอย่างดี


4. ถังขยะบีบอัดพลังงานกลมีรูปทรงสวยงาม ทันสมัย


5. ถังขยะบีบอัดพลังงานกลใช้วัสดุในการสร้างได้อย่างเหมาะสม


6. ถังขยะบีบอัดพลังงานกลสามารถทำความสะอาดได้ง่าย


7. ถังขยะบีบอัดพลังงานกลสามารถใช้งานได้ตามความต้องการ


8.ถังขยะบีบอัดพลังงานกล สร้างสรรค์ในการผลิต


9. ถังขยะบีบอัดพลังงานกลมีความน่าสนใจ


10. ถังขยะบีบอัดพลังงานกลสามารถเพิ่มพื้นที่ให้กับห้องได้


4.6


 


4


 


4.4


 


4.2


 


4.4


 


4.29


 


4.23


 


4.05


 


4.29


 


4.23


 


 


0.62


 


0.54


 


0.59


 


0.57


 


0.59


 


0.58


 


0.57


 


0.55


 


0.58


 


0.57


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


4.6


 


3.91


 


4.3


 


4.17


 


4.43


 


4.17


 


4.3


 


3.91


 


4.21


 


4.17


0.62


 


0.53


 


0.58


 


0.56


 


0.6


 


0.56


 


0.58


 


0.53


 


0.57


 


0.56


มากที่สุด


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


 


มาก


รวม


4.26


0.57


มาก


4.21


0.57


มาก

 

จากตาราง  4 แสดงว่าระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อถังขยะบีบอัดพลังงานกลดังนี้ ความคิดเห็นของเพศชายต่อความพึงพอใจในถังขยะบีบอัดพลังงานกลโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(=4.26) เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่าถังขยะบีบอัดพลังงานกลมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.6) ส่วนเรื่องถังขยะบีบอัดพลังงานกลมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (=3.91) และความคิดเห็นของเพศหญิงต่อความพึงพอใจในถังขยะบีบอัดพลังงานกลโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(=4.21) เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่าเรื่องถังขยะบีบอัดพลังงานกลมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.6) ส่วนเรื่องถังขยะบีบอัดพลังงานกลมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (=3.91)



42

 


บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

 

            การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย อำเภอดอกคำใต้ต่อถังขยะบีบอัดพลังงานกล โดยมีประชากรเป็นชาวบ้านในหมู่บ้านสันทราย อำเภอดอกคำใต้จังหวัดพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมexcel สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ดังนี้          

 

สรุปผลการศึกษา

            ผลการสอบถามความพึงพอใจ สรุปได้ดังนี้

1. การสร้างถังขยะบีบอัดพลังงานกล สามารถใช้งานได้จริง สามารถบีบอัดขยะได้

2. ระดับความพึงพอใจของของชาวบ้านหมู่บ้านสันทราย อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา มีค่าเฉลี่ย 4.34 : 5 (อยู่ในระดับ ดี)

 

           

อภิปรายผล

            จากการศึกษาเรื่อง ถังขยะบีบอันพลังงานกล ผลการศึกษาพบว่าถังขยะบีบอัดพลังงานกลสามารถบีบอัดขยะได้ดีตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และยังสามารถช่วยลดพื้นที่ในการเก็บขยะได้

การใช้คานในการบีบอัดขยะอาศัยหลักการใด

การบีบตัวอัดขยะโดยใช้หลักการของคานใช้กลไกการทำงานที่ไม่ยุ้งยากซับซ่อนใช้เวลาในการสร้างไม่นานมีค่าใช้จ่ายต่ำใช้แรงคนในการทำงานอุปกรณ๊์จึงไม่มีค่าใช้จ่ายกลไกใช้หลักการของคานที่ใช้ในการผ่อนแรงทำให้ออกแรงไม่มากในการบีบอัดขวดพลาสติก

เพราะอะไร นนท์จึงเลือก การบีบอัดขยะโดยใช้หลักการของคาน

สรุปจากการวิเคราะห์นนท์เลือกแนวทางที่1 สร้างอุปกรณ์บีบอัดขยะโดยใช้หลักการของคาน เนื่องจาก กลไก การทํางานไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถสร้างเองได้ใช้ทุนในการซื้อวัสดุที่ใช้ทําโครงสร้างของคานและนอต เท่านั้น ถึงแม้จะใช้แรงคนในการกด แต่กลไกนี้ช่วยผ่อนแรงทําให้ใช้แรงไม่มากในการบีบอัดขยะพลาสติก

การบีบอัดขยะด้วยกลไก Scissors ใช้พลังงานจากสิ่งใด

การบีบอัดขยะด้วยกลไก scissors ใช้พลังงานจากสิ่งใด พลังงานลม

การบีบอัดขยะคืออะไร

ขยะถูกบีบอัดเป็นก้อนขนาดเล็กลง ทำให้การจัดการขยะรีไซเคิลในองค์การสะดวกและง่ายขึ้น ปริมาณขยะถูกบีบให้มีขนาดเล็กลง ลดรอบในการขนส่ง ลดรอบในการขนส่งขยะรีไซเคิลไปจุดต่างๆ การขนส่งลดลงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ลด CO2) ลดการเกิดโลกร้อน แยกขยะที่ต้นทางช่วยให้ได้ขยะรีไซเคิลที่มีคุณภาพมากขึ้น