การหาค่าความจริงของประพจน์ แบบฝึกหัด 2.4 เฉลย

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ “Easy Imperative Sentences” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1)

    หนังสือ "แบบฝึกหัดและประเมินผล คณิตศาสตร์ ม.4 (รายวิชาพื้นฐาน)" เล่มนี้ ได้จัดทําขึ้นเพื่อช่วยครูในการสอน โดยจัดทําให้มีโจทย์จํานวนมากครอบคลุมเนื้อหาที่จะให้ครูสามารถเลือกใช้ตามศักยภาพของผู้เรียน โจทย์แต่ละเรื่องเรียงลําดับจากง่ายไปยาก นักเรียนจะเข้าใจจากความรู้พื้นฐาน จนสามารถนําไปแก้โจทย์ปัญหาระดับปานกลางและยากไต้ ระดับความยากง่ายของโจทย์ที่ต่างกัน ตั้งแต่โจทย์ขั้นพื้นฐาน ปานกลาง และยาก จะทําให้ครูสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้

กลับมาพบกันอีกครั้งกับพี่แชร์และพี่ปิง แห่ง Panya Society ในบทความ สรุปเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ มัธยมปลาย ระดับชั้น ม.4 เทอม 1 นะครับ วันนี้พี่แชร์และพี่ปิงขอนำเสนอในเรื่อง “ตรรกศาสตร์” ครับ “ตรรกศาสตร์” เป็นบทถัดมาจากเรื่อง “เซต” ที่น้องๆจะได้เรียนกันในวิชาคณิตศาสตร์ ม. 4 เทอม 1 โดย “ตรรกศาสตร์” จะเป็นเรื่องที่กล่าวถึงการให้เหตุผล การโต้แย้งที่สมเหตุสมผลในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา และก็ยังเป็นบทเรียนที่สำคัญ ในการนำไปใช้เป็นพื้นฐานเพื่อประยุกต์สู่เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมปลายที่จะมีความเข้มข้นมากขึ้น

นั้นทำให้บทเรียนคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1 เรื่อง “ตรรกศาสตร์” มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่น้องๆจะต้องทำความเข้าใจเนื้อหาโดยละเอียด และปูพื้นฐานของบทนี้ให้แน่น เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย และใช้ในการทำข้อสอบที่มีความหลากหลายและโจทย์ที่ประยุกต์หลายๆ บทเรียนเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ โดยมี “ตรรกศาสตร์” เป็นส่วนหนึ่งของชุดความรู้สำคัญที่จำเป็นต้องนำไปประยุกต์ได้ในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย TCAS ต่อไป ทั้งใน PAT1 และ 9 วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ ดังนั้นน้องๆ อย่าทิ้งบทนี้นะครับ หมั่นทบทวนเนื้อหา และไม่ลืมที่จะเก็บเนื้อหาสาระสำคัญต่างๆด้วยนะครับ

เนื้อหาหลักของบทนี้ประกอบด้วย รายละเอียดบทย่อย ดังนี้

  • ประพจน์
  • การเชื่อมประพจน์
  • ค่าความจริงของประพจน์
  • การสมมูลและนิเสธของประพจน์
  • สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล
  • ตัวบ่งปริมาณและประโยคเปิด

คณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1

3 Videos

การหาค่าความจริงของประพจน์ แบบฝึกหัด 2.4 เฉลย

intro แนะนำคณิตศาสตร์ พี่ครูปิง

2:44

การหาค่าความจริงของประพจน์ แบบฝึกหัด 2.4 เฉลย

คณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1 : บทเรียนเรื่องสัจนิรันดร์

31:58

การหาค่าความจริงของประพจน์ แบบฝึกหัด 2.4 เฉลย

ติวกลางภาค ม.4 คณิตศาสตร์ เรื่อง ตรรกศาสตร์

1:30:10

ดูรายละเอียดคอร์ส คณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1

ประพจน์

ประพจน์ คือ ประโยคหรือข้อความที่สามารถบอกค่าความจริงว่า เป็นจริงหรือเท็จได้ จะอยู่ในรูปแบบของประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธก็ได้ มักใช้สัญลักษณ์ p, q, r, s หรือตัวอักษรอื่นๆในการแทนประพจน์

ข้อสังเกต ประโยคที่จะเป็นประพจน์ได้จะต้องไม่มีความกำกวม ต้องสามารถตอบได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ

ตัวอย่างเช่น ประโยคต่อไปนี้เป็นประพจน์หรือไม่

  • 1 + 1 = 8 เป็น เพราะตอบได้ว่าประโยคนี้เป็นเท็จ
  • กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย เป็น เพราะตอบได้ว่าประโยคนี้เป็นจริง
  • นั่นคือตัวอะไร ไม่เป็น เพราะเป็นประโยคคำถาม
  • x เป็นจำนวนจริง ไม่เป็น เพราะไม่รู้ว่า x คืออะไร

การเชื่อมประพจน์

การเชื่อมประพจน์ มีด้วยกัน 4 แบบ ได้แก่

  1. และ (∧) เป็นจริงเพียงกรณีเดียวคือ T ∧ T เป็น T
  2. หรือ (∨) เป็นเท็จเพียงกรณีเดียวคือ F ∨ F เป็น F
  3. ถ้า…แล้ว (→) เป็นเท็จเพียงกรณีเดียวคือ T → F เป็น F
  4. ก็ต่อเมื่อ (↔) ถ้ามีค่าความจริงเหมือนกันจะเป็นจริง ไม่เหมือนกันจะเป็นเท็จ

หรือดังตารางต่อไปนี้

pqp∧qp∨qp→qp↔qTTTTTTTFFTFFFTFTTFFFFFTT

ค่าความจริงของประพจน์

การหาค่าความจริงของประพจน์ โดยที่โจทย์ไม่ได้กำหนดค่าความจริงของประพจน์ย่อยๆมาให้ ต้องพิจารณาค่าความจริงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากประพจน์ย่อยๆ วิธีที่นิยมคือการสร้างตารางค่าความจริง

ซึ่งถ้ามีประพจน์ย่อยทั้งหมด n ประพจน์ จะได้ค่าความจริงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 2n กรณี

ตัวอย่าง จงสร้างตารางค่าความจริงทุกกรณีที่เป็นไปได้ของประพจน์ (p∨q)↔p

วิธีทำ ประพจน์ (p∨q)↔p มีประพจน์ย่อย 2 ประพจน์ คือ p และ q ค่าความจริงที่เป็นไปได้ทั้งหมดคือ 22 = 4 กรณี สามารถสร้างตารางได้ดังนี้pqp∨q(p∨q)↔pTTTTTFTTFTTFFFFT

การสมมูลและนิเสธของประพจน์

นิเสธของประพจน์ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกันข้ามกับประพจน์นั้นๆ (จากจริงเป็นเท็จ/จากเท็จเป็นจริง) สามารถเขียนแทนนิเสธของประพจน์ p ได้ด้วย ~p

การสมมูลของประพจน์ การที่ประพจน์ 2 ประพจน์สมมูลกัน ก็ต่อเมื่อประพจน์ทั้ง 2 ประพจน์มีค่าความจริงเหมือนกันทุกรณี สามารถเขียนแทนการสมมูลด้วย “≡”

รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน

  1. ~(~p) ≡ p
  2. p∧q ≡ q∧p
  3. p∨q ≡ q∨p
  4. p↔q ≡ q↔p
  5. p∧(q∧r) ≡ (p∧q)∧r
  6. p∨(q∨r) ≡ (p∨q)∨r
  7. p↔(q↔r) ≡ (p↔q)↔r
  8. p∧(q∨r) ≡ (p∧q)∨(p∧r)
  9. p∨(q∧r) ≡ (p∨q)∧(p∨r)
  10. p→q ≡ ~p∨q
  11. p→q ≡ ~q→~p
  12. p↔q ≡ (p→q)∧(q→p)
  13. ~(p∧q) ≡ ~p∨~q
  14. ~(p∨q) ≡ ~p∧~q
  15. ~(p→q) ≡ ~(~p∨q) ≡ p∧~q
  16. ~(p↔q) ≡ ~p↔q ≡ p↔~q
  17. ~(p↔q) ≡ (p∧~q)∨(q∧~p)

ตัวอย่าง จงตรวจสอบว่าประพจน์ ~p→q สมมูลกับประพจน์ p∨q หรือไม่

วิธีทำ สร้างตารางค่าความจริงได้ 4 กรณี ได้ดังนี้

pq~p~p→qp∨qTTFTTTFFTTFTTTTFFTFF

จากตารางค่าความจริงของประพจน์ ~p→q และ p∨q พบว่ามีค่าความจริงเหมือนกันทุกกรณี ดังนั้น ประพจน์ ~p→q สมมูลกับประพจน์ p∨q หรือ ~p→q ≡ p∨q

สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล

สัจนิรันดร์ คือ รูปแบบของประพจน์ที่จะมีค่าความจริงเป็นจริงทุกกรณี

วิธีการตรวจสอบการเป็นสัจนิรันดร์

  1. สร้างตารางค่าความจริง ให้สร้างตารางค่าความจริง แล้วดูค่าความจริงขั้นสุดท้ายของประพจน์ว่าเป็นจริง (T) ทุกกรณีหรือไม่ ถ้าเป็นจริงทุกกรณีแสดงว่าประพจน์นั้นเป็นสัจนิรันดร์
  2. การใช้สมบัติข้อขัดแย้ง โดยสมมติให้ประพจน์นั้นมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) จากนั้นวิเคราะห์ย้อนกลับไปยังประพจน์ย่อยๆ เพื่อดูค่าความจริงของประพจน์ว่าขัดแย้งกันหรือไม่
    1. ถ้าขัดแย้งกันแสดงว่า ไม่มีโอกาสเกิดเท็จได้ ประพจน์นั้นก็เป็นสัจนิรัดร์
    2. ถ้าไม่ขัดแย้งกันแสดงว่า มีโอกาสเกิดเท็จได้ ประพจน์นั้นก็ไม่เป็นสัจนิรัดร์

การอ้างเหตุผล คือ การสรุปว่าสิ่งที่ระบุมานั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ เริ่มจากนำข้อความที่กำหมดให้ซึ่งจะมี เหตุ(P) และ ผล(C) โดยนำ “เหตุ” ทั้งหมดมาเชื่อมด้วย “และ (∧)” แล้วนำไปเชื่อมด้วย “ถ้าแล้ว (→)” กับ “ผล” แล้วดูว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่ ถ้าเป็นสัจนิรันดร์แปลว่าข้อความนั้นสมเหุสมผล

ตัวอย่าง การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผลหรือไม่

  • เหตุ
    • p→q
    • ~q
  • ผล
    • ~p

วิธีทำ นำเหตุทั้งหมดมาเชื่อมกันด้วย ∧ แล้วเชื่อมกับผลด้วย → จะได้ [(p→q)∧~q]→~p แล้วตรวจสอบความเป็นสัจนิรันดร์โดยการสร้างตารางค่าความจริงดังนี้

pq~p~qp→q(p→q)∧~q[(p→q)∧~q]→~pTTFFTFTTFFTFFTFTTFTFTFFTTTTT

จากตารางค่าความจริงพบว่าประพจน์ [(p→q)∧~q]→~p เป็นสัจนิรันดร์ แสดงว่า การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล

ตัวบ่งปริมาณและประโยคเปิด

ประโยคเปิด คือ ประโยคบอกเล่า หรือ ประโยคปฏิเสธ ที่มีตัวแปรแล้วเมื่อแทนตัวแปรลงไปจะได้เป็นประพจน์ เช่น

  • a เป็นจำนวนคี่
  • คนสวมเสื้อสีแดง

ตัวบ่งปริมาณ คือ ข้อความที่บอกเงื่อนไขของค่าตัวแปรที่จะนำไปแทน เพื่อให้ประโยคเปิด กลายเป็นประพจน์ มี 2 แบบ คือ

  • ∀x หมายถึง x ทุกตัวที่อยู่ในเอกภพสัมพัทธ์
  • ∃x หมายถึง x บางตัวที่อยู่ในเอกภพสัมพัทธ์

คุยกันท้ายบท

แบบฝึกหัด

1. กำหนดให้ p, q เป็นประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริง r, s เป็นประพจน์ที่มีค่าความจริง เป็นเท็จ จงหาค่าความจริงของประพจน์ที่กำหนดให้ต่อไปนี้

  • [(p↔r)∧~q]→(~p∨~s)

เฉลย

2. การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผลหรือไม่

  • เหตุ
    • ถ้าวิชัยขยัน แล้ววิชัยสอบได้ที่ 1
    • วิชัยสอบได้ที่ 1
  • ผล
    • วิชัยขยัน

เฉลย

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเนื้อหาและแบบฝึกหัดของเรื่อง “ตรรกศาสตร์” คงจะไม่ยากเกินไปใช่ไหมครับ รวมไปถึงตอนนี้น้องๆคงจะเห็นได้ว่าวิชาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย มีความแตกต่างกันอย่างไรกับตอนช่วง ม.ต้น ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1 จะเป็นช่วงของการปูพื้นฐาน และปรับความพร้อมให้กับน้องๆในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย ไปทั้งตลอดระดับชั้น และอย่างที่พี่แชร์และพี่ปิงได้เกรินไว้ว่าเรื่อง “ตรรกศาสตร์” นี้เองก็จะเป็นพื้นฐานในการต่อยอดไปยังเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งจะมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นไปอีก รวมไปถึงยังสามารถพบเห็นในได้ในการเรียนระดับมหาวิทยาลัยในบางคณะ เช่น คณะคณิตศาสตร์ประยุกต์ รวมไปถึงคณะวิทยาศาสตร์บางสาขาอีกด้วย ดังนั้นพี่จึงอยากให้น้องๆทุกคนควรให้ความสำคัญกับการเรียนเพื่อความเข้าใจสูงสุดในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ พร้อมกับฝึกทำโจทย์บ่อยๆ

และถ้าน้องๆคนไหนอยากได้เนื้อหาที่ละเอียดกว่านี้ รวมไปถึงแบบฝึกหัดที่เข้มข้นกว่านี้ พี่แชร์และพี่ปิงขอแนะนำคอร์สวิชา “คณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1” จากทาง Panya Society ที่มีการปูพื้นฐานตั้งแต่ง่ายไปจนถึงระดับยาก เน้นความเข้าใจ ไม่เน้นการท่องจำ พร้อมทั้งแบบฝึกหัด รวมไปถึงตัวอย่างข้อสอบจากข้อสอบจริงในการสอบเข้าระดับมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นข้อสอบคณิตศาสตร์ 9 วิชาสามัญ หรือ PAT1 ทำให้คอร์สนี้เหมาะกับน้องๆ ทุกคนที่อยู่ชั้น ม.4 ที่โรงเรียนใช้หลักสูตรใหม่ (2560) ที่เบื่อกับการเรียนคณิตฯแบบท่องจำ แต่ดันทำโจทย์ไม่ได้ หรือไปเรียนพิเศษคณิตศาสตร์จากที่อื่นมาแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ด้วยการสอนคณิตศาสตร์อย่างบูรณาการ พี่ๆทั้งสองคนรับรองได้เลยว่าคอร์สจากทาง Panya Society นี้จะแตกต่างกับที่เรียนพิเศษคณิตศาสตร์ที่อื่นๆ อย่างแน่นอน

สุดท้ายนี้พี่แชร์และพี่ปิงหวังว่า น้องๆจะสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1 รวมไปถึงวิชาคณิตศาสตร์ ม.ปลายไปตลอดทั้งระดับชั้น และขอให้น้องๆประสบความสำเร็จในการเรียนเทอมนี้ ได้เกรดดังหวัง คะแนนปังทุกคนเลยครับ แล้วกันใหม่ในสรุปเนื้อหาเรื่อง “จำนวนจริง” นะครับ 🙂

ดูรายละเอียดคอร์ส คณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1

PREVIOUS

เซต

NEXT

จำนวนจริง

การหาค่าความจริงของประพจน์ แบบฝึกหัด 2.4 เฉลย

สุปิติ บูรณวัฒนาโชค

  • ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
  • อดีตตัวแทนนักเรียนไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
  • เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
  • ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม

ทำความรู้จัก พี่แชร์ (สุปิติ บูรณวัฒนาโชค)

การหาค่าความจริงของประพจน์ แบบฝึกหัด 2.4 เฉลย

ดร.อธิปัตย์ ธำรงธัญลักษณ์

  • อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ได้รับทุนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไปศึกษาระดับปริญญาเอก ที่ University of California, Los Angeles ทางด้านคณิตศาสตร์