รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย

แผ่นดินไหวทางภาคเหนือของปากีสถานกับอินเดีย ซึ่งเกิดเหตุเมื่อเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมาตามเวลาที่นั่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 20,000 คน

มีรายงานว่าถนนที่ทอดไปยังเมือง Muzaffarabad เมืองเอกของแคว้นแคชเมียร์ในส่วนที่ปากีสถานปกครองนั้นวันนี้เปิดใช้งานได้แล้ว

ขบวนรถของหน่วยบรรเทาทุกข์สามารถลำเลียงอาหาร และเวชภัณฑ์ เข้าไปถึงพื้นที่ประสบภัยได้ แต่พื้นที่อื่นๆ อีกหลายแห่งยังถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

เจ้าหน้าที่ต้องเร่งรื้อสิ่งกีดขวางออกจากถนนโดยเร็ว

ทางด้านความช่วย เหลือจากนานาชาติ สหรัฐอเมริการับปากจะช่วยเป็นวงเงิน 50 ล้านดอลลาร์ และจะส่งเฮลิคอปเตอร์จากฐานทัพในอาฟกานิสถานไปช่วยสมทบแปดลำ

ขณะนี้ยังมีแผ่นดินไหวตามมาอีกหลายสองวันให้หลัง คุณทักษิณา ข่ายแก้ว ซึ่งอยู่ที่กรุงอิสลามาบัดบอกว่า ยังมีแผ่นดินไหวตามมาอีกหลายระลอก ยังรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือน

เพื่อนบ้านหลายคนเลือกที่จะกางเต๊นท์ ที่สนามมากกว่า จะเข้าไปอยู่ในตัวบ้านเพราะกลัวว่าบ้านจะพังลงมา

เธอเล่าให้ฟังด้วยว่า "ตอนที่เกิดเหตุ พื้นสนามหญ้าอ่อนยวบ หันไปดูเห็นบ้านทั้งหลังเหมือนถูกจับเขย่า สั่นไปหมด เสียงดังด้วย"

รอยเลื่อนของเปลือกโลก

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย
บริเวณเกิดเหตุเป็นพื้นที่รอยต่อของเปลือกโลก เป็นพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว

นักธรณีวิทยาเตือนมานานแล้วว่าจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเอเชียใต้ และบริเวณทางเหนือของปากีสถานและอินเดีย ที่เกิดแผ่นดินไหวคราวนี้ ก็เป็นจุดหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง

ด็อกเตอร์ โรเจอร์ มัสซัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผ่นดินไหวจากคณะสำรวจทางธรณีแห่งชาติของอังกฤษ อธิบายว่าบริเวณนี้เป็นที่รู้กันว่าเป็นเขตแผ่นดินไหว เพราะเป็นบริเวณรอยต่อที่แผ่นเปลือกโลกสองส่วนมาชนกัน คือแผ่นอนุทวีปอินเดียกับแผ่นยูเรเชีย

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือแผ่นเปลือกโลกอินเดีย เคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือ ขึ้นไปดันแผ่นยูเรเชีย ซึ่งทำให้เกิดการยกตัวของเปลือกโลก ขึ้นมาเป็นแนวเทือกเขาหิมาลัย

แต่รอยต่อตรงนี้ยังไม่นิ่ง แผ่นอนุทวีปอินเดียดันตัวขึ้นไปทางเหนือประมาณ 40 มิลลิเมตรต่อปีทุกปี

การเคลื่อนตัวเช่นนี้ทำให้เกิดรอยแยก รอยเลื่อน หรือว่าทำให้แผ่นดินมาเกยกันอยู่ตลอดเวลา และเมื่อมีการเคลื่อนตัวที่รุนแรงก็จะเกิดแผ่นดินไหว

แต่ปัญหาก็คือว่าไม่มีใครพยากรณ์ได้ว่าการเคลื่อนไหวของแผ่นดินตรงนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จะรุนแรงแค่ไหน อาจารย์มัสซันบอกว่า ทางเดียวที่จะผ่อนหนักเป็นเบาได้ คือต้องสร้างบ้านเรือนที่มั่นคง

เขาบอกว่ามีมาตรการหลายอย่างที่ทำได้ เพื่อเสริมอาคารบ้านเรือนต่างๆ ให้แข็งแรง พอที่จะรับแรงสั่นสะเทือน นอกจากนั้น ก็ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับอาคาร สถานที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย อย่างเช่นโรงพยาบาล

นายกรัฐมนตรีหญิง

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย
นางอังเกลลา แมร์เคิล ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี

ที่เยอรมนี พรรค Social Democrat ของนายกรัฐมนตรี แกฮาร์ด ชเรอเดอร์ ตกลงจะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรค Christian Democrat ของนางอังเกลา แมร์เคิลได้แล้ว แต่ยังติดปัญหาว่าจะให้ใครเป็นหัวหน้ารัฐบาลชุดใหม่

วันนี้โฆษกพรรค Social Democrat แถลงว่าคณะกรรมการบริหารพรรคได้มีมติออกมาแล้วว่า ยอมให้นางแมร์เคิล เป็นหัวหน้ารัฐบาล

พรรค Social Democrat จะได้เก้าอี้รัฐมนตรีแปดที่นั่งขณะที่พรรค Christian Democrat ของนางแมร์เคิลจะได้หกที่นั่ง

ร่วมมือกันต้านไข้หวัดนก

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย
นายไมเคิล ลีวิทท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขของสหรัฐ

นายไมเคิล ลีวิทท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขสหรัฐเน้นว่าการระวังป้องกันคือมาตรการสำคัญที่สุดที่จะป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่

นายลีวิทท์พูดในการแถลงข่าวที่กรุงเทพฯ ร่วมกับรัฐมนตรีสาธารณสุขของไทยกับผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกว่า

"แนวคิดในการแก้ปํญหาของสหรัฐคือถ้าไวรัสไข้หวัดนกสามารถกลายพันธุ์เป็นไวรัสที่ติดจากคนสู่คนได้ อันตรายของการระบาดก็จะแพร่ไปทั่วโลก"

ในปี พ.ศ. 2458 นักอุตุนิยมวิทยาชาวเยอรมัน ชื่อ ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Dr.Alfred Wegener) ได้ตั้งสมมติฐานว่า ผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกเดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย (Pangaea) ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด

ต่อมาเมื่อประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว พันเจียเริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือ ลอเรเซีย ทางตอนเหนือ และ กอนวานา ทางตอนใต้

โดยทวีปทางตอนใต้จะเคลื่อนที่แยกจากกันเป็น อินเดีย อเมริกาใต้ และอัฟริกา ในขณะที่ออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนวานา จนเมื่อประมาณ 65 ล้านปีที่ผ่านมา มหาสมุทรแอตแลนติก แยกตัวกว้างขึ้น ทำให้อัฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากอเมริกาใต้ แต่ออสเตรเลียยังคงเชื่อมอยู่กับอันตาร์กติกา และอเมริกาเหนือกับยุโรปก็ยังคงต่อเนื่องกัน

ต่อมามหาสมุทรแอตแลนติกขยายกว้างขึ้นอีก อเมริกาเหนือและยุโรปจึงแยกจากกัน อเมริกาเหนือโค้งเว้าเข้าเชื่อมกับอเมริกาใต้ ออสเตรเลียก็แยกออกจากอันตาร์กติกา และอินเดียได้เคลื่อนไปชนกับเอเซียจนเกิดเป็นภูเขาหิมาลัยซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินและมหาสมุทรดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonic)

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย

http://www.lesaproject.com

  แมกมาในชั้นฐานธรณีภาคมีทั้งอุณหภูมิและความดันสูง จึงเกิดการดันตัวขึ้นมาบนชั้นธรณีภาค ทำให้แผ่นธรณีภาค (Plate) เกิดการโก่งตัวขึ้น อันเนื่องจากแรงเค้น (Stress) กระทำต่อแผ่นธรณีภาค และจากสมบัติความแข็งเปาะของแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของแผ่นธรณีภาคทำให้แผ่นธรณีภาคเกิดความเครียด (Strain) ทนต่อแรงดันของแมกมาได้ระยะหนึ่ง ในที่สุดก็จะแตกออก ทำให้อุณหภูมิและความดันของแมกมาลดลง เพราะแมกมาถ่ายโอนความร้อนออกสู่บรรยากาศภายนอกได้อย่างเร็วและมากขึ้น เป็นผลให้แผ่นธรณีภาคบริเวณนั้นเกิดการทรุดตัวลงกลายเป็นหุบเขาทรุด

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย

http://www.lesaproject.com

ในระยะเวลาต่อมามีน้ำไหลมาสะสมกลายเป็นทะเลที่มีรอยแตกอยู่ใต้ทะเล ซึ่งต่อมารอยแตกนั้นก็จะเกิดเป็นรอยแยกจนกลายเป็นร่องลึก (Groove) มีสันขอบ (Ridge) และทำให้แมกมาในชั้นฐานธรณีภาคสามารถแทรกดันขึ้นมาตามรอยแยกแล้วเคลื่อนที่ม้วนตัวออกมาจากรอยแยกจะทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้างของรอยแยก พื้นทะเลจะขยายกว้างออกไปทั้งสองด้าน เรียกกระบวนการนี้ว่า การขยายตัวของพื้นทะเล (Sea floor spreading) ส่วนบริเวณตรงกลางก็ปรากฏเป็นแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร (Mid Oceanic Ridge)

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย

http://www.lesaproject.com

การเคลื่อนที่ของแมกมาในชั้นฐานธรณีภาคอันเนื่องมาจากการถ่ายโอนความร้อน ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่เป็นวงจรการพาความร้อน และเนื่องจากแมกมาในชั้นฐานธรณีภาคมีลักษณะเป็นพลาสติกหยุ่น จึงทำให้แผ่นธรณีภาคด้านบนเคลื่อนที่ออกไปจากรอยแตก และมีการเสริมเนื้อขึ้นมาจากด้านล่าง ดังนั้นแผ่นธรณีภาคอีกด้านหนึ่งจึงมุดลงไป เป็นการสูญเสียเนื้อโลกไป เพื่อให้เกิดการสมดุลนั่นเอง

การเคลื่อนที่ของแมกมาในชั้นฐานธรณีภาคทำให้ส่วนที่เป็นของแข็งในชั้นธรณีภาคเคลื่อนที่ไปด้วย เกิดเป็นการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค

 แผ่นธรณีภาค (Plate) เกิดจากการแตกร้าวของเปลือกโลก (Crust) ตั้งแต่บริเวณผิวโลกลึกลงไปจนสิ้นสุดชั้นธรณีภาค

 แผ่นธรณีภาคแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป และแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย

หนังสือเรียน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ช่วงชั้นที่ 4

แผ่นธรณีภาคเหล่านี้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา และจากการสำรวจรอยต่อของแผ่นธรณีภาคของนักธรณีวิทยาพบว่า มีรอยต่อเกิดขึ้นแบบเคลื่อนตัวแยกออกจากกัน รอยต่อที่ชนกัน หรือมุดเข้าหากัน หรือมีลักษณะการเลื่อนตัวผ่านและเฉียดกัน แบบรอยเลื่อนระนาบด้านข้างขนาดใหญ่

ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค

แผ่นธรณีภาคแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แผ่นทวีป และแผ่นมหาสมุทร แผ่นธรณีภาคเหล่านี้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา นักวิทยาศาสตร์และนักธรณีวิทยาได้ศึกษารอบต่อของแผ่นธรณีภาคอย่างละเอียด และสามารถสรุปลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคได้ดังนี้

1. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน

2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน

3. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย

http://www.lesaproject.com

1. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน

เป็นแนวขอบของแผ่นธรณีภาคที่แยกออกจากกัน อันเนื่องมาจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง จนแมกมาสามารถถ่ายโอนความร้อนสู่ชั้นเปลือกโลกได้ อุณหภูมิและความดันของแมกมาจึงลดลงเป็นผลให้เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด

ในระยะเวลาต่อมาเมื่อมีน้ำไหลมาสะสมเกิดเป็นทะเลและเกิดเป็นรอยแตกจนเป็นร่องลึก เมื่อแมกมาเคลื่อนตัวแทรกขึ้นมาตามรอยแตก จะทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง พื้นทะเลจะขยายกว้างออกไปทั้งสองด้าน เรียกกระบวนการนี้ว่า การขยายตัวของพื้นทะเล (sea floor spreading)

2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน

แนวที่แผ่นธรณีภาคชนหรือมุดซ้อนกันเป็นไปได้ 3 แบบ คือ

2.1. แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป (Continental convergence)

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย

http://www.lesaproject.com

แผ่นธรณีภาคทั้งสองมีความหนามาก เมื่อเคลื่อนที่มาชนกัน จึงทำให้แผ่นธรณีภาคแผ่นหนึ่งมุดซ้อนลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ทำให้แผ่นธรณีภาคที่เกยอยู่ด้านบน ถูกยกขึ้นเป็นภูเขา ทำให้เกิดเทือกเขาที่สำคัญ

ตัวอย่างเช่น แผ่นธรณีภาคแผ่นอินเดียเคลื่อนที่เข้ามุดชนกันกับแผ่นธรณีภาคแผ่นยูเรเซีย ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย

2.2 แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนที่มุดชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป (Oceanic - continental convergence)

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย

http://www.lesaproject.com

องค์ประกอบทางเคมีของแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรส่วนใหญ่คือ กลุ่มซิลิเกตของธาตุซิลิคอนและแมกนีเซียมไหลเติมเต็มขึ้นมาตามร่องลึกใต้มหาสมุทร จึงมีมวลมากกว่าแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ซึ่งองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มซิลิเกตที่มีธาตุซิลิกอนกับอลูมิเนียม ถึงแม้ว่าแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปจะมีความหนามากกว่าก็ตาม ดังนั้นเมื่อเคลื่อนที่ชนกัน แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรที่มีมวลมากกว่าจะมุดลงด้านล่างทำให้แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปซึ่งเบากว่าเกิดรอยคดโค้งอยู่ด้านบน เกิดเป็นเทือกเขาอยู่ด้านในของแผ่นทวีป

ตัวอย่างเช่น แผ่นธรณีภาคแผ่นนาสกาชนและมุดลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ เกิดเทือกเขาแอนดีสอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเนื่องจากแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรมักมีหินตะกอนทับถมอยู่ตอนบน และมีจุดหลอมเหลวต่ำ เมื่อมุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป จึงหลอมละลายเป็นแมกมา แล้วพ่นทะลุออกมาบนพื้นผิวในเทือกเขาแอนดีส เป็นแนวภูเขาไฟที่ปัจจุบันยังคุกรุ่นอยู่

นอกจากนี้ ถ้าแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนและมุดลงใต้แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปจะเกิดเป็นหุบเหวลึกเป็นแนวยาว เรียกแนวนี้ว่า ร่องลึกก้นสมุทร (Trench) ซึ่งแนวนี้ส่วนใหญ่จะเป็นแนวที่ภูเขาไฟและแผ่นดินไหว เกิดขึ้น

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย

http://www.lesaproject.com

2.3 แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร (Oceanic - oceanic convergence)

รอยเลื่อน บน เทือกเขา หิมาลัย

http://www.lesaproject.com

แผ่นธรณีภาคแผ่นใดแผ่นหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง เกิดแนวร่องลึกก้นสมุทร และแนวภูเขาไฟใต้ทะเล อันเนื่องมาจากแผ่นธรณีภาคที่จมลงจะหลอมละลายกลายเป็นแมกมา แล้วปะทุขึ้นมาบนแนวเทือกเขาที่เกิดจากรอยย่นของการชนกันของแผ่นธรณีภาคทั้งสอง

ตัวอย่างเช่น แผ่นธรณีภาคแปซิฟิกชนและมุดลงใต้แผ่นยูเรเซีย เกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทร และแนวภูเขาไฟตามแนวเกาะญี่ปุ่น ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียน่า

3. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน

เนื่องจากอัตราการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้นเนื้อโลกไม่เท่ากัน  ทำให้แผ่นธรณีภาคในแต่ละส่วนมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากันด้วย  ทำให้เปลือกโลกใต้มหาสมุทรและบางส่วนของเทือกเขาใต้มหาสมุทรไถลเลื่อนผ่านและเฉือนกัน เกิดเป็นรอยเลื่อนเฉือนระนาบด้านข้างขนาดใหญ่ขึ้น สันเขากลางมหาสมุทรถูกรอยเลื่อนขึ้นตัดเฉือนเป็นแนวเหลื่อมกันอยู่ มีลักษณะเป็นแนวรอยแตกแคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางมหาสมุทรและร่องใต้ทะเลลึก มักจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับตื้นๆ ระหว่างขอบของแผ่นธรณีภาคที่ซ้อนเกยกันในบริเวณภาคพื้นทวีปหรือมหาสมุทร