ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

การระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดกันว่าคนไทยกว่า 7 ล้านคน ถูกเลิกจ้างงาน แล้วจะเบนหน้าย้ายกลับถิ่นฐาน หวังหาลู่ทางสร้างอาชีพใหม่ด้านเกษตร

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร ได้ระดมสมองนักวิชาการ กูรูด้านเกษตรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำ 7 นวัตกรรมด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับประเทศไทย

นวัตกรรมทั้ง 7 สาขา มีอะไรบ้างที่ผู้ถูกเลิกจ้างงานจะได้ใช้ยึดเป็นแนวทางทำกิน และ NIA พร้อมจะสนับสนุนเงินทุน องค์ความรู้ การประชาสัมพันธ์ และการทำตลาด ให้กับสตาร์ตอัพด้านการเกษตร

1.เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ...เป็นการนำความหลากหลายทางชีวภาพมาตอบสนองเรื่องอาหารปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน...มี 4 แนวทางที่สำคัญ คือ การใช้ประโยชน์ไมโครไบโอมของจุลินทรีย์ดิน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต ควบคุมศัตรูพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ดัดแปลงยีนให้ได้พืชที่มีคุณลักษณะตามต้องการ และวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวภาพขนาดใหญ่

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

2.เกษตรดิจิทัล...เป็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI นำมาประยุกต์ใช้ ตลอดจนการใช้บล็อกเชนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยด้านผลผลิต และนำมาใช้ในการตรวจสอบความผิดปกติ และข้อมูลย้อนหลังด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น การใช้เซ็นเซอร์เก็บข้อมูลระดับน้ำในนาข้าว โดยเกษตรกรสามารถดูข้อมูลจากที่บ้านได้ผ่านมือถือ

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

3.การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่...โดย เฉพาะการทำเกษตรแนวตั้ง เหมาะสำหรับการทำเกษตรในเขตเมือง รวมไปถึงฟาร์มเลี้ยงแมลงแบบปิด ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมาก เนื่องจากแมลงกำลังจะกลายเป็นโปรตีนทดแทนของเนื้อสัตว์ในอนาคต

อย่าง YNsec สตาร์ตอัพชาวฝรั่งเศสที่มีระบบการเลี้ยงแมลงขนาดใหญ่ด้วยระบบอัตโนมัติตลอด 24 ชม. ด้วยกำลังผลิต 20,000–25,000 ตันต่อปี

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

4.เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ...ช่วยประหยัดแรงงาน โดยใช้หุ่นยนต์มาช่วยดูขั้นตอนต่างๆ อย่างสตาร์ตอัพอิสราเอล “อารักกา” เปิดตัวหุ่นยนต์ตัวแรกของโลกที่ใช้ในการผสมเกสรในโรงเรือน โดยมี AI คอยบอกได้ว่าดอกไม้มีความพร้อมสำหรับการผสมเกสรดอกไม้เมื่ออุณหภูมิและระดับความชื้นเหมาะสม หรือสตาร์ตอัพไทยเทวดา คอร์ป ที่นำโดรนไปใช้ในการปลูกข้าวได้อย่างแม่นยำจนเพิ่มผลผลิตได้ถึงสองเท่า

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

5.บริการทางธุรกิจเกษตร...ระบบการจองอุปกรณ์การเกษตร ระบบการประมูลสินค้าเกษตร ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลความต้องการตลาด และระบบเชื่อมโยงผลผลิตกับโรงงานอุตสาหกรรมหรือร้านอาหาร

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

6.การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง...การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยืดอายุและเก็บรักษาเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และไม่ทำลายผลผลิต เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมบรรยากาศด้วยโอโซน การใช้สารเคลือบผิวเพื่อยืดอายุ และรักษาคุณภาพผลผลิตให้ได้นานขึ้น

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

และ 7.ธุรกิจไบโอรีไฟเนอรี...การแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรหรือของเหลือทิ้งจากการเกษตรด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพโดยใช้จุลินทรีย์ แบคทีเรีย ยีสต์ เอนไซม์ หรืออื่นๆ ให้ทำหน้าที่เสมือนโรงงาน ให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น เชื้อเพลิงและพลังงาน ชีวเคมีภัณฑ์ อาหารสัตว์แห่งอนาคต อาหารแห่งอนาคต และชีวเภสัชภัณฑ์

กรวัฒน์ วีนิล

ต้องยอมรับว่า เพราะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้เอง ที่ทำให้คนไทยย้ายกลับถิ่นฐานบ้านเกิดจำนวนไม่น้อย เพื่อสร้างลู่ทางประกอบ อาชีพใหม่ เลี้ยงชีวิตและครอบครัว โดยเฉพาะในภาคการเกษตร ที่มีคนรุ่นใหม่หลายคน ต่างพยายามปรับเอาแนวคิด  ไปปรับใช้กับการทำเกษตรวิถีดั้งเดิมของคนรุ่นพ่อแม่

โดยแนวคิด เกษตรนวัตกรรม ที่นำไปปรับใช้กับภาคการเกษตรนั้น อิงอยู่กับเทคโนโลยีทางการเกษตรแห่งยุค ที่ช่วยให้การทำเกษตรทั้งง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ลดต้นทุน ตลอดจนช่วยเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น โดยไม่ต้องไปเสียเวลาและเสียเงินกับวิธีการทำเกษตรแบบเดิม 
สำหรับใครที่ยังลังเลว่าจะกลับไปลองใช้ชีวิตเกษตรกรดูสักครั้ง จะเป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือไม่ ในปัจจุบันก็มีหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานที่พร้อมให้คำปรึกษา โดยเฉพาะในด้านการปรับเอา เกษตรนวัตกรรม ไปใช้ ซึ่งช่วยทำให้เกษตรกรรุ่นใหม่มั่นใจได้ว่าการเดินบนเส้นทางอาชีพใหม่นี้ ไม่ได้โดดเดี่ยวจนเกินไป

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

ที่ผ่านมา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้วางบทบาทหลักในการสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมและสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสมัยใหม่ โดยเฉพาะการผลักดันให้เข้าถึงเงินทุนสนับสนุน องค์ความรู้ การประชาสัมพันธ์และการทำตลาด ฯลฯ อย่างต่อเนื่อง
มาในวันนี้ ทาง NIA ได้ชี้ให้เห็นถึงเทรนด์วิถี เกษตรนวัตกรรม เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจทำอาชีพเกษตรกรรมนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการทำเกษตรของตนเอง

เกษตรวิถีใหม่ คำตอบสุดท้าย ของคนไทยที่ย้ายกลับถิ่นฐาน เพราะพิษโควิด

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งได้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยเฉพาะ การหา อาชีพใหม่ ที่เหมาะสมแทนอาชีพเดิมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
“การแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ในไทย ได้ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งการหยุดชะงักของธุรกิจไปจนถึงการปิดกิจการ การลดแรงงานเนื่องจากแรงกดดันของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการเลิกจ้างงานที่คาดว่าจะสูงถึง 7 ล้านคน”
“นอกจากนี้ ยังมีประชากรบางกลุ่มที่ต้องย้ายกลับไปยังถิ่นฐานเพื่อหลีกเลี่ยงวิถีชีวิตในเมืองหลวงที่มีความแออัด ลดความเสี่ยงสูงในด้านสุขภาพ และเพื่อหาลู่ทางสร้างอาชีพใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ทำให้ “เกษตรกรรม” เป็นเป้าหมายและเป็นทางเลือกแรกๆ ที่คนกลับถิ่นฐานจะนำไปประกอบอาชีพ เนื่องจากเป็นความเชี่ยวชาญที่เป็นต้นทุนของประเทศไทย เป็นธุรกิจที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ทั้งยังสามารถนำความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างมูลค่าได้เป็นอย่างดี”

“ดังนั้น เพื่อให้คนไทยสามารถทำการเกษตรและพัฒนารูปแบบของเกษตรกรรม NIA โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center: ABC Center) จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงการระดมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายในวงการด้านการเกษตร จัดทำแนวโน้มด้านนวัตกรรมการเกษตรที่เหมาะสมกับประเทศไทยใน 7 สาขา”

“โดย วิถี เกษตรนวัตกรรม ทั้ง 7 สาขา ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่การผลิตจากฟาร์มถึงผู้บริโภค การทำเกษตรด้วยการต่อยอดภูมิปัญญาพร้อมนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการ เกษตรกร หรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปเป็นแนวทางสร้างรูปแบบธุรกิจ รวมถึงการสร้างอาชีพใหม่ที่เกี่ยวข้อง”

เปิด 7 วิถี เกษตรนวัตกรรม สร้างอาชีพใหม่อย่างยั่งยืนได้ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิด

และเพื่อให้เห็นภาพ ทาง NIA ได้จัดแยกเป็น 7 สาขาการเกษตร พร้อมตัวอย่างธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเกษตรจากทั่วโลกและของประเทศไทย ที่จะใช้เป็นตัวอย่าง และเชื่อมโยงเทคโนโลยีร่วมกันได้

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

  • เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
อย่าเพิ่งนึกถึงภาพยนตร์ Sci-Fi ที่มีการตัดต่อพันธุกรรมพืชและสัตว์จนเป็นปัญหาใหญ่โตไป เพราะแท้ที่จริงแล้วเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เป็นการประยุกต์ศาสตร์ความรู้ที่หลากหลาย ทั้งชีววิทยา เคมี และองค์ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อพัฒนาจุลินทรีย์ที่การใช้งานทางการเกษตร การดัดแปลงยีน ปรับปรุงพืชหรือสัตว์ ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ธุรกิจ และแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
พร้อมทั้งยังเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการอาหารปลอดภัย ประสิทธิภาพการผลิต และการลดต้นทุน โดยมี 4 แนวทางที่สำคัญ ได้แก่
  1. การใช้ของประโยชน์ไมโครไบโอมของจุลินทรีย์ดินเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตของพืช
  2. ผลิตภัณฑ์สำหรับควบคุมศัตรูพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
  3. การสร้างพืชที่มีคุณลักษณะตามความต้องการโดยการดัดแปลงยีน
  4. การวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวภาพขนาดใหญ่
โดยเทคโนโลยีชีวภาพถูกเริ่มนำมาใช้อย่างแพร่หลายในวงการเกษตร เช่น การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในดิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเติบโตและทนต่อสภาวะแล้ง ทนทานต่อวัชพืช ลดการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง หรือแม้แต่การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้ทนทานต่อโรคระบาด
ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร
  • เกษตรดิจิทัล

เป็นเทรนด์ใหญ่ที่ทั่วโลกต้องการเพื่อช่วยสนับสนุนการทำการเกษตร และการก้าวสู่ 5G จะเห็นธุรกิจเรื่องนี้จำนวนมากและเพิ่มอย่างรวดเร็ว เกษตรดิจิทัล เป็นการใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลด้านการเกษตรต่างๆ ทั้ง สภาพดิน สภาพน้ำ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณแสง พื้นที่เพาะปลูก สถานการณ์เจริญเติบโต ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ช่วยหาแนวทางการทำการเกษตรที่เหมาะสม แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุดให้กับเกษตรกร
เช่น การใช้เซนเซอร์เก็บข้อมูลระดับน้ำที่แปลงนาข้าว โดยเกษตรกรสามารถดูข้อมูลจากที่บ้านได้ผ่านมือถือ เมื่อมีข้อมูลมากเพียงพอก็สามารถทำนายสิ่งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำขึ้น หรือการใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนการใช้บล็อกเชนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยด้านผลผลิต และนำมาใช้ในการตรวจสบความผิดปกติและข้อมูลย้อนหลังด้านต่างๆ เป็นต้น ด้วยวิธีนี้เองจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรค เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น
  • การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่

ที่ผ่านมาวิถีชีวิตของเกษตรกรแขวนไว้บนความเสี่ยง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศซึ่งยากที่จะควบคุม จนเกิดเป็นปัญหาผลผลิตที่ไม่แน่นอน จึงเกิดเป็นเทรนด์การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ควบคุมปัจจัยการเติบโตของพืชและสัตว์ และช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องกังวลเรื่องความเสียหายของผลิตผล
ตัวอย่างฟาร์มรูปแบบใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยม ได้แก่ การทำโรงงานปลูกพืชระบบปิด (Plant Factory) ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ทั้งการให้น้ำ ให้แสง อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีแล้ว ยังสามารถปลูกพืชนอกฤดูกาลได้ เทรนด์การทำเกษตรแนวตั้ง (Vertical Farm) ที่เหมาะสำหรับการทำเกษตรในเมือง แก้ปัญหาขาดพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงเทรนด์การทำ “ฟาร์มเลี้ยงแมลง” แหล่งโปรตีนแห่งอนาคตที่ทั่วโลกกำลังจับตา
ในขณะนี้ได้เริ่มมีการพัฒนา Vertical Farm ขึ้นบ้างแล้วในประเทศไทย รวมไปถึงเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ก็ประกาศนโยบายสนับสนุนการปลูกผักบนดาดฟ้า นอกจากนี้ อีกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นเทรนด์แนวโน้มคือระบบ “ฟาร์มเลี้ยงแมลงแบบปิด” ซึ่งแมลงกำลังจะกลายเป็นโปรตีนทดแทนของเนื้อสัตว์ประเภทต่าง ๆ โดยมีตัวอย่างเช่น YNsec สตาร์ทอัพชาวฝรั่งเศสที่มีระบบการเลี้ยงแมลงขนาดใหญ่ด้วยระบบอัตโนมัติตลอด 24 ชม. ด้วยกำลังผลิต 20,000 – 25,000 ตันต่อปี

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

  • เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

แม้ว่าตอนนี้จะมีแรงงานกลับถิ่นฐาน และมีคนสนใจทำเกษตรกรรมมากขึ้น แต่ต้องมีแนวทางในการดึงดูดให้คนหันมาทำการเกษตรด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดแรงงาน สามารถทำการเกษตรได้เหมือนเกมส์ปลูกผักโดยมีระบบต่างๆ ช่วยสนับสนุน
เช่น การใช้หุ่นยนต์มาช่วยดูขั้นตอนต่าง ๆ แทนมนุษย์ ดังเช่นตัวอย่างของสตาร์ทอัพของอิสราเอล “อารักกา” ที่ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ตัวแรกของโลกที่ใช้ในการผสมเกสรในโรงเรือน โดยมี AI ที่จะบอกได้ว่าดอกไม้มีความพร้อมสำหรับการผสมเกสรดอกไม้เมื่ออุณหภูมิและระดับความชื้นเหมาะสม ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยอาจจะยังไม่มีหุ่นยนต์ไปใช้งาน ส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์ใช้โดรน เช่นสตาร์ทอัพไทยเทวดา คอร์ป ที่นำโดรนไปใช้ในการปลูกข้าวได้อย่างแม่นยำสามารถเพิ่มผลลิตได้ถึงสองเท่า

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

  • บริการทางธุรกิจเกษตร

ยิ่งในช่วงการระบาดโรคโควิด – 19 เป็นช่วงที่ประชาชนส่วนใหญ่ทำงานที่บ้าน และมีความจำเป็นต้องสั่งสินค้าผ่านทางระบบออนไลน์ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาแพลตฟอร์ทั้งตลาดอีคอมเมิร์ซ และระบบขนส่งอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และช่วยในการส่งสินค้าอาหาร – เกษตรแบบเร่งด่วน
นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องพัฒนาบริการที่ตอบสนองกับความต้องการของเกษตรกรและผู้ค้าควบคู่กันไปด้วย เพราะแม้จะรู้ว่านวัตกรรม AgTech จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ แต่ด้วยโครงสร้างอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ส่วนมากเป็นการทำการเกษตรขนาดปานกลางถึงเล็ก ทำให้ตัวเกษตรกรไม่สามารถลงทุนซื้อตัวนวัตกรรมมาเป็นของตัวเองได้
ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการสนับสนุนให้เกิดเทรนด์บริการทางธุรกิจเกษตร ที่ให้เกษตรกรสามารถเช่ายืมนวัตกรรมด้านการเกษตรได้ในที่จับต้องได้ เช่น ระบบจองโดรนพ่นปุ๋ย พ่นยาฆ่าแมลง ระบบจองเครื่องจักรด้านการเกษตร ฯลฯ รวมถึงบริการแพลตฟอร์มขายผลผลิตการเกษตรออนไลน์ ช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงผู้บริโภคโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง แก้ปัญหาการกดราคาผลผลิต  และช่วยเชื่อมโยงเกษตรกร กับผู้บริโภค โรงงานอุตสาหกรรม หรือร้านอาหาร และให้พวกเขาสามารถค้าขายได้อย่างต่อเนื่อง
  • การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง

ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากเนื่องจากสินค้าเกษตรเมืองร้อนของไทยมีผิวเปลือกบาง ทำให้ง่ายต่อการเน่าเสีย และเก็บรักษายาก ดังนั้นสิ่งที่ควรเร่งสร้างธุรกิจนี้ ได้แก่ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยืดอายุและเก็ยรักษาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
รวมถึงกระบวนการที่ไม่ใช้สารเคมี ตลอดจนการติดตามและตรวจสอบคุณภาพผลผลิตอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และไม่ทำลายผลิต เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมบรรยากาศด้วยโอโซนที่สามารถควบคุมผลไม้เปลือก การใช้สารเคลือบผิวเพื่อยืดอายุและรักษาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรให้ได้นานขึ้น

ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเกษตร

  • ธุรกิจไบโอรีไฟนารี

เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรที่มีโอกาสเติบโตและหลายภาคส่วนให้ความสนใจ โดยเป็นการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรหรือของเหลือทิ้งจากการเกษตรด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพโดยใช้ จุลินทรีย์ แบคทีเรีย ยีสต์ เอ็นไซม์ หรืออื่นๆ ให้ทำหน้าที่เสมือนโรงงาน (cell factory) ให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น เชื้อเพลิงและพลังงาน ชีวเคมีภัณฑ์ อาหารสัตว์แห่งอนาคต อาหารแห่งอนาคต และชีวเภสัชภัณฑ์ เป็นต้น

นวัตกรรมการเกษตร ช่วยให้การทำเกษตรของคนรุ่นใหม่ง่ายขึ้นได้จริง มาอัปเดตนวัตกรรมดีๆกันต่อ

เปิดโมเดล ‘ฟาร์มต้นแบบ’ แหล่งเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ครบวงจร แห่งแรกในอาเซียน ที่ จ.ชลบุรี เปิดตัวแน่ปลายปี 2562

ใช้ ‘เรื่องกล้วยๆ’ พลิกภาคเกษตรไทยให้โตได้ ต้องส่งเสริม ตลาดส่งออกกล้วยไทย ให้ถูกทาง

‘เกษตรประณีต’ ทางเลือกทางรอดของเกษตรกรไทย สร้างความแตกต่างให้ผลผลิตได้อย่างยั่งยืน

Post Views: 4,068

นวัตกรรมการเกษตรมีกี่ประเภท

7 นวัตกรรมเกษตร สู่ความยั่งยืน.
1. เทคโนโลยีทางชีวภาพทางการเกษตร ... .
2. เกษตรดิจิทัล ... .
3. การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ ... .
4. หุ่นยนต์ช่วยดูแลการเกษตร ... .
5. บริการทางธุรกิจเกษตร ... .
6. การจัดการหลังจากการเก็บเกี่ยวและขนส่ง ... .
7. ไบโอรีไฟนารี่.

นวัตกรรมทางการเกษตร คืออะไร

นวัตกรรมเกษตร คือ การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยต่างๆ เข้ากับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพของผลิตผล โดยใช้ข้อมูลของต้นพืช สภาพแวดล้อมของฟาร์ม และฐานข้อมูลด้านการเกษตร ที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่าย มาประมวลผลด้วยโปรแกรม ...

สมาร์ทฟาร์ม มีอะไรบ้าง

สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) กำลังเติบโตเป็นอย่างมากทั่วโลก เป็นการบริหารจัดการฟาร์มด้วยเทคโนโลยีหลากหลาย เช่น IoT (Internet of Things), หุ่นยนต์, โดรน และโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และยังช่วยให้เกิดการใช้แรงงานคนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย

เกษตรทางเลือก มีอะไรบ้าง

เกษตรทางเลือก คือ การทำเกษตรกรรมอีกประเภทหนึ่งที่จะไม่มีการนำเอาสารเคมีใด ๆ เข้ามาปนเปื้อนในผลผลิตของตนเองเลย เน้นหนักไปทางวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, หรือวัสดุปกคลุมดินจำพวกหญ้า, ฟาง ฯลฯ รวมถึงการนำเอาเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ให้เกื้อกูล ...