เหตุการณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี เจ. บลิงเคน จะเดินทางเยือนกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยจะเข้าพบนายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยืนยันพันธไมตรีระหว่างสหรัฐฯ กับไทย ตลอดจนความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก นอกจากนี้ จะมีการหารือถึงความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงซึ่งประสานความร่วมมืออันยืนนานของเรากับไทย รัฐมนตรีบลิงเคนจะพบกับศิษย์เก่าโครงการแลกเปลี่ยนของสหรัฐฯ เพื่อทำความเข้าใจประเด็นสำคัญ ๆ ในกลุ่มผู้นำชาวไทยรุ่นใหม่ ในระหว่างการเดินทางครั้งนี้ รัฐมนตรีบลิงเคนจะผลักดันให้มีการยุติความรุนแรงในพม่า และขยายความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ

สหรัฐฯ และไทยเป็นหุ้นส่วนและพันธมิตรใกล้ชิด

  • สหรัฐฯ ตั้งตารอที่จะได้เสริมสร้างความร่วมมืออันโดดเด่นระหว่างประเทศของเราทั้งสองในฐานะพันธมิตรและเพื่อน โดยในปีหน้า ความสัมพันธ์ทางการทูตสหรัฐฯ-ไทยจะครบรอบ 190 ปี
  • ความสัมพันธ์ของเราแน่นแฟ้นและยืนนาน สหรัฐฯ เริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไทยในปี 2376 ด้วยสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ และยืนยันความสัมพันธ์อีกครั้งด้วยกติกามะนิลา พ.ศ. 2497 ภายใต้องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนั้น เมื่อปี 2546 สหรัฐฯ ได้ประกาศให้ไทยเป็นชาติพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต้
  • ไทยและสหรัฐฯ มีความมุ่งมั่นร่วมกันต่อค่านิยมเดียวกัน อันได้แก่ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน หลักนิติธรรม ความมั่นคง และความมั่งคั่ง
  • เราชื่นชมความตั้งใจของไทยในการรับมือวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุมจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการเป็นเจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ประจำปี 2565 และความร่วมมือภายใต้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เรารอคอยที่จะสานต่อการดำเนินงานของไทยในหัวข้อเหล่านี้ระหว่างที่สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปี 2566

ความร่วมมือด้านความมั่นคงเสริมสร้างพันธไมตรีของเราและยังประโยชน์แก่ภูมิภาค 

  • ไทยเป็นพันธมิตรในสนธิสัญญา เป็นผู้นำและผู้ส่งเสริมความมั่นคงในประชาคมนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นหุ้นส่วนที่ไว้ใจได้
  • ไทยเป็นหุ้นส่วนและผู้นำหลักด้านการบังคับใช้กฎหมายในระดับภูมิภาค สหรัฐฯ และไทยดำเนินงานสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย (ILEA) ในกรุงเทพฯ โดยนับตั้งแต่ปี 2541 ได้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ยุติธรรมทางอาญาแล้วกว่า 22,000 คนจากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในหัวข้อเช่น การต่อต้านการทุจริต อาชญากรรมไซเบอร์ รวมถึงการค้ายาเสพติด สัตว์ป่า และมนุษย์
  • ไทยและสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดคอบร้าโกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกทางทหารระดับพหุภาคีประจำปีที่ใหญ่ที่สุดและยาวนานที่สุดของภูมิภาค นับตั้งแต่ปี 2493 ไทยได้รับยุทโธปกรณ์ วัสดุภัณฑ์จำเป็น การฝึกอบรม ตลอดจนความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ จากสหรัฐฯ ในการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารสถานที่ต่าง ๆ โครงการช่วยเหลือทางทหารแบบ FMS (Foreign Military Sales) ที่กำลังดำเนินการอยู่ของเรามีมูลค่า 2,850 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ เรายังมีการฝึกซ้อมและปฏิบัติการทางทหารร่วมกันกว่า 400 กิจกรรมในแต่ละปีอีกด้วย
  • สหรัฐฯ ส่งเสริมความเป็นผู้นำของไทยในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership: MUSP) ในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) และในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ซึ่งเป็นความร่วมมือในการประสานการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานระหว่างห้าชาติลุ่มน้ำโขง สหรัฐฯ ร่วมมือกับไทยและประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างประเทศอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือ MUSP เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดน ตลอดจนรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ต่าง ๆ เช่น การจัดการทรัพยากร อาชญากรรมข้ามชาติ ความโปร่งใสและธรรมาภิบาล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ชาวอเมริกันและชาวไทยได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของเราในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และการศึกษา

(1) ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ธำรงสัมพันธภาพ อันอบอุ่นมานานยาวกว่า 600 ปี มิตรภาพระหว่างประเทศทั้งสอง แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นในระยะหลัง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยได้จัดงานฉลองครบรอบ 120 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต

 

(2) ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยดำรงความสัมพันธ์ฉันมิตรมาเป็นเวลายาวนานโดยมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างพระราชวงศ์ของทั้งสองประเทศเป็นพื้นฐาน นอกจากนั้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศก็เติบโตแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากการขยายตัวกิจการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยนับแต่ทศวรรษ 60 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระแสการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามามากสืบเนื่องจากพื้นฐานอัตราแลกเงินเยนที่แข็งขึ้นในตอนปลายทศวรรษ 80

 

(3) ก่อนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นมียอดมูลค่าการค้า การลงทุน และความช่วยเหลือกับประเทศไทยสูงเป็นอันดับแรก  แม้ว่ามีวิกฤตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น แต่ปริมาณการค้าก็ยังคงอยู่ในอันดับที่สอง นอกจากนี้จำนวนบริษัทซึ่งเป็นสมาชิกของหอการค้าญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ ก็มีมากกว่า 1,100 แห่ง และการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นยังคงสูงถึงร้อยละ 40 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดในประเทศไทย ตลอดจน ประมาณครึ่งหนึ่งของยอดเงินกู้ที่บริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยกู้นั้นเป็นเงินกู้จากธนาคารของญี่ปุ่นทั้งหมด ซึ่งสรุปได้ว่าความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจก็มีการพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นอย่างมาก

 

(4) ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยกำลังสร้างสรรค์ความเป็นหุ้นส่วนในด้านการทูตทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ตัวอย่างเช่น ในระดับภูมิภาค ประเทศญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือแก่โครงการลุ่มแม่น้ำโขง ส่วนในระดับโลกยังให้การสนับสนุน ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการคนใหม่ในการเลือกตั้งผู้อำนวยการองค์การค้าโลกหรือ WTO

 

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ

(1) ทั้งฝ่ายญี่ปุ่นและไทยได้ตระหนักใหม่ว่าทั้งสองประเทศมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันในด้านเศรษฐกิจ ตามประสบการณ์วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540  บริษัทญี่ปุ่นไม่ลดและถอยตัวอย่างขนานใหญ่ท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ตรงกันข้าม บริษัทจากยุโรปหรือสหรัฐฯ ถอยการลงทุนระยะสั้นอย่างรวดเร็ว บริษัทญี่ปุ่นได้รักษาการให้กู้เงินและอัดฉีดเงินทุนให้บริษัทเครือข่ายหรือสาขาต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งนี้มีส่วนช่วยทำให้สภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

 

(2) โดยคำนึงถึงความสัมพันธฉันมิตรอันยั่งยืนและการพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างสองประเทศ เมื่อประเทศไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศญี่ปุ่นจึงให้การสนับสนุนแก่ประเทศไทยอย่างกว้างขวาง อาทิเช่น ความช่วยเหลือด้านการเงินจำนวน 4 พันล้านดอลล่าร์ผ่าน IMF  การให้กู้เงินเยนรวมถึงโครงการมิยะซะวะ  การให้เงินสินเชื่อของธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งญี่ปุ่น (ปัจจุบันคือ JBIC จากการรวมกันระหว่างธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งญี่ปุ่นกับ OECF) การให้การรับประกันการค้า ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า และความร่วมมือด้านวิชาการ เป็นต้น ความช่วยเหลือเหล่านี้มีมูลค่าสูงมากกว่า 14,000 ล้านดอลล่าร์  ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศอันดับแรกในหมู่ประเทศต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย

 

การแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยือนของบุคคลสำคัญ

(1) วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมพระราชพิธีศพสมเด็จพระราชชนนีในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตแห่งญี่ปุ่น และทรงเป็นพระราชอาคันตุกะพระองค์เดียวจากต่างประเทศที่ทรงได้เข้าร่วมงานพิธี ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2544 เจ้าชายอากิชิโนและเจ้าหญิงคิโกะ เสด็จมาประเทศไทยเพื่อทรงรับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นเพื่อทรงรับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยกักคุชูอิน และในเดือนตุลาคม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นด้วย

 

(2) ในด้านการแลกเปลี่ยนการเยือนของระดับผู้นำประเทศ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม พ.ศ.2542   นายเคอิโซ โอบุชิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในโอกาสการมาเยือนประเทศอาเซียน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี โอบุชิ ยังได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2543  ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย และดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมงานศพอดีตนายกรัฐมนตรี เคอิโซ โอบุชิ ในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน และยังเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งก่อนการประชุมสุดยอด Kyusu-Okinawa Summit ในฐานะเจ้าภาพการประชุม UCTAD X และประธาน ASEAN การเยี่ยมเยือนกันและกันของผู้นำของสองประเทศดังกล่าวนี้ ได้กระชับสัมพันธภาพไทย-ญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น