เรียงความเรื่องจิตอาสา คํานํา เนื้อเรื่อง สรุป

ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

"จิตอาสา"

        คำนี้คนจำนวนหนึ่งคงได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกมากมายหลายล้านคน ไม่เคยได้ยินหรือรู้ความหมายของ
คำเล็กๆ คำนี้เลย

        จิตอาสา คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมี แม้กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ ให้กับส่วนรวม...อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัว เป็นตน ของตนเองลงได้บ้าง 

                  "อาสาสมัคร" เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มี จิตอาสา ซึ่งมีความหมายอย่างมาก กับสังคมส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น หรือ สังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น

การเป็น "อาสาสมัคร"

             ไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ ก็แล้วแต่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราควรทำทั้งสิ้น   คนที่จะเป็นอาสาสมัครได้นั้น ไม่ได้จำกัดที่ วัย การศึกษา เพศ อาชีพ ฐานะ หรือ ข้อจำกัด ใดๆ ทั้งสิ้น หากแต่ต้องมีจิตใจ เป็น "จิตอาสา" ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคม เท่านั้น

 จิตอาสา...ทำไม?

            หลายคนมีคำถามกับสังคมว่าทำไมความวุ่นวายของสังคมจึงมากนัก การแข่งขันที่ร้อนแรงในทุกๆด้าน การทำลายสิ่งแวดล้อม การเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาส การปล่อยมลพิษสู่สังคม การว่าร้ายเสียดแทง การแก่งแย่งชิงดี ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มาจากสาเหตุเบื้องต้นคล้ายๆกันคือ ความเห็นแก่ตัว หรือเอาแต่ได้ในส่วนตนเป็นหลัก ใช่หรือไม่


          ทำอย่างไรจะลดความเอาแต่ได้ลงบ้าง ตรงกันข้ามกับการเอาเข้ามาใส่ตัวก็คือ " การให้ " แก่คนอื่นออกไป เมื่อคนต่างๆเริ่มมองออกไปสู่ภายนอก แค่นอกจากตัวเองเท่านั้นเอง มองเห็นผู้อื่นอย่างลึกซึ้งแท้จริงมากขึ้น เริ่มเข้าใจมุมมองของคนอื่น เขาต้องการอะไร เขาอยู่ในสภาพไหน เราช่วยอะไรได้บ้าง มองเห็นสังคม เห็นความเป็นไป เห็นแนวทางที่จะช่วยกันลดปัญหา เริ่มให้ เริ่มสละสิ่งที่เรามีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น เวลา แรงงาน เงิน สิ่งของ อวัยวะหรือแม้กระทั่งสละความเป็นตัวเราของเรา ซึ่งนั่นเป็นหนทางการพัฒนาจิตใจแต่ละคนได้อย่างเป็นรูปธรรม

              จิตสาธารณะตรงนี้ที่มองเห็นผู้อื่นเห็นสังคมดังนี้เองที่เราเรียกกันว่า " จิตอาสา " จิตใจที่เห็นผู้อื่นด้วย ไม่เพียงแต่ตัวเราเอง เราอาจจะยื่นมือออกไปทำอะไรให้ได้บ้าง เสียสละอะไรได้บ้าง ช่วยเหลืออะไรได้บ้าง แบบเพื่อนช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ใช่ผู้เหนือกว่า มีน้ำใจแก่กันและกันไม่นิ่งดูดายแบบที่เรื่องอะไรจะเกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับฉันฉันไม่สนใจ สามารถแสดงออกมาได้ในหลายรูปแบบ ทั้งการให้รูปแบบต่างๆ ตลอดจนการอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคม

            ปัจจุบันได้มีวาระแห่งชาติการให้และอาสาช่วยเหลือสังคมแล้ว เป็นการร่วมมือกันรณรงค์ส่งเสริม " จิตอาสา "ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นการปลุกน้ำใจคนไทยให้งอกงามกลับมาอีกครั้งหนึ่ง มาช่วยกันดูแลสังคมไทยร่วมกัน ดูแลสิ่งแวดล้อม ชุมชน ตลอดจนปัญหาต่างๆรอบๆตัว อย่างน้อย มองออกมานอกกรอบของเรื่องตัวเอง ออกมาดูคนอื่น เห็นใจ เข้าใจคนอื่นกันมากขึ้น ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดี ทำดีให้เป็นรูปธรรมกันมากขึ้นในสังคมไทย มิใช่เพียงแต่วิจารณ์ ต่อว่าใครหรือคนกลุ่มใดที่ควรรับผิดชอบ แต่ออกมารับผิดชอบ มีส่วนร่วมด้วยกัน
                เพียงแค่คนไทยแต่ละคน ลุกขึ้นมาทำความดีกันคนละนิด คนละนิดเดียวเท่านั้น ประเทศชาติของเราน่าจะงดงามขึ้นอีกไม่น้อย เช่น เพียงร่วมกันบริจาคเงินกันเพียงคนละ ๑๐ บาท เราก็จะมีงบประมาณช่วยเหลือสังคมขึ้นมาทันที ๖๐๐-๗๐๐ ล้านบาท ถ้าเราอาสาช่วยเหลือสังคมคนละเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อปี เราก็จะมีถึง ๖๐-๗๐ ล้านชั่วโมงที่คนมาช่วยเหลือกัน เราลองนึกดูกันซิคะว่าสังคมเราจะเป็นอย่างไร ถ้าคนไทยมีจิตอาสากันเต็มแผ่นดิน ความสุขสงบของสังคมคงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เรามาช่วยกันสร้าง " จิตอาสา " กันเถอะค่ะ 

...จิตอาสา คำนี้จะคุ้นหูพวกเรามากขึ้น ....

...หากแต่เพียงมองรอบตัวท่าน...

...ทำสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม...

ความเป็นมาของจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หน่วยราชการในพระองค์ 904 ร่วมกันจัดโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีความ สมัครสมานสามัคคี มีความสุขและประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยราชการในพระองค์ 904 เป็นผู้กำกับดูแลการปฏิบัติงานร่วมกับ หน่วยงาน ภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน และให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการใหญ่โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการและประสานการ ปฏิบัติเพื่อให้การจัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ เป็นไปอย่างต่อเนื่องถูกต้องตามพระราโชบาย และสมพระเกียรติ

          ในระยะเริ่มแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชปณิธานในการบำเพ็ญประโยชน์พื้นที่ชุมชนโดยรอบพระราชวังดุสิตเป็นการทำความ ดีด้วยหัวใจถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช      บรมนาถบพิตรโดยหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์หน่วยทหารรักษาพระองค์ ข้าราชบริพารในพระองค์ฯร่วมกับประชาชนจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ร่วมกันดูแลและพัฒนารักษาพื้นที่จากชุมชนเล็กๆ รอบพระราชวังดุสิตขยาย สู่พื้นที่โดยรวมของประเทศในการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป

ความหมายของ “จิตอาสา” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของ “จิตอาสา” ดังนี้

          “จิต” เป็นคำนาม หมายถึง ใจ สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด และนึก

          “อาสา” เป็นคำกริยาหมายถึง เสนอตัวเข้ารับทำ

          ดังนั้น “จิตอาสา” จึงหมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์โดยเต็มใจสมัครใจอิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย แรงสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ในการทำกิจกรรมหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดู ดายเมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดีและเห็นน้ำตาเปลี่ยนแปลงเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย “บุญ” คือความสงบเยือกเย็น และพลังแห่งความดีอีกทั้งยังช่วยลด “อัตตา” หรือความเป็นตัวตนของตนเองลงได้

ความหมายของ จิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ”

หมายถึง ประชาชนทุกหมู่เหล่าทั้งในและต่างประเทศที่สมัครใจช่วยเหลือผู้อื่นยอมเสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ และสติปัญญาใน การทำงานที่เป็นสาธารณประโยชน์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ

จิตอาสาตามพระราโชบาย แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 

1 จิตอาสาพัฒนา : ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบำเพ็ญ สาธารณประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวันการประกอบอาชีพ รวมทั้งการ สาธารณสุข ฯลฯ แบ่งตามภารกิจงานเป็น 8 กลุ่มงาน ดังนี้

          จิตอาสาพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ประชามีสุข หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อาทิ การขุดลอกคูคลอง การดูแลรักษา ความสะอาดเรียบร้อยของศาสนสถานหรือสถานที่สาธารณะ การจัดเก็บผักตบชวา การปลูกต้นไม้ รวมทั้งการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่สร้างความเป็นอยู่ของ ชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน

          จิตอาสางานประดิษฐ์และเผยแพร่งานศิลปาชีพ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่นำความรู้ทางด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน/ภูมิ ปัญญาท้องถิ่น มาเผย แพร่ และถ่ายทอดเพื่อให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อไป

          จิตอาสาฝ่ายกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนในการจัดงานหรือกิจกรรมการแสดงและมีนิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและเผยแพร่กิจกรรมจิตอาสาฯ เช่น กิจกรรมการแสดงดนตรีบริเวณพระลานพระราชวังดุสิต การจัดงานอุ่นไอ รัก คลายความหนาว งานเถลิงศกสุขสันต์มหาสงกรานต์ตำนานไทย เป็นต้น

          จิตอาสาฝ่ายแพทย์และสาธารณสุข หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนและช่วยอำนวยความสะดวกแก่แพทย์ พยาบาล รวมถึงช่วยอำนวย ความสะดวกด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ

          จิตอาสาฝ่ายทะเบียนและข้อมูล หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกประชาชนที่มาลงทะเบียนจิตอาสาฯ

          จิตอาสาฝ่ายส่งกำลังบำรุงและสนับสนุน หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่สนับสนุน อำนวยความสะดวก ดูแลความเรียบร้อย จัดหาหรือบริการอาหาร น้ำดื่ม ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม/จิตอาสาที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน

          จิตอาสาฝ่ายประชาสัมพันธ์ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ช่วยงานประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลการจัดกิจกรรมจิตอาสาฯรวมถึงช่วยดูแลต้อนรับ ประชาชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรม

          จิตอาสาฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจร หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่สนับสนุนและช่วยอำนวยความสะดวกในการสัญจรของประชาชนการแนะนำ เส้นทางการแจ้งอุบัติเหตุการจราจรให้เจ้าพนักงานทราบ