เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

นี้เพื่อความเป็นต่อ ในยุทธศาสตร์การแข่งขันระดับประเทศเลยทีเดียว หากประเทศไทยยังละเลยไม่ได้พัฒนาตนเองให้เข้าใจ เพื่อจะได้รองรับระบบ EMS นี้ ก็จะกลายเป็นอุปสรรค ในการส่งออก และถือเป็นการกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่กำแพงภาษี  (Non-Tariff Barrier) จะทำให้เสียโอกาส ขาดดุลการค้า และ ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ จึงน่าจะหันมาสนใจและศึกษาเรื่องนี้กันอย่างจริงจังในกลุ่ม โรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้าง ร้าน SME และ แม้แต่องค์กร สมาคม เล็กๆ ทั่วไป ก็สมควรศึกษาเพื่อให้ทราบถึงที่มาที่ไป ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) นี้


ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
(EMS) คืออะไร

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม  (EMS) คือ กระบวนการจัดการรูปแบบใหม่ที่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ทั้งระบบการผลิต การจัดส่ง การจำหน่าย และ การจัดการกับซากเศษเหลือทิ้ง โดย จะต้องทำการตรวจหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Measurement) ที่เกิดขึ้นจริงกับ กระบวนการผลิต ซึ่งแต่เดิมนั้น โรงงานผู้ผลิต จะเน้นเฉพาะแค่ ราคา และมาตรฐานด้านคุณภาพของสินค้า เท่านั้น แต่ในปัจจุบันนอกจากจะคำนึงถึงคุณภาพของตัวสินค้าแล้ว ยังจะต้องรวมไปถึง มาตรฐานด้านสุขภาพพลานามัย ความปลอดภัย และ สภาพแวดล้อม ที่การผลิตจะมีผลโดยตรงทั้งก่อนหรือหลังการผลิต โดยจะดูรวมไปถึง การทำงาน ทั้งระบบ ในหน่วยงาน และจะต้องสามารถทำการเชื่อมโยง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นเทียบกับมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ หรือ เทียบมูลค่าเป็นจำนวนเงิน ที่จะเรียกว่า “บัญชีต้นทุนสิ่งแวดล้อม” (Environmental Management Account – EMA) ที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล  คำนวณ  และทำรายงาน       ทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Economical) สังคม (Social) และ ระบบนิเวศน์ (Ecological) ทั้ง 3 ส่วนเข้ามาพิจารณาในการคิดต้นทุน สินค้าและบริการ ทั้งกระบวนการ เครื่องมือ (Management Tools) ที่ใช้สำหรับ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) มีดังนี้

 1. ECO-Design (การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)
เป็นการวางมาตรฐานการผลิตใหม่ โดยจะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ตอนเริ่มต้นการออกแบบ ซึ่งผู้ผลิตต้องศึกษาในการออกแบบผลิตภัณฑ์ นั้นๆว่า จะใช้วัสดุอะไรที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุที่นำมาใช้ ต้องใช้พลังงานเท่าไรในการให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบนั้น ปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมา เท่าไร การขนส่ง ใช้พลังงาน เท่าไร และ เมื่อนำมาใช้ผลิต สินค้านั้น ขณะใช้งานมีขนาดพลังงานที่ใช้เท่าไร และสามารถลดการใช้พลังงานได้หรือไม่ มีระบบพัก เมื่อไม่ใช้งาน ที่เรียกว่า Stand by Mode หรือไม่ และหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์นั้นแล้วตอนสิ้นสุดอายุการใช้งาน สินค้านั้นสามารถเอาไปรีไซเคิลได้ทั้งหมดหรือไม่ จึงควรออกแบบมาเพื่อการรีไซเคิล โดยคำนึงถึงการถอดแยกชิ้นส่วน ได้ง่าย และวัสดุไม่เจือปนสารอื่นๆ เพราะจะทำให้แยกสาร โลหะ ยาก ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่าย การออกแบบเช่นนี้นิยมเรียกว่า Design for Environment (DfE)  นั่นก็หมายถึง  ต้องออกแบบวางแผนกันตั้งแต่เริ่มต้นกันเลยทีเดียว การออกแบบเชิงนิเวศน์ (ECO Design) นี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศชั้นนำเช่น ญี่ปุ่น ยุโรป และ อเมริกา และได้บรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนแล้วให้ถือเป็นแนววิชาการใหม่ เพราะจะต้องคำนึงถึงทั้งด้านวัสดุศาสตร์ การแปรสภาพ เคมี ฟิสิกซ์ เฉพาะทางในแต่ละวัสดุ และการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการไปดูงานที่โรงงานรีไซเคิล เพื่อดูวิธี การถอดคัดแยก และ การนำกลับมารีไซเคิล ทำอย่างไร มีความยาก ง่ายเพียงใด แล้วจึงจะสามารถนำมากำหนดเป็นนโยบายได้ต่อไป
 Life Cycle Assessment (LCA) การประเมินวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่มีผลกับสิ่งแวดล้อม
เป็น การเก็บข้อมูลของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งจากการใช้พลังงาน การแพร่กระจายมลพิษ โดยรวบรวมจากทั้งกระบวนการของผลิตภัณฑ์ หรือบริการ นั้นๆ บางแห่งจะเรียกว่า การประเมินวัฎจักรชีวิต ของผลิตภัณฑ์ หรือถ้าจะเรียกให้เข้าใจได้ง่ายเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ “บัญชีบาป” เพราะการปล่อยของเสียในแต่ละขั้นตอนถือเป็นบาปทั้งสิ้น ทั้งนี้จะรวมในทุกกระบวนการ ทุกกิจกรรม จะแยกย่อยลงลึกไปถึงอะไหล่ หรือ วัตถุดิบย่อยที่นำมาใช้การการผลิตด้วย ซึ่งจะดูทั้ง
4 ส่วนคือ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และ การจัดการกับซากที่เหลือใช้แล้ว เรียกได้ว่าทั้งกระบวนการของชีวิตผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เกิดจนไปถึงจุดสิ้นสุด โดยข้อมูลของแต่ละขั้นตอนจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล ผู้ผลิตอะไหล่ ชิ้นส่วนวัตถุดิบ รวมถึงผู้ที่อยู่ในวงจรโซ่ห่วงอุปสงค์ (Supply Chain) ทั้งหมดจะต้องนำเสนอข้อมูล LCA ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นี้ เพื่อนำมาเข้าสูตรการคำนวณ โดยทั่วไปจะมีซอฟแวร์ ที่ช่วยในการคำนวณ เพื่อหาค่าต่างๆ ออกมาอย่างเป็นระบบ ในเรื่อง LCA นี้ ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย ที่เริ่มมีการศึกษากันอย่างจริงจังในมหาวิทยาลัยแล้ว และเชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยก็จะสามารถทำฐานข้อมูลระดับชาติได้สำเร็จ ดั่งเช่น ประเทศชั้นนำ อย่าง ญี่ปุ่น ซึ่งก็เพิ่งทำ ฐานข้อมูลระดับประเทศสำเร็จไปได้ไม่นานมานี้ และต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะจากผู้ผลิตด้วยกันเอง  

Green Procurement หรือ Green Purchasing Network (GPN) การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งจะเป็นการปรับระบบการจัดซื้อ จัดจ้างใหม่ จะต้องคำนึงถึงผู้จำหน่ายที่จะมานำเสนอ ผลิตภัณฑ์ อะไหล่ ชิ้นส่วน หรือ วัตถุดิบ ฯลฯ ว่าได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่ง จะต้องรวมไปถึงวัสดุที่นำมาใช้ผลิต การขนส่ง การใช้งาน และสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้  โดยดูทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับวงจรโซ่ห่วงอุปสงค์
(Supply Chain) ทั้งกระบวนการ เพราะผลิตภัณฑ์จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้หาก อะไหล่ชิ้นส่วนอื่นๆที่นำมาประกอบไม่ได้รับการควบคุมหรือ ไม่ได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเลย หรืออย่างน้อยก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด การจัดการเศษของเหลือจากการผลิตและการใช้งาน โดยยึดหลักการ 3R คือ Reduce, Reuse, Recycle
เป็นกระบวนการจัดการกับเศษ ซากที่เหลือจากการใช้ผลิต หรือ ใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นๆ โดยนำเอาเศษ ซาก มา ซ่อมแซม  หรือ ปรับสภาพ และนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) หรือนำมาถอมแยกชิ้นส่วนออก เป็นวัตถุดิบชนิดต่างๆ เช่น กระดาษ พลาสติก เหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง น็อต สกรู โลหะผสม ต่างๆ เป็นต้น และนำเอาชิ้นส่วน วัตถุดิบที่ได้มาจากการถอดแยกนี้ ไปส่งให้โรงงานปรับสภาพ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีก เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตอีกครั้งการนำเอากระบวนการ 3R มาใช้นี้ จะต้องมีระบบจัดเก็บรวบรวม ซึ่งอาจเป็นของภาครัฐ ทั้งส่วนกลาง หรือ ส่วนท้องถิ่น หรืออาจเป็นจุดรับคืน ของภาคเอกชน เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือตัวแทนจำหน่ายก็ได้ โดยค่าใช้จ่ายในการขนส่งไม่มากเกินไปจนทำให้การทำรีไซเคิลไม่คุ้มค่า โรงงานจะคัดแยกชิ้นส่วนอย่างถูกหลักวิธี และรู้จักสารพิษ ต่างๆ หรือ กรรมวิธีในการถอดคัดแยก (ซึ่งโรงงานที่จะทำการคัดแยกนี้จะต้องได้รับใบอนุญาติจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ประเภท 105/106) และส่งต่อไปให้โรงงานที่จะปรับสภาพ บำบัด กำจัด ต่อไป ทั้งนี้ปัญหาหลักของการรีไซเคิลในไทยนั้น ก็คือ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ได้อยู่ในระบบ ไม่มีความรู้มากพอเรื่องสารพิษ และไปรับซื้อจากตามบ้านเรือน ที่เรานิยมเรียกว่า “ซาเล้ง” ซึ่งจะนำมาให้ร้าน ซื้อขายของเก่า ทำการคัดแยก ซึ่งกระทำไม่ถูกวิธี และอาจเป็นอันตรายได้ ทำให้เศษ ซาก ไม่มีปริมาณมากเพียงพอ และไม่คุ้มค่าในการวางอุปกรณ์เครื่องจักร สำหรับโรงงานที่ถูกต้องตรงตามหลักวิชาการ ทำให้ไม่คุ้มค่าการลงทุน
นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการทิ้ง การขนส่ง การผ่านกระบวนการรีไซเคิ้ล จะต้องให้ผู้ใช้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหรือไม่ ในอเมริกา ผู้ใช้จะต้องจ่าย ค่ากำจัด ที่เรียกว่า “e-waste fee” เมื่อสั่งซื้อสินค้านั้นๆ และทางร้านค้าเมื่อจัดเก็บแล้วก็จะส่งไปให้ภาครัฐ เพื่อจัดการส่งไปตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อบริหารจัดการ ช่วยเหลือ ภาคเอกชน โรงงานที่ได้รับอนุญาติ ดำเนินการ ต่อไป ในประเทศญี่ปุ่น มีกฏหมาย ที่เรียกว่า Home Appliance Recycling Law – HARL ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อให้ผู้ใช้จะต้องจ่ายค่าทิ้ง เมื่อซื้อสินค้าใหม่ทุกครั้ง และผู้จำน่ายจะเอาไปส่งคืนให้โรงงานรีไซเคิลในเครือข่ายของตนเองเพื่อทำการถอดแยกชิ้นส่วนต่อไป การดำเนินการจัดการตามกระบวนการ 3R นี้เป็นเรื่องที่ดีหากมีกฏหมาย และ มีระบบการออกแบบมาเพื่อรีไซเคิล คือ สามารถถอดชิ้นส่วนออกได้ง่าย และวัตถุดิบที่ใช้ก็เป็นวัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recyclable) ไม่ใช่เป็นวัตถุดิบเจือปนสารอื่นๆมากมายจนไม่อาจนำกลับมาใช้ได้อีก และจะต้องไปผ่านกระบวนการซับซ้อนกว่าจะได้วัตถุดิบที่บริสุทธิ์ กลับมาอีก การลดปริมาณ (Reduce) ซึ่งเป็นอีกหลักการหนึ่งของ 3R เป็นการลดปริมาณ ลดขนาดของผลิตภัณฑ์ ในการออกแบบการผลิต ผู้ออกแบบจะทำการศึกษาจากสินค้ารุ่นเดิมที่ มีอยุ่ในตลาด และมาทำการออกแบบสินค้ารุ่นใหม่ให้มีขนาดเล็กลง ลดจำนวนน็อต สกรู หรือ กาว เพื่อให้การถอด คัดแยกได้ง่าย เมื่อนำมารีไซเคิลแล้ว ดังนั้นกระบวนการ 3R จึงเป็นกระบวนการที่เหมาะสำหรับ การสร้างวงจร ของผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน แต่จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ การออกกฏหมายเพื่อ จัดเก็บ ค่าจัดการ จิตสำนึกของการคัดแยกขยะ เพื่อให้ระบบ 3R ดำเนินไปได้อย่างสำเร็จ 

ระบบจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) สำคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องอย่างไร
จากที่กล่าวมาข้างต้น ยังอาจมองไม่ออกว่าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมนี้ จะมาเกี่ยวข้องกับ บริษัท โรงงานผลิต หรือหน่วยงานของเราอย่างไร ให้มาดูที่ บริษัทประกันภัยเป็นตัวอย่างแรก บริษัทประกันภัยไม่ได้ปล่อยของเสียออกสู่ภายนอก และไม่ได้ทำให้เกิดมลพิษเลย แต่ ขณะที่ประกันภัยเอาเบี้ยประกันไปลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งจะมีโรงงานอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ อาจมีผลกระทบจากภัยธรรมชาติอันเนื่องมาจากผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น บริษัทประกันภัยจึงจะต้องเตรียมการรับมือ และจะต้องศึกษา ระบบจัดการสิ่งแวดล้อมโดยเทียบความเสี่ยงเป็นตัวเงิน เพื่อทราบถึง ความเป็นมา เป็นไป ของความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งอาจทำให้บริษัทประกันภัย สามารถ ออกบริการตัวใหม่ เพื่อให้บริการ สำหรับลูกค้า ที่มีความเสี่ยงต่อ สิ่งแวดล้อมได้           อีกตัวอย่างหนึ่งคือ บริษัท น้ำอัดลมรายใหญ่ อย่าง บริษัท COKE ได้ทำการศึกษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) ซึ่งขั้นตอนการผลิตมีการใช้น้ำ (Water Consumption) ใช้ไฟฟ้า (Electricity) ซึ่งก็เป็นไปตามมาตรฐาน ISO อยู่แล้ว ก็ไม่น่าที่จะมีปัญหาอะไรกับสิ่งแวดล้อม แต่ปรากฏว่า เมื่อทำการศึกษา ระบบ EMS พบว่า บริษัท COKE มีการใช้พลังงานอย่างมหาศาลที่จุด Point of Sales (POS) นั่นคือการใช้ตู้แช่ที่กระจายไปตามที่ต่างๆ ทำให้ต้นทุนของบริษัท COKE สูงกว่าที่เป็นจริง ทั้งที่กระบวนการผลิต และส่วนอื่นที่ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ได้ถูกนำมาคิดคำนวณต้นทุนไปแล้วก็ตาม แต่ว่ายังมีต้นทุนที่แอบแฝงอยู่ เช่นการกระจายตู้แช่ไปยังที่ต่างๆ ที่ห่างไกล ซึ่งเป็นตู้ที่มีปริมาณกินไฟสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มน้ำอัดลม COKE นี้จะต้องดื่มขณะที่เย็นๆ จะทำให้ชื่นใจดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุน บริษัท COKE จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับ ออกแบบ ตู้แช่ใหม่ให้มีขนาดเล็กลงเพื่อประหยัดกำลังไฟ หรือ ออกแบบขวดบรรจุ ให้มีขนาดเล็กกระทัดรัด เพื่อให้สามารถใส่ในตู้ที่มีขนาดเล็กได้ยังมีอีกหลายโรงงาน ที่ตอบคำถามว่า เศษ ซาก ขยะ ที่เหลือจากการผลิต เมื่อนำไปทิ้งมีค่าเท่าไหร่ โรงงานเหล่านั้นมักตอบว่า เท่ากับค่าจ้างกำจัดขยะ นั่นเอง ซึ่งเป็นคำตอบตามหลักการบัญชีเดิม นั่นคือการว่าจ้าง บริษัท ที่รับบำบัด กำจัดมาดำเนินการ แต่อันที่จริงแล้ว มูลค่าที่แม้จริงนอกจากจะมีค่าบำบัดกำจัดที่ว่าแล้ว เศษ ซากเหลือทั้งเหล่านี้ยังมีทรัพยากรที่มีค่าอยู่อีกมาก ที่สามารถนำมาแปลงสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยการรีไซเคิล (Waste / Material Flow) หรืออาจนำกลับมาแปลงเป็นพลังงานทดแทน เพื่อประหยัดพลังงานในการผลิตชิ้นต่อไปได้ นั่นคือมูลค่าที่ซ่อนอยู่ (Visible Cost) ซึ่งบางบริษัท ที่ไม่ได้คำนึงถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมนี้มองไม่เห็น นอกจากนี้หากเศษซากนี้ บางส่วนเป็นสารมีพิษ ก็อาจทำให้ชุมชน หรือภาคประชาชนมีการต่อต้านขึ้นมา ทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น  ดังนั้น  การทำระบบการจัดการที่ดีกับผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในภาพแสดงให้เห็นถึงต้นทุนที่แอบแฝงอยู่ของการผลิต การดำเนินการ ของหน่วยงานต่างๆ ที่มีการเคลื่อนจากตำแหน่งเดิมไปยังตำแหน่งใหม่ ซึ่งหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า กราฟ อุปสงค์ อุปทาน ในระบบเศรษฐศาสตร์เดิม มีจุดตัดที่ P1Q1 ซึ่งก็จะเป็น ระดับ ราคา (P) และปริมาณ (Q) ที่สมดุลย์ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ แต่ขณะนี้ในสภาพความเป็นจริง ในยุคที่สังคมเริ่มมีการเปลี่ยนไป กระแสความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น จนอาจเรียกได้ว่าสังคมเปลี่ยนไปเป็น Green Based Economy หรื อ Green Based Society ไปแล้ว นั่นหมายความว่าจุดตัดที่สมดุลย์เดิมเปลี่ยนตำแหน่งไปเป็น P1Q2 (ดังรูปที่ 1)

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์ และ อุปทาน เดิมไม่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจให้มีผลกำไรสูงสุดได้แล้ว เพราะมีตัวแปรอื่นๆเข้ามา นั่นก็คือ ความสำนึกในเรื่องสิ่งแวดล้อม ในต่างประเทศที่เป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ต่างก็เริ่มใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และมีความใส่ใจในเรื่องผลกระทบในเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จนอาจจะเรียกได้ว่า โลกของเรากำลังก้าวต่อไปจากยุคข้อมูลข่าวสาร ยุคแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Based Society) ไปสู่อีกช่วงหนึ่งแล้วนั่นก็คือ ยุดของสังคมสีเขียว สังคมแห่งสุขภาพพลานามัยที่ดี ยุคแห่งความกังวลเรื่องโลกร้อน ยุคแห่งการกังวลเรื่องขยะเป็นพิษ มลพิษ ทั้งทางน้ำ ทางเสียง ทางอากาศ ยุคที่ประชาชนหรือผู้บริโภคเริ่มจะเป็นผู้เรียกร้องให้ผู้ขาย หรือ ผู้ผลิต มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบ มิใช่แต่เพียงผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ หรือ ให้มีต้นทุนที่ต่ำแต่เพียงอย่างเดียว แต่เขาก็จะเรียกร้องให้ผู้ผลิตมีความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกมากขึ้น และในที่สุดพวกเขาก็จะเริ่มเลือกซื้อสินค้าที่ สะอาดเท่านั้น สินค้าที่สกปรก เจือปน สินค้าที่ปล่อยของเสีย สินค้าที่กลายเป็นขยะเหลือมากมายจะต้องเป็นปัญหาให้กับพวกเขา สังคมจึงเริ่มเรียกร้องมากขึ้นๆ จนเป็นแรงกดดันที่ทำให้ผู้ผลิตต้องเร่งปรับตัวโดยด่วน เพื่อจัดการกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเหล่านี้

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

จากภาพที่ 2 แสดงให้เห็นว่า โรงงานผู้ผลิตจะมีแรงผลักดันเข้ามา ในที่นี้อยากเรียกว่าแรง PUSH ที่เป็นกึ่งบังคับให้ผู้ผลิตจะต้องปฎิบัติตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตามกระแสสังคม ดังนั้นการเริ่มนำระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ผลิต หรือ องค์กร ที่จะต้องแข่งขันให้สามารถแข่งขันได้ เป็นที่น่าสนใจก็คือ กฏระเบียบที่ยุโรป ออกระเบียบข้อบังคับมา เช่น Waste Electrical and Electronics Equipment หรือ WEEE, Restricted Use of Hazardous Substance หรือ RoHS, Energy Using Product  หรือ EuP, และ  Registration, Evaluation, Authorization and Restriction of Chemicals หรือที่เรียกว่า REACH ซึ่งระเบียบเหล่านี้ เชื่อว่าภาครัฐของไทยเริ่มศึกษากันอย่างจริงจังแล้ว รวมทั้งผู้ผลิตในไทยที่ส่งออกสินค้าออกไปจำหน่ายยังยุโรป คงจะต้องเร่งปรับตัวเองให้สามารถปฎิบัติตาม (Comply) ได้ มิฉนั้นก็คงจะขายสินค้าไม่ได้เลยทีเดียว เราจะเรียกระเบียบเหล่านี้ว่าการกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่หรือ? หรือจะเรียกว่ากระแสสังคมโลกเริ่มเปลี่ยนแปลงไปแล้ว โลกเรากำลังจะไปสู่ยุคของ สังคมสีเขียว จริงหรืออย่างไร?นี่คือคำตอบที่ท่านผู้อ่านต้องเริ่มคิด เพราะมันกำลังมาใกล้ตัวโดยไม่รู้ตัว และมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากไม่เริ่มปรับการบริหารจัดการเสียแต่วันนี้ จะสายเกินไปและไม่สามารถกลับเข้ามาในสนามแข่งขันได้เลย และในที่สุดก็จะขายได้แต่ตลาดเล็กๆที่ไม่คำนึงในเรื่องความสะอาด สินค้าของประเทศเราจะเป็นสินค้าที่ปนเปื้อน เป็นสินค้าที่สกปรก ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นนั้นหรือ? ขอให้ตอบจิตสำนึกของท่านเสียตั้งแต่ตอนนี้ปัญหาอุปสรรคสำหรับการเริ่มต้น EMS
ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นเรื่องของการขัดแย้งทางความคิด ก็ว่าได้ เพราะ ส่วนใหญ่บริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำ หรือบริษัทข้ามชาติ (Multi National Company – MNC) มักมองเป็นผลกำไรที่ดีเยี่ยมสำหรับบริษัทของตน แต่ในขณะเดียวกัน บริษัท ขนาดเล็ก กลาง และย่อม (SME) กลับมองว่าเป็นต้นทุนที่มากมายมหาศาล ในการที่จะต้องมาจัดตั้งระบบเพื่อรองรับการจัดการกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ และหากภาครัฐออกกฏหมายอะไรออกมา บริษัท SME เหล่านี้ก็จะต้องถูกบังคับให้ทำตามโดยไม่เต็มใจ และบางบริษัทก็พยายามจะหลบเลี่ยงไปเลยก็มี ตามภาษาวิชาการ เราเรียกยุทธศาสตร์ PUSH และ PULL ซึ่งจะมีความหมายว่าหากบริษัท SME จะต้องถูกบังคับด้วยกฏหมาย หรือ กฏระเบียบ ก็จะเป็นการ PUSH ให้ทำตาม ซึ่งก็ถือเป็นต้นทุนที่สูงสำหรับบริษัทเหล่านั้น แต่หากบริษัทมีความเต็มใจที่อยากจะทำด้วยความสมัครใจ ก็จะเป็นการ PULL ซึ่งเป็นตัวแปรใหม่ที่บริษัทในประเทศไทย สังคมไทย หน่วยงานต่างๆ ของไทยควรนำเอาตัวแปร PULL นี้เข้ามาใช้แทนที่จะต้องมาถูกบังคับด้วยกฏเกณฑ์ ซึ่งบริษัทที่ปรับตัวมาเป็น PULL มักจะได้เปรียบบริษัทที่จะต้องมารับกฏเกณฑ์เหล่านั้น ความขัดแย้งทางความคิดคิดอักประการหนึ่งก็คือหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย มีบางหน่วยงานมองว่า ปัญหาขยะ เป็นของมีพิษ สำควรจะต้องเร่งหาทางแก้ไข บำบัด กำจัด อย่างถูกต้อง แต่ขณะที่อีกหน่วยงานภาครัฐหนึ่งมองว่า ขยะ เป็นเหมืองแร่มหัศจรรย์ ที่ยังซ่อนอยู่ หากรู้จักนำมาจัดการ คัดแยก และผ่านกรรมวิธี ก็จะทำให้สามารถสกัด พลังงาน แร่ธาตุ สาร โลหะ ชนิดต่างๆ ออกมาได้อย่างมาหศาล และสามารถนำไปใช้ซ้ำ ในการผลิตสินค้าใหม่ได้อีก หรืออาจนำมาซ่อมแซม ปรับสภาพ เพื่อนำมาใช้ใหม่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งวิธีการเช่นนี้ในต่างประเทศเรียกว่าการจัดการแบบ 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle

ความหมายของ การรีไซเคิล
(Recycle) คือการนำเอาเศษซาก ของเก่าเหลือใช้ มาถอดแยก และนำมาผ่านกระบวนการเพื่อแปรสภาพให้เป็นวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในการผลิตใหม่ ขณะที่ Reuse หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ จะหมายถึงการนำอุปกรณ์เก่า เหลือใช้ มาซ่อมแซม (Repair, Remanufacture, หรือ Refurbish) และนำกลับมาใช้ใหม่จะเป็นอุปกรณ์ทั้งเครื่องหรืออะไหล่บางส่วนก็ตาม ส่วนการ Reduce จะเป็นการลดบางส่วนที่ไม่จำเป็นในการผลิต การใช้งาน ลงเพื่อให้ประหยัดต้นทุน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ลดขนาดให้เล็กกระทัดรัดลง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีมาก แต่ ในอีกทางหนึ่งก็กลับมองว่า การจัดการกับของเก่าเป็นการสนับสนุนการรับซื้อของโจร เพราะส่วนใหญ่ ร้านรับซื้อของเก่าจะเป็นแหล่งที่รวมของสินค้าที่ถูกขโมยมา หรือ มีบางพวกอาจคิดว่าการนำเศษเหลือทิ้งไปแปลงเป็นพลังงาน เช่นไปทำเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า หรือ อื่นๆ ฯลฯ จึงเกิดการแย่งชิงขยะเกิดขึ้น และการบำบัดกำจัด ในบางประเทศหรืออาจจะกลายเป็นเรื่องของมาเฟีย หรือ ผู้มีอิทธิพล ซึ่งเป็นปัญหาของสังคม โดยเฉพาะเรื่องหลักการ “ธรรมาภิบาล” อย่างมาก เนื่องจากใบอนุญาตประกอบการร้ายซื้อขาย ของเก่า หรือ รีไซเคิลนี้ จะต้องมาจากหน่วยงานภาครัฐ แต่กลับยังมีในบางแห่งที่มีปัญหา ผู้มีอิทธิพล เป็นผู้ให้อนุญาตประกอบการ ทำให้เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้องหรือเครือญาติ กันอย่างกว้างขวาง ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล นี่คือปัญหาอุปสรรค ใหญ่มากกับผู้ประกอบการที่บริสุทธิ์ และไม่ทำให้เกิดกลไกการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และไม่ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ

ปัญหาการเก็บขยะนั้นก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งเพราะ การคัดแยก ไม่ได้กระทำกันจากที่บ้าน ดังนั้น รถเก็บขยะ ก็มาเก็บ โดยไปแยกขยะที่ขายได้ กันที่บนรถขนขยะ และอาจนำไปเป็นรายได้ของตนเอง การประสานนโยบายร่วมกันระหว่างภาครัฐในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ยังมีความหละหลวม และทำงานแบบต่างคนต่างทำ จึงทำให้เกิดปัญหา ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นและอเมริกา ชุมชน ท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและ ได้ดำเนินการกิจกรรมให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงสิ่งแวดล้อม ที่พยายามกำจัด ขยะให้เหลือศูนย์ (หรือให้เหลือน้อยที่สุด) ด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานวันแลกเปลี่ยนของเก่า วันกำจัดขยะพิษโดยนำมาไว้ที่ ที่ว่าการอำเภทส่วนท้องถิ่น กระตุ้นให้ภาคเอกชนบางหน่วยที่มีหน้าที่ในการรีไซเคิล มาให้ความรู้แก่ประชาชน เป็นต้น ฯลฯ  การับรู้เรื่องการแยกทิ้งขยะ เป็นเรื่องที่ทุกบ้านทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือกันอย่างมากภาพแสดงการแยกทิ้งถังเพื่อเตรียมรีไซเคิล

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

 ปัญหาที่คิดว่าสำคัญที่สุดคือ นโยบายภายในบริษัทเอง ซึ่งหลายบริษัท หรือหน่วยงานอาจจะคิดว่า การจัดทำ EMS ยากเกินไป และ ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งการเปลี่ยนภาพนี้จะต้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนวิธีคิด และจิตสำนึกให้รู้สึกว่าการปรับเปลี่ยนนี้มีผลต่อสังคม และส่วนรวมและจะทำให้บริษัทได้รับผลกำไร ตอบแทนตามมาภายหลัง ซึ่งจะต้องปลูกฝังและสร้างขึ้นมาให้ได้ในบริษัท จึงจะสามารถทำ EMS ได้สำเร็จ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) ในประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในผู้นำ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากพื้นฐานของความเป็นประเทศอุตสาหกรรม และความมีระเบียบวินัย ประกอบกับ การสร้างความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง จึงทำให้ประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนาระบบการจัดการ EMS นี้อย่างกว้างขวาง บริษัทชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น ได้จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมา โดยเป็นหน่วยงานเฉพาะที่มีภาระกิจหลักในการพัฒนาการ และ จัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมขององค์กรของตนเอง และจะต้องมีการประชุมในระดับกรรมการบริหาร กำหนดเป็นนโยบายเพื่อให้หน่วยงานหลักก้านสิ่งแวดล้อมนำไปจัดทำแผนและปฎิบัติต่อไป ตัวแปรแห่งความสำเร็จของการจัดทำ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) นี้ สามารถสรุปได้ดังนี้ ปัจจัยการพัฒนาการระบบ ISO14000 ไปเป็น EMS และก้าวไปสู่ CSR – ระบบ EMS ของประเทศญี่ปุ่นนั้นพัฒนาการมาจากระบบการจัดการตามมาตรฐาน ISO 14000 ที่โรงงานผู้ผลิตต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาตรฐาน ตามเกณฑ์ ซึ่งกระทำในช่วงแรกนั้นก็เพื่อให้ได้ใบรับรองมาตรฐานเพื่อให้สินค้าและบริการของตนเหนือคู่แข่งขัน เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน โดยในปัจจุบันระบบ ISO14000 เป็นระบบตรวจสอบตนเอง หรือ Self Declaration โดยแบ่งประเภทของมาตรฐานออกเป็น 7 ส่วนหลัก ซึ่งมีทั้ง การจัดหน่วยจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) การตรวจวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม (Eco-Audit) การจัดทำฉลากสีเขียว (Eco-Label) การปฎิบัติงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Performance) การทำวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment –LCA) การให้คำจำกัดความ / นิยามศัพท์ปฎิบัติการ (Term and Definition) และ การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Design for Environment) ซึ่งบริษัทในญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้ปรับองค์กร ตั้งหน่วยงานเพื่อรองรับภาระกิจดังกล่าวนี้ และได้รายงานในรายงานการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Report) แต่ต่อมารายงานดังกล่าวนี้ได้ถูกพัฒนาไปเป็นรายงาน ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility – CSR Report) ซึ่งมีมิติครอบคลุม ที่กว้างขึ้นไปอีก โดยนอกจากจะครอบคลุมไปแค่เพียงภายในการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงาน หรือบริษัท เท่านั้น แต่ได้ขยายวงออกไปยัง ผู้ที่อยู่โดยรอบเช่น ชุมชน หรือ สังคมโดยรอบของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกับโรงงาน บริษัท หรือ หน่วยงาน ให้บรรลุเป้าหมายในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

รูปที่ 3 มาตรฐาน ISO 14000 mรวม LCA , EMS และฉลากเขียวเข้าไปด้วยซึ่งก็จะทำให้ให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในตัวสินค้าและบริการของบริษัทนั้นๆ ว่าได้ทำมากกว่านอกเหนือจากที่จะมาขายสินค้าแล้วยังมีส่วนในการเป็นห่วง ความปลอดภัย สุขภาพพลานามัยของลูกค้าอีกด้วย ทำให้บริษัทได้ภาพพจน์ชื่อเสียงและความไว้เนื้อเชื่อใจจากลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก ปัจจัยความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ การรวมตัวกันเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม เป็นจุดแข็งที่สำคัญของคนญี่ปุ่น โดยคนญี่ปุ่นจะทำงานประสานงานกันเป็นอย่างดีเยี่ยม การทำงานเป็นทีมของบริษัทญี่ปุ่นเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และ มีหลายประเทศได้ทำการศึกษารูปแบบ และเหตุผลของความสำเร็จในการทำงานเป็นทีม แต่ที่น่าสนใจที่สุดก็คือ การจับกลุ่มกันของอุตสาหกรรม บริษัท โรงงาน ต่างๆ ซึ่งผู้ที่มาทีหลัง หรือ ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม เช่น   สินค้าจากประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของประเทศญี่ปุ่นจะถูกกีดกันเพราะ เขาจะจับกลุ่มเฉพาะสินค้าที่มาจากประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น อุตสาหกรรมที่รวมตัวเป็นกลุ่มมักจะจัดตั้งเป็นสมาคม ชมรม เพื่อหารือ กัน และตกลงกำหนด และทำร่วมกันเป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้การทำงาน สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว เพราะ ความร่วมมือที่ดีเยี่ยมจากอุตสาหกรรมเดียวกัน และในบางครั้งก็อาจจะเชื่อมโยงธุรกิจเข้าด้วยกันเป็น Cluster เพื่อให้ทำงานกันได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็น

ปัจจัยหลักของความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่นปัจจัยการออกกฏหมายรีไซเคิลเริ่มจาก Home Appliance Recycle Law (HARL) เมื่อพูดถึงเรื่องรีไซเคิ้ลก็เป็นที่ทราบกันดีกับกฏหมายที่ออกประกาศมาใช้ คือ Home Appliance Recycle Law (HARL) เป็นการออกกฏระเบียบให้ประชาชน จะต้องเสียค่ารีไซเคิลเมื่อซื้อสินค้าในครัวเรือนใหม่ ซึ่งก็นับว่าต้องจ่ายเป็นเงินจำนวนมาก เพื่อจ่ายเมื่อเวลาซื้อสินค้าตัวใหม่ที่ร้าน และร้านก็จะกรอกแบบฟอร์ม ให้นำมาติดไว้ที่เครื่องเก่าและเมื่อนำสิค้าตัวใหม่มาส่งก็มารับสินค้าตัวเก่ากลับไป เพื่อส่งต่อไปยังโรงงานรีไซเคิลต่อไป ในประเทศญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการ รีไซเคิลอย่างมาก เพราะประเทศญี่ปุ่นมีทรัพยากรน้อย ต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ และญี่ปุ่นก็ได้คำนวณดูแล้วว่า หากยังใช้วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตอย่างฟุ่มเฟือย โดยไม่คำนึงถึงอนาคตต่อไปข้างหน้า ก็จะเห็นว่าวัตถุดิบดังกล่าวก็จะหมดไปในที่สุด และโดย เฉพาะอย่างยิ่งราคาค่าวัตถุดิบก็จะถีบตัวสูงขึ้นมา ญี่ปุ่นจึงได้เริ่มทำการศึกษาวิธีรีไซเคิลโดยมองว่าหากทำได้สำเร็จก็จะได้ส่วนกำไรคืนกลับมาและยังไม่ใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็นไปอีก

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

จากรูปที่ 4 จะเห็นได้ชัดว่า ค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะจากโรงงานโดยที่ต้องไปจ้างเขามาจัดเก็บก็จะหลายเป็นค่าใช้จ่ายสูญเปล่าไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่ในขณะที่อีกโรงงานหนึ่งได้ปรับเปลี่ยนนโยบาย เพื่อมาทำการรีไซเคิลทำให้ต้นทุนลดลง และค่ากำจัดก็มาแปลงเป็นค่ารีไซเคิลแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ซึ่งหลายแห่งนึกไม่ถึง ญี่ปุ่นจึงได้พัฒนาระบบการรีไซเคิลมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยคิดทั้งระบบตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ต้องเตรียมตัวเพื่อรองรับกับระบบใหม่นี้ ออกแบบให้ถอดง่ายไม่ยึดสกรูมากนัก เป็นชิ้นส่วนที่ทำจากวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ดี นอกจากนี้ยังวางระบบการจัดเก็บ ขนส่ง เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ซื้อเป็นผู้จ่าย ตามหลักการ Polluter Pay Principal (PPP) ส่วนผู้ผลิตก็มีหน้ารับผิดชอบในการออกแบบผลิตสินค้าให้สามารถรีไซเคิ้ลได้และจัดสถานที่รับสิ่งของตามบ้านเรือน บริษัท ห้าง ร้าน แต่สิสิ่งหนึ่งที่เป็นข้อสังเกตและควรเป็นเครื่องหมายคำถามใหญ่ๆ ก็คือ ทำไมที่ประเทศไทยมีผู้ไปรับซื้อตามบ้าน เช่นรถรับซื้อของเก่า ซาเล้ง ฯลฯ โดยผู้ใช้ หรือผู้ทิ้งเป็นผู้ได้รับเงิน ผู้รีไซเคิลต้องจ่ายเงินเพื่อรับซื้อสินค้าเก่านี้ ซึ่งผิดกับที่ญี่ปุ่น และกลับข้างกันเลยทีเดียว แต่ทำไมคนญี่ปุ่นยอมจ่ายค่าทิ้ง และทำไมไม่มีคนไปรับซื้อถึงบ้าน อย่างเช่น ประเทศไทย ซึ่งเป็นรูปแบบ (Model) ที่น่าคิด การรีไซเคิลทำเพื่อวัตถุประสงค์ของโรงงาน หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมคนเองไม่ได้ให้ผู้อื่นทำ ดังนั้นอาจเป็นไปได้ที่ว่า ผู้ที่จะดำเนินการรีไซเคิลควรจะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์แต่งตั้งมอบหมาย หรือ ของตนเองโดยตรง หรือกลุ่มตนเอง เพื่อวัตถุประสงค์ของตนเองมิใช่เพื่อนวัตถุประสงค์อื่น เช่นประเทศไทย จนทำให้มีผู้ที่อยู่นอกระบบเป็นจำนวนมาก เพราะสินค้าเก่ามือสองหรือที่รีไซเคิลมาแล้วจะมาขายแข่งหรืออาจมาเป็นอุปสรรคกับการขอยสินค้าใหม่ของบริษัทตนเอง อย่างไรก็ดี การีไซเคิ้ลเป็นปัจจัยหลักที่ประเทศญี่ปุ่นยังคงพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และได้แพร่หลายเข้าไปในจิตสำนึกของประชาชนผู้บริโภคทั่วไปแล้วในปัจจุบัน
ปัจจัยภาครัฐญี่ปุ่นให้การสนับสนุนทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น ซึ่งตามปกติแล้วภาคเอกชนของญี่ปุ่นมีความเข้มแข็งและมักจะนำภาครัฐไปก่อน แต่เมื่อภาคเอกชนได้นำเสนอกิจกรรม หรือนำเสนอภาครัฐ ก็มักจะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีเยี่ยมโดยเฉพาะฐานข้อมูล หรือ เทคโนโลยีสนับสนุน ซึ่งภาครัฐญี่ปุ่นทำได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้เอง ภาครัฐญี่ปุ่น ได้จัดทำฐานข้อมูล เพื่อผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้ว่าจะมีความยากลำบากเพียงไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ทุนสนับสนุน เพื่อให้ได้มาซึ่งฐานข้อมูล
Life Cycle Assessment (LCA) ซึ่งต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ทุกขั้นตอนของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึง ตอนปลายของการใช้งานในชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ นากจากนี้กฏหมายที่ออกมาบังคับใช้ให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย หรือ ห้ามมิให้นำเศษซากไปทิ้งตามที่สาธารณะทั่วไป ซึ่งภาครัฐจะมีความเข้มงวดอย่างมาก ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้น มีความเข้มแข็งและรับนโยบายมาจากส่วนกลางอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม การรณรงค์รักษาสภาพแวดล้อมร่วมกับ NGO (Non Government Organization) และ NPO (Non Profit Organization) ในชุมชน เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ และมักจะกระทำโดยใช้ระบบสมาชิก หรือ กลุ่มชุมชน ที่มาหารือประชุมร่วมกันเพื่อหาวิธีแก้ไขร่วมกัน มิใช่การออกกฏข้อบังคับมาจากส่วนกลางโดยมิได้คำนึงถึงความรู้สึกหรือสภาพปัญหาที่แท้จริง ดังนั้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะได้รับการตอบสนองดีมาก และภาครัฐท้องถิ่นจะดำเนินการไปตามข้อตกลงซึ่งทำให้ชุมชนพอใจและพร้อมจะให้ความร่วมมือกับเรื่องต่างๆต่อไปอีก แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกับของประเทศไทยก็คือ การจ่ายภาษีที่สูงมาก เพราะ อัตราภาษีของประเทศญี่ปุ่นมีรายละเอียดมากและคนญี่ปุ่นต้องเสียภาษีแยกย่อยเป็นรายละเอียดซึ่งถ้าคิดนับรวมแล้วเกือบ  40-45% ของรายได้เลยทีเดียว

ปัจจัยการปลูกฝังการแยกทิ้งขยะ ซึ่งนับว่าปัจจัยนี้มีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการเริ่มต้นที่ดีกับระบบการรีไซเคิล โดยประเทศญี่ปุ่นเริ่มปลุกฝังแนวคิดการคัดแยกขยะ เริ่มจากภาครัฐที่นำถังขยะสองใบมาแจกจ่ายตามบ้านเรือน ร้านค้า โดยถังจะแยกเป็นขยะทั่วไปเช่นเศษอาหาร หรือ อื่นๆ กับอีกถังหนึ่งคือ ขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ (Recyclable Material) เช่น กระดาษ พลาสติก ปัจจุบันได้เห็นถังที่มีจำนวนมากขึ้นบางแห่งจะมีถึง 4-5 ใบ เลยทีเดียว เนื่องจากจะแยกเป็น แก้ว กระดาษ พลาสติก พืชผักผลไม้ และจะมีถังเหล่านี้ให้เห็นตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ต่างๆ ที่ผู้ซื้อสามารถนำขยะเหล่านี้มาทิ้งได้ ซึ่งทำให้สะดวกสบายต่อการทิ้ง เพราะเมื่อไปช๊อปปิ้ง ซื้อของก็สามารถนำไปทิ้งที่ห้างสรรพสินค้าได้

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

หน้าร้านสะดวกซื้อ และ ที่รับกล่องบรรจุไข่ที่ห้างสรรพสินค้า

ดังนั้นการแยกทิ้งจึงเริ่มแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางมากในตอนนี้ในประเทศญี่ปุ่น ทั้งในส่วนครัวเรือนและที่ทำการสำนักงานต่างๆ แม้ในโรงอาหาร (Cafeteria) ของหน่วยงานก็ยังมีการแยกจาน ช้อน และเศษกระดาษ เศษพลาสติก และเทเศษอาหารลงไปในที่บดซึ่งจะนำไปสู่ ระบบการแปรสภาพไปเป็นปุ๋ย อาหารไก่ ต่อไป

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

* แยกช้อน แก้ว กระดาษ พลาสติก และเทเศษอาหารลงในท่อบดและจานชามไปล้างด้านหลัง

ซึ่งระบบดังกล่าวนี้เป็นระบบหมุนเวียนที่ดีมาก ที่ประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า Close Loop ซึ่งเป็นหลักการหมุน เวียนกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเข้าได้กับหลักการยั่งยืน (Sustainable) ซึ่งทำได้ง่ายและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย สามารถนำเอากลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ ซึ่งจะทำให้ประหยัด ลดค่าใช้จ่ายและสามารถนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีระบบบำบัดของเสียจากห้องน้ำหลักจากชำระล้างชักโครกแล้ว ระบบก็จะนำมาผ่านกระบวนการแยกของเสียไป และนำน้ำมาปรับสภาพให้กลับมาใสเพื่อนำกลับมาใส่ในโถชักโครกใหม่ และไม่ต้องใช้น้ำใหม่ทำให้ประหยัดน้ำ

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

รูปที่ 5 ระบบบำบัดจากห้องน้ำ ซักผ้า ฯลฯ สามารถหมุนเวียนน้ำใสกลับมาใช้ใหม่ แนวคิดใหม่ของญี่ปุ่น
เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

รูปที่
6  ระบบ Close Loop ที่หมุนเวียนระบบน้ำจากเครื่องซักผ้ากลับมาใช้ใหม่ในปัจจุบันก็ได้นำเครื่องที่รับขวดพลาสติกและกระป๋องที่จะทิ้งแบบอัตโนมัติ ติดตั้งตามสถานที่ต่างๆ เพื่อรับทิ้งขวด กระป๋องเหล่านี้ โดยจะทำการออกใบรับให้เพื่อไปขึ้นเงิน ไม่ต้องพึ่งพาซาเล้งอีกต่อไป
เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

รูปที่ 7 เครื่องรับคืนขวดพลาสติก และ กระป๋อง เพื่อการรีไซเคิ้ลแบบอัตโนมัติ

ตัวอย่างข้างต้นดังที่ได้กล่าวมานี้เป็น แนวทางการปฎิบัติและแนวคิดของระบบรีไซเคิลของญี่ปุ่น ที่ทุกภาคส่วนได้ปลูกฝังจิตสำนึกมากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งหากประเทศไทยสามารถทำได้มากขนาดนี้ คาดว่าเศษเหลือทิ้ง ที่เป็นขยะจะลดลง และสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกอย่างมหาศาล

ปัจจัยการให้การศึกษาในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับประถม มัถยม และอุดมศึกษา โดยประเทศญี่ปุ่นเน้นเรื่องการปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆ และ ได้บรรจุหลักสูตรเกี่ยวกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ให้กับเด็กนักเรียน นักศึกษา โดยนอกจากการให้การศึกษาในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่เป็นภาคทฤษฎีแล้วยังได้นำเด็ก ไปชมงานแสดงสินค้า ไปดูโรงงานรีไซเคิ้ล โรงงานที่อยู่ใน Eco-Town เพื่อให้เด็กนักเรียน นักศึกษา ได้เข้าใจ ถึงเส้นทางของขยะว่าไปที่ใดบ้าง และผ่านขั้นตอนอย่างไร ดังนั้นในประเทศไทยควรที่จะนำระบบการศึกษา เช่นนี้มาบรรจุในหลักสูตร เพื่อให้เด็ก ได้ตระหนักถึง ความสำคัญของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) ที่ดีและเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะสามารถนำความรู้ที่เรียนมา ปรับใช้ได้และเพื่อความยั่งยืนของประเทศในอนาคต ต่อไป


การพัฒนาการของความรับผิดชอบต่อสังคม
(Corporate Social Responsibility – CSR)  ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ตอนต้นว่าปัจจุบัน ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) ได้พัฒนาการมาเชื่อมโยงเป็นระบบใหญ่กว่า ซึ่งระบบ EMS จะเป็นเพียงระบบการจัดการที่ โรงงาน บริษัท หน่วยงาน องค์กร จัดตั้งขึ้น เพื่อปรับตนเองตามนโยบายที่จะใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อประหยัดต้นทุน และเพิ่มภาพลักษณ์ (Corporate Image) ให้แก่หน่วยงานของตน ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม EMS ในประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนาการมาจนทำให้ รายงานของบริษัทชั้นนำ เช่น FUJITSU, SONY, PANASONIC, HITACHI ต่างพิมพ์รายงานของตน เพื่อรายงานต่อผู้ถือหุ้น และบุคคลทั่วไป เป็นรายงาน “CSR Report” เพื่อรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

 รูปที่ 8  ตัวอย่าง รายงานของบริษัทฮิตาชิ ปี 2004 เป็น Environmental Report แต่ในปี 2007 เป็น CSR Report .ในรายงานนี้จะรวมถึง นโยบาย วิสัยทัศน์ ด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา การบริหารจัดการที่คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม (ระบบการจัดการ EMS การให้การอบรม การศึกษาแก่พนักงาน และการประเมินผล) การผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของบริษัท (LCA, ระเบียบ RoHS, ปริมาณพลังงาน, ปริมาณ CO2 ที่ปล่อยออกมา, การบริหารความเสี่ยง, กฏระเบียบภายในประเทศ) ความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตัวแบบของธุรกิจแบบยั่งยืนของบริษัท การช่วยเหลือชุมชน สังคมรอบๆ องค์กร การสร้างความเข้มแข็งของการทำงานให้แก่พนักงาน การพัมนาการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ฯลฯ เป็นต้น ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) ในประเทศไทย
ในประเทศไทยได้นำเอาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานที่เรียกว่า ISO14000 มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และบริษัทชั้นนำหลายแห่งแล้ว ปัจจุบัน มีบริษัทที่ได้รับใบรับรอง มาตรฐาน ISO14000 รวมทั้งสิ้น 1,443 ราย (ข้อมูลจาก ส... เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550) ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานผู้ผลิตที่เป็นสาขาจากต่างประเทศ หรือไม่ก็เป็นบริษัท Multi-National Corporation (MNC) ที่มีระบบนี้อยู่แล้ว โดยวัตถุประสงค์หลักก็ยังคงเป็นการจัดทำเพื่อให้เข้าตามกำหนดมาตรฐานเพื่อส่งสินค้าไปขายได้เท่านั้น มิได้ทำเพื่อหลักการ ประหยัด เพื่อสังคม และเพื่อลดต้นทุนอย่างแท้จริง ดังนั้นการให้ความสำคัญยังไม่มีมากเท่าที่ควร บุคคลากรที่มาดำเนินการในเรื่องนี้โดยตรงยังขาดความรู้ความเข้าใจ เพราะยังไม่มีการสอนในโรงเรียนแต่อย่างใด แต่เนื่องจากเรื่องระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใหม่ ดังนั้นจึงยังไม่มีรูปแบบแน่ชัด และยังไม่ได้รับความร่วมมือจากส่วนต่างๆ เท่าที่ควร ที่น่าเป็นห่วงก็คือ บริษัทที่มีขนาดเล็ก หรือ SME จะมองว่าระบบ EMS นี้จะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่าย และ เป็นเรื่องของต้นทุนที่สูงทำให้ราคาขายหรือค่าบริการจะสูงกว่าคู่แข่ง และปัจจัยที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่งของระบบ EMS ในประเทศไทยก็คือ การสนับสนุนจากภาครัฐ ที่จะช่วยเร่งให้ภาคเอกชนมีความกระตือรือล้นในการปรับตนเองและจัดทำระบบ EMS นี้ ทั้งนี้ ในส่วนของกฏหมายที่ภาครัฐต้องเร่งออกกฏหมายออกมาควบคุม จัดการ และสร้างระบบการจ่ายค่าทิ้ง กำจัด ในส่วนของการศึกษา (ปรับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาให้มีหลักสูตร EMS บรรจุอยู่) ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะไม่มีกฏกติกา และไม่มีความรู้ ความชำนาญมากเพียงพอ ก็ไม่สามารถจะทำเรื่อง EMS นี้ได้ ดังนั้นหากสรุปปัญหาของการดำเนินการทำระบบ EMS ในประเทศไทยก็เห็นจะพอสรุปได้ดังนี้
1.)    การสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องกฏหมาย และ ระบบการศึกษา
2.)    ความเข้าใจ และ ความกังวล เน้นในด้านจิตวิทยาในการที่จะนำระบบเข้ามาใช้3.)    จิตสำนึกและความตระหนักถึงความสำคัญ รวมถึงทัศนคติที่จะเริ่มนำระบบนี้มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยรวม4.)    ยังขาดบุคคลากรผู้ชำนาญการ และขาดผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะมาบริหารแผนกใหม่ที่จะจัดทำระบบ EMS นี้

5.)    ยังไม่มีการอบรม เฉพาะหลักสูตร สำหรับพนักงานเพื่อไปฝึกฝน อบรม เพิ่มเติมได้6.)    ยังขาดการประสานงาน ความร่วมมือ และการเชื่อมโยงในแต่ละภาคส่วน (การมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง)

7.)    หลักธรรมาภิบาลโดยเฉพาะความโปร่งใสของภาครัฐ หรือ ผู้ตรวจสอบ (Code Enforcer)8.)    ความมีระเบียบวินัยที่ยังต้องปรับปรุง เคร่งครัดในกฏระเบียบ กติกา มารยาท9.)    หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบ (PPP) และหลักความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR)10.) แนวคิดเรื่อง 3R และการนำมาใช้ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นิยมคัดแยกขยะก่อนทิ้ง และมีการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (DfE) 

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นอุปสรรคต่อการนำระบบการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมเข้ามาใช้ในประเทศไทย แต่เชื่อว่า หลายบริษัท โดยเฉพาะโรงงานผลิตขนาดใหญ่และที่เป็นบริษัทข้ามชาติ (MNC) ก็คงจะสามารถปรับตัวได้ในอีกไม่ช้านี้ เพราะต้องเข้าสู่การแข่งขันในระดับสากลในอนาคตอันใกล้นี้ เหลือแต่เพียงบริษัทขนาดกลางและเล็กเท่านั้นที่จะต้องเร่งศึกษาหาความรู้และปรับตัวเองให้สามารถทันต่อกระแสโลกได้ การเริ่มต้น EMS ควรทำอย่างไร
ดังที่ได้กล่าวไว้แต่ตอนต้นแล้วว่าการเริ่มต้นนั้นต้องเริ่มมาจากทัศนคติ และแรงจูงใจที่มากเพียงพอ และจะต้องมาจากระดับผู้บริหารเท่านั้นที่ต้องเห็นความสำคัญของการนำระบบนี้มาใช้ โดยจะต้องเริ่มจาก คณะกรรมการบริษัท จะต้องประชุมเพื่อปรับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และนโยบาย ใหม่โดยเพิ่ม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมนี้เข้าไปด้วย ดังจะดูได้จากตัวอย่างในรูปแผนผังด้านล่างนี้

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

รูปที่ 9  แบบของการจัดตั้งนโยบายของแผนกจัดการสิ่งแวดล้อม

บริษัทจะต้องจัดตั้งผู้บริหารด้านสิ่งแวดล้อม โดย จัดตั้งคณะกรรมการ ที่กำกับดูแลนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (Senior Executive Committee for Environmental Policy) และคณะกรรมการกำหับดูแลด้านการปฎิบัติการเพื่องานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Operation Committee) เพื่อควบคุมนโยบาย มหภาค ของบริษัท ในที่นี้หากเป็นบริษัทขนาดเล็กก็ไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ แต่อาจเป็นคณะทำงานกลุ่มย่อยที่มีหัวหน้ากลุ่มทำงาน เป็นผูกำกับดูแลการทำงานด้าน การบริหารจัดการระบบสิ่งแวดล้อม (EMS) จากนั้นก็จะต้องกระจายการบริหารออกไปในส่วนต่างๆ ส่วนผลิตภัณฑ์ การผลิต การกำจัด ผลกระทบต่างๆ และต้องกำหนดนโยบายไปตามทิศทางต่างๆของบริษัท (ดูภาพตัวอย่างนโยบายของบริษัทฮิตาชิ)

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

รูปที่ 10 ทิศทางนโยบายของบริษัทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะมุ่งเน้นไปในทิศทางใด ทั้งนี้จะต้องดูความสามารถในการแข่งขันและความสามารถของบริษัทในการดำเนินการด้วย เมื่อได้ทิศทางที่แน่ชัดแล้วก็นำมาวางยุทธศาสตร์ และวางแผนการดำเนินการ เป็น Action Plan เมื่อได้แผน (PLAN) แล้ว ก็ลงมือดำเนินการ (DO) และก็ควรตรวจเช็คและวัดผล ประเมินผล (Check) และปรับแก้ (ACTION) ซึ่งจะเป็นวงจร P-D-C-A ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมในโรงงานผลิตทั่วไป ผู้บริหารจะต้องเข้มงวดในการดำเนินการตามแผน และต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัด ควรมีการเก็บข้อมูลสถิติให้ชัดเจน และจะต้องรายงานผลการดำเนินการให้ผู้บริหารระดับสูงทราบ ถึงความก้าวหน้า และรายงานไปที่ผู้ถือหุ้น เพื่อรับทราบ ควรเริ่มดำเนินการกับสิ่งที่ง่ายใกล้ตัวเช่นนโยบายประหยัดพลังงาน ประหยัดไฟ น้ำ ลดปริมาณขยะ การตรวจวัดผลกระทบกับสภาพแวดล้อม ต่างๆ โดยต้องให้สามารถหาได้เป็นตัวเลข เพื่อตั้งเป็นเป้าหมายในการลดลงของการดำเนินการในครั้งต่อไป นอกจากนี้ควรส่งพนักงานไปฝึกอบรมตามหน่วยงานที่มีหลักสูตรนี้ หรือส่งไปยังต่างประเทศเพื่อรับการอบรม เรียนรู้ภาคทฤษฎี และดูงานตามโรงงานหรือบริษัท เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

รูปที่ 11 ภาพแสดงการนำวิสัยทัศน์มาปรับเป็นแผน และ การตรวจวัดประเมินผล 

สำหรับผู้ที่เริ่มนำระบบ EMS มาใช้ควรค่อยทำในส่วนที่ง่ายๆก่อน และไม่ควรออกแบบรายงานที่ซับซ้อนเกินไป การวัดผลจะต้องดำเนินการโดยแผนกที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มิใช่เพียงแต่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับแผนกบริหารสิ่งแวดล้อมเท่านั้น และเมื่อได้ข้อมูลในปีแรกแล้วก็ให้ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ดีขึ้นไปอีก พร้อมกับเพิ่มในส่วนอื่นอีก และเพิ่มไปเรื่อยๆ เพื่อให้ครอบคลุมเรื่องราวต่างๆทั้งหมด ในที่สุด            ในส่วนของการวิเคราะห์ ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงปริมาณการนำเข้าและส่งออกของกระบวนการ หรือกิจกรรมหลักของโรงงาน บริษัท ห้าง ร้าน นั้นๆ และจะต้องแปลงปริมาณกิจกรรมให้เป็นจำนวนเงินที่นับได้เท่านั้นเพื่อจะได้วัดได้ชัดเจน ทั้งนี้อาจต้องมีสมมุติฐาน เพื่อแปลงเป็นตัวเลขจำนวนเงินได้ง่าย ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังรูปที่ 12 เป็นการแสดงปริมาณการนำเข้าและส่งออก  ของกระบวนการผลิตของบริษัท ฮิตาชิ ซึ่งได้รวบรวมสรุปกิจกรรมด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแต่ไม่ได้เป็นจำนวนเงิน แต่เป็นปริมาณตรวจวัดจริง ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่อย่างฮิตาชิ มีระบบ มีเครื่องมือที่ทันสมัยและดีพอในการตรวจวัดค่าต่างๆได้ เนื่องจากผู้เขียนต้องการให้บริษัท SME นำระบบนี้มาใช้จึงอยากให้แปลงเป็นจำนวนเงินจะทำให้ตรวจวัดค่าได้ง่ายขึ้น

เครื่องมือในการจัดการ สิ่งแวดล้อม

ภาพที่ 12 การตรวจวัดปริมาณการนำเข้าส่งออก สำหรับการผลิตหรือกิจกรรมบริษัทโดยใส่ประเด็นสิ่งแวดล้อมเข้าไป บทสรุป              
ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญ และควรศึกษากันอย่างจริงจัง ระบบ EMS จะสามารถช่วยให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันและสามารถพัฒนาไปเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมได้ในที่สุด หากเริ่มต้นคิดและทำ เริ่มมีทัศนคติในการปรับเปลี่ยนและนำเอาระบบนี้เข้ามาก็จะเตรียมตัวพร้อมรับมือ แรงกดดันจากต่างประเทศที่อาจจะมาเป็นอุปสรรคในการแข่งขันในอนาคต จะควรเตรียมตัวเอาไว้ก่อน ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการของไทยควรเริ่มง่ายๆก่อนแล้วค่อยพัฒนาต่อไป เพื่ออนาคตของการดำเนินการกิจการที่มั่นคง และเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของไทยให้ยั่งยืน (Sustainable Development) ต่อไป

 

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...


37 ความเห็น so far
ใส่ความเห็น

ข้อมูลที่นำมาลงให้ความรู้ดีมากเลยครับ

ความเห็น โดย รักชาติ มกราคม 10, 2008 @


สวัสดีค่ะ ได้อ่านบทความเรื่องระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่อาจารย์เขียนไว้ รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์มากเลยค่ะ มีเรื่องอยากรบกวนถามค่ะ ว่า ถ้าอยากทำงานเกี่ยวกับการรีไซเคิล ต้องเรียนต่อด้านไหนหรอคะ(คณะไหน)
ช่วยตอบทีนะคะ ขอบคุณค่ะ ^^

ความเห็น โดย [~ ^^ ~Preaw~ ^^ ~] มกราคม 18, 2008 @


เยี่ยมมากเลยครับพี่เดช ได้อ่านแล้วเกิดประกายไฟในการทำ Thesis ให้จบเร็ว ๆ แล้ว

ความเห็น โดย ณัฐพงษ์ เข็มเพ็ชร์ มกราคม 21, 2008 @


สวัสดีค่ะ ตอนนี้ที่บริษัทกำลังทำเรื่อง 14001 อยู่ค่ะ ต้องจัดทำ Action Plan ประหยัดพลังงาน ลดน้ำลดไฟ ลดปริมาณขยะ,ลดการใช้น้ำมัน อยากได้ตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางค่ะ

ความเห็น โดย ad มีนาคม 21, 2008 @


[…] ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) […]

Pingback โดย ISO 14000 เพื่อสิ่งแวดล้อม « Clean Technology for the World มีนาคม 26, 2008 @


เรียน ดร เดช ค่ะ ขอบคุณค่ะ ที่ทำงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเช่นนี้
ขณะนี้ ท่านต้องขยายความรู้ อย่างต่อเนื่องนะคะ การแก้ปัญหาจึงจะยั่งยืน
Cheers

ความเห็น โดย หารกาดเจ้าเก่า มิถุนายน 19, 2008 @


ชอบมากเลยค่ะ อ่านแล้วอยากศึกษาด้านนี้ให้มากยิ่งขึ้น
ขอบคุณที่นำความรู้ดีๆมาให้อ่านกันนะคะ

ความเห็น โดย praewjin สิงหาคม 31, 2008 @


ขอบจั้ยเด้อ ขอยไจ หลายๆ นะ ที่รัก ตังว เอง

ความเห็น โดย วิลลี่ กันยายน 10, 2008 @


ผมได้อ่านและรู้สึกมีประโยชย์มากครับเพราะโรงงานของผมกำลังจะเริ่มทำระบบเกี่ยวกับสิอ่งแวดล้อมแต่ผมในฐานะผู้นำยังไม่มีความรู้ด้านนี้เลย

ความเห็น โดย อนันต์ ตุลาคม 10, 2008 @


ตอนนี้ทำงานอยู่ที่บ.ที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำทำระบบ EMS อยู่ค่ะอยากมีความรู้เพิ่มเติมและก็อยากสอบเป็นผู้ตรวจประเมินระบบบ้างค่ะสามารถสมัครที่ไหนได้บ้างค่ะ

ความเห็น โดย มัทธิว ตุลาคม 15, 2008 @


ข้อมูลดีมากครับ
เป็นประโยชน์มากเลยครับ
อยากไปฝึกงานมาเลยครับ
ไม่ทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานไหมครับ

ความเห็น โดย อภิวัฒน์ พฤศจิกายน 26, 2008 @


ดีมากๆเลยครับ และขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการประเมิน Aspects ด้วยได้มั๊ยครับ รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญด้วย ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ความเห็น โดย bhamorn มกราคม 5, 2009 @


ขอบคุณที่อ้อมเข้าใจ

ความเห็น โดย เก่ง มกราคม 31, 2009 @


123

ความเห็น โดย tccnature กุมภาพันธ์ 13, 2009 @


ขอบคุณมากเลยค่ะ กำลังเรียนวิชาวิจัยทางสังคมศาสตร์ และสนใจทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะกระแสการรณรงค์เรื่องโลกร้อน ระบบการจัดการนี้เกี่ยวข้องด้วยค่ะ

ความเห็น โดย phung กุมภาพันธ์ 13, 2009 @


อยากทราบว่า ISO 14000 กับ ISO 14001 มีความเหมือนหรือ ต่างกันอย่างไรคะ

ความเห็น โดย phung กุมภาพันธ์ 13, 2009 @


คุ นพ่อเก่ งงง ^-^ !!

ความเห็น โดย dada(: กุมภาพันธ์ 16, 2009 @


ขออนุญาต นำข้อมูลไปอ้างอิงในปัญหาพิเศษนะค่ะ

ความเห็น โดย ภูริกานต์ มีนาคม 10, 2009 @


ขอบคุณนะคะมีประโยชน์มาก ขออนุญาติไปใช้อ้างอิงด้วยนะคะ

ความเห็น โดย พจนย์ กรกฎาคม 18, 2009 @


ดีจังเลยช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย

ความเห็น โดย นิรนาม กรกฎาคม 26, 2009 @


ข้อมูลดีมากเลยครับ ขออนุญาตเอาข้อมูลไปอ้างอิงด้วยนะครับ

ความเห็น โดย GODJIs สิงหาคม 5, 2009 @


เหน่งแวะมาดูค่ะ…อ่านซะตาลายเลย..

ความเห็น โดย เหน่ง อีซูซุ กันยายน 27, 2009 @


ขอบคุณมากนะคะที่เขียนสิ่งที่มีประโยชน์อย่างนี้ให้ได้อ่าน เพราะตอนนี้กำลังเริ่มเรียนเรื่องนี้อยู่พอดีเลยค่ะ แต่ไม่รู้เรื่องเพราะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน ก็คงต้องหาอ่านภาษาไทยควบคู่กันไป ขอบคุณมากๆค่ะ

ความเห็น โดย ๋JJ ตุลาคม 6, 2009 @


เป็นเรื่องใหม่และมีประโยชน์มากค่ะ ขออนุญาตนำไปใช้อ้างอิงเพื่อการศึกษานะคะ

ความเห็น โดย KT ตุลาคม 24, 2009 @


ขอ อนุญาต นำไปอ้างอิงในการศึกษา นะครับ

ความเห็น โดย chat ธันวาคม 2, 2009 @


ขอบคุณมากนะคะ
ขออนุญาติเอาข้อมูลอ้างอิงนะคะ

ความเห็น โดย ROCKSUGAR มกราคม 4, 2010 @


ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากนะคะ และก็
ขออนุญาติเอาข้อมูลอ้างอิงด้วยคนค่ะ

ความเห็น โดย taydong มกราคม 25, 2010 @


ไม่ทราบว่าพอจะแนะนำบริษัท หรือโรงงาน ที่เปิดให้ศึกษาดูงานเกี่ยวกับ EMS ได้หรือป่าวคะ

ความเห็น โดย รัตนวดี กุมภาพันธ์ 3, 2010 @


ข้อมูลดีมากเลยครับผม

ความเห็น โดย ที่พักเชียงใหม่ พฤษภาคม 2, 2010 @


ขอบคุณมากนะค่ะ ใด้ข้อมูลดีมากค่ะ เพื่อสังคมจริงจริง..

ความเห็น โดย บีบี กรกฎาคม 16, 2010 @


ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ดี และมีประโยชน์มากๆค่ะ และ
ขออนุญาตินำข้อมูลบางส่วนไปจัดทำวารสารของบริษัท
เพื่อเผยแพร่ความรู้ดีๆ แบบนี้ให้ผู้อื่นทราบด้วยนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ

ความเห็น โดย Y.Development มกราคม 6, 2011 @


ขอบคุณครับ่อะนะ

ความเห็น โดย หอพัก กันยายน 27, 2011 @


เป็นความรู้ใหม่ ที่เราก็พึ่งรู้เหมือนกันค่ะ มีประโยชน์มากมาย Thank you very much.

ความเห็น โดย นิรนาม มีนาคม 24, 2012 @


ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากค่ะ อยากได้ตัวอย่างเสนอแนะแนวทางค่ะ

ความเห็น โดย นิรนาม พฤษภาคม 21, 2013 @


Do you have a spam problem on this website; I also am a blogger, and I was wondering your situation; we have created some
nice procedures and wwe are looking to exchange techniques with other
folks, please shoot me an e-mail if interested.

ความเห็น โดย ตรวจสอบบัญชี มีนาคม 10, 2014 @


[…] ระบวนการจัดการรูปแบบใหม่ที่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ทั้งระบบการผลิต การจัดส่ง การจำหน่าย และ การจัดการกับซากเศษเหลือทิ้ง โดย จะต้องทำการตรวจหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Measurement) ที่เกิดขึ้นจริงกับ กระบวนการผลิต ซึ่งแต่เดิมนั้น โรงงานผู้ผลิต จะเน้นเฉพาะแค่ ราคา และมาตรฐานด้านคุณภาพของสินค้า เท่านั้น แต่ในปัจจุบันนอกจากจะคำนึงถึงคุณภาพของตัวสินค้าแล้ว ยังจะต้องรวมไปถึง มาตรฐานด้านสุขภาพพลานามัย ความปลอดภัย และ สภาพแวดล้อม ที่การผลิตจะมีผลโดยตรงทั้งก่อนหรือหลังการผลิต โดยจะดูรวมไปถึง การทำงาน ทั้งระบบ ในหน่วยงาน และจะต้องสามารถทำการเชื่อมโยง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นเทียบกับมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ หรือ เทียบมูลค่าเป็นจำนวนเงิน ที่จะเรียกว่า “บัญชีต้นทุนสิ่งแวดล้อม” (Environmental Management Account – EMA) ที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล คำนวณ และทำรายงาน ทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Economical) สังคม (Social) และ ระบบนิเวศน์ (Ecological) ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา […]

เทคโนโลยีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

1. ระบบอาคารอัตโนมัติ (Building Automation System) ... .
2. ศูนย์ข้อมูลเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Data Center) ... .
3. ระบบพลังงานทดแทน (Renewable Energy Systems) ... .
4. เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) ... .
5. การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing).

เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์คืออะไร

เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ที่ถูกนำาเอามาใช้เพื่อกระตุ้นให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาด เช่น ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการ และผู้บริโภค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บางอย่างเพื่อลดการปล่อยมลพิษและลดการบริโภควัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่อาจกลายมาเป็นขยะมูลฝอย อีกนัยหนึ่งกลไกดังกล่าวย่อมเสริมแรงจูงใจ ...