บริษัท entertainment ในไทย

เราให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นอย่างยิ่ง เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีกับผู้ใช้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว

TERO Music ค่ายเพลงชั้นนำของเมืองไทยที่มีศิลปินคุณภาพชื่อดังมากมาย ทั้งศิลปินไทยอย่าง โต๋ ศักดิ์สิทธิ์, Slot Machine, Bedroom Audio, Better Weather, Chilling Sunday, electric.neon.lamp, fellow fellow, Kob Flat Boy, เกิบ ณัฐพงศ์ และศิลปินไทยจากค่ายเพลงอินดี้ที่กำลังมาแรงอย่างค่าย Macrowave นอกจากนี้ยังเป็นผู้จัดจำหน่าย จัดเก็บลิขสิทธิ์ผลงานของค่ายเพลงไทยอย่าง Bakery Music, Blacksheep และผลงานของศิลปินดังจากค่ายเพลงระดับโลกอย่าง Sony Music รวมทั้งค่ายเพลงคุณภาพจากเกาหลีอย่าง JYP Entertainment และ AVEX จากญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะได้สิทธิ์จัดจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว ยังครอบคลุมถึงประเทศเพื่อบ้านอย่างเมียนมาร์, ลาว และกัมพูชาอีกด้วย

เปิดปี 2563 ชื่อของ CJ ENTERTAINMENT สตูดิโอภาพยนตร์หนึ่งในเบอร์ท็อปของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลี ก็ดังทะลุพิกัด ไปกับการส่ง Parasite (กำกับโดย บงจุนโฮ) สร้างประวัติศาสตร์เป็นภาพยนตร์เอเชียเรื่องแรกที่คว้ารางวัลออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากงานประกาศรางวัลครั้งที่ 92 แต่ CJ ENTERTAINMENT ไม่ได้มีฐานผลิตภาพยนตร์ที่เกาหลีใต้เท่านั้น ทว่ายังได้ขยายฐานการผลิตภาพยนตร์มายังประเทศไทยในชื่อ CJ MAJOR Entertainment

บริษัท entertainment ในไทย
บริษัท entertainment ในไทย

หลังจากเปิดตัวด้วย “20 ใหม่ ยูเทิร์นวัย หัวใจรีเทิร์น (Suddenly Twenty)” ต่อด้วยความสำเร็จของ “ดิว ไปด้วยกันนะ(Dew)” เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา ตามมาติด ๆ ด้วย “จดหมาย สายฝน ร่มวิเศษ(Classic Again)” ผู้ชมภาพยนตร์ในไทยก็เริ่มรู้จักชื่อของ CJ MAJOR Entertainment กันมากขึ้น ชื่อนี้หมายถึงการจับมือระหว่างบริษัทเบอร์ท็อปของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ CJ Entertainment นำภาพยนตร์จากฝั่งเกาหลีมาดัดแปลงหรือรีเมคใหม่ เป็นภาพยนตร์ในอรรถรสไทยภายใต้การควบคุมคุณภาพของฝั่งเกาหลี

Sarakadee Lite ได้มีโอกาสพูดคุยกับ โยนู ชเว (Yeonu Choi)Managing Director, Chief Producer CJ MAJOR Entertainment ผู้บริหาร CJ สาขาประเทศไทยถึงเบื้องหลังแนวคิดและศักยภาพของภาพยนตร์รีเมคจากต้นฉบับเกาหลี สู่ภาพยนตร์ไทยเต็มตัวที่แสดงโดยคนไทย และกำกับโดยคนไทย

บริษัท entertainment ในไทย
บริษัท entertainment ในไทย

หนังเกาหลีเรื่องไหนที่เหมาะกับการรีเมคฉบับไทย

อันดับแรกเลย เราเลือกเฉพาะภาพยนตร์เกาหลีที่ค่าย CJ ENTERTAINMENT ทำไว้ มีประมาณ 400 เรื่อง และดูว่าภาพยนตร์แนวไหนที่สามารถออกสู่ตลาดผู้ชมนอกเกาหลีได้บ้าง เน้นธีมเรื่องที่เป็นสากลคนทุกประเทศสามารถเข้าถึงได้เช่น ครอบครัว ความรัก คอมเมดี้ โรแมนติก หรือสยองขวัญ จากนั้นก็มาพิจารณาต้นทุนการสร้าง

ในส่วนของประเทศไทย แนวภาพยนตร์ที่ไม่น่าจะรอดเลยก็คือ แนวไซไฟ (Sci-Fi) ฉันคิดว่าหนึ่งในเหตุผลที่ไม่ค่อยมีภาพยนตร์ไทยแนวไซไฟ เพราะต้นทุนการสร้าง ต้นทุนทางเทคนิค เราจึงตัดแนวไซไฟออกไปก่อน แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำงานของเราคือ ต้องหาผู้กำกับและคนเขียนบทที่ต้องรักโปรเจกต์นั้นจริง ๆ อยากจะมาทำงานรีเมคเรื่องนี้กับเราและเราก็ได้ผลลัพธ์เป็นภาพยนตร์เรื่อง “ดิว ไปด้วยกันนะ” และ “Classic Again” รวมทั้ง “My Suddenly 20 ” เป็นแนวดรามาครอบครัว (Family Drama) เกี่ยวกับความเสียสละ ซึ่งเป็นธีมสากลของครอบครัว โดยเฉพาะชาวเอเชีย เมื่อคุณยายพยายามแลกชีวิตส่วนตัวของเธอเองเพื่อครอบครัวเพื่อลูกชายคนเดียว เพื่อหลานชาย และเพื่อทุกอย่างในชีวิตเธอ

บริษัท entertainment ในไทย
บริษัท entertainment ในไทย
ดิว ไปด้วยกันนะ

การรีเมคภาพยนตร์ที่มีคนรักต้นฉบับมาก ๆ เป็นความท้าทาย อย่าง “ดิว ไปด้วยกันนะ” ก็มีเสียงตอบรับที่ทั้งชอบไม่ชอบ

ต้นฉบับภาพยนตร์เกาหลีของ ดิว ไปด้วยกันนะ ชื่อเรื่อง Bungee Jumping on Their Own ซึ่งเก่ามาก ออกฉายเมื่อ 15 กว่าปีแล้ว เป็นภาพยนตร์เรื่องโปรดของฉันเลย แต่ในตอนที่ออกฉายคนตอบรับไม่ดีนัก เพราะสมัยนั้นประเด็นเกี่ยวกับโฮโมเซ็กชวล ในเกาหลีช่วงต้นปี 2003 เป็นเรื่องต้องห้ามแบบห้ามแตะเลยทีเดียว

ส่วนธีมเรื่องการกลับชาติมาเกิดเป็นอีกคนก็เป็นเรื่องใหม่ในเกาหลี ดังนั้นตอนจบของต้นฉบับจึงค่อนข้างช็อกผู้ชมเกาหลีในสมัยนั้นนะ ไม่ใช่แนวแฮปปี้เอนดิ้งแบบฮอลลีวูดที่คนดูคุ้นเคย แต่เป็นการจบแบบปลายเปิด ทิ้งไว้ให้คนคิดต่อเองว่าอะไรเกิดขึ้นกับตัวละครหลังจาก (กระโดดบันจีจัมป์) จริง ๆ ก็เป็นตอนจบแฮปปี้เอนดิ้งในอีกแบบ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับคนดูแต่ละคนว่าจะตีความอย่างไรการมีตอนจบแบบนั้น ทุกคนตีความเรื่องได้ต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งมันก็เป็นเสน่ห์ที่สุดของภาพยนตร์ และมันเป็นเหตุผลที่ฉันอยากรีเมคภาพยนตร์เกาหลีมาเป็นไทย เพราะมันมีภาพยนตร์อิสระของไทยหลายเรื่องมากที่เป็นสไตล์นั้น แต่ภาพยนตร์ในกระแสหลัก มันยังมีจำกัดเฉพาะแนวคอมเมดี้ หรือสยองขวัญ แบบตลาดมันค่อนข้างจำกัดไม่กี่แนว

บริษัท entertainment ในไทย
บริษัท entertainment ในไทย

บางครั้งภาพยนตร์ไทยแนวแอ็กชันคอมเมดี้เองก็จะไปในแนวตลกบู๊ตีหัวเข้าบ้านซะส่วนใหญ่ ฉันก็เลยคิดว่า มันน่าจะยังมีตลาดผู้ชมที่อยากดูภาพยนตร์เรื่องราวจริงจังตัวละครที่มีเรื่องความเป็นความตายอยู่ด้วย ฉันจึงเลือกรีเมค ดิว ไปด้วยกันนะ

ส่วนที่คนดูชาวไทยตอบรับหลากหลายมุมมอง อาจเป็นเพราะคนที่เคยดูเวอร์ชั่นเกาหลีมาแล้วอาจจะรู้สึกแปลก ๆ แต่จริง ๆ ประเทศไทยค่อนข้างเปิดกว้าง ในแง่ของเพศสภาพและการยอมรับคนรักเพศเดียวกัน เราก็เลยไม่เอาคอนเซปต์และธีมของตัวละครรักเพศเดียวกันมาใช้ในเวอร์ชันไทย เพราะมันไม่ใช่ประเด็นแล้วว่า แฟนสาวคนนี้เคยเป็นคนรักเก่าที่เคยเกิดเป็นเพศชายในชาติก่อน แล้วมันไม่ผิดเลยที่จะตกหลุมรักกันแบบชายรักชาย

เราก็เลยมุ่งไปที่ประเด็นอีกประเด็นหนึ่งคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง “ครูกับนักเรียน” ซึ่งมันเกิดขึ้นทุกประเทศ เรื่องระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย (เยาวชน) เราเห็นว่ามันเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ผู้ชมบางคนอาจจะรู้สึกผิดหวังกับเวอร์ชันไทย ที่มันเบี่ยงประเด็นไปในทางนั้นมากกว่าต้นฉบับ แต่เราก็คิดว่าเรามีเนื้อหาที่เป็นรากฐานเดิม คือ อะไรคือสิ่งสำคัญในรักนิรันดร์สำหรับคุณ เมื่อครั้งหนึ่งคุณเคยพบคนที่คุณรักสุดชีวิต แต่ต้องเสียมันไป เพราะเหตุใดก็ตามแต่ แล้ววันหนึ่งหากเขาหรือเธอก็กลับมา คุณจะทำอย่างไรและนั่นคือคำถามที่เป็นสากล

บริษัท entertainment ในไทย
บริษัท entertainment ในไทย
มุมมืดๆ ใน Parasite

ภาพยนตร์เกาหลี มักจะมีองค์ประกอบที่หยิบมุมมืดจริง ๆ มาเล่าแต่พอรีเมคมาเป็นไทยดูเหมือนจะมีการลดทอนความดาร์กลงไป

ต้องบอกว่า โครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมของเกาหลีและไทยต่างกันเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ความหนาแน่นประชากรสูงมาก ประมาณ 55 ล้านคน ซึ่งตัวเลขใกล้เคียงกับไทย ที่มีประมาณ 60 กว่าล้านคน แต่พื้นที่ของเกาหลีเล็กกว่าไทยมาก

อาจจะเรียกว่าเป็นความโชคดีที่เราผ่านสงครามและต้องดิ้นรนกันมาพอสมควรในช่วงปี ค.ศ. 1980-1990 และต่อมาเศรษฐกิจเกาหลีก็เติบโตแบบก้าวกระโดดมาก ๆ มันจึงมีแนวโน้มว่าเราจะมีความดาร์กอยู่ข้างใน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวเกาหลีรุ่นปัจจุบัน ที่มักมีความรู้สึกว่า เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในความสะพรึง กับสงครามเย็นระหว่างเกาหลีเหนือเกาหลีใต้ ที่พร้อมจะระเบิดได้ทุกเมื่อความรู้สึกที่ไม่มั่นคงกับอนาคตจึงมีอยู่ตลอดเวลา ว่าอาจจะเกิดสงครามอีก หรืออาจจะมีภัยพิบัติในสังคมเกิดขึ้น ซึ่งกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา ดังนั้น คนที่เป็นพ่อแม่จึงพยายามให้ทุกอย่างกับลูก ให้มีการศึกษาสูง ๆ และตั้งมาตรฐานสังคมที่สูง จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่คนเกาหลีจำนวนมากค่อนข้างเครียดกับการใช้ชีวิต ในการเล่าเรื่องราวผ่านภาพยนตร์จึงเน้นด้านมืดของชีวิตโดยภาพรวม

ความเห็นส่วนตัวจากการได้ทำงานให้ CJ MAJOR Entertainment มา 4 ปี ก็รู้สึกว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็จริงจังเหมือนคนเกาหลี และมีความเครียดเหมือนกัน แต่เพราะสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์กว่าเมื่อเทียบกับเกาหลีคนไทยก็เลยจะเครียดน้อยกว่าคนเกาหลี ในเรื่องการหาเลี้ยงชีพ อีกอย่างค่าครองชีพในเกาหลีสูงกว่าไทย คนก็เลยกดดันมากกว่าในการทำมาหากิน แค่เพื่อเอาตัวรอด คนไทยก็เลยค่อนข้างสบาย ๆ กว่า

ภาพยนตร์เรื่องไหนของ CJ MAJOR Entertainment ที่ขายดีที่สุด

เราโชคร้ายตรงที่ช่วงเวลาที่เราปล่อยฉายภาพยนตร์ มักจะเจอสถานการณ์ไม่เอื้อตลอด ก็เลยจะบอกเป็นตัวเลขคงได้ไม่สวยเท่าไรเริ่มจากภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก “My Suddenly 20” ช่วงเปิดตัวฉายก็ตรงกับสัปดาห์หลังจาก ในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคต เป็นช่วงคนไทยโศกเศร้า และทุกงานต้องใช้สีขาวดำเท่านั้น ซึ่งเราเข้าใจอารมณ์คนไทยและบรรยากาศช่วงนั้นนะ แต่สำหรับงานภาพยนตร์ เราจะเลื่อนกำหนดวันฉายก็ลำบาก ยังไงก็ต้องปล่อยออกมาจนได้ ก็เลยเป็นจังหวะไม่ดีนัก

พอมาถึงเรื่องที่ 2 Love Battle (ออกฉาย มิถุนายน 2562) ก็มีเรื่องก่อนออกฉายไม่กี่วัน นักแสดงหลักของเรื่องคนหนึ่งมีปัญหาเรื่องโพสต์ข้อความทางโซเชียลมีเดียอีก ซึ่งเคสนี้ฉันไม่รู้ว่าจะรับมือยังไง แต่เรื่องมันเกิดแล้ว ก็เลยเป็นโชคร้ายของหนังเรื่องนี้อีก สวนเรื่องที่ 3 คือ ดิว ไปด้วยกันนะ ก็ถึงได้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับคู่แข่งภาพยนตร์ไทยในตลาด

บริษัท entertainment ในไทย
บริษัท entertainment ในไทย

จริงไหมที่ CJ MAJOR Entertainment เป็นสตูดิโอที่ทำหนังค่อนข้างอินดี้

เราไม่ใช่สตูดิโออินดี้หรอกนะ เพราะเราทำหนังเจาะตลาดกระแสหลัก เราพยายามทำหนังคุณภาพ งานดี สำหรับตลาดใหญ่ปกติ แต่เราอาจจะพยายามทำแนวที่หลากหลาย เพื่อให้คนดูมีตัวเลือกแนวภาพยนตร์ที่หลากหลายขึ้น ถ้าลองดูรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเรามา มันไม่มีหน้าตาเป็นอินดี้เลย เป็นภาพยนตร์ตลาดชัดเจน แต่ตัวเรื่องอาจจะแปลก ทำให้ดูมีเนื้อหาหนัก เราพยายามจะมอบประสบการณ์ให้ผู้ชม ได้รับชมเรื่องราวที่ดี คุณภาพงานเข้มข้น และบันเทิงด้วย

ส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เกาหลีใช้พลังดาราขับเคลื่อน ในการรีเมคฉบับไทย ซีเจฯ ยังคงดึงพลังของดาราดังไหม

อันที่จริงวงการภาพยนตร์เกาหลี ถูกขับเคลื่อนโดยสตูดิโอผู้สร้างภาพยนตร์ เพราะฉะนั้นถือว่าโปรดิวเซอร์มีพลังขับเคลื่อนวงการมากกว่าดารา แต่แน่นอนว่าการมีดาราดังมาร่วมงานแสดงก็เป็นปัจจัยที่เราคิดเพื่อให้หนังเข้าถึงคนดูได้ง่าย เพราะเราทำหนังเพื่อเจาะตลาดหลัก แต่ดาราดังไม่ใช่ปัจจัยหลักเวลาคัดเลือกนักแสดงในแต่ละเรื่องสิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกนักแสดงนำคือ ถ้าดาราดังคนนั้นมีความเหมาะสมกับบทบาทตัวละคร และถ้าดารามีคิวให้กับการทำหนัง ในเคสของใหม่ ดาวิกา ฉันคิดว่าเธอคงอยากลองทำอะไรที่แปลกไปจากที่เคยทำ เพราะบทบาทของใหม่ใน“20 ใหม่ ยูเทิร์นวัย หัวใจรีเทิร์น”มันไม่ง่ายเลย สำหรับนักแสดงอายุแค่ 20 กว่า จะมาเล่นเป็นคนแก่วัยคุณยาย ก็เลยท้าทายสำหรับเธอ และเธอก็ทำได้ค่อนข้างดี

สำหรับ เวียร์ ที่มาเล่นเรื่อง “ดิว ไปด้วยกันนะ” เขาเป็นคนที่ค่อนข้างเลือกงานภาพยนตร์เขาชอบตัวเนื้อเรื่องของดิวมาก ก็เลยอยากมาร่วมงานกับเราในการเล่าเรื่องนี้ ในการทำภาพยนตร์จริง ๆ เรื่องพลังดาราดังไม่ใช่เรื่องหลักสักเท่าไร เพราะบางเรื่องมีดาราใหญ่แต่หนังไม่ทำรายได้ก็มี หรือบางเรื่องดาราไม่ดังแต่หนังไปได้ดีก็มี

บริษัท entertainment ในไทย
บริษัท entertainment ในไทย

นักแสดงแบบไหนที่ใช่สำหรับค่าย

จากที่ทำงานมา ดารานักแสดงไทยก็ค่อนข้างมีฝีมือ ฝึกมือกันมาดีอยู่แล้ว แต่เราจะมองหานักแสดงที่มีวินัยในการทำงานเป็นหลัก เพราะตารางทำงานค่อนข้างแน่น และนักแสดงต้องมีสมาธิกับงานมากเหมือนกัน เราต้องการความทุ่มเทของตัวนักแสดง นี่เป็นหัวใจหลักในการพิจารณา

วางแผนจะปั้นนักแสดงดาราในสังกัดไหม

ก็อาจจะทำนะ เพราะเรามีบริษัทในเครือซีเจเกาหลีฝ่ายที่เป็น ทาเลนต์ เมเนจเมนต์ (บริหารศิลปิน)เหมือนกัน แต่ตอนนี้ซีเจไทยยังโฟกัสหลักไปที่การนำเสนอตัวเรื่อง เราผลิตภาพยนตร์แค่ปีละ 2-3 เรื่อง ก็เหมือนมีเด็กใหม่เกิดมาอีก 2-3 คนให้ดูแล และเราก็ยังมีงานสร้างในเวียดนาม อินโดนีเซีย จีน และสหรัฐอเมริกาด้วย ฉะนั้นเรื่องของงานปั้นหรือบริหารนักแสดงในสังกัดเองยังคงเป็นเรื่องในอนาคต

วัฒนธรรมการชมภาพยนตร์ของคนไทยเป็นอย่างไร

คนไทยไม่ค่อยมีแนวโน้มที่จะไปดูหนังในโรงภาพยนตร์มากเมื่อเทียบกับผู้ชมในเกาหลี ซึ่งนี่บ่งบอกถึงขนาดของตลาดผู้ชมภาพยนตร์อย่างการเทียบตัวเลขรายได้จากการขายบัตรชมภาพยนตร์โดยรวมแล้ว(ทุกเรื่องตลอดปี) รายได้ของไทยทั้งหมดคือ 1 ใน 10 ของรายได้บ็อกซ์ออฟฟิศเกาหลี มันก็เลยยากมากสำหรับผู้สร้างที่จะลงทุน แต่ฉันคิดว่าอีกสักพักตลาดมันจะโตขึ้น แค่ไม่รู้ว่าเมื่อไร แต่เรื่องที่น่าเป็นห่วง คือคนดูรุ่นใหม่ ๆ วัยรุ่น เริ่มหันเหไปดูทางโทรศัพท์มือถือ ดูออนไลน์ ดิจิทัล พฤติกรรมการเสพบันเทิงจะขึ้นอยู่กับการได้บันเทิงราคาถูกจนถึงฟรี ทางอินเทอร์เน็ต คนก็ไม่อยากมาเสียเงินดูในโรงภาพยนตร์แล้ว นั่นเป็นคำถามที่เราต้องเอามาขบคิดว่าจะต้องรับมืออย่างไรต่อไป

ข้อดีของการมีดิจิทัลแพลตฟอร์ม คือเปิดช่องให้คนทำหนังได้สร้างเนื้อหาหรือคอนเทนต์บางอย่างขึ้นมาได้เพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นภาพยนตร์ หรือซีรีส์ และยังมีงานเก่า ๆ ที่สามารถออกมาฉายได้อีกในรูปแบบดิจิทัล ฉันก็เลยถือว่าในอีกแง่สตรีมมิงออนไลน์มันเพิ่มช่องทางให้กับเรา แต่ไม่แน่ใจเลยว่ามันมีผลกับยอดผู้ชมในโรงภาพยนตร์มากขึ้นหรือน้อยลง เพราะที่ผ่านมายอดผู้ชมในบ็อกซ์ออฟฟิศไทยมีตัวเลขที่ต่ำอยู่แล้ว

การโตของตลาดสตรีมมิงมีผลต่อสไตล์การสร้างงานภาพยนตร์ไหม

แน่นอนอยู่แล้วโดยเฉพาะในเรื่องของกรอบเวลา เพราะถ้าคนดูหนังทางโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต เขาคงไม่นั่งยาว 2 ชั่วโมงติดต่อกัน ต้องพยายามจะตัดเรื่องภายใน 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง และโดยรวมหนังทั้งเรื่องก็จะสั้นลงกว่าเมื่อก่อน หรือซีรีส์ที่เล่าเรื่องเป็นตอน ๆ เวลาต่อตอนก็จะสั้นกว่าสมัยก่อน แต่ถ้าเป็นสตรีมมิงที่ทำแบบขายทั่วโลก อย่าง เน็ตฟลิกซ์ ก็หันมาเน้นคุณภาพของงานสร้าง ที่เป็นภาพยนตร์ออริจินัลของเน็ตฟลิกซ์ ซึ่งเน็ตฟลิกซ์ลงทุนสร้างและควบคุมงานสร้างเอง ถ้ามันไปในทางนั้นมากขึ้น ก็มีโอกาสที่คนทำหนังสตรีมมิงจะทำงานคุณภาพออกมาเท่าภาพยนตร์ที่สร้างเพื่อฉายในโรงได้ ซึ่งตอนนี้แค่รอเวลาเหมาะสมที่สตรีมมิงจะเติบโตไปถึงจุดนั้น

บริษัท entertainment ในไทย
บริษัท entertainment ในไทย

ภาพยนตร์ไทยสร้างโดยCJ MAJOR Entertainmentขายดีไหมนอกประเทศไทย

Love Battle ค่อนข้างไปได้ดีในเวียดนาม เพราะมันเป็นโรแมนติกคอมเมดี้ มีความฮิปและเดินเรื่องกระชับฉับไวแต่ในประเทศอื่นอาจมีเรื่องความต่างศาสนา อย่างอินโดนีเซีย เป็นมุสลิมมีค่านิยมในการใช้ชีวิตต่างกันอยู่ก็เลยบอกยากว่า หนังไทยจะทำรายได้ดีไหมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ถ้าเป็นในจีนงานบันเทิงจากไทยได้รับความนิยม อย่างLove Battle ก็มีบริษัทจีนซื้อลิขสิทธิ์ไปรีเมคเป็นเวอร์ชั่นจีน และเรื่อง Classic Again ก็มีคนซื้อลิขสิทธิ์ไปฉายในจีน

อะไรคือความท้าทายในการทำภาพยนตร์ไทย

ตลาดผู้ชม เพราะผู้ชมในโรงภาพยนตร์ไทยมีน้อยมาก ไม่ใช่แค่ภาพยนตร์ไทยนะ แต่ภาพยนตร์ฮอลลีวูดก็มีรายได้ต่ำเหมือนกัน มีเพียงบางเรื่องที่ฮิตอย่าง Fast and Furious แฟรนไชส์ หรือ Avengers อาจทำรายได้เกิน 200 ล้านบาท แต่พอวัดเป็นจำนวนคนซื้อตั๋ว มันน้อยมาก เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน อย่างอินโดนีเซีย ดังนั้นแม้แต่ภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่องดัง ๆ ที่คนพูดถึงกัน แต่จำนวนคนไปชมในไทยก็ยังน้อยมากฉันจึงอยากให้คนไทยช่วยสนับสนุนภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ไทย เพราะถ้าไม่มีมวลชนสนับสนุน มันก็ยากสำหรับผู้สร้างที่จะดำเนินงานสร้างต่อเนื่องไปได้ การทำให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตคือความท้าทายที่ใหญ่มากสำหรับเรา