การ เสริม สร้าง ความ ปลอดภัย ของ เทคโนโลยี สารสนเทศ

ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ปรับเปลี่ยนวิถีการติดต่อสื่อสารทั้งในการใช้้งานส่วนบุคคลและในเชิงธุรกิจก่อให้้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำธุรกรรมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์อย่างมหาศาลและเชื่อมโยงกันทั่วโลก ส่งผลให้้ผู้ใช้้บริการมีความเสี่ยงต่ออาชญากรรมในโลกไซเบอร์เพิ่มขึ้น หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของระบบข้อมูลข่าวสารและการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

ในฐานะที่เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการดิจิทัล บริษัทมีหน้าที่บริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศจำนวนมหาศาล ทั้งข้อมูลจากกระบวนการดำเนินธุรกิจและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ เอไอเอสตระหนักว่าการปกป้องระบบสารสนเทศและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้ปลอดภัย และการกำกับดูแลการดำเนินการงานให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะช่วยป้องกันผลกระทบต่อผู้ใช้บริการจากการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงลดความเสี่ยงต่อบริษัทในด้านการเงินและด้านชื่อเสีียง นอกจากนี้ เอไอเอสยังเล็งเห็นโอกาสที่จะคิดค้นและพัฒนาบริการด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์์อย่างครบวงจร เพื่อตอบโจทย์การใช้้งานและส่งเสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้้แก่ลูกค้าองค์์กร

เราตอบสนองต่อประเด็นนี้อย่างไร

เอไอเอสกำกับดูแล กำหนดนโยบาย กระบวนการ และระบบการบริหารจัดการสำหรับทุกหน่วยงานตลอดทั้งองค์กร เพื่อให้ลูกค้าสามารถไว้วางใจว่า เอไอเอสมีการดำเนินการอย่างโปร่งใสในด้านการปกป้องระบบสารสนเทศและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า รวมถึงระบุให้หัวข้อการปกป้องระบบสารสนเทศและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไว้้ในการจัดการความเสี่ยงขององค์กร โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยงเป็นผู้กำกับดูแลความเสี่ยง เอไอเอสยังบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์และนโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลสำหรับสำนักงานทุกแห่ง และขยายไปยังองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องด้วย บริษัทดำเนินการตรวจสอบภายในอย่างเป็นระบบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามนโยบาย มาตรฐาน และกรอบการทำงาน

เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยของข้อมูลของลูกค้า เราตั้งเป้าหมายต่อไปนี้ในปี 2567:

  • ดำเนินธุรกิจเพื่อให้้สอดคล้องและเป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ส่งเสริมศักยภาพในการรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์์เพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ และการบริการใหม่่ ๆ ทั้งในด้านกระบวนการเทคโนโลยีและความพร้อมของบุุคลากรอย่างต่อเนื่อง
  • เพิ่มประสิทธิิภาพและศักยภาพในการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยี Machine Learning และ Artificial Intelligent สำหรับกระบวนการเฝ้าระวัง วิเคราะห์์ ประเมินภัยคุกคาม พร้อมปรับกระบวนการดำเนินการให้้กระชับ รวดเร็วด้วยเทคโนโลยี Automation
  • ก้าวเป็นหนึ่งในผู้นำ ในการให้บริการ CSOC สำหรับลูกค้าองค์์กร เพิ่มศักยภาพการให้บริการ พัฒนาบริการให้้คำปรึกษาด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

การดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าการปกป้องข้อมูลของลูกค้ามีตั้งแต่การกำหนดมาตรการสำหรับการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าไปจนถึงการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เอไอเอสยังรวมเอาหลัก Privacy by Design และ Privacy by Default ไว้ในบริการและผลิตภัณฑ์ตามความเหมาะสม การตั้งค่าข้อกำหนดสำหรับกระบวนการรับส่งข้อมูล ตลอดจนส่งเสริมความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลของลูกค้าแก่บุคลากรและพันธมิตรทั้งหมด นอกจากนั้น เรายังสร้างระบบและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการตามคำขอของลูกค้าตามกระบวนการดังต่อไปนี้

สำหรับการจัดการคำขอข้อมูล บริษัทให้ข้อมูลลูกค้าแก่หน่วยงานราชการตามกฎหมายและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนของเจ้าของข้อมูลตามเงื่อนไขทางกฎหมาย ขั้นตอนการประเมิน และตอบสนองต่อการบังคับใช้กฎหมายหรือคำขอข้อมูลของรัฐบาล โดยมีกระบวนการดังนี้ :

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

เอไอเอสมีโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ และกำหนดข้อปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการทดสอบรวมถึงเฝ้าระวังในการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีการจัดทำและปรับปรุงนโยบายรวมถึงแนวทางการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติสากลรวมถึงข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

เอไอเอสนำกรอบการดำเนินงานด้านการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ (National Institute of Standards and Technology: NIST) มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบกระบวนการในการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

แหล่งที่มา: National Institute of standards and Technology

สำหรับการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์และกระบวนการยกระดับการบริหารจัดการ (escalation process) เอไอเอสได้ประยุกต์ใช้ Cyber Incident Response Framework โดย NIST ในการปฏิบัติงานประจำวัน มีขั้นตอนดังนี้

แหล่งที่มา : Computer Security Incident Handling Guide โดย National Institute of Standards and Technology

การดำเนินงานขององค์กร

เอไอเอสได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่หลากหลาย รวมทั้งได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการรักษาความปลอดภัยของบริการและข้อมูลของลูกค้า ได้แก่

การประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ เอไอเอสลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อร่วมศึกษาและจัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านไซเบอร์ของภาคธุรกิจโทรคมนาคม (Thai Telecommunication Computer Emergency Response Team: TTC CERT) ที่มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการประสานงาน การแบ่งปันข้อมูล การบริหารและจัดการเมื่อเกิดเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ ระหว่างหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศและหน่วยงานกำกับดูแล สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

  • มาตรฐาน ISO27001 Information Security Management System (ISMS) ด้านระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตั้งแต่ ปี 2558 และขยายขอบเขต มาตรฐาน ISO27001 ให้ครอบคลุมบริการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยคุกคามทางไซเบอร์ (CSOC as a service) ในปี 2563
  • มาตรฐาน CSA STAR (Cloud Security Alliance) Self-Assessment ด้านมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ ตั้งแต่ปี 2559
  • มาตรฐาน PCI DSS (Payment Card Industry Data Security Standard) ด้านมาตรฐานความปลอดภัยด้านข้อมูลของอุตสาหกรรมบัตรชำระเงิน ตั้งแต่ปี 2560 ครอบคลุมถึงร้านค้าและอยู่ระหว่างการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมไปยังผู้ให้บริการรับชำระเงิน

ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการการปฏิบัติงาน
  • ปรับปรุงกระบวนการ : นำเครื่องมือการปกป้องข้อมูลในองค์กรจาก Microsoft Office 365 มาใช้และยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยการเข้าใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านช่องทางจากภายนอกสำนักงาน และประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation) ในขั้นตอนการทำตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคาม พร้อมปรับปรุงกระบวนการเพื่อรับมือการโจมตีในรูปแบบใหม่ ๆ
  • เสริมความปลอดภัยของการปกป้องข้อมูล : ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ อัพเกรดระบบและพัฒนากระบวนการปฏิบัติการ โดยประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence และ Machine Learning) มาช่วยตรวจจับภัยคุกคามในเชิงรุกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
  • ศูนย์ปฏิบัติการรับมือและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ 24 x 7 (Cyber Security Operation Center: CSOC) : ในปี 2564 นี้ เอไอเอสได้ขยายบริการของศูนย์ปฏิบัติการดังกล่าวเพื่อให้บริการด้านการเฝ้าระวังภัยคุกคามต่อระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ลูกค้าองค์กร โดยขยายขอบเขตการรับรองมาตรฐาน ISO 27001 ที่มีอยู่ให้ครอบคลุมขอบเขตการให้บริการของ CSOC อีกด้วย

นอกจากนี้ พนักงานของ AIS ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์และฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้รับการฝึกอบรมและได้รับประกาศนียบัตรในด้านต่างๆ เพื่อให้ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐาน เช่น ด้าน Ethical hacking และ Penetration test การบริหารจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ (incident management) และ forensic รวมถึงการอบรมในด้านการบริหารความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

ตารางสรุปผลการดำเนินงาน

หัวข้อหน่วย2561256225632564ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนคำร้องเรียนที่ได้รับ ในการละเมิดความเป็นส่วนตัวและข้อมูลสูญหายคำร้องเรียนจากบุคคล หรือหน่วยงานทั่วไป 1กรณี1311245607คำร้องเรียนจากหน่วยยงานกำกับดูแลต่างๆกรณี47472320กรณีข้อมูลรั่วไหล ถูกขโมยหรือสูญหายกรณี0000ตำนวนคำร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจตามกฏหมาย 2กรณี28,27028,33424,45325,442ร้อยละของจำนวนคำร้องขอทั้งหมดร้อยละ--92%70%

1 ข้อมูลจํานวนคําร้องเรียนที่ได้รับในปี 2564 มีการจําแนกประเภทข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น จึงรายงานคําร้องเรียนที่ได้รับการตรวจสอบว่าสมเหตุสมผลเท่านั้น

2 บริษัทมีการให้ข้อมูลการใช้บริการของผู้ใช้บริการแก่หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ตามอํานาจหน้าที่ที่กฎหมายกําหนดไว้ ได้แก่ ศาลยุติธรรม สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นต้น

นโยบายที่เกี่ยวข้อง

นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรเกี่ยวกับความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การเก็บรักษา การเปิดเผยและการประมวลผลข้อมูลของลูกค้า

เอไอเอสได้กำหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลผู้ใช้บริการ เพื่อชี้แจงให้ผู้ใช้บริการเข้าใจถึงระเบียบและข้อปฏิบัติของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น จุดประสงค์ของการเก็บและการใช้งานข้อมูล เป็นต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita