เทคโนโลยีด้านพลังงาน ม. 5 สรุป

วิวัฒนาการเทคโนโลยีพลังงานมีขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ มาเป็นแหล่งพลังงานในอุตสาหกรรม พลังงานเชื้อเพลิงเกิดการผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นล้วนแต่เป็นพลังงานสิ้นเปลืองที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และคาดว่าเชื้อเพลิงเหล่านี้จะหมดไปในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานจึงได้พัฒนาขึ้น โดยคำนึงว่าต้องเป็นพลังงานชนิดอื่นที่สามารถนำกลับมาใช้หมุนเวียนได้โดยไม่ทำลายทรัพยากรและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด พลังงานหมุนเวียนเป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เรียกว่า “พลังงานทดแทน”

ประโยชน์ของเทคโนโลยีด้านพลังงาน

  1. พลังงานความร้อนใต้พิภพ – เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการสะสมอยู่ภายใต้ผิวโลก เช่นเดียวกับน้ำมันปิโตรเลียมแต่อยู่ในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำ ซึ่งน้ำร้อนจะถูกนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งนำไปประยุกต์ใช้ในการอบแห้ง ใช้ในห้องเย็นเพื่อรักษาอุณหภูมิพืชผลการเกษตร พลังงานความร้อนใต้พิภพยามปรากฏขึ้นมาบนผิวโลก จะเรียกว่า บ่อน้ำร้อน พุก๊าซ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวใช้ทำกายภาพบำบัดได้
  2. พลังงานแสงอาทิตย์ – เป็นพลังงานที่ใช้อย่างไม่มีสิ้นสุดและปราศจากมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยมี “เซลล์แสงอาทิตย์” เป็นสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่งถูกนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรง มีประสิทธิภาพเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึงร้อยละ 22 การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะมีตั้งแต่ขนาดเล็กตามบ้านเรือน บริษัท จนถึงขนาดใหญ่อย่างโรงไฟฟ้า
  3. พลังงานลม – เป็นพลังงานธรรมชาติไม่มีวันหมด นำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางโดยนำกังหันลมมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้เป็นกังหันสูบน้ำและยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อนได้
  4. พลังงานน้ำ – พื้นผิวโลกร้อยละ 70 ถูกปกคลุมด้วยน้ำ น้ำมีการเปลี่ยนสถานะ มีการหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา น้ำที่กำลังเคลื่อนที่มีกำลังสะสมอยู่มาก โดยใช้พลังงานน้ำไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า
  5. พลังงานเชื้อเพลิง – เป็นพลังงานที่มีต้นทุนการผลิตค่อนข้างต่ำกว่าพลังงานทั้งหมด เป็นเชื้อเพลิงที่มาจากชีวะ หรือชีวมวล สิ่งมีชีวิต หรือเศษเหลือทิ้งจากการเกษตร นำมาเผาให้ได้ความร้อนแล้วนำความร้อนนี้ไปปั่นไฟฟ้า หรือการนำชีวมวลจากมูลสัตว์มาหมักด้วยแบคทีเรียให้เกิดแก๊สชีวภาพ ที่มีองค์ประกอบของมีเทนกับคาร์บอนไดออกไซด์ นำไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้

การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีด้านพลังงานในปัจจุบันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือการใช้ไฟฟ้ามีประโยชน์ด้านการสื่อสาร การแพทย์ การวิทยาศาสตร์ การขนส่ง ฯลฯ ทั้งหมดต่างต้องพึ่งพาไฟฟ้าเป็นหลัก การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งให้ทุกคนใช้พลังงานอย่างระมัดระวังควบคู่กับการรักษาทรัพยากรบนโลกด้วย แม้ว่าจะเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ที่ทดแทนพลังงานเดิมก็ตาม แต่การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าสร้างสรรค์จะช่วยลดมลพิษให้กับโลกนำกลับมาใช้หมุนเวียนได้อย่างยั่งยืน

คีย์เวิร์ดยอดนิยมของ มัธยมปลาย

ค้นหาเนื้อหาที่ต้องการไม่เจอเหรอ? ลองค้นหาใน Q&A ดูสิ!

คำสำคัญ: พลังงาน

・ตรวจสอบความถูกต้องของการสะกดคำ
・ลองใช้คีย์เวิร์ดอื่น
・ค้นหาจากประเภทของสมุดโน้ตที่เผยแพร่ในหน้าบนสุด หรือจากอันดับรายสัปดาห์

พบ - เนื้อหาที่ตรงกันบน Q&A

วิวัฒนาการเทคโนโลยีด้านพลังงาน เริ่มต้นขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่17 ที่ได้มีการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

(conventional energy) มาใช้เป็นแหล่งพลังงานในอุตสาหกรรม พลังงานเชื้อเพลิงการจากการย่อยสลายของสิ่งมีชีวิต

 ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมาเป็นระยะเวลาหลายพันปี พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่รู้จักกันทั่วโลก ประกอบด้วย

 ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าสธรรมชาติ หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน อย่างไรก็ตาม เชื้อเพลิงฟอสซิลไม่สามารถตอบสนองต่ออัตราการเพิ่มขึ้น

ของความต้องการในการใช้พลังงานของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความเป็นไปได้ที่เชื้อเพลิงชนิดนี้จะหมดไปใน

คริสต์ศตวรรษที่21 ดั้งนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นอีกครั้งโดยมีเป้าหมายเพื่อแสวงหาแหล่ง

พลังงานชนิดอื่นๆ ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

 -----พลังงานหมุนเวียน(renewable energy) เป็นเทคโนยีพลังงานที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานคลื่น

พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ก๊าซชีวภาพ พลังงานชีวมวลและไบโอดีเซล

วิวัฒนาการการใช้พลังงานและสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย พลังงานแบ่งเป็น 2 ประเภท

1.พลังงานหมุนเวียน

2.พลังงานสิ้นเปลือง

พลังงานทดแทน แบ่งได้ 5 ประเภท

1.พลังงานลม

2.พลังงานแสงอาทิตย์

3.พลังงานน้ำ

4.พลังงานความร้อนใต้พิภพ

5.พลังงานชีวภาพ

การอนุรักษ์พลังงาน

1. การใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าโดยการสร้างค่านิยมและจิตใต้สำนึกการใช้พลังงาน

2.การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าจะต้องมีการวางแผนและควบคุมการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดมีการลดการสูญเสียพลังงานทุกขั้นตอน มีการตรวจสอบและดูแลการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา เพื่อลดการรั่วไหลของพลังงาน เป็นต้น

3.การใช้พลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และอื่น ๆ

4.การเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดผอมประหยัดไฟ เป็นต้น

5.การเพิ่มประสิทธิภาพเชื้อเพลิง เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทำให้เชื้อเพลิงให้พลังงานได้มากขึ้น

6.การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำวัสดุที่ชำรุดนำมาซ่อมใช้ใหม่ การลดการทิ้งขยะที่ไม่จำเป็นหรือการหมุนเวียนกลับมาผลิตใหม่ (Recycle)