สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย 2565

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 นายวัฒนพงษ์  คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)  กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สถานการณ์พลังงานไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวรวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ส่งผลให้การใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะการใช้ลิกไนต์ในภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นปรับตัวลดลงร้อยละ 0.8 จากการใช้ LNG ที่ลดลงในภาคการผลิตไฟฟ้า

“พลังงาน”เตรียมถกโรงกลั่น หลังค่ากลั่นน้ำมันพุ่งเป็น 5 บาท/ลิตร

“พลังงานนิวเคลียร์” จำเป็นต่อการลดภาวะโลกร้อนของเอเชีย?

EXIM BANK ให้เงินกู้ 2.2 พันล้านบาท กลุ่ม GUNKUL หนุนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน

สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย 2565

อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ครั้งที่แล้ว (ธันวาคม 2564) ครั้งนี้ได้มีการปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจลงเนื่องจากภาวการณ์ขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญลดลงและราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน และมาตรการคว่ำบาตรที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ

การคาดการณ์ความต้องการพลังงานขั้นต้น ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 2.034 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับปี 2564 ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศและการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับนโยบายเปิดประเทศของไทยและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ทั้งนี้คาดการณ์ว่าการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากราคาตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซีย - ยูเครน

โดยการใช้น้ำมัน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาดส่งผลให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมเข้าสู่ภาวะปกติ ในขณะที่การใช้ก๊าซธรรมชาติ คาดว่าจะลดลงร้อยละ 9.5 เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จึงมีการใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้าเพื่อทดแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยรัฐบาลได้มีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลที่ใช้ผลิตไฟฟ้าเหลือศูนย์จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2565 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ อย่างไรก็ตามในส่วนของก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ได้มีมาตรการตรึงราคาขายปลีกอยู่ที่ 15.59 บาท/กิโลกรัม (เริ่มตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564
ถึง 15 มิถุนายน 2565) รวมถึงมีมาตรการ “เอ็นจีวีเพื่อลมหายใจเดียวกัน” คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ 13.62 บาท/กิโลกรัม

สำหรับการใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8จากการใช้ถ่านหินนำเข้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้ในภาคอุตสาหกรรม ส่วนการใช้ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้า
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ตามปริมาณน้ำฝนและ  น้ำในเขื่อนที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งการนำเข้าไฟฟ้าจาก สปป.ลาว

พร้อมกันนี้ นายวัฒนพงษ์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ยังได้รายงานผลการดำเนินงานเดินหน้าขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของไทยว่า ที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV ชาติ) ซึ่งมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน

สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย 2565

เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย 30@30 คือ การตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก และเป็นกลไกสำคัญในการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ดังนั้น ภาครัฐจึงได้ออกมาตรการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี เพื่อให้ราคายานยนต์ไฟฟ้าใกล้เคียงกับรถยนต์สันดาป (ICE) พร้อมทั้งกระทรวงพลังงานจะเร่งดำเนินการส่งเสริมการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) ในพื้นที่สาธารณะให้เพียงพอกับยานยนต์ไฟฟ้า โดยปัจจุบันมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าจำนวน 944 แห่งทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565) สำหรับยอดจำนวนจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าถึงเดือนเมษายน ปี 2565 สะสมรวมทั้งสิ้น 5,614 คัน

ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอมาตรการส่งเสริมเพิ่มเติมได้แก่ (1) มาตรการสนับสนุนเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ในเรื่องอัตราค่าไฟฟ้า Low Priority สำหรับผู้ประกอบการสถานีอัดประจุไฟฟ้าต่อเนื่องซึ่งที่ประชุมบอร์ด EV ชาติ เห็นชอบการขยายอัตราค่าไฟฟ้าถึงปี พ.ศ. 2568 รวมถึงด้านสิทธิและประโยชน์สำหรับกิจการสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานพาหนะไฟฟ้า และได้มอบหมาย BOI พิจารณา ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้มีการจัดทำ Platform กลาง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงมาตรการและวิธีการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่กลุ่มผู้อยู่อาศัยในอาคารชุด คอนโดมิเนียม (2) มาตรการสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ด้านสิทธิประโยชน์การลงทุนและการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต ที่ประชุมมอบหมายให้ BOI และกรมสรรพสามิตพิจารณา

“โดยในขณะนี้ อยู่ระหว่างเตรียมเสนอมาตรการส่งเสริมเพิ่มเติมได้แก่ มาตรการสนับสนุนเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และมาตรการสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าทั้งด้านสิทธิประโยชน์การลงทุนและการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต” นายวัฒนพงษ์กล่าว

สนพ. คาดไทยจะใช้พลังงานเพิ่ม 2.7% ในปีหน้า ด้วยการเดินทางและลงทุนที่สูงขึ้น แต่ยังต่ำกว่าเมื่อเทียบกับปี 65 ที่บวกถึง 3.2% และ 9 เดือนแรกใช้พลังงานขั้นต้นเพิ่ม 3.0% จากเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนความคืบหน้าแผน PDP 2022 คาดว่าจะเสนอให้กระทรวงพลังงานภายในเดือนนี้

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์พลังงานว่า แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานของประเทศปี 2566 จะมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 2.7% หรือที่ 2,111 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน จากความต้องการเดินทางที่มีแนวโน้มกลับมาเป็นปกติมากขึ้นทั้งการเดินทางภายในประเทศและการเดินทางระหว่างประเทศ รวมทั้งการขยายตัวของการลงทุนทั้งการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ

 

โดยแบ่งเป็นการใช้น้ำมันคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.2% ก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 1.8% การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.1% และการใช้ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.4% ส่วนความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด (Peak) จะอยู่ที่ 33,842 MW หรือเพิ่ม 2% 

 

ทว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทย และแนวโน้มความต้องการพลังงานในปี 2566 ยังคงมีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศหลักที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและภาคการส่งออก สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซียและยูเครน และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและอนุญาตให้มีการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศจีน (ZERO COVID-19) จึงยังต้องติดตามวิกฤติราคาพลังงานอย่างใกล้ชิดเพื่อหาแนวทางและมาตรการในการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติพลังงาน

 

สำหรับความคืบหน้าของแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับใหม่ (PDP 2022) ระหว่างปี 2565-2580 นั้น นายวัฒนพงษ์เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนพ. จัดเตรียมแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำเสนอต่อกระทรวงพลังงงานภายในเดือนนี้ ทั้งนี้ได้มีการปรับรายละเอียดเรื่องพลังงานสะอาดอยู่ เช่นประเด็นเรื่องราคาที่พยายามทำให้ต้นทุนราคาใกล้เคียง 

 

นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มเติมรายละเอียดในส่วนของ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) อีกว่า จะมีการนำเทคโนโลยีอื่นมาผสมผสานด้วย เช่น ในส่วนของโรงก๊าซธรรมชาติ ที่จะพิจารณานำบลูไฮโดรเจนมาใช้ร่วมด้วยที่ราว 20% ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังปี 2030 ขึ้นไป หรือในช่วง 10 ปีหลังของแผน

 

"เชื่อว่ามีอัตราส่วนการใช้พลังงานทางเลือกถึง 50%  แน่นอนสำหรับแผน PDP ล่าสุดที่กำลังทำอยู่"

 

นายวัฒนพงษ์ ยังได้คาดการณ์ตัวเลขการใช้พลังงานปี 2565 อีกว่าจะมีการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการผลิตภายในประเทศที่ลดลง และผลกระทบจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซียและยูเครน

 

สำหรับการใช้น้ำมันคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 14.9% การใช้ก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะลดลง 9.1% การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7.1% ส่วนการใช้ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้า คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 14.7%


"4 เดือนข้างหน้าราคาพลังงานจะยังสูง ซึ่ง จริง ๆ ตอนนี้เมืองไทยยังอยู่ในช่วงวิกฤติพลังงานอยู่"

 

ส่วนสถานการณ์พลังงานในช่วง 9 เดือนของปี 2565 พบว่าการใช้พลังงานขั้นต้นเพิ่มขึ้น 3.0% จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น รวมถึงมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 ที่มากขึ้น

 

ทั้งนี้ ในส่วนของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น 11.4% ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุกประเภทพลังงาน โดยเฉพาะการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในส่วนของน้ำมันเครื่องบินมีการใช้เพิ่มขึ้นถึง 80.1% จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการ สำหรับการใช้ไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นในเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ

 

โดยเฉพาะสาขาธุรกิจ เพิ่มขึ้น 11.6% ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งการที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้บุคลากรกลับไปทำงานที่สำนักงานตามปกติหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง ซึ่งสถานการณ์พลังงานรายเชื้อเพลิงในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 สรุปได้ดังนี้

 

ด้านการใช้น้ำมันสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น 16.1% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล LPG (ไม่รวมที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) และน้ำมันเบนซิน 80.1% 18.9% 18.5% 7.6% และ 5.4% ตามลำดับ ส่วนการใช้น้ำมันก๊าด ลดลง 8.1%

 

โดยการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 18.5% อยู่ที่ระดับ 72 ล้านลิตรต่อวัน การใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล เพิ่มขึ้น 5.4% อยู่ที่ระดับ 30 ล้านลิตรต่อวัน สำหรับการใช้น้ำมันเครื่องบิน เพิ่มขึ้น 80.1% อยู่ที่ระดับ 8 ล้านลิตรต่อวัน ด้านน้ำมันเตา เพิ่มขึ้น 18.9% อยู่ที่ระดับ 6 ล้านลิตรต่อวัน โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้ในภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรม

 

สำหรับการใช้ LPG โพรเพน และบิวเทน เพิ่มขึ้น 8.0% อยู่ที่ระดับ 18.2 พันตันต่อวัน โดยการใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งมีสัดส่วนการใช้สูงสุดคิดเป็น 45% มีการใช้เพิ่มขึ้น 8.6% รองลงมาภาคครัวเรือนซึ่งมีสัดส่วนการใช้คิดเป็น 31% มีการใช้เพิ่มขึ้น 1.8% ภาคขนส่งมีสัดส่วน 13% มีการใช้เพิ่มขึ้น 37.8% ภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วน 10% มีการใช้เพิ่มขึ้น 3.1% ในขณะที่การใช้เอง ซึ่งมีสัดส่วน 1%  มีการใช้ลดลง 44.8%

 

ขณะที่ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซโซลีนธรรมชาติ (NGL) ลดลง 5.3% อยู่ที่ระดับ 4,246 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน โดยลดลงจากการใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และการใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม 15.4% และ 5.7% ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่การใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 6.0% และการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ (NGV) เพิ่มขึ้น 9.4% 


ส่วนการใช้ ถ่านหิน/ลิกไนต์ เพิ่มขึ้น 8.9% อยู่ที่ระดับ 15,041 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (KTOE) จากการใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น 10.9% และการใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 3.9% ส่วนการใช้ลิกไนต์ ลดลง 1.4% ทั้งนี้พบว่า 95% ของการใช้ลิกไนต์เป็นการใช้ในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ส่วนที่เหลือ 5% นำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม

 

ด้านการใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 4.4% มีการใช้รวมทั้งสิ้น 149,972 กิกะวัตต์ชั่วโมง โดยการใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ 45% อยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีการใช้เพิ่มขึ้น 3.9% จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวมากขึ้นทำให้เกิดการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้น รองลงมา คือ การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจ มีสัดส่วน 23% และมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 11.6% ซึ่งเป็นผลจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้น

 

ทั้งนี้ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ 3 การไฟฟ้าของปี 2565 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 เวลา 14:30 น. อยู่ที่ระดับ 33,177 เมกกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในระบบ 3 การไฟฟ้าของปีก่อน

 

"การใช้ไฟฟ้าโดยรวมของปี 2565 เริ่มสูงกว่าช่วงก่อนโควิดระบาดแล้ว ซึ่งการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคครัวเรือนน้อยลง เพราะการทำงานที่บ้านหรือ WFH ลดลง"

ประเทศไทยใช้พลังงานใดมากที่สุด 2565

น ้ามัน 798 39% ก๊าซธรรมชาติ 777 38% ถ่านหินน าเข้า 330 16% ลิกไนต์ 71 3% พลังน ้า/ไฟฟ้า นาเข้า 75 4% 2565*

สถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในช่วงเดือนแรกของปี 2564 มีปริมาณ 6,304 พันตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.0 คิดเป็นมูลค่ากว่า 76,437 ล้านบาท การใช้พลังงานยังคงเพิ่มขึ้น ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยที่ น้ำมัน สำเร็จรูป ยังคงเป็นพลังงาน ที่ใช้มากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 45.0 ของการใช้พลังงาน ...

ภาคเศรษฐกิจใดของประเทศไทยที่ใช้พลังงานมากที่สุด

ในภาคการบริโภค ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคที่มีการใช้พลังงานมากที่สุดร้อยละ 36.4 ของการใช้ พลังงานทั้งหมด รองลงมาคือ ภาคการขนส่ง ร้อยละ 35.8 ภาคครัวเรือนและธุรกิจการค้า ร้อยละ 22.5 และภาค เกษตร ร้อยละ 5.3.

การใช้พลังงานในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

พลังงานส่วนใหญ่ที่เราใช้ในปัจจุบันมาจากน้ำมันและถ่านหิน และมาจากก๊าซธรรมชาติมากขึ้น ไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้ให้พลังงาน ความร้อน และความเย็นกับครัวเรือนและสถานที่ทำงาน รวมถึงเป็นเชื้อเพลิงของระบบการขนส่งที่พาเราไปทำงานหรือโรงเรียนหรือพาเราไปยังจุดหมายปลายทางในวันหยุดพักผ่อน พลังงานเหล่านี้ช่วยให้อุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อการ ...