องค์ประกอบ ของดนตรีไทย ป. 6

ความรู้เรื่ององค์ประกอบของดนตรีและศัพท์สังคีตจะทำให้เราเข้าใจบทเพลงง่ายขึ้น จึงควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

จุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง องค์ประกอบดนตรีและศัพท์สังคีต ( 5 คะแนน )

ศ 2.1 ป.6/1   บรรยายเพลงที่ฟัง โดยอาศัยองค์ประกอบดนตรีและศัพท์สังคีต  

สาระการเรียนรู้ เรื่อง องค์ประกอบดนตรีและศัพท์สังคีต

  1. องค์ประกอบดนตรี
  2. ศัพท์สังคีต

แบบทดสอบ เรื่อง องค์ประกอบดนตรีและศัพท์สังคีต

Related Posts:

  • องค์ประกอบ ของดนตรีไทย ป. 6
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง…
  • องค์ประกอบ ของดนตรีไทย ป. 6
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี
  • องค์ประกอบ ของดนตรีไทย ป. 6
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง หลักการร้องเพลง
  • องค์ประกอบ ของดนตรีไทย ป. 6
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง…
  • องค์ประกอบ ของดนตรีไทย ป. 6
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง วิวัฒนาการดนตรีไทย
  • องค์ประกอบ ของดนตรีไทย ป. 6
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์

องค์ประกอบ ของดนตรีไทย ป. 6

องค์ประกอบ ของดนตรีไทย ป. 6

Presentation Transcript

  • 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี : ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
  • 2. หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ องค์ประกอบดนตรี และศัพท์สังคีต
  • 3. • บรรยายเพลงที่ฟัง โดยอาศัยองค์ประกอบดนตรีและ ศัพท์สังคีต (ศ ๒.๑ ป.๖/๑)
  • 4.จากภาพนักเรียนคิดว่ามีสิ่งใดบ้างที่ทำให้บทเพลงไพเราะและสมบูรณ์
  • 5. องค์ประกอบดนตรี หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ของดนตรีที่นำมาประกอบกันเป็นบทเพลง ทำให้บทเพลงมีความสมบูรณ์ ไพเราะน่าฟัง องค์ประกอบดนตรี มีดังนี้ ๑. องค์ประกอบดนตรี
  • 6. ๑.๑ จังหวะ จังหวะในเพลงนั้นเป็นส่วนย่อยของทำนองเพลง ซึ่งแบ่งเป็นระยะเท่า ๆ กัน และมีความสม่ำเสมอ จังหวะยังเป็นสิ่งที่กำหนดความช้า-เร็วของบทเพลง จังหวะแบ่งออกเป็น ๓ แบบ ดังนี้ ๑) จังหวะพื้นฐาน คือ จังหวะที่อยู่ ในใจของผู้บรรเลงและผู้ขับร้อง โดยไม่ต้องมีเครื่องให้สัญญาณจังหวะใด ๆ ๒) จังหวะฉิ่ง คือ การใช้ฉิ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ เสียง “ฉิ่ง” เป็นจังหวะเบา เสียง “ฉับ” เป็นจังหวะหนัก ๓) จังหวะหน้าทับ คือ การใช้ทำนองเครื่องหนังเป็นเครื่องกำหนดจังหวะ โดยมากนิยมใช้หน้าทับปรบไก่เป็นเกณฑ์นับจังหวะ เช่น ตีหน้าทับปรบไก่ ๑ เที่ยว นับเป็น ๑ จังหวะ
  • 7.เครื่องดนตรีที่ใช้ตีประกอบจังหวะ
  • 8.๑.๒ ทำนอง ทำนอง คือ เสียงที่มีระดับสูง-ตํ่า สั้น-ยาว ที่นำมาผสมผสานกันให้สอดคล้องกับจังหวะของเพลง ทำนองเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ฟังสามารถจดจำเพลงได้ และเข้าใจเพลงมากขึ้น
  • 9. ๑.๓ เสียง เสียง คือ สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยหู เสียงเกิดจากการสั่นสะท้อนของแหล่งกำเนิดเสียง เสียงเปลี่ยนแปลงได้เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงมีการสั่นที่แตกต่างกัน เสียงมีสมบัติ ดังนี้
  • 10.๑.๔ การประสานเสียง การประสานเสียง คือ การเกิดเสียงพร้อมกัน ๒ เสียงขึ้นไปตามลีลาของเพลง ลักษณะของการประสานเสียง มีดังนี้ ๑) การประสานเสียงโดยการบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดเดียวกัน คือ การบรรเลงทำนอง หลักเสียงหนึ่ง และ บรรเลงทำนองประสาน อีกเสียงหนึ่งควบคู่กันไป จะใช้กับเครื่องดนตรี ประเภทที่ดำเนินทำนอง เช่น ระนาด ฆ้อง ขิม
  • 11. ๒) การประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน คือ การบรรเลงด้วยการใช้เครื่องดนตรีต่างชนิดกัน และนำมาดัดแปลงจังหวะทำนองใหม่ให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีชนิดนั้น จนเกิดการบรรเลงที่มีจังหวะและทำนองเดียวกันมีการบรรเลงพร้อมกัน ๓) การประสานเสียงโดยการแปรทำนอง คือ การบรรเลงที่มีการดัดแปลง พลิกแพลงทำนองของนักดนตรี ทำให้เกิดการประสานเสียงขึ้น แต่จะถือทำนองหลักเป็นสำคัญ
  • 12. ๑.๕ พื้นผิวของดนตรี พื้นผิวของดนตรี คือ ลักษณะแนวเสียงต่าง ๆ ในเพลง ทั้งเสียงที่เกิดขึ้น ในแนวตั้งและแนวนอนตามหลักของดนตรีไทย ๑.๖ คีตลักษณ์ คีตลักษณ์ คือ ลักษณะหรือรูปแบบโครงสร้างของเพลงที่กำหนดขึ้นโดยผู้ประพันธ์เพลง
  • 13.๒. ศัพท์สังคีต ศัพท์สังคีต คือ คำศัพท์เฉพาะที่ใช้กับวิชาดนตรีและการขับร้องเพื่อให้ทราบรายละเอียดในสิ่งที่เรียนได้ง่ายขึ้น
  • 14.๒. ศัพท์สังคีต
  • 15.๒. ศัพท์สังคีต
  • 16.องค์ประกอบดนตรีและศัพท์สังคีต
  • 17. • บรรยายเพลงที่ฟัง โดยอาศัยองค์ประกอบดนตรีและ ศัพท์สังคีต (ศ ๒.๑ ป.๖/๑)
  • 18.เฉลย ๑. ข้อใดคือองค์ประกอบดนตรีทั้งหมด ๑ คีตลักษณ์ เสียง ๒ ทำนอง บทเพลง ๓ จังหวะ ผู้บรรเลงดนตรี ๔ พื้นผิวของดนตรี เวทีแสดงดนตรี
  • 19.เฉลย ๒. เครื่องดนตรีชนิดใดใช้ประกอบจังหวะหน้าทับ ๑ ฆ้องวง ๒ จะเข้ ๓ โทน ๔ ฉิ่ง
  • 20.เฉลย ๓. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของเสียง ๑ ระดับเสียง ๒ คุณภาพของเสียง ๓ การประสานเสียง ๔ ความเข้มของเสียง
  • 21.เฉลย ๔. การแยกเสียงของเครื่องดนตรีที่ได้ยินจะต้อง พิจารณาจากสิ่งใด ๑ ระดับเสียง ๒ คุณภาพของเสียง ๓ การประสานเสียง ๔ ความเข้มของเสียง
  • 22.เฉลย ๕. รูปแบบโครงสร้างของบทเพลงคือองค์ประกอบ ดนตรีข้อใด ๑ ทำนอง ๒ คีตลักษณ์ ๓ พื้นผิวของดนตรี ๔ การประสานเสียง
  • 23.เฉลย ๖. “นักร้องคนนี้มีความเข้มของเสียงที่ดี” จากข้อความ หมายถึงเรื่องใด ๑ ระดับสูง-ต่ำของเสียง ๒ ความสั้น-ยาวของเสียง ๓ แหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ ๔ ความหนัก-เบาของเสียง
  • 24.เฉลย ๗. การตีระนาดโดยใช้มือตีสลับกันถี่ ๆ เรียกว่าอะไร ๑ กรอ ๒ กวาด ๓ เดี่ยว ๔ เอื้อน
  • 25.เฉลย ๘. ศัพท์สังคีตข้อใดใช้ร้องในเพลงที่มีอารมณ์ โศกเศร้า ๑ ขับ ๒ เถา ๓ ทอด ๔ ครวญ
  • 26.เฉลย ๙. ข้อใดกล่าวถึงตับได้ถูกต้อง ๑ การนำเพลงหลาย ๆ เพลงมาร้อง และบรรเลงติดต่อกัน ๒ การนำนักร้องหลาย ๆ คนมาร้องเพลง หลาย ๆ เพลง ๓ การนำเพลงหลาย ๆ เพลงมาร้องพร้อม ๆ กัน ๔ การนำเพลงเพลงเดียวมาร้องติดต่อกัน
  • 27.เฉลย ๑๐. องค์ประกอบดนตรีมีความสำคัญอย่างไร ๑ ทำให้บทเพลงมีความละเอียด ๒ ทำให้ผู้บรรเลงเล่นดนตรีเก่งขึ้น ๓ ทำให้บทเพลงสมบูรณ์ ไพเราะน่าฟัง ๔ ทำให้เนื้อเพลงมีความหมายแปลกใหม่
  • 28.ต่อข้อ ๒ เฉลย ๑. เพราะองค์ประกอบดนตรีประกอบด้วยจังหวะ ทำนอง เสียง การประสานเสียง พื้นผิวของดนตรี และคีตลักษณ์ ๑. ข้อใดคือองค์ประกอบดนตรีทั้งหมด ๑ คีตลักษณ์ เสียง ๒ ทำนอง บทเพลง ๓ จังหวะ ผู้บรรเลงดนตรี ๔ พื้นผิวของดนตรี เวทีแสดงดนตรี เฉลย
  • 29.ต่อข้อ ๓ ๒. เครื่องดนตรีชนิดใดใช้ประกอบจังหวะหน้าทับ ๑ ฆ้องวง ๒ จะเข้ ๓ โทน ๔ ฉิ่ง เฉลย ๓. เพราะเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะ หน้าทับ เช่น โทน ตะโพน รำมะนา กลองแขก ฉิ่งใช้ประกอบจังหวะ ฆ้องวงและจะเข้เป็นเครื่องดำเนิน ทำนอง
  • 30.ต่อข้อ ๔ ๓. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของเสียง ๑ ระดับเสียง ๒ คุณภาพของเสียง ๓ การประสานเสียง ๔ ความเข้มของเสียง เฉลย ๓ เพราะการประสานเสียงเป็นการเกิดเสียง พร้อมกัน ๒ เสียงขึ้นไปตามลีลาของเพลงไม่ใช่คุณสมบัติของเสียง เพราะคุณสมบัติของเสียง ได้แก่ระดับเสียง ความสั้น-ยาวของเสียง ความเข้มของเสียงและคุณภาพของเสียง
  • 31.ต่อข้อ ๕ ๔. การแยกเสียงของเครื่องดนตรีที่ได้ยินจะต้อง พิจารณาจากสิ่งใด ๑ ระดับเสียง ๒ คุณภาพของเสียง ๓ การประสานเสียง ๔ ความเข้มของเสียง เฉลย ๒ เพราะคุณภาพของเสียงเกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดลักษณะของคุณภาพเสียงที่ทำให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะเสียงของเครื่องดนตรีได้
  • 32.ต่อข้อ ๖ ๕. รูปแบบโครงสร้างของบทเพลงคือองค์ประกอบ ดนตรีข้อใด ๑ ทำนอง ๒ คีตลักษณ์ ๓ พื้นผิวของดนตรี ๔ การประสานเสียง เฉลย ๒ เพราะคีตลักษณ์เป็นรูปแบบโครงสร้างของบทเพลงที่กำหนดขึ้นโดยผู้ประพันธ์เพลง
  • 33.ต่อข้อ ๗ ๖. “นักร้องคนนี้มีความเข้มของเสียงที่ดี” จากข้อความ หมายถึงเรื่องใด ๑ ระดับสูง-ต่ำของเสียง ๒ ความสั้น-ยาวของเสียง ๓ แหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ ๔ ความหนัก-เบาของเสียง เฉลย ๔ เพราะความเข้มของเสียง คือ ความหนัก-เบาของเสียงที่ทำให้บทเพลงมีทำนอง จังหวะสมบูรณ์
  • 34.ต่อข้อ ๘ ๗. การตีระนาดโดยใช้มือตีสลับกันถี่ ๆ เรียกว่าอะไร ๑ กรอ ๒ กวาด ๓ เดี่ยว ๔ เอื้อน เฉลย ๑ เพราะการกรอเป็นการบรรเลง เครื่องดนตรีประเภทตีโดยใช้ ๒ มือ ตีสลับกันถี่ ๆ เป็นการรัวเสียงเดียว
  • 35.ต่อข้อ ๙ ๘. ศัพท์สังคีตข้อใดใช้ร้องในเพลงที่มีอารมณ์ โศกเศร้า ๑ ขับ ๒ เถา ๓ ทอด ๔ ครวญ เฉลย ๔ เพราะการครวญจะใช้ร้องสอดแทรกเสียงเอื้อนยาว ๆ ใช้กับเพลง ที่มีอารมณ์โศกเศร้า
  • 36.ต่อข้อ ๑๐ เฉลย ๑ เพราะตับเป็นการนำเพลงหลาย ๆ เพลงมาร้องและบรรเลงติดต่อกัน ๙. ข้อใดกล่าวถึงตับได้ถูกต้อง ๑ การนำเพลงหลาย ๆ เพลงมาร้อง และบรรเลงติดต่อกัน ๒ การนำนักร้องหลาย ๆ คนมาร้องเพลง หลาย ๆ เพลง ๓ การนำเพลงหลาย ๆ เพลงมาร้องพร้อม ๆ กัน ๔ การนำเพลงเพลงเดียวมาร้องติดต่อกัน
  • 37.ไปหน้าแรก เฉลย ๓ เพราะองค์ประกอบดนตรี เป็นสิ่งที่ทำให้บทเพลงมีความสมบูรณ์ มีความไพเราะ น่าสนใจ ๑๐. องค์ประกอบดนตรีมีความสำคัญอย่างไร ๑ ทำให้บทเพลงมีความละเอียด ๒ ทำให้ผู้บรรเลงเล่นดนตรีเก่งขึ้น ๓ ทำให้บทเพลงสมบูรณ์ ไพเราะน่าฟัง ๔ ทำให้เนื้อเพลงมีความหมายแปลกใหม่