วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

    หนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหาประกอบไปด้วยการศึกษาและปฏิบัติงานเกี่ยวกับ "หลักความปลอดภัยในปฏิบัติงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์" แหล่งกำเหนิดไฟฟ้า กฏของโอห์ม พลังงานไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง กฏควบคุมมอเตอร์เบื้องต้น อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าและการต่อสายดิน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ R L C หม้อแปลงไฟฟ้า รีเลย์ ไมโครโฟน ลำโพง อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ การบัดกรี การใช้มัลติมอเตอร์ เครื่องกำเหนิดสัญญาณ ออสซิลโลสโคป การประกอบวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น เหมาะสำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา กลุ่มสมรรถนะรายวิชาพื้นฐาน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ตรงตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

žวัตถุทั่วไปมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า เมื่อได้รับแรงจากนอก จะส่งผลให้อิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ภายในวัตถุเคลื่อนที่อย่างรุนแรงจนจนหลุดพ้นแรงยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสของอะตอม ทำให้วัตถุนั้นมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นบวก ส่วนวัตถุที่รับอิเล็กตรอนดังกล่าวจะมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ

วงจรไฟฟ้า คือ ทางเดินของไฟฟ้าเป็นวง ไฟฟ้าจะไหลไปตามตัวนำหรือสายไฟจนกระทั่งไหลกลับตามสายมายัง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นวงครบรอบ คือ ออกจากเครื่องกำเนิดแล้วกลับมายังเครื่องกำเนิดอีกครั้งหนึ่ง จนครบ 1 เที่ยว เรียกว่า 1 วงจร หรือ 1 Cycle

žวงจรไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • žวงจรปิด (Closed Circuit) จากรูปจะเห็น กระแสไฟฟ้าไหลออกจากแหล่งกำเนิด ผ่านไปตามสายไฟ แล้วผ่าน สวิทช์ไฟซี่งแตะกันอยู่ (ภาษาพูดว่าเปิดไฟ) แล้วกระแสไฟฟ้าไหลต่อไปผ่านดวงไฟ แล้วไหลกลับมาที่แหล่งกำเนิดอีกจะ เห็นได้ว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ครบวงจร หลอดไฟจึงติด
  • žวงจรเปิด (Open Circuit) ถ้าดูตามรูป วงจรเปิด ไฟจะไม่ติดเพราะว่า ไฟออกจากแหล่งกำเนิดก็จะไหลไปตาม สายพอไปถึงสวิทช์ซึ่งเปิดห่างออกจากกัน (ภาษาพูดว่าปิดสวิทช์) ไฟฟ้าก็จะผ่านไปไม่ได้ กระแสไฟฟ้าไม่สามารถจะไหล ผ่านให้ครบวงจรได้

วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วนคือ 

  • žแหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่น แบบเตอรี่
  • žตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • žเครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น ซี่งจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด
  • žสะพานไฟ (Cut out) หรือสวิทช์ (Switch) เป็นตัวตัดและต่อกระแสไฟฟ้า

ž   การแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นโดยการต่อแบตเตอรี่ต่อเข้ากับหลอดไฟ หลอดไฟฟ้าสว่างได้เพราะว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจรไฟฟ้าและเมื่อหลอดไฟฟ้าดับก็เพราะว่ากระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจร เนื่องจากสวิตซ์เปิดวงจรไฟฟ้าอยู่นั่นเอง การต่อวงจรไฟฟ้ากระแสตรงต้องต่อขั้วไฟให้ถูกต้องเพราะอุปกรณ์ในวงจรดังกล่าวจะมีขั้วไฟดังแสดงในรูป

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

  การต่อวงจรไฟฟ้ากระแสสลับจะต้องต่ออุปกรณ์ได้โดยไม่คำนึงถึงขั้วไฟ 

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

  • โลหะ
  • สารละลายของกรดเกลือ กรดกำมะถัน, น้ำเกลือ

ฉนวนไฟฟ้า

ความต้านทานมีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohm ใช้สัญลักษณ์  W) ความต้านทาน1 โอห์มคือ ความต้านทานของวัตถุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ โดยมีแรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์

ตัวต้านทาน

ตัวต้านทาน คืออุปกรณ์ต้านทานการไหลไฟฟ้าทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ โดยทั่วไป ตัวต้านทานจะมีอยู่หลายแบบ แตกต่างกันตามขนาดรูปร่าง ตามแต่อัตราทนกำลังไฟฟ้า และตามค่าของมัน ซึ่งค่าของความ ต้านทาน จะมีหน่วยเป็นโอห์ม (ohm) ค่าความต้านทานนี้ในตัวต้านทานบางแบบจะพิมพ์ลงบนตัวมันเลย และก็มีบางแบบเช่นกันที่จะ บอกค่าความต้านทานมาเป็นแถบสี

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

žตัวต้านทาน เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวหนึ่งที่ ทำหน้าที่จำกัดปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจรหรือในส่วนของวงจร เพราะเมื่อต่อความต้านทานในวงจร ค่ากระแสไฟฟ้าจะลดลง ในการต่อตัวต้านทานในวงจรไม่ต้องคำนึงถึงขั้วหรือปลายของตัวต้านทาน
ตัวต้านทานแบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ
     1. ตัวต้านทานคงที่  เป็นตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานไม่เปลี่ยนแปลง
ผู้ใช้สามารถอ่านค่าความต้านทานได้จากแถบสีที่คาดรอบตัวต้านทาน
     2. ตัวต้านทานแปรค่าได้  เป็นตัวต้านทานอีกชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าความ
ต้านทานได้โดยการหมุนหรือเลื่อนปุ่มปรับค่าเพื่อเพิ่มหรือลดค่าความต้านทานที่ต้องการ

วิธีวัดแรงดันไฟฟ้า

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

  • žการต่อแบบอนุกรม
  • žสูตรคำนวณ

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

วิธีวัดกระแสไฟฟ้า

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

ตัวเก็บประจุ หรือ ตัวเก็บอิเล็กตรอน(Capacitor)
     ตัวเก็บประจุมีหลายชนิดด้วยกันแต่ทำหน้าที่เหมือนกันคือเก็บประจุ ค่าความจุของตัวเก็บประจุใช้หน่วยเป็น ฟารัด (farad ) ใช้สัญลักษณ์ F

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

หากจะเปรียบการทำงานของตัวเก็บประจุกับสปริง ขณะเรายืดสปริงออกนั้นหมายถึง เรากำลังให้พลังงานกับสปริง และถ้าปล่อยมือ สปริงก็จะหดตัวกลับที่เดิม ทำให้ก้อนหินถูกดีดออกไป ดังรูป เปรียบเทียบการเก็บประจุและการปล่อยมือให้สปริงหดตัวกับการคายประจุ ของตัวเก็บประจุ

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

การเก็บประจุก็คือ การเก็บอิเล็กตรอนไว้ที่แผ่นเพลตของตัวเก็บประจุนั่นเอง ซึ่งอธิบายโดยละเอียดดังรูป เมื่อนำแบตเตอรี่อื่นๆ ต่อกับตัวเก็บประจุ อิเล็กตรอนจากขั้วลบของแบตเตอรี่ จะเข้าไปออกันที่แผ่นเพลต ทำให้เกิดประจุลบขึ้นและยังส่งสนามไฟฟ้าไป ผลักอิเล็กตรอนของแผ่นเพลตตรงข้าม (เหมือนกับนำแผ่นแม่เหล็กที่มีขั้ว เหมือนกันมาใกล้กันมันก็จะผลักกัน) ซึ่งโดยปกติในแผ่นเพลตจะมี ประจุเป็น + และ - ปะปนกันอยู่ เมื่ออิเล็กตรอนจากแผ่นเพลตนี้ถูก ผลักให้หลุดออกไปแล้วจึงเหลือประจุบวกมากกว่าประจุลบ ยิ่งอิเล็กตรอนถูกผลักออกไปมากเท่าไร แผ่นเพลตนั้นก็จะเป็นบวกมากขึ้นเท่านั้น (เมื่อเทียบกับอีกด้าน)

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

ตัวเก็บประจุที่ถูกประจุแล้ว ถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "การคายประจุ"

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

การอ่านค่าโดยตัวเก็บประจุ

  การอ่านค่าความจุในลักษณะนี้จำเป็นจะต้องอาศัยเทคนิคเล็กน้อยในรูป สังเกตได้ว่าค่าของตัวเก็บประจุที่บอกเป็นรหัส (ตัวเลข) สองหลักแรกให้คงไว้และหลักที่สามเป็นจำนวนศูนย์ที่นำมาต่อท้ายเลขสองหลักแรก เช่น 101 ก็จะเท่ากับ 100 ส่วนหน่วยที่ได้จาก การอ่านค่าวิธีนี้คือพิโกฟารัด เพราะฉะนั้นค่าที่ได้จึงเท่ากับ 100 พิโกฟารัดนั่นเองส่วนค่าผิดพลาดถูกบอกในรูปของอักษรแทนเช่น ตัว K มีค่าผิดพลาดเท่ากับ + - 10% ดังแสดงไว้ในรูป

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

การต่อตัวเก็บประจุแบบอนุกรม
- อัตราทนแรงดันไฟฟ้ามากขึ้น
- ผลรวมค่าความจุลดลง

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

   1  = 1  + 1 + 1 …+1
   Cs     C1     C2  C3… Cn

การต่อตัวเก็บประจุแบบขนาน
- อัตราทนแรงดันไฟฟ้าเท่ากัน
- ผลรวมค่าความจุเท่ากับผลรวม
  ของค่าความจุตัวเก็บประจุ


วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

Cp =   C1  +   C2+  C3+… +Cn

ไดโอดหรือไดโอดเปล่งแสงหรือ LED

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

ไดโอดหรือไดโอดเปล่งแสงหรือ LED
     ไดโอดเปล่งแสงทำหน้าที่เหมือนหลอดไฟฟ้าคือให้แสงสว่างได้แต่ทั้งนี้ต้องต่อขาของไดโอดให้ถูกต้อง คือขั้วบวกของไดโอดเปล่งแสงต้องต่อทางขั้วบวกของถ่านไฟฉายและขั้วลบก็ต้องต่อกับขั้วลบของถ่านไฟฉาย นั่นคือขั้วบวกของไดโอดต้องต่อเข้ากับจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าขั้วลบของไดโอดไดโอดทำหน้าที่กำหนดทิศการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าหรือส่วนของวงจรไฟฟ้าทรานซิสเตอร์

ข้อสังเกตว่าขาใดของไดโอดเป็นขาบวกหรือขาลบ พิจารณาดังนี้
     1. ไดโอดที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกจะมีแถบสีคาดที่ปลายหนึ่งของทรงกระบอก
ซึ่งแสดงขาลบหรือขั้วลบ ขาที่อยู่ตรงข้ามจะเป็นขาบวก
     2. ไดโอดเปล่งแสงมักจะมีขาทั้งสองข้างยาวไม่เท่ากัน ขาที่ยาวกว่าจะเป็นขาบวก ส่วนขาที่สั้นกว่าจะเป็นขาลบ และถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าปลายขาลบด้านที่อยู่ในครอบพลาสติกจะโตกว่าขาบวก

สายไฟฟ้า

สายไฟฟ้า  สายไฟฟ้า ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ

ตัวนำและฉนวน

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

—ตัวนำ
ตัวนำของสายไฟฟ้าทำมาจากโลหะที่มีความนำไฟฟ้าสูง อาจเป็นตัวนำเดี่ยว (solid) หรือตัวนำตีเกลียว (strand) ที่นิยมได้แก่ ทองแดง และอลูมิเนียม ซึ่งมีข้อดี-ข้อเสีย ดังนี้

¡ทองแดง มีความนำไฟฟ้าสูงมาก แข็งแรง เหนียว ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ข้อเสียคือ น้ำหนักมาก ราคาแพง จึงไม่เหมาะกับงานแรงดันสูง แต่เหมาะกับงานทั่วไปโดยเฉพาะงานในอาคาร

¡อลูมิเนียม มีความนำไฟฟ้ารองจากทองแดง แต่เมื่อเทียบกรณีกระแสเท่ากันแล้ว อลูมิเนียมจะเบาและราคาถูกกว่า จึงเหมาะกับงานนอกอาคารและแรงดันสูง อลูมิเนียมถ้าทิ้งไว้ในอากาศ จะเกิดออกไซด์เป็นฉนวนฟิล์มบางๆ ป้องกันการสึกกร่อน แต่ทำให้การเชื่อมต่อทำได้ยาก

—ฉนวน
   ทำหน้าที่ห่อหุ้มตัวนำ เพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง ระหว่างตัวนำ หรือตัวนำกับส่วนที่ต่อลงดิน ในระหว่างที่ตัวนำ นำกระแสไฟฟ้า
จะเกิดพลังงานสูญเสีย ในรูปความร้อน ซึ่งจะถ่ายเทไปยังเนื้อฉนวน ความสามารถในการทนต่อความร้อน ของฉนวน จะเป็นตัวกำหนด ความสามารถในการทนความร้อนของสายไฟฟ้านั่นเอง การเลือกใช้ชนิดของฉนวน จะขึ้นกับอุณหภูมิใช้งาน แรงดันของระบบ และสภาพแวดล้อมในการติดตั้ง วัสดุที่นิยมใช้เป็น ฉนวนมากที่สุดในขณะนี้คือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross Linked Polyethylene (XLPE) 

—ประเภทของสายไฟฟ้าแบ่งออกได้หลายลักษณะเช่น แบ่งตามลักษณะแรงดันไฟฟ้า(แรงดันไฟฟ้าสูงและแรงดันไฟฟ้าต่ำ) แบ่งตามขนาด แบ่งตามลักษณะงานที่ใช้ เป็นต้น

สายไฟสำหรับแรงดันไฟฟ้าสูง

ซึ่งแต่ละชนิดจะมีประเภทย่อย ๆ แตกต่างกันออกไปเช่น

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

35KV or Lower XPEL
Insulation Power Cable

สายไฟฟ้าสำหรับแรงดันไฟฟ้าต่ำ

—สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ - เป็นสายไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไม่เกิน 750 V. เป็นสายหุ้มฉนวน ทำด้วยทองแดงหรืออลูมิเนียม โดยทั่วไปเป็นสายทองแดงสายขนาดเล็กจะเป็นตัวนำเดี่ยว แต่สายขนาดใหญ่เป็นตัวนำตีเกลียว วัสดุฉนวนที่ใช้กับสายแรงดันต่ำคือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross-linked Polyethylene (XLPE)

สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ - สายชนิด วีเอเอฟ (VAF)
        สายไฟตาม มอก.11-2531 ที่ตามท้องตลาดเรียกว่าสายชนิด วีเอเอฟ (VAF) เป็นสายชนิด ทนแรงดัน 300 V มีทั้งชนิดที่เป็นสายเดี่ยว สายคู่ และที่มีสายดินอยู่ด้วย ถ้าเป็นสายเดี่ยว จะเป็นสายกลม และถ้าเป็นชนิด 2 แกน หรือ 3 แกน จะเป็นสายแบน ตัวนำนอกจาก จะมีฉนวนหุ้ม แล้วยังมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง สายคู่จะนิยมรัดด้วยเข็มขัดรัดสาย (Clip) ใช้ในบ้านอยู่อาศัยทั่วไป สายชนิดนี้ห้ามใช้ในวงจร 3 phase ที่มีแรงดัน 380 V เช่นกัน ( ในระบบ 3 phase แต่แยกไปใช้งานเป็นแบบ 1 phase แรงดัน 220 V. จะใช้ได้ )

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

—สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ - สายชนิด ทีเอชดับเบิลยู (THW)สายไฟฟ้าตาม มอก.11-2531 ที่ในท้องตลาดนิยมเรียกว่า ทีเอชดับเบิลยู (THW) เป็นสาย ไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 750 V เป็นสายเดี่ยว นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะใน โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 phase ได้ ปกติจะเดินร้อยในท่อร้อยสาย ชื่อ THW เป็นชื่อตามมาตรฐานอเมริกัน ซึ่งเป็นสายชนิดทนแรงดัน 600 V อุณหภูมิใช้งานที่ 75 องศาเซลเซียส แต่ในประเทศไทยนิยม เรียกสายที่ผลิตตาม มอก. 11 -2531 ว่า สาย THW เนื่องจากมีโครงสร้างคล้ายกัน และรู้กันทั่วไปในท้องตลาด

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า


วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า


—สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ - สายชนิด เอ็นวายวาย (NYY)
สายไฟฟ้าตาม มอก.11-2531 ตามท้องตลาดนิยมเรียกว่าสายชนิด เอ็นวายวาย (NYY) มีทั้งชนิดแกนเดียว และหลายแกน สายหลายแกน ก็จะเป็นสายชนิดกลมเช่นกัน สายชนิดนี้ทนแรงดันที่ 750 V. นิยมใช้อย่างกว้างขวางเช่นกัน เนื่องจากว่ามี ความทนต่อสภาพแวดล้อม เพราะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง บางทีเรียกว่าเป็นสายฉนวน 3 ชั้น ความจริงแล้ว สายชนิดนี้มีฉนวนชั้นเดียว อีกสองชั้นที่เหลือเป็นเปลือก เปลือกชั้นในทำหน้าที่เป็นแบบ (Form) ให้สายแต่ละแกนที่ตีเกลียวเข้าด้วยกัน มีลักษณะกลม แล้วจึงมีเปลือกนอกหุ้ม อีกชั้นหนึ่ง ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายทางกายภาพ

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า


—สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ - สายชนิด วีซีที (VCT)

สายไฟฟ้าตาม มอก.11 - 2531 ตามท้องตลาดเรียกว่า สาย วีซีที (VCT) เป็นสายกลมมี ทั้งชนิดหนึ่งแกน 2 แกน 3 แกนและ 4 แกนทนแรงดันที่ 750 V. มีฉนวนและเปลือกเช่นกัน มีข้อพิเศษกว่าก็คือ ตัวนำจะประกอบไปด้วย ทองแดงฝอยเส้นเล็ก ๆ ทำให้มีข้อดีคือ อ่อนตัวและ ทนต่อสภาพการสั่นสะเทือนได้ดี เหมาะที่จะใช้เป็น สายเดินเข้าเครื่องจักร ที่มีการสั่นสะเทือนขณะใช้งาน สายชนิดนี้ ใช้งานได้ทั่วไปเหมือนสายชนิด NYY สาย VCT มีหลายแบบตามรูปทรงโดยแบ่งได้ทั้งแบบ VCT - GRD ซึ่งมี 2 แกน 3 แกนและ 4 แกน และมีสายดินเดินร่วมไปด้วยอีกเส้นหนึ่ง เพื่อให้เหมาะสำหรับใช้เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

เป็นอุปกรณ์หรือวัสดุสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์หรือโหลด

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

ฟิวส์ เป็นวัสดุตัวนำไฟฟ้าที่มีจุดหลอมละลายต่ำใช้ต่ออนุกรมกับวงจร
ไฟฟ้า เมื่อมีกระแสฟ้าไหลผ่านสูงเกินพิกัดของกระแสฟิวส์ เช่นกรณีเกิดลัดวงจร จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านฟิวส์มาก ฟิวส์จะร้อนจัดจนหลอมละลายหรือขาดในที่สุด ด้วยเหตุนี้ฟิวส์จึงใช้ประโยชน์ในการป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ ฟิวส์มีหลายแบบหลายขนาด ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

หม้อแปลงไฟฟ้า(transformer)

  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้น หน้าที่หลักของหม้อแปลงไฟฟ้าคือปรับแรงดันไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

เป็นอุปกรณ์สำหรับต่อหรือตัดกระแสไฟที่ไหลผ่านวงจร เพื่อให้อุปกรณ์หรือเครื่องมือทำงานหรือหยุดทำงานตามความต้องการ  ซึ่งที่ตัวสวิตช์จะบอกขนาดของพิกัดของแรงดันไฟฟ้า(V) และกระแสไฟฟ้า(A)

วิชาอิเล็กทรอนิกส์และวงจรไฟฟ้า

—ป้องกันไม่ให้มีผู้ถูกไฟฟ้าดูดกรณีมีกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไหลลงดินทางสายดิน โดยไม่ผ่านร่างกายผู้สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น เป็นผลทำให้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และ/หรือไฟฟ้ารั่วจะตัดกระแสไฟฟ้าออกทันทีเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารอาจทำงานได้ไม่สมบูรณ์หรือชำรุดได้ง่ายหากไม่มีสายดิน