แบบฝึกหัด ความ ปลอดภัย ในงานไฟฟ้า

แบบฝึกหัด ความ ปลอดภัย ในงานไฟฟ้า
แบบทดสอบออนไลน ์ ความปลอดภัยในงานไฟฟ้าเบื้องต้น

แบบทดสอบออนไลน ์ ความปลอดภัยในงานไฟฟ้าเบื้องต้น รร.ปากช่อง สพม.31

สวัสดีค่ะ  วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีหลักสูตรเกี่ยวกับการอบรมออนไลน์ แล้วได้เกียรติบัตรมาฝากคุณครูทุกท่่านเหมือนเช่นเคยค่ะ  โดยเป็นหลักสูตร แบบทดสอบออนไลน ์ ความปลอดภัยในงานไฟฟ้าเบื้องต้น รร.ปากช่อง สพม.31

ผู้เข้ารับการอบรมสามารถทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความรู้ของท่าน หากทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป จะได้รับวุฒิบัตรทางอีเมล์ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ ตรวจดูรายชื่อและอีเมล์ให้ถูกต้องก่อนทำแบบทดสอบออนไลน์นะคะ

ผู้ทดสอบสามารถทำแบบทดสอบได้เพียง 1 ครั้ง กรุณาตรวจสอบคำตอลให้แน่ใจ ก่อนตอบทุกครั้ง##
แบบทดสอบมีทั้งหมด 20 ข้อ ผู้ทำแบบทดสอบจะต้องได้คะแนนอย่างน้อย 80% จึงจะผ่านการทดสอบระบบจะส่งวุฒิบัตรให้อัตโนมัติ หากไม่ได้รับสามารถติดต่อได้ที่ E-mail [email protected]

ตัวอย่างเกียรติบัตร แบบทดสอบออนไลน ์ ความปลอดภัยในงานไฟฟ้าเบื้องต้น รร.ปากช่อง สพม.31

แบบฝึกหัด ความ ปลอดภัย ในงานไฟฟ้า
ตัวอย่างเกียรติบัตร แบบทดสอบออนไลน ์ ความปลอดภัยในงานไฟฟ้าเบื้องต้น รร.ปากช่อง สพม.31

คลิกที่นี่เพื่อทำแบบทดสอบออนไลน ์ ความปลอดภัยในงานไฟฟ้าเบื้องต้น รร.ปากช่อง สพม.31

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณ (เฟซบุ๊ก)คุณ >  จิรวัฒณ์ รักปัญญาสุทธิกุล <ที่แนะนำหลักสูตรเข้ามานะคะ  คุณครูท่านใดทำแบบทดสอบแล้วระบบติดขัดเรื่องใดสามารถสอบถามได้เลยค่ะ

หลักสูตรอื่นๆที่น่าสนใจ : แบบทดสอบออนไลน อบรมออนไลน ์ วิชาสังคมศึกษา จาก รร.มัธยมวัดหนองแขม สพม.1

แบบฝึกหัด ความ ปลอดภัย ในงานไฟฟ้า

เรื่อง อุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า

อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า คืออะไร อุปกรณ์ป้ องกันไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า ใน กรณีที่เกิดไฟฟ้าซ็อต ไฟฟ้าดูดหรือเกิดการลัดวงจร อาจจะทาให้เกิดความเสียหายแก่ ชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าจะช่วยลดอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าได้

1.ธรรมชาติของไฟฟ้า

            วัตถุธาตุชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกประกอบไปด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรียกว่าอะตอมและในแต่ละอะตอมยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน การเคลื่อนที่ของตัวอิเล็กตรอนจากอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่ง เราเรียกว่ากระแสไฟฟ้า” (Electric current) ซึ่งจะมีมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับค่าแรงดันไฟฟ้า (Electric voltage) หรือแรงขับเคลื่อนของแหล่งจ่ายและค่าความต้านทานของตัวภาระ (Load) โดยทั่วไปกระแสไฟฟ้าจะไหลจากแรงดันสูงไปยังแรงดันต่าเสมอ การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าจะมีทิศทางตรงข้ามกับตัวต่ออิเล็กตรอนดังแสดงตามภาพ

แบบฝึกหัด ความ ปลอดภัย ในงานไฟฟ้า

2. ความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติภัยทางไฟฟ้า

       เมื่อเกิดอุบัติภัยทางไฟฟ้า ความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

2.1 ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย โดยทั่วไปกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายน้อยมากเพียงหน่วยมิลลิแอมแปร์เท่านั้นดังตารางที่ 1.1 หากมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายเพียง 80 มิลลิแอมแปร์ก็อาจทาให้เสียชีวิตได้

แบบฝึกหัด ความ ปลอดภัย ในงานไฟฟ้า

ตารางที่ 1.1 แสดงผลกระทบต่อชีวิตเมื่อมีปริมาณกระแสไหลผ่านร่างกาย

2.2 ระยะเวลา หากปริมาณกระแสไหลต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้รับการช่วยเหลือความรุนแรงก็จะมากขึ้น

2.3 แรงดันไฟฟ้า ปกติแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านเรือนมีค่ำ 230 โวลต์ ซึ่งมีค่าสูงพอที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้หากความต้านทานจุดที่สัมผัสมีค่าต่ำ

3.4 สภาพผิวสัมผัส กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านผิวสัมผัสที่ชื้น (1 กิโลโอห์ม) ได้ง่ายกว่าผิวสัมผัสที่แห้ง (100-600 กิโลโอห์ม)

3.5 เส้นทาง หากกระแสไหลผ่านจุดสำคัญของร่างกายเช่น ผ่านศีรษะ หัวใจ ทรวงอก มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้

          3.6 ความถี่ ความถี่สูงจะทาให้ความต้านทานของร่างกายลดค่าลง ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายได้สูงขึ้น

3 การป้องกันอุบัติภัยทางไฟฟ้า

 การป้องกันอุบัติภัยทางไฟฟ้ามีความจาเป็นอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน การระมัดระวังอาจไม่เพียงพอสาหรับผู้ปฏิบัติงานทางด้านไฟฟ้า ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าซ็อต มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นจึงต้องหามีวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงลงเพื่อไห้เกิดความมั่นใจแก่ตนเองและผู้อื่นได้ดังนี้

3.1 ต่อสายดิน

               เป็นวิธีที่มีความจาเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันโดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโครงหรือที่เป็นโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้ารั่ว เช่น เครื่องทาน้าเย็น เครื่องทาน้าอุ่น มอเตอร์ เป็นต้น

การต่อสายดินจะช่วยป้องกันไฟฟ้าดูดได้คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงโครงที่เป็นโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้า

กระแสส่วนนี้พร้อมที่จะไหลทุกเวลาเมื่อเราไปสัมผัสโดยไม่ต่อสายดิน กระแสจะไหลผ่านร่างกายลงสู่

ดินแต่หากต่อสายดินกระแสที่รั่วจะไหลลงดินแทนตัวเรา ซึ่งธรรมชาติของกระแสไฟฟ้าจะไหลไปทางที่สะดวกที่สุดกล่าวคือสายดินต้องมีความต้านทานต่ำกว่าร่างกายเราหลายเท่า

3.2 ใช้ฉนวนป้องกัน

                  เป็นวิธีป้องกันพื้นฐานสาหรับผู้ปฏิบัติงานทางไฟฟ้าโดยป้องกันไม่ให้สัมผัสกับกระแสไฟฟ้าโดยตรง เช่นใช้เทปพันสายไฟฟ้า ดังภาพที่ 1.9 ก ถุงมือยาง ถุงมือหนัง ใช้เครื่องมือที่เป็นฉนวนไฟฟ้า (Insulation) ดังภาพที่ 1.  เสื้อผ้าให้รัดกุม แห้ง ไม่เปียกชื้น สวมรองเท้าหนังหรือผ้าที่แห้งปราศจากความชื้น

แบบฝึกหัด ความ ปลอดภัย ในงานไฟฟ้า

ภาพที่ 1.2 เทปพันสายและไขควงใช้เป็นฉนวนป้องกันทางไฟฟ้า 

3.3 ใช้เครื่องมือวัดและทดสอบ

เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นไฟฟ้าด้วยสายตาเปล่าได้ ฉะนั้นการใช้เครื่องมือวัดและทดสอบจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีช่วยเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติงานทางไฟฟ้าอีกด้วย จากภาพที่ 1.3 เป็นการทดสอบโดยใช้ไขควงทดสอบไฟฟ้าอย่างง่ายก่อนการปฏิบัติงาน ถ้าเกิดไฟฟ้ารั่วต้องแก้ไขก่อนการปฏิบัติงานต่อไป

                                               ภาพที่ 1.3 ไขควงทดสอบกระแสไฟฟ้า

แบบฝึกหัด ความ ปลอดภัย ในงานไฟฟ้า

3.4 เลือกใช้สายไฟฟ้าให้ถูกต้อง

สายไฟฟ้าแต่ละขนาดมีพิกัดทนกระแสไฟฟ้าสูงสุดไม่เท่ากัน ควรเลือกขนาดสายไฟฟ้าให้เกินกว่าภาระโหลด เช่น กระแสโหลดสูงสุด 20 แอมแปร์ ควรเลือกสายไฟฟ้าขนาดพื้นที่หน้าตัด 4 ตารางมิลิเมตร ซึ่งทนกระแสสูงสุด 27 แอมแปร์(เดินเกาะผนัง อุณหภมิโดยรอบ ไม่เกิน 40 องศา)               

3.5 เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้าให้ถูกต้อง

ต้องเลือกขนาดอุปกรณ์ป้องกันตามกระแสโหลดแต่ไม่ควรเกินขนาดพิกัดสายไฟเช่นในหัวข้อที่ 4.4 กระแสโหลดสูงสุด 20 แอมแปร์ เลือกขนาดสายไฟฟ้าพื้นที่หน้าตัด 4 ตารางมิลิเมตร ดังนั้นควรเลือกอุปกรณ์ป้องกันขนาด 20 แอมแปร์ หรือสูงสุด 25 แอมแปร์ เท่านั้น (ต้องไม่เกินพิกัดสายไฟฟ้า 27 แอมแปร์)

   อุปกรณ์ป้องกันในงานติดตั้งไฟฟ้าที่ใช้ฟิวส์ตัดวงจร

ฟิวส์ (Fuse)

ฟิวส์คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจำกัดจำนวนกระแสที่ไหลในวงจร มีลักษณะเป็นตัวนำไฟฟ้า ที่ประกอบด้วยเส้นลวดทำมาจากโลหะชนิดอ่อน บรรจุอยู่ภายในอุปกรณ์ห่อหุ้ม ซึ่งสามารถที่จะหลอมละลายและตัดวงจรได้เมื่อใช้งานไฟฟ้ามากเกินไป ฟิวส์แต่ละรุ่น จะมีการแจ้งอัตราทนกระแสกำกับไว้ อัตราทนกระแสหมายถึงปริมาณกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ยอมให้ไหลผ่านฟิวส์ได้

การติดตั้งฟิวส์หรือถอดเปลี่ยนฟิวส์นั้นจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังโดยจะต้องตัดพลังงานไฟฟ้าออกจากวงจรเสียก่อนเสมอ การถอดฟิวส์จะต้องใช้เครื่องมือสำหรับดึงฟิวส์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ และให้ดึงฟิวส์ทางด้านไฟออกก่อนเสมอ เมื่อต้องการจะใส่ฟิวส์ให้ใส่ฟิวส์ทางด้านโหลดก่อน แล้วจึงใส่ทางด้านไฟเข้าต่อไป ฟิวส์ที่ใช้งานกันทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ ปลั๊กฟิวส์ (Plug Fuse) คาร์ตริดฟิวส์ (Cartridae Fuse) และ เบลดฟิวส์ (Blade Fuse) ดังนี้คือ

ปลั๊กฟิวส์ (Plug Fuse)

ปลั๊กฟิวส์ คือฟิวส์ที่บรรจุอยู่ในกระบอกที่ทำด้วยกระเบื้อง เวลาใช้งานให้ติดตั้งบนฐานเกลียว มีแผ่นไส้โลหะที่ออกแบบให้ละลาย เมื่อกระแสไหลในวงจรเกินค่าที่กำหนด มีหลายแบบหลายขนาด โดยทั่วไปมีอัตราทนกระแส 0-30 แอมป์ นิยมใช้ตามอาคารบ้านเรือนทั่วไป

          คาร์ตริดฟิวส์ (Cartridae Fuse)

คาร์ตริดฟิวส์จะทำงานคล้ายกับปลั๊กฟิวส์ แต่ต่างกันที่เวลาติดตั้งจะต้องติดตั้งบนขาหนีบสปริง คาร์ตริดฟิวส์จะติดตั้งใช้งานร่วมกับเซฟตี้สวิตช์ ทนกระแสได้ตั้งแต่ 0-60 แอมป์

        เบลดฟิวส์ (Blade Fuse)

เบลดฟิวส์ใช้หลักการหลอดละลายตัวเมื่อมีกระแสเกิน เช่นเดียวกับฟิวส์แบบอื่นแต่จะมีอัตราทนกระแสมากกว่าฟิวส์แบบอื่นคือตั้งแต่ 70-600 แอมป์ เบลดฟิวส์จะติดตั้งบนขาหนีบสปริงมีทั้งแบบใช้ได้เพียงครั้งเดียว และแบบเปลี่ยนไส้ใหม่ได้

อุปกรณ์ป้องกันในงานติดตั้งไฟฟ้าที่ใช้ตัดวงจรอัตโนมัติ

เซอร์กิตเบรกเกอร์

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breakers) คืออุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าที่สามารถเปิดวงจรในขณะที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยที่ไม่ทำให้ตัวเองขาดหรือชำรุดเหมือนฟิวส์ ถ้าเซอร์กิตเบรกเกอร์เปิดวงจร  เราจะต้องหาสาเหตุ ว่าใช้งานกระแสไฟฟ้า มากเกินกว่าที่กำหนดหรือไม่ เกิดไฟดูด, ไฟรั่ว, ไฟช็อต, ไฟเกินหรือไฟตก เกิดปัญหาที่จุดใด แล้วทำการแก้ไขปัญหาในกรณีดังกล่าว หลังจากนั้นให้กดปุ่มรีเซ็ตให้วงจรไฟฟ้าทำงานใหม่ได้

เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบความร้อน

การทำงานอาศัยหลักการของแผ่นโลหะ 2 ชนิดซึ่งมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวไม่เท่ากันมาประกบยึดติดกัน เมื่อมีกระแสไหลเกิน หรือวงจรผิดปกติโลหะจะร้อน ทำให้โก่งตัวหน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์ จะเปิดวงจรไม่ทำงาน ในช่วงที่วงจรไม่ทำงาน เราก็ควรหาสาเหตุว่าวเซอร์กิตเบรกเกอร์ ตัดเพราะอะไร แล้วทำการแก้ไขให้เรียบร้อย และเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งแผ่นโลหะจะเย็นตัวลง และจะกลับเข้าไปอยู่ในสภาพเดิมอีก สามารถรีเซ็ตให้กลับมาทำงานใหม่ได้ตามปกติ

เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบแม่เหล็ก

การทำงานอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้าจะเกิดขึ้นจากการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด ในกรณีที่กระแสไฟฟ้า ผ่านขดลวดเกินพิกัด แม่เหล็กก็จะยิ่งมีอำนาจในการดูดแผ่นกระเดื่อง ตัดวงจรทำให้วงจรเปิด เมื่อแก้ไขสาเหตุของการใช้งานเกินได้แล้ว ก็ให้ทำการรีเซ็ตกระเดื่องตัดวงจร ให้อยู่ในตำแหน่งเดิม  เพื่อใช้งานต่อไป

สายดินและการต่อสายดิน

สายดิน (Ground Line) เป็นสายไฟที่ทาหน้าที่ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า และทาให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เรียกสายดินประเภทนี้ว่า สายดินป้องกัน (protective earthing conductor) สายดินเส้นนี้ปลายด้านหนึ่งจะต้องต่อลงดิน (Ground) จริง ปลายอีกด้านหนึ่งถูกต่อเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะ ของอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องการให้มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์เท่ากับพื้นดิน เพื่อทาให้เกิดความมั่นใจที่จะไม่ทาให้เกิดไฟฟ้าดูดในขณะใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดที่นิยมต่อสายดิน เช่น กล่องสวิตช์ประธาน กล่องสวิตช์นิรภัย เต้ารับชนิด 3 ขา หม้อหุงข้าวเตาไมโครเวฟ เตารีด กระทะไฟฟ้า กระติกน้าร้อนไฟฟ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า และเครื่องทาน้าอุ่น เป็นต้น

การต่อสายดิน ทางด้านที่ต่อลงดินจะต้องต่อผ่านหลักดิน (Ground Rod) ที่ฝังไว้ในดิน หลักดินผลิตจากโลหะตัวนา เช่น แท่งเหล็กหุ้มทองแดงบริสุทธิ์ มีขนาดความยาวมาตรฐานดังนี้ คือ 1.5, 1.8, 2.4 และ 3 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลักดินมาตรฐานดังนี้ คือ 10, 11, 12.5, 15 และ 19 มิลลิเมตร นามาตอกฝังลงดินที่นาไฟฟ้าได้ดีในบริเวณบ้าน ช่วยให้กระแสที่รั่วผ่านตัวถังอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าไหลผ่านลงดินได้สะดวก หลักดิน อุปกรณ์ประกอบ และการต่อสายดิน

  การใช้ฉนวนป้องกันไฟฟ้า (Insulation) 

ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าหรือหุ้มสายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่ชำรุดฉีกขาดได้ และฉนวนหุ้มสายจะชำรุดง่ายยิ่งขึ้นถ้าผู้ใช้งานใช้อย่างขาดการทะนุถนอมและไม่เอาใจใส่ เช่น การดึงหรือกระชากผ่านของมีคมหรือวัตถุที่มีขอบหรือมุมแข็ง การวางไว้ในทางที่มีการเหยียบไปมาหรือมีวัตถุหนักๆ เคลื่อนทับอยู่เสมอ ก็เป็นเหตุให้ฉนวนชำรุดเสียหายได้ นอกจากนี้ การต่อสายไฟฟ้าใช้งานอย่างชั่วคราวมักจะใช้ตะปูตอกกดทับไว้ ทำให้ฉนวนชำรุด กลายเป็นสายเปลือยไป จุดต่อต่างๆ ที่ต่อไว้มิได้มีการพันฉนวนป้องกัน ซึ่งจะกลายเป็นจุดอันตรายไปด้วย สิ่งเหล่านี้ถ้าผู้ใช้งานละเลยไม่ให้ความเอาใจใส่ก็จะนำอันตรายมาสู่ตัวผู้ใช้งานได้ 

เพื่อเป็นการป้องกัน จึงควรหมั่นตรวจสภาพฉนวนของสายไฟฟ้าหรือสายอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อหารอยแตกปริ หรือฉีกขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงขั้วต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ขั้วหลอด ปลั๊ก ถ้าพบว่ามีการชำรุดอย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทันที