ความต้านทานไฟฟ้าขึ้นอยู่กับ

ความต้านทานของร่างกายต่อไฟฟ้า

ความต้านทานของร่างกายต่อไฟฟ้า

ความต้านทานไฟฟ้า คือ

ความต้านทานไฟฟ้า (อังกฤษ: electrical resistance) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันและกระแสไฟฟ้าของวัตถุ วัตถุที่มีความต้านทานต่ำจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า ในขณะที่ฉนวนไฟฟ้ามีความต้านทานสูงมากและกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ยาก

ค่าความต้านทานไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ R มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω) ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ Georg Simon Ohm ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่เสนอรายงานการทดลองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกระแสและแรงดันในปี 1826 ส่วนกลับของค่าความต้านทานเรียกว่า ความนำไฟฟ้า (Conductivity) หน่วยซีเมนส์

จากกฎของโอห์ม  แรงดัน = กระแสไฟฟ้า x ความต้านทาน
กระแสที่ไหลผ่านร่างกาย = 12,000 โวลต์ / 1,000 โอห์ม
= 12 A = 12000 mA

ความต้านทานของร่างกายต่อไฟฟ้า เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอันตรายเกิดขึ้นต่อมนุษย์ ผิวหนังเป็นตัวควบคุมปริมาณของกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านเข้าได้มากหรือน้อย จากการศึกษาพบว่า
ผิวหนังแห้ง มีความต้านทาน 100,000-600,000 โอห์มต่อตารางเซนติเมตร
ผิวหนังเปียก มีความต้านทาน 1,000 โอห์มต่อตารางเซนติเมตร
ความต้านทานภายในร่างกายจากมือถึงเท้า (ไม่มีผิวหนัง) 400-600 โอห์มต่อตารางเซนติเมตร
ความต้านทานระหว่างช่องหู ประมาณ 100 โอห์มต่อตารางเซนติเมตร
โดยทั่วไปในทางปฏิบัติกำหนดค่าความต้านทานต่อไฟฟ้าของคนที่ทำงานกับไฟฟ้าไว้ 1,000 โอห์ม

การคำนวณ : ช่างไฟฟ้าทำงานกับสายไฟฟ้าแรงดัน 12,000 โวลต์ มือพลาดไปโดนสายไฟ ทำให้มีกระแสไหลผ่านลงดินที่ฝ่าเท้าที่สัมผัสอยู่กับเสาคอนกรีต การคำนวณกระแสที่ไหลผ่านร่างกาย"

อันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การช็อก คือ จากการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายทำให้เกิดอาการกระตุ้นบริเวณกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงโดยเฉพาะบริเวณเส้นประสาทจะขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสที่ร่างกายได้รับ
แผลไหม้ คือ การเกิดกระแสไฟฟ้าปริมาณมากๆ ไหลผ่านร่างกาย เมื่อร่างกายไปสัมผัสกับตัวนำไฟฟ้าความร้อนปริมาณมากๆที่เกิดการลัดวงจรทำให้เกิดแผลไหม้แก่ผู้ทำการ
การระเบิด คือ การเกิดประกายไฟขึ้นไปทำ ให้ก๊าซที่จุดติดไฟได้ง่ายเกิดจุดติดไฟขึ้นมา
การบาดเจ็บที่ดวงตา คือ การที่สายตากระทบถูกแสงอุลตร้าไวโอเล็ตหรือแสงเลเซอร์ ที่มีความเข้มข้นสูงดังนั้นการทำงานควรสวมแว่นตาที่กรองแสงได้เป็นพิเศษ
การบาดเจ็บของร่างกาย คือ การที่ได้รับคลื่นไมโครเวฟและจากอุปกรณ์กำเนิดสัญญาณความถี่วิทยุ สามารถทำอันตรายมนุษย์ได้โดยเฉพาะบริเวณที่มีปริมาณเลือดน้อย"

ผลกระทบต่อร่างกายจากปริมาณกระแสไฟฟ้า

1 mA หรือ น้อยกว่า    ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย
มากกว่า 5 mA    ทำให้เกิดการช็อก และเกิดความเจ็บปวด
มากกว่า 15 mA    กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดการหดตัว และร่างกายจะเกิดอาการเกร็ง
มากกว่า 30 mA    การหายใจติดขัด และสามารถทำให้หมดสติได้
50 ถึง 200 mA    ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ และอาจจะเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที
มากกว่า 200 mA    เกิดการไหม้บริเวณผิวหนังที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูด และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที
ตั้งแต่ 1A ขึ้นไป    ผิวหนังบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดถูกทำลายอย่างถาวร และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที"

เอกสารแนบ

เผยแพร่เมื่อ:11/23/2017ปรับเปลี่ยนครั้งล่าสุดเมื่อ:8/19/2022

Home - เนื้อหาฟิสิกส์ (Physics Story) - เนื้อหาแม่เหล็กไฟฟ้า - สภาพต้านทานไฟฟ้า : ρ

สภาพต้านทานไฟฟ้า : ρ

          ลวดโลหะชนิดหนึ่งๆ ที่อุณหภูมิเท่ากัน แต่ความยาว l ต่างกัน เมื่อให้ความต่างศักย์ไฟฟ้า V ระหว่างปลายทั้งสองของลวด จนมีกระแสไฟฟ้า I เกิดขึ้น พบว่าอัตราส่วนระหว่าง V/I นั่นจะมีขนาดขึ้นอยู่กับความยาวของเส้นลวด

          กล่าวคือ ความต่างศักย์ไฟฟ้าจะมีค่ามากเมื่อลวดมีความยาวมาก แต่กระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อยลง เมื่อลวดมีความยาวเพิ่มขึ้น ดังนั้นแสดงว่า ความยาวลวดที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ความต้านทานไฟฟ้า R เพิ่มขึ้นด้วย

          ดังนั้นจะได้สมการแปรผัน ดังนี้

          และเมื่อกำหนดให้ค่าความยาวลวดโลหะคงที่ แต่เปลี่ยนพื้นที่หน้าตัด A ของลวดโลหะ พบว่าความต้านทานไฟฟ้า R หรือ อัตราส่วน V/I มีค่าผกผันซึ่งกันและกัน ดังนั้นจะได้สมการแปรผัน ดังนี้

          เมื่อรวมสมการแปรผันที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน จะได้สมการแปรผันใหม่ ดังนี้

          และเมื่อเขียนเป็นสมการจะได้ว่า

          เราจะได้ความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานไฟฟ้า (R) กับความยาว l และพื้นที่หน้าตัดของลวดโลหะ ตามสมการที่ 5 โดยมี ρ เป็นค่าคงที่ที่เรียกว่า “สภาพต้านทานไฟฟ้า” (ρ อ่านว่า โร – rho)

ความต้านทานไฟฟ้าขึ้นอยู่กับ
เส้นลวดหมายเลข 1 และ 2 มีความยาวต่างกัน แต่พื้นที่หน้าตัดเท่ากัน ก็จะมีความต้านทานไฟฟ้า R ไม่เท่ากัน ส่วนเส้นลวดหมายเลข 2 และ 3 มีความยาวลวดเท่ากัน แต่มีพื้นที่หน้าตัดต่างกันก็จะมีความต้านทานไฟฟ้า R ไม่เท่ากัน จะเห็นว่าความต้านทานไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับ l และ A Author: Einstein@min via thaiphysicsteacher.com

  • อย่าสับสน!
    • Related posts:

อย่าสับสน!

          บ่อยครั้งเรามักจะสับสนระหว่างคำว่า “ความต้านทานไฟฟ้า :R” ซึ่งมีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω) และ “สภาพต้านทานไฟฟ้า : ρ”  มีหน่วยเป็น โอห์ม×เมตร โปรดสังเกตว่าใช้ตัวแปรต่างกัน

Previous Page: กฎของโอห์ม

Next Page: