รถยนต์ไฟฟ้า ผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ด้าน ลบ

รวมข้อดีและข้อเสียของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของคนจำนวนมาก

ปัจจุบันรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อกังวลเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอยู่ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะต้องทำการศึกษาข้อมูลประกอบการตัดสินใจโดยละเอียด

ข้อดีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

การบำรุงรักษาง่ายและค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการดูแลรักษารถยนต์พลังงานน้ำมัน เนื่องจากใช้เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าทำให้มีชิ้นส่วนภายในตัวรถยนต์ที่น้อยและไม่จำเป็นต้องมีการถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีอายุการใช้งานที่สูงกว่ารถยนต์พลังงานน้ำมัน

รถยนต์พลังงานไฟฟ้าใช้พลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการปล่อยมลพิษเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับ 0% อย่างไรก็ตาม พลังงานไฟฟ้าที่ถูกนำมาใช้งานในรถยนต์จำเป็นต้องมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อเป็นการลดมลพิษทางอากาศอย่างแท้จริง

สร้างเสียงรบกวนจากรถยนต์พลังงานไฟฟ้าน้อยจนมีกฎหมายบางประเทศกำหนดให้รถยนต์ไฟฟ้าต้องมีเสียงเพื่อเป็นสัญญาณแจ้งเตือนให้กับรถยนต์คันอื่น ๆ หรือผู้เดินทางใช้ถนนทั่วไปได้รับรู้ถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังวิ่งเข้ามาใกล้

ชาร์จแบตเตอรี่ได้ที่บ้านจุดเด่นของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า แม้จะใช้ระยะเวลาในการชาร์จพลังงานไฟฟ้านานเป็นชั่วโมง ซึ่งอาจเหมาะสำหรับคนที่ทำงานในเมืองและใช้รถเดินทางไปทำงานในเวลากลางวันในระยะที่อยู่ภายในตัวเมืองไม่ไกลมากนัก

จุดเด่นสำคัญของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า คือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าหลายรุ่นในตลาดเริ่มมีการติดตั้งระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจไม่ใช่ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ 100% แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถยนต์ได้ง่ายมากขึ้น

ข้อเสียของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคนยังไม่ตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เนื่องมาจากความกังวลด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ตัวรถยนต์แต่อาจรวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานของเมืองหรือประเทศที่รองรับเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า

ราคาของรถยนต์พลังงานไฟฟ้ายังอยู่ค่อนข้างแพงสำหรับในบางประเทศที่มีการเก็บภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เมื่อเทียบกับรถยนต์พลังงานน้ำมันในรุ่นที่ใกล้เคียงกัน การซื้อรถยนต์พลังงานน้ำมันอาจมีราคาที่ต่ำกว่าและกลายเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเลือกรถยนต์พลังงานน้ำมันอยู่

ในตอนนี้เทคโนโลยีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหลายรุ่นได้มีการพัฒนาให้สามารถขับระยะทางไกลกว่า 500 กิโลเมตร หรือบางรุ่นอาจมากถึง 900 กิโลเมตร อย่างไรก็ตามรถยนต์พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงถูกออกแบบมาให้ขับได้ในระยะใกล้ ๆ ภายในเมืองยังไม่รองรับการขับระยะทางไกลได้

ศูนย์ซ่อมบำรุงหนึ่งในความกังวลของผู้ที่มีแผนการซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หากมีศูนย์ซ่อมบำรุงน้อยหรือนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ถ้าหากรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีปัญหาเกิดขึ้น ผู้เป็นเจ้าของรถอาจต้องใช้ความพยายามในการหาศูนย์ซ่อมบำรุงพอสมควร

สถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าและระยะเวลาในการชาร์จพลังงานไฟฟ้านาน กลายเป็นความกังวลมากที่สุดของผู้ใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า แม้ว่าปัจจุบันปั๊มน้ำมันหลายแห่งเริ่มมีการติดตั้งจุดบริการชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับรถยนต์แต่ยังดูเหมือนมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณรถยนต์และเส้นทางการเดินทางโดยรถยนต์ทั้งประเทศ

อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันสามารถแก้ไขข้อจำกัดข้างต้นได้เป็นส่วนใหญ่

ที่มาของข้อมูล solarreviews.com

ที่มาของรูปภาพ pixabay.com

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

สวัสดีผู้อ่านทุกท่านครับกลับมาพบกับผม เจ อีกแล้วนะครับ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้สรุปรุ่นรถยนต์ไฟฟ้า BEV ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยในปัจจุบันให้ได้ดูกันไปแล้ว ท่านผู้อ่านมีความสนใจรถรุ่นไหน สามารถคอมเมนต์บอกกันได้นะครับ สำหรับสัปดาห์นี้ผมจะมาไขข้อข้องใจว่ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) นั้นจริงๆแล้วเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงอย่างที่เค้าว่ากันหรือเปล่านะ

ในปัจจุบันทุกคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งตัวการสำคัญเกิดจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้น โดยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของก๊าซเรือนกระจก โดยจากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน ได้ชี้ให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2) ในประเทศไทยนั้นมาจากการขนส่งสูงถึง 28% ซึ่งนั่นก็มาจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั่นเอง

รถยนต์ไฟฟ้า ผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ด้าน ลบ

ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน, พ.ศ. 2562

โดยน้ำมันเบนซิน 1 ลิตร มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2) อยู่ที่ 2.29 กิโลกรัม ส่วนน้ำมันดีเซล 1 ลิตร มีอัตราการการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2) ที่มากกว่า อยู่ที่ 2.66 กิโลกรัม

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) นั้นมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2) เป็นศูนย์หรือเรียกได้ว่าไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2) เลย ซึ่งนั่นก็เป็นความจริงถ้าเราพิจารณาเฉพาะการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) บนท้องถนน แต่ในความเป็นจริงแล้วเราจะต้องพิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่กระบวนการผลิตรถยนต์, การผลิตกระแสไฟฟ้า, การใช้รถยนต์บนท้องถนน และสุดท้ายจบด้วยการกำจัดซากของตัวรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อหมดอายุการใช้งาน

อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตรถยนต์

เราลองมาดูในส่วนกระบวนการผลิตรถยนต์กันครับว่าอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรถยนต์ไฟฟ้าเทียบกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปนั้นจะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จากภาพด้านล่างก็จะเห็นได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตที่มากวารถยนต์เครื่องยนต์สันดาปเล็กน้อย อันเนื่องมาจากในกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ Lithium-ion นั้นต้องใช้พลังงานและวัสดุที่ค่อนข้างสูงในกระบวนการผลิตนั่นเอง โดยในกระบวนการผลิตของรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 7 เมตริกตัน ส่วนรถยนต์ไฟฟ้า BEV จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตอยู่ที่ 8 เมตริกตัน

อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม

มีงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาที่ได้มีการเปรียบเทียบอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรถยนต์ทั้ง 2 ประเภท ตั้งแต่กระบวนการผลิตรถยนต์จนไปถึงกระบวนการกำจัดซาก แล้วพบว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นสามารถลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สูงถึง 50% หรือครึ่งหนึ่งของรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปเลยทีเดียว สำหรับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปตลอดอายุการใช้งานตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิต จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 57 เมตริกตัน ส่วนรถยนต์ไฟฟ้า BEV นั้นจะอยู่ที่ 28 เมตริกตัน

โดยมีขั้นตอนในการคำนวณอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรถยนต์ทั้ง 2 ประเภท ดังนี้

1. รถยนต์เครื่องยนต์สันดาป

กระบวนการผลิตรถยนต์ --> กระบวนการขุดเจาะน้ำมัน --> กระบวนการกลั่นน้ำมัน --> การใช้รถยนต์บนถนนตลอดอายุการใช้งาน --> กระบวนการกำจัดซากของรถยนต์

2. รถยนต์ไฟฟ้า BEV

กระบวนการผลิตรถยนต์ --> กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า --> การใช้รถยนต์บนถนนตลอดอายุการใช้งาน --> กระบวนการกำจัดซากของรถยนต์

อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า

สำหรับกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้านั้น ในแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสัดส่วนประเภทการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งถ้าเราสามารถเพิ่มสัดส่วนประเภทพลังงานหมุนเวียน อันได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์,พลังงานลม, พลังงานน้ำ และ เชื้อเพลิงชีวมวล ได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลให้ตัวเลขของอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นลดลงไปได้มากเท่านั้น สำหรับประเทศไทยนั้นมีสัดส่วนประเภทพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 15% โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลักสูงถึง 60% เลยทีเดียว

แนวทางการจัดการกับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า BEV ในอนาคต

การจัดการกับแบตเตอรี่ Lithium-ion ของรถยนต์ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานแล้วนั้น สามารถทำด้วยกันได้ 3 แนวทาง ดังนี้

1. การ Reuse คือ การนำเอาแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานกับรถยนต์ไฟฟ้า แล้วนั้นไปใช้งานในวัตถุประสงค์อื่น เช่น นำไปใช้กับระบบกังหันลม หรือระบบSolar Cell เป็นต้น

2. การ Recycle คือ การนำเอาวัสดุบางส่วนที่ยังสามารถใช้งานได้ เป็นส่วนประกอบในกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ Lithium-ion ก้อนใหม่ ซึ่งในภาพรวมอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากวิธีการ Recycle นั้นจะน้อยกว่า การผลิตแบตเตอรี่ Lithium-ion ก้อนใหม่ทั้งก้อน

3. การฝังกลบ วิธีการนี้คงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่เราจะเลือกใช้ เนื่องจากการฝังกลบแบตเตอรี่นั้นนอกจากจะใช้เวลาย่อยสลายที่ยาวนานมากแล้วนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตแบตเตอรี่ Lithium-ion ก้อนใหม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งนั่นก็จะเป็นการเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตแบตเตอรี่นั่นเอง

วิเคราะห์และสรุป

จะเห็นได้ว่าถ้าในอนาคตมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยนั้นจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ประเทศไทยเองก็จะต้องมีการเพิ่มสัดส่วนโรงงานไฟฟ้าประเภทพลังงานหมุนเวียนให้มากยิ่งขึ้น อาทิเช่น พลังงานแสงอาทิตย์,พลังงานลม, พลังงานน้ำ และ เชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อทำให้เกิดการลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด หรือแม้กระทั่งอาจจะต้องพิจารณาถึงพลังงานนิวเคลียร์เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ซึ่งในปัจจุบันยังมีการต่อต้านในการตั้งโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งถ้าทางภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการให้ความรู้และทำความเข้าใจกับประชาชน ตลอดจนมีการวางแผนการจัดการอย่างครบวงจร ผมก็เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะต้องส่งผลดีต่อทุกคนในระยะยาวอย่างแน่นอน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับบทความในสัปดาห์นี้ ผมหวังว่าทุกท่านจะได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ ท่านสามารถเข้ามาให้คำแนะนำหรือพูดคุยกับทีมงานของเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้เลยนะครับ สำหรับบทความหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ผมต้องฝากทุกท่านติดตามกันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.green.kmutt.ac.th/news/Question.asp?GID=36

https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2455&Itemid=116

https://www.ucsusa.org/resources/cleaner-cars-cradle-grave#ucs-report-downloads

https://www.youtube.com/watch?v=Jf9Kq_OQVco&t=25s

https://www.youtube.com/watch?v=K9m9WDxmSN8

ช่องทางในการติดต่อกับทีมงาน

https://www.n-squared.co.th/

https://www.facebook.com/NSEEVCharger/

Line ID:@228tslca

ผล กระทบ ด้าน ลบ ของ สิ่งแวดล้อม ของรถยนต์ไฟฟ้า คือ ข้อ ใด

ข้อเสียของรถEV รถยนต์EVจะใช้เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ค่อนข้างนานเมื่อเที่ยบกับรถยนต์ทั่วไปที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการเติมน้ำมันหรือแก๊ซ 3.จุดชาร์จ ปัจจุบันจุดชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถEV ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงมากสักเท่าไหร่ และไม่ได้หาง่ายมากนัก ทำให้วางแผนการเรื่องการชาร์จไฟในการเดินทางระยะไกล 4. การบำรุงรักษา

EV ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

2. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งที่สำคัญที่สุดในการผลักดันเทคโนโลยีของ EV ก็คือ การที่ EV นี้ไปลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Greenhouse Gases (GHG) ได้นั่นเอง ซึ่งรถยนต์สันดาป ICE รถยนต์ Hybrid หรือแม้กระทั่งรถยนต์ Plug-In Hybrid นั้นปล่อยก๊าซพิษที่อันตรายต่อโลกและต่อคน

รถยนต์ไฟฟ้าผลกระทบต่อด้านใด

ประโยชน์ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เมื่อมองในมุมที่กว้างขึ้นไปอีก การใช้รถยนต์ EV จะช่วยให้ประเทศชาติลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกได้อย่างบรรลุเป้าหมาย และยังช่วยให้เรามีอากาศบริสุทธิ์ให้ได้หายใจมากขึ้นอีกด้วย

รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีข้อเสียอย่างไร

ข้อเสียรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี 1. ราคาสูง เนื่องจากกระบวนการผลิตยังต้องใช้เทคโนโลยีที่มีราคาสูง 2. ระยะทางการขับขี่ อาจต้องมีการวางแผนการชาร์จระหว่างทาง สำหรับการขับขี่ระยะไกล 3. สถานีอัดประจุยังไม่ครอบคลุม หากมีการเดินทางไกล ควรวางแผนหาตำแหน่งที่ตั้งของสถานีอัดประจุ