กฎหมายการประกันคุณภาพการศึกษา

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา


คำถาม   : มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพสถานศึกษาหรือไม่ อย่างไร
คำตอบ  :  มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพสถานศึกษา
       


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 

มาตรฐานและการประกันคุณภาพทางการศึกษา

       


หมวด 6 

       
        กล่าวถึงหลักการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา  โดยแยกเป็นระบบการประกันคุณภาพภายใน  และการประกันคุณภาพภายนอก  การประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องภายในของสถานศึกษาที่ต้องจัดทำเองโดยความ ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่การประกันคุณภาพเป็นการดำเนินงานโดย หน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ  และมีความเป็นกลาง  และมีบทบาทหน้าที่ในการประเมินเปรียบเทียบมาตรฐานของสถานศึกษาทั่วประเทศและ ดำเนินการเปรียบเทียบทุกๆ 5 ปี เป็นต้น
          ตัวชี้วัดที่จะวัดมาตรฐานการศึกษาและกระบวนการประเมิน  เป็นสาระสำคัญที่หน่วยงานประเมินและประกันภายนอกจะต้องดำเนินการต่อไปใน อนาคตเมื่อได้มีการจัดตั้งหน่วยงานนี้ในระดับกระทรวง  แต่หมวดนี้จะยังไม่กล่าวถึงโดยจะกล่าวเฉพาะความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพดังกล่าว  และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานนี้เท่านั้น
 รายละเอียดดังในมาตรา ต่อไปนี้
       
มาตรา 47
ให้ มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
ระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
       
มาตรา 48
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และเปิดเผยต่อสาธารณชน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกัน คุณภาพภายนอก
       
มาตรา 49 
ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำ หน้าที่พัฒนาเกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการ ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ  และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย  และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน คำว่ามีฐานะเป็นองค์กรมหาชน  หมายความว่า จะต้องจัดตั้งสำนักงานดังกล่าวเป็นองค์กรมหาชน  ซึ่งมีพระราชบัญญัติองค์กรมหาชน วางหลักเกณฑ์การจัดตั้ง  และกำหนดสถานภาพที่ค่อนข้างเป็นอิสระขององค์กรประเภทนี้องค์กรนี้ทำหน้าที่ พัฒนาเกณฑ์ ซึ่งหมายถึงเกณฑ์ของ "มาตรฐาน"  และจะต้องมีรายละเอียดของตัวชี้วัดด้วย
       

  ในพระราชบัญญัติกล่าวถึงมาตรฐานไว้ดังนี้


มาตรา 33 
สภาการศึกษาฯมีหน้าที่พิจารณาเสนอมาตรฐานการศึกษาของชาติ  ซึ่งจะเป็นมาตรฐานระดับกว้าง  
ครอบคลุมทุกระดับ

มาตรา 34
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก็มีหน้าที่พิจารณาเสนอ"มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน"  ที่สอดคล้องกับแนวทางกว้างๆ ของสภาในมาตรา 33 และคณะกรรมการการอุดมศึกษาก็มีหน้าที่พิจารณา "มาตราฐานอุดมศึกษา"  ที่สอดคล้องกับแนวทางกว้างๆ ของสภาฯ
ฉะนั้นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานรับรองมาตรฐานตามมาตรา 49 เป็นบทบาทหน้าที่พิจารณารายละเอียดของเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับหน่วยงานตามมาตรา33 และมาตรา 34
การกำหนด "มาตรฐาน" ดังที่กล่าวมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระดับใดจะต้องสอดคล้องกับ
"ความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัตินี้"ในวรรค 2 ของมาตรา 49 กำหนดให้สำนักงานประเมินคุณภาพภายนอก
ทุกๆ 5 ปีและรายงาน


มาตรา 50

ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ตลอดจนให้บุคลากรคณะกรรมการของสถานศึกษา  รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามคำร้องขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือ หน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพภายนอกของ สถานศึกษานั้น


มาตรา 51
ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจัดทำข้อเสนอแนะการปรับ ปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการ ศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข





 แหล่งที่มา  http://www.moobankru.com/knowledge1.html

เขียนโดย NATTAKAN APIRUKKITTIKUL ที่08:10

กฎหมายการประกันคุณภาพการศึกษา

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest