การศึกษาและ หลักสูตร สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ ศ 2475 2534

การศึกษาและ หลักสูตร สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ ศ 2475 2534

วิวัฒนาการการศึกษาไทย

การศึกษาในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ต่างมีวิวัฒนาการเพื่อปรับให้เข้ากับยุคและสมัยของผู้คนในแต่ละยุค ปัจจัยที่ทำให้การศึกษามีวิวัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศ อย่างเช่น ปัจจัยภายในเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในด้านต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งประเทศเองก็มีวิวัฒนาการทางการศึกษาด้วยเช่นกัน

การศึกษาและ หลักสูตร สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ ศ 2475 2534

การศึกษาในอดีต

นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินตอนต้นการศึกษาได้ถูกจัดแบ่งตามเพศ โดยการศึกษาสำหรับผู้ชายจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การศึกษาของฝ่ายอาณาจักร และพุทธจักร การศึกษาของฝ่ายอาณาจักรเป็นการศึกษาสำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร โดยจะเล่าเรียนเกี่ยวกับมวย กระบี่กระบอง อาวุธ ตำราพิชัยยุทธ์ต่าง ๆ ส่วนการศึกษาของพุทธจักรเป็นการศึกษาสำหรับพลเรือนชาย เป็นการเล่าเรียนเกี่ยวกับคัมภีร์ไตรเวท โหราศาสตร์เวชกรรม และการศึกษาสำหรับเพศหญิงจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับงานบ้านงานเรือน กิริยามารยาท กาทำอาหาร เป็นต้น

การศึกษาและ หลักสูตร สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ ศ 2475 2534

การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา

การปฏิรูปการศึกษาไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2412- พ.ศ. 2535 ได้มีเกิดการปฏิรูปการศึกษาไทยซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

การปฏิรูปการศึกษาไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เป็นการปฏิรูปการศึกษาไทยครั้งแรก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นตามวัดในมณฑลต่าง ๆ และให้โรงเรียนต่าง ๆ ขึ้นกับกรมศึกษาธิการทั้งหมด ต่อมาก็ได้มีการยกฐานะกรมศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมาการ หรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน  

การปฏิรูปการศึกษาไทยหลังการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะราษฎร์ได้มีการกำหนดเป้าหมายของการศึกษา คือ ให้พลเมืองทุกคน ไม่เลือกเพศ ชาติ ศาสนา ได้รับการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อประกอบอาชีพที่จะเกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง โดยให้มีการศึกษา 3 ด้านคือ จากธรรมชาติ จากการงาน และจากการสมาคม ต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีการเพิ่มจุดเน้นการการจัดการศึกษาไทยอีก 1 ส่วน จากสามส่วน เป็น พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา

การปฏิรูปการศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2494-2534

การปฏิรูปการศึกษาไทยในช่วงนี้ได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 2 และ 3 มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน มีการจัดสอนเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย  และมีการจัดวางระบบการศึกษา

การศึกษาสมัยปัจจุบัน

การศึกษาในปัจจุบัน ใช้แผนการศึกษาสมัย พ.ศ. 2535  ซึ่งมีลักษณะที่กำหนดหลายประการ ดังนี้

  1. กำหนดหลักการที่สำคัญ 4  หลักการ
  2. กำหนดจุดมุ่งหมาย ที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย ปัญญา ด้านจิตใจ ด้านร่างกายและสังคม
  3. วางระบบการศึกษา 
  4. กำหนดนโยบายการศึกษา 19 ประการ
  5. กำหนดแนวทางการจัดการศึกษา
  6. กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา

การศึกษาและ หลักสูตร สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ ศ 2475 2534

การศึกษาไทยในอนาคต

ในอนาคตการศึกษาถือว่าเป็นสิ่งที่สำหรับประชาชนและประเทศชาติอย่างมากเนื่องจากเพื่อประชาชนต้องการทักษะการคิด การดำรงชีวิตจากการศึกษา และสำหรับประเทศชาติการศึกษาก็ยังเป็นความและอนาคตของประเทศในด้านต่าง ๆ การศึกษาในอนาคตนี้จะมีความแตกต่างจากในอดีตเนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ดังนั้นการศึกษาไทยจึงควรที่จะเปิดมุมมองทางด้าน ๆ ให้มากขึ้น 

การศึกษาและ หลักสูตร สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ ศ 2475 2534

การศึกษาและ หลักสูตร สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ ศ 2475 2534
การจัดการศึกษาของประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเชื่อที่ว่าการศึกษาช่วยกำหนดทิศทางของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ความเป็นมาของการศึกษาไทยมีประวัติที่น่าสนใจแบ่งออกได้ 5 ช่วง ดังนี้

1. การศึกษาของไทยสมัยโบราณ (พ.ศ. 1780 - พ.ศ. 2411)

(1) การศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 1921)

(2) การศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)

(3) การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311 –พ.ศ. 2411)

2. การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2474)

3. การศึกษาของไทยสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญระยะแรก (พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2491)

4. การศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2534)

5. การศึกษาสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2535 – ปัจจุบัน)

การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ปัจจัยภายในเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกันทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้ทันสมัย เพื่อความอยู่รอดและประเทศได้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการเรื่อยมา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชาติให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้า ดังจะได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของการศึกษาไทย ดังนี้

1.การศึกษาของไทยสมัยโบราณ ( พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 2411)

การศึกษาสมัยนี้เป็นการศึกษาแบบสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่มีมากแต่เดิม จำเป็นที่คนไทยในสมัยนั้นต้องขวนขวายหาความรู้จากผู้รู้ในชุมชนต่างๆ ซึ่งการศึกษาในสมัยนี้มีบ้านและวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา เช่น บ้านเป็นสถานที่อบรมกล่อมเกลาจิตใจของสมาชิกภายในบ้าน โดยมีพ่อและแม่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดอาชีพและอบรมลูกๆ วังเป็นสถานที่รวมเอานักปราชญ์สาขาต่างๆ มาเป็นขุนนางรับใช้เบื้องพระยุคลบาท โดยเฉพาะงานช่างศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างพระราชวังและประกอบพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ส่วนวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระจะทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนธรรมะแก่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะผู้ชายไทยมีโอกาสได้ศึกษาธรรมะและบวชเรียน ในสังคมไทยจึงนิยมให้ผู้ชายบวชเรียนก่อนแต่งงานทำให้มีคุณธรรมและจิตใจมั่นคงสามารถครองเรือนได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ผู้ที่มาบวชเรียนนอกจากมาแสวงหาความรู้เรื่องธรรมะในวัดแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ในด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ ที่เคยได้อบรมจาu3585 ครอบครัวมา จะเห็นได้ว่าสถาบันทั้งสามนี้ล้วนแต่มี บทบาทในการศึกษาอบรมสำหรับคนไทยในสมัยนั้น ในการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง นอกจากนี้ในชุมชนต่าง ๆ ก็มีภูมิปัญญามากมายซึ่งมีปราชญ์แต่ละสาขาวิชา เช่น ด้านการก่อสร้าง หัตถกรรม ศิลปกรรม ประติมากรรม และแพทย์แผนโบราณเป็นต้นส่วนพระมหากษัตริย์ในสมัยนี้มีพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาในสมัยนั้นและมีอิทธิพลต่อมา กล่าวคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระเจ้าลิไท) ซึ่งพระราชกรณียกิจที่สำคัญ เช่น การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นครั้งแรก โดยทรงดัดแปลงมาจากตัวหนังสือขอมและมอญ อันเป็นรากฐานด้านอักษรศาสตร์จนนำมาสู่การพัฒนาปรับปรุงเป็นอักษรไทยในปัจจุบัน ศิลาจารึกหลักที่ 1 จึงเป็นศิลาจารึกที่จารึกเป็นอักษรไทยให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสุโขทัยในด้านประวัติศาสตร์ส่วนการบำรุงพุทธศาสนาในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( พระเจ้าลิไท) ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าพระองค์ทรงสละราชย์สมบัติออกบวชเป็นพระภิกษุชั่วระยะหนึ่ง นับเป็นแบบอย่างของการบวชเรียนในสมัยต่อมา การที่พระองค์ทรงจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์โดยกำหนดให้การปกครองสงฆ์ออกเป็นสองคณะ กล่าวคือ คณะอรัญวาสีและคณะคามวาสี และการที่พระองค์ทรงพระนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นการสอนศีลธรรมให้ราษฎรประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามละเว้นความชั่ว ผู้ประพฤติดีจะได้ขึ้นสวรรค์ผู้ประพฤติชั่วจะต้องตกนรก ซึ่งพระองค์ทรงบรรยายไว้อันน่าสะพึงกลัวนับเป็น วรรณคดีร้อยแก้วที่มีความสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย โดยกล่าวถึงโลกมนุษย์ สวรรค์และนรกเป็นวรรณคดีที่ได้รับการกล่าวอ้างถึงในวรรณกรรมต่างๆ และเป็น วรรณคดีที่มีความสำคัญต่อคำสอนในพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบันนี้

1.1 การศึกษาในสมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781 – พ.ศ. 1921) มีลักษณะการจัด ดังนี้

1. รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่าย

อาณาจักรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร เช่น มวย กระบี่ กระบองและอาวุธต่างๆ ตลอดจนวิธีการบังคับม้า ช้าง ตำราพิชัยยุทธซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงของผู้ที่จะเป็นแม่ทัพนายกอง และส่วนที่สอง พลเรือน เป็นการจัดการศึกษาให้แก่พลเรือนผู้ชายเรียนคัมภีร์ไตรเวทโหราศาสตร์ เวชกรรม ฯลฯ ส่วนพลเรือนผู้หญิงให้เรียนวิชาช่างสตรี การปัก การย้อม การเย็บ การถักทอ นอกจากนั้นมีการอบรมบ่มนิสัย กิริยามารยาท การทำอาหารการกินเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีไป ฝ่ายศาสนาจักร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาการจัดการศึกษาในสมัยสุโขทัย จึงเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นพระพุทธศาสนาและศิลปศาสตร์ สมัยนี้พ่อขุนรามคำแหงได้นำช่างชาวจีนเข้ามาเผยแพร่การทำถ้วยชามสังคโลกให้แก่คนไทย และหลังจากที่ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยแล้วงานด้านอักษรศาสตร์เจริญขึ้น มีการสอนภาษาไทยในพระบรมมหาราชวัง มีวรรณคดีที่สำคัญ คือ หนังสือไตรภูมิพระร่วงและตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

2. สถานศึกษา สำหรับสถานศึกษาในสมัยนี้ ประกอบด้วย

(1) บ้าน เป็นสถาบันสังคมพื้นฐานที่ช่วยทำหน้าที่ในการ

ถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพตามบรรพบุรุษ การก่อสร้างบ้านเรือนศิลปการป้องกันตัวสำหรับลูกผู้ชายและการบ้านการเรือน เช่น การจีบพลู การทำอาหารและการทอผ้าสำหรับลูกผู้หญิง เป็นต้น

(2) สำนักสงฆ์ เป็นสถานศึกษาที่สำคัญของราษฎรทั่วไป เพื่อ

หน้าที่ขัดเกลาจิตใจ และแสวงหาธรรมะต่างๆ

(3) สำนักราชบัณฑิต เป็นบ้านของบุคคลที่ประชาชนยกย่องว่ามี

ความรู้สูง บางคนก็เป็นขุนนางมียศถาบรรดาศักดิ์ บางคนก็เคยบวชเรียนแล้วจึงมีความรู้ แตกฉานในแขนงต่างๆ

(4) พระราชสำนัก เป็นสถานศึกษาของพระราชวงศ์และบุตรหลาน

ของขุนนางในราชสำนักมีพราหมณ์หรือราชบัณฑิตเป็นครูสอน

3. วิชาที่สอน ไม่ได้กำหนดตายตัว พอแบ่งออกได้ดังนี้

(1) วิชาความรู้สามัญ สันนิษฐานว่าในช่วงต้นสุโขทัยใช้ภาษาบาลี

และสันสกฤตในการศึกษา ต่อมาในสมัยหลังจากที่พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 จึงมีการเรียนภาษาไทยกัน

(2) วิชาชีพ เรียนกันตามแบบอย่างบรรพบุรุษ ตระกูลใดมีความ

ชำนาญด้านใดลูกหลานจะมีความถนัดและประกอบอาชีพตามแบบอย่างกันมา เช่น ตระกูลใดเป็นแพทย์ก็จะสอนบุตรหลานให้เป็นแพทย์

(3) วิชาจริยศึกษา สอนให้เคารพนับถือบรรพบุรุษ การรู้จัก

กตัญญูรู้คุณการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม และการรู้จักทำบุญให้ทาน ถือศีลในระหว่างเข้าพรรษา เป็นต้น

(4) วิชาศิลปะป้องกันตัว เป็นการสอนให้รู้จักการใช้อาวุธ การ

บังคับสัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะในการออกศึกและตำราพิชัยยุทธ

1.2 การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)

กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีอันยาวนาน 417 ปี ซึ่งมีความเจริญทั้ง

ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับเกิดจากมีชนชาติต่าง ๆ ในเอเชียเข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาเพื่อตั้งหลักแหล่งหากินในดินแดนไทย เช่น จีน มอญ ญวน เขมร อินเดียและอาหรับ และตั้งแต่รัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ชาติตะวันตกได้เริ่มเข้า

มาติดต่อค้าขาย เช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาเป็นชาติแรก และมีชนชาติอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น มีผลให้การศึกษาไทยมีความเจริญขึ้น โดยเฉพาะใน รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ลักษณะการจัดการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา มีดังนี้

1. รูปแบบการจัดการศึกษา มีดังนี้

(1) การศึกษาวิชาสามัญ เน้นการอ่าน เขียน เรียนเลข อันเป็นวิชาพื้นฐาน

สำหรับการประกอบสัมมาอาชีพของคนไทย พระโหราธิบดีได้แต่งแบบเรียนภาษาไทย ชื่อ จินดามณี ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งใช้เป็นแบบเรียนสืบมาเป็นเวลานาน

(2) การศึกษาทางด้านศาสนา วัดยังมีบทบาทมากในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

บรมโกศ พระองค์ทรงส่งเสริมพุทธศาสนาโดยทรงวางกฎเกณฑ์ไว้ว่าประชาชนคนใดไม่เคยบวช

เรียนเขียนอ่านมาก่อน จะไม่ทรงแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการและในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมา มีนักสอนศาสนาหรือมิชชันนารีได้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือและวิชาอื่น ๆ ขึ้นเรียกโรงเรียนมิชชันนารีนี้ว่า โรงเรียนสามเณร เพื่อชักจูงให้ชาวไทยหันไปนับถือศาสนาคริสต์

(3) การศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์และวรรณคดี ปรากฎว่ามีการสอนทั้งภาษาไทย

บาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส เขมร พม่า มอญ และภาษาจีน ในรัชสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชมีวรรณคดีหลายเล่ม เช่น เสือโคคำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์ อนิรุทธ์คำฉันท์ และกำสรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น

(4) การศึกษาของผู้หญิง มีการเรียนวิชาชีพ การเรือนการครัว ทอผ้า ตลอดจนกิริยามารยาท เพื่อป้องกันไม่ให้เขียนเพลงยาวโต้ตอบกับผู้ชาย แต่ผู้หญิงที่อยู่ใน ราชตระกูลเริ่มเรียนภาษาไทยตลอดทั้งการประพันธ์ด้วย ในสมัยนี้โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่นำวิธีการทำขนมหวานที่ใช้ไข่มาเป็นส่วนผสม เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง มาเผยแพร่จนขนมเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ขนมหวานของไทยในปัจจุบัน

(5) การศึกษาวิชาการด้านทหาร มีการจัดระเบียบการปกครองในแผ่นดิน

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกัน หัวหน้าฝ่ายทหารเรียกว่า สมุหกลาโหม ฝ่ายพลเรือนเรียกว่า สมุหนายก ในรัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงจัดวางระเบียบทางด้านการทหาร มีการทำบัญชี คือ การเกณฑ์คนเข้ารับราชการทหาร ผู้ชายอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปถึง 60 ปี เรียกว่าไพร่หลวง เชื่อว่าต้องมีการศึกษาวิชาการทหาu3619 เป็นการศึกษาด้านพลศึกษาสำหรับผู้ชาย ฝึกระเบียบวินัยเพื่อฝึกอบรมให้เป็นกำลังสำคัญของชาติ

2. สถานศึกษา ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ยังคงเหมือนกับสมัยสุโขทัยที่ต่างออกไป คือ มีโรงเรียนมิชชันนารี เป็นโรงเรียนที่ชาวตะวันตกได้เข้ามาสร้างเพื่อเผยแพร่ศาสนาและขณะ เดียวกันก็สอนวิชาสามัญด้วย

3. เนื้อหาวิชาที่สอน มีสอนทั้งวิชาชีพและวิชาสามัญ กล่าวคือ

(1) วิชาสามัญ มีการเรียนวิชาการอ่าน เขียน เลข ใช้แบบเรียนภาษาไทยจินดามณี

(2) วิชาชีพเรียนรู้กันในวงศ์ตระกูล สำหรับเด็กผู้ชายได้เรียนวิชาวาดเขียน แกะสลัก และช่างฝีมือต่าง ๆ ที่พระสงฆ์เป็นผู้สอนให้ ส่วนเด็กผู้หญิงเรียนรู้การบ้านการเรือนจากพ่อแม่สมัยต่อมาหลังชาติตะวันตกเข้ามาแล้วมีการเรียนวิชาชีพชั้นสูงด้วย เช่น ดาราศาสตร์ การทำน้ำประปา การทำปืน การพาณิชย์ แพทยศาสตร์ ตำรายา การก่อสร้าง ตำราอาหาร เป็นต้น

(3) ด้านอักษรศาสตร์ มีการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ มีวรรณคดีหลายเล่มที่เกิดขึ้น เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ และกำศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น อีกทั้งมีการสอนภาษาไทย บาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส เขมร พม่า มอญ และจีน

(4) วิชาจริยศึกษา เน้นการศึกษาด้านพระพุทธศาสนามากขึ้น เช่นในสมัย

พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงกวดขันในเรื่องการศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาก มีการกำหนดให้ผู้ชายที่เข้ารับราชการทุกคนจะต้องเคยบวชเรียนมาแล้ว เกิดประเพณีการอุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี นอกจากนี้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทรงให้เสรีภาพไม่กีดกันศาสนา ทรงอุปถัมภ์พวกสอนศาสนา เพราะทรงเห็นว่าศาสนาทุกศาสนาต่างสอนให้คนเป็นคนดี

(5) วิชาพลศึกษายังคงเหมือนสมัยสุโขทัย
1.3 การศึกษาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311 –พ.ศ. 2411)

การศึกษาในสมัยนี้เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา บ้านและวัดยังคงมีบทบาทเหมือนเดิม การจัดการศึกษาในช่วงนี้ มีดังนี้

(1) สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี

เป็นระยะเก็บรวบรวมสรรพตำราจากแหล่งต่าง ๆ ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า เน้นการทำนุบำรุงตำราทางศาสนา ศิลปะและวรรณคดี

(2) สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ทรงฟื้นฟูการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี มีการแต่งรามเกียรติได้เค้าโครงเรื่องมาจากอินเดียเรื่อง รามายณะ ศิลปะ กฎหมาย เช่น กฎหมายตรา3ดวง และหลักธรรมทางศาสนา มีการสังคายนาพระไตรปิฎก

(3) สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

เริ่มมีชาวยุโรป เช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาติดต่อทางการค้ากับไทยใหม่ หลังจากเลิกราไปเมื่อประมาณปลายสมัยอยุธยา และชาติอื่น ๆ ตามเข้ามาอีกมากมาย เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา เป็นต้น เนื่องจากยุโรปมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เปลี่ยนระบบการผลิตจากการใช้มือมาใช้เครื่องจักร พลังงานจากไอน้ำสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้นจึงต้องหาแหล่งระบายสินค้า ในสมัยนี้ได้ส่งเสริมการศึกษาทั้งวิชาสามัญ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ จริยศาสตร์ มีการตั้งโรงทานหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ให้การศึกษา

(4) สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงส่งเสริมการศึกษาด้านศาสนาเป็นพิเศษ มีการจารึกวิชาความรู้สามัญและวิชาชีพลงในแผ่นศิลาประดับไว้ตามระเบียงวัดพระเชตุพนจนมีผู้กล่าวว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย มีการใช้หนังสือไทยชื่อ ประถม ก กา และประถมมาลา นับเป็นแบบเรียนเล่มที่ 2 และ 3 ต่อจากจินดามณีของพระโหราธิบดี ต่อมานายแพทย์ ดี บี บรัดเลย์ได้นำกิจการแพทย์สมัยใหม่ เช่น การผ่าตัดเข้ามารักษาคนไข้และการตั้งโรงพิมพ์หนังสือไทยเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2379 โดยรับจ้างพิมพ์เอกสารทางราชการเรื่องห้ามสูบฝิ่น จำนวน 9,000 ฉบับ เมื่อปีพ.ศ. 2382

(5) สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในสมัยนี้ชาวยุโรป และอเมริกันเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและสอนศาสนา มีการนำวิทยาการสมัยใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในเมืองไทยเพิ่มขึ้น และพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงทรงจ้างนางแอนนา เอช เลียวโนเวนส์ มาสอนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อ พ.ศ. 2405 จนรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ลักษณะการจัดการศึกษาเป็นแบบเดิมทั้งวัดและบ้าน ในส่วนวิชาชีพและวิชาสามัญ มีอักษรศาสตร์ ธรรมชาติวิทยาหรือวิทยาศาสตร์

1.การศึกษาของไทยสมัยโบราณ (พ.ศ. 1780 - พ.ศ. 2411 )

ยังเน้นการจัดการศึกษาที่วัดและบ้าน โดยมีหลักสูตรเกี่ยวกับการอ่านและเขียนภาษาไทยทั้งในด้านโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน โหราศาสตร์ และไสยศาสตร์จากอาศัยคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา มาจนกระทั่งในสมัยพระนารายณ์มหาราชเริ่มใช้หนังสือจินดามณีเล่มแรก ต่อมามีประถม ก กา และประถมมาลา ส่วนครูผู้สอนได้แก่ พระภิกษุ นักปราชญ์ราชบัณฑิต พ่อแม่ ช่างวิชาชีพต่างๆ สำหรับการวัดผลไม่มีแบบแผนแต่มักจะเน้นความจำและความสามารถในการประกอบอาชีพจึงจะได้รับการยกย่องและได้รับราชการ

2. การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 – พ.ศ. 2475)

มุ่งให้คนเข้ารับราชการและมีความรู้ทัดเทียมฝรั่งแต่ไม่ใช่ฝรั่ง แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

2.1 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลังจากที่พระองค์ได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทรงปรับปรุงประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านการปกครอง การศาล การคมนาคมและสาธารณสุข เป็นต้น โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้นพระองค์ได้ทรงตระหนัก เพื่อปรับปรุงคนในประเทศให้มีความรู้ความสามารถจะช่วยให้ ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน ดังพระราชดำรัสที่ว่า “ … วิชาหนังสือเป็นวิชาที่น่านับถือและเป็นที่น่าสรรเสริญมาแต่โบราณว่า เป็นวิชาอย่างประเสริฐซึ่งผู้ยิ่งใหญ่นับแต่ พระมหากษัตริย์เป็นต้นมา ตลอดจนราษฎรพลเมืองสมควรและจำเป็นจะต้องรู้เพราะเป็นวิชาที่อาจทำให้การทั้งปวงสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่าง… ” การที่พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้มีการจัดการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผน (Formal education) มีโครงการศึกษาชาติ มีโรงเรียนเกิดขึ้นในวังและในวัด มีการกำหนดวิชาทีเรียน มีการเรียนการสอบไล่ และมีทุนเล่าเรียนหลวงให้ไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยที่มีผลในการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้มีหลายปัจจัย เช่น

(1) แนวคิดและวิทยาการต่างๆ ของชาติตะวันตก ซึ่งคณะมิชชันนารีได้นำวิทยาการเข้ามาเผยแพร่ในด้านการแพทย์ การพิมพ์หนังสือและระบบโรงเรียนของพวกสอนศาสนา ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสืบเนื่องมาถึงในสมัยนี้ เป็นเหตุให้ไทยต้องรับและปรับปรุงแนวคิดในการจัดการศึกษาขึ้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ

(2) ภัยจากการคุมคามของประเทศมหาอำนาจในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19หรือปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ลัทธิจักรพรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมายังประเทศต่างๆ ในเอเชียซึ่งประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ญวน เขมรและมลายูเป็นต้น ต่างตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศมหาอำนาจ ส่วนประเทศไทยมีจุดอ่อนทั้งในเรื่องความล้าหลัง ระบบการปกครองและการกำหนดเขตแดนที่ชัดเจนพระองค์จึงทรงห่วงใยบ้านเมือง จึงดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบประณีประนอมและเร่งปรับปรุงประเทศ โดยเน้นการศึกษาของชาติ

(3) ความต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เข้ามารับราชการเนื่องจากพระองค์ทรงปรับปรุงและขยายงานในส่วนราชการต่างๆ จึงจำเป็นต้องจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนคนให้เข้ามารับราชการ

(4) โครงสร้างของสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการเลิกทาสและมีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น วัฒนธรรมแบบอย่างตะวันตกได้แพร่หลายจึงจำเป็นต้องการปรับปรุงการศึกษา เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น

(5) การที่พระองค์ได้เสด็จต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรป ทำให้ได้แนวความคิดเพื่อนำมาปฏิรูปการศึกษาและใช้เป็นแนวทางพัฒนาบ้านเมือง

1. การจัดตั้งสถานศึกษา

ปี พ.ศ. 2414 จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อฝึกคนให้เข้ารับราชการ มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) ในขณะนั้นเป็นหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ โดยมีการสอนหนังสือไทย การคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการ นอกจากมีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับสอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง เกิดจากแรงผลักดันทางการเมืองที่ส่งผลให้ไทยต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อจะได้เจรจากับมหาอำนาจตะวันตก และมีการส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศอังกฤษ

-ปี พ.ศ. 2423 จัดตั้งโรงเรียนสุนันทาลัยในพระบรมมหาราชวังเป็นโรงเรียนสตรี

-ปี พ.ศ. 2424 ปรับปรุงโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบให้เป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ต่อมาได้กลายเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในปี พ.ศ. 2453 และปี พ.ศ. 2459 ได้ตั้งเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-ปี พ.ศ. 2425 จัดตั้งโรงเรียนแผนที่และในปี พ.ศ.2427 จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัดในกรุงเทพมหานครหลายแห่ง และแห่งแรก คือ โรงเรียนมหรรณพาราม

-ปี พ.ศ. 2432 ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น เรียกว่า โรงเรียนแพทยากร ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำหน้าโรงพยาบาลศิริราช ใช้เป็นที่สอนวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน

-ปี พ.ศ. 2435 จัดตั้งโรงเรียนมูลศึกษาขึ้นในวัดทั่วไปทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง โดยประสงค์จะขยายการศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยให้แพร่หลายเป็นแบบแผนยิ่งขึ้น และตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเป็นแห่งแรกที่ตำบลโรงเลี้ยงเด็ก ต่อมาย้ายไปอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส

-ปี พ.ศ. 2437 นักเรียนฝึกหัดครูชุดแรก 3 คนสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรเป็นครูสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

-ปี พ.ศ. 2449 ย้ายโรงเรียนฝึกหัดครู ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดเทพศิริทราวาส ไปรวมกับโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก (บ้านสมเด็จเจ้าพระยา) ปรับปรุงหลักสูตรให้สูงขึ้นเป็น โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สอนหลักสูตร 2 ปี รับนักเรียนที่สำเร็จมัธยมศึกษา

-ปี พ.ศ. 2456 ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนเบญจมราชาลัย

2. การบริหารการศึกษา

เมื่อจำนวนโรงเรียนเพิ่มมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบ การ

ศึกษาเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เช่น ปี พ.ศ. 2430 ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมศึกษาธิการโดนโอนโรงเรียนที่สังกัดกรมทหารมหาดเล็กมาทั้งหมด ให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพเป็นผู้บัญชาการอีกตำแหน่งหนึ่ง ปี พ.ศ. 2432 รวมกรมศึกษาธิการเข้าไปอยู่ในบังคับบัญชาของกรมธรรมการ และ ปีพ.ศ. 2435 ประกาศตั้งกระทรวงธรรมการ มีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดี มีหน้าที่ในการจัดการศึกษา การพยาบาล พิพิธภัณฑ์และศาสนา

3. การจัดแบบเรียนหลักสูตรและการสอบไล่

ปี พ.ศ. 2414 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจาริยางกูร) เรียบเรียงแบบเรียนหลวงขึ้น 1 เล่ม ชุดมูลบรรพกิจ เพื่อใช้เป็นบทหลักสูตรวิชาชั้นต้นปี พ.ศ. 2427 กำหนดหลักสูตรชั้นประโยคหนึ่ง โดยอนุโลมตามแบบเรียนหลวงหกเล่ม นับเป็นปีแรกที่จัดให้มีการสอบไล่วิชาสามัญ และมีการกำหนดหลักสูตรชั้นประโยคสอง ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิชาสามัญศึกษา หมายถึง ความรู้ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้สำหรับเสมียนในราชการพลเรือนตามกระทรวงต่าง ๆ

-ปี พ.ศ. 2431 กรมศึกษาธิการ จัดทำแบบเรียนเร็วใช้แทนแบบเรียนหลวงชุดเดิม ผู้แต่งคือ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) 1 ชุด มี 3 เล่ม

-ปี พ.ศ. 2433 ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิชา พ.ศ. 2433 มีผลทำให้หลักสูตรภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ประโยค หลักสูตรภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 6 ชั้น

-ปี พ.ศ. 2434 ได้แก้ไขการสอบไล่จากเดิมปีละครั้งเป็นปีละ 2 ครั้งเพื่อไม่ให้นักเรียนเสียเวลานานเกินไป

2.2 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา มีดังนี้

(1) พระบรมราชโชบายในการปกครองประเทศ เพื่อให้ประเทศ

มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยการส่งทหารไปร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 นอกจากนี้พระองค์ทรงสร้างความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ประชาชนชาวไทยโดยมีสาระสำคัญของอุดมการณ์ชาตินิยม คือ ความรักชาติ ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และความยึดมั่นในพุทธศาสนา

(2) พระองค์ทรงศึกษาวิชาการจากต่างประเทศ และเมื่อเสด็จ

กลับมาแล้วพระองค์ได้ทรงนำเอาแบบอย่างและวิธีการที่เป็นประโยชน์มาใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการศึกษา เช่น ทรงนำเอาแบบอย่างและวิธีการที่เป็นประโยชน์มาใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการศึกษา เช่น ทรงนำเอาวิชาลูกเสือจากประเทศอังกฤษเข้ามาจัดตั้งกองเสือป่า พระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์โดย ทรงแปลวรรณคดีต่างประเทศเป็นภาษาไทยและทรงนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง

(3) ผลอันเนื่องจากการจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคนส่วนมากที่ได้รับการศึกษา มีความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการ

ปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญในระบบรัฐสภา จึงมีความปรารถนาจะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตย และปัญหาอันเกิดจากคนล้นงานและคนละทิ้งอาชีพและถิ่นฐานเดิม มุ่งที่จะหันเข้าสู่อาชีพราชการมากเกินไป

2. วิวัฒนาการในการจัดการศึกษา มีดังนี้

-ปี พ.ศ. 2453 ประกาศตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเพื่อฝึกคนเข้ารับราชการตามกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ และต่อมาปี พ.ศ. 2459 ได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนนี้ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

-ปี พ.ศ. 2454 ตั้งกองลูกเสือหรือเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรกโครงการศึกษาพ.ศ. 2456 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2458 โดยมุ่งให้ประชาชนมีความรู้ทางด้านการทำมาหาเลี้ยงชีพตามอัตภาพของตน พยายามที่จะเปลี่ยนค่านิยมของประชาชนไม่ให้มุ่งที่จะเข้ารับราชการอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2459 จัดตั้งกองลูกเสือหญิงและอนุกาชาดโรงเรียนกุลสตรีวังหลังและได้จัดตั้งกองลูกเสือหญิงขึ้น เรียกว่า เนตรนารี ปี พ.ศ. 2461 มีการปรับปรุงและขยายฝึกหัดครูขึ้นโดยโอนกลับมาขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเดิมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน

-ปี พ.ศ. 2461 ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ และ

-ปี พ.ศ. 2464ปรับปรุงโครงการศึกษาชาติ โดยวางโครงการศึกษาขึ้นใหม่เพื่อส่งเสริมให้ทำมาหาเลี้ยงชีพ นอกเหนือจากทำราชการ

-ปี พ.ศ. 2464 ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาบังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์หรือย่างเข้าปีที่ 8 ให้เรียนอยู่ในโรงเรียนจนถึงอายุ 14 ปีบริบูรณ์หรือย่างเข้าปีที่ 15 โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และมีการเรียกเก็บเงินศึกษาพลีจากประชาชนคนละ 1- 3 บาทเพื่อนำไปใช้จ่ายในการจัดดำเนินการประถมศึกษา

2.3 การจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาในสมัยนี้มีดังนี้

(1) ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นภายในประเทศ มีกลุ่มผู้ตื่นตัวทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีการวิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช

(2) ปัญหาสืบเนื่องจากอิทธิพลจักรวรรดินิยมตะวันตก ซึ่งตกค้างมาตั้งแต่รัชกาลก่อน ๆ

(3) ปัญหาสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในระหว่าง พ.ศ.2463 - พ.ศ. 2474 เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ จนเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายลง มีการยุบหน่วยงานและปลดข้าราชการออก สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(4) ปัญหาสืบเนื่องจากการประกาศใช้กฎหมายการศึกษา คือพระราชบัญญัติประถมศึกษา ทำให้การศึกษาแพร่หลายออกไป แต่ขาดความพร้อมทางด้านงบประมาณการศึกษา

2. วิวัฒนาการการจัดการศึกษาในสมัยนี้ มีดังนี้

(1) ปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการอย่างเดิม

(2) ปี พ.ศ. 2473 ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีคนละ 1 – 3 บาท จากผู้ชายทุกคนที่มีอายุระหว่าง 16 - 60 ปี โดยใช้เงินจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอุดหนุนการศึกษาแทน

(3) ปี พ.ศ. 2474 ปรับปรุงกระทรวงธรรมการเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศ โดยยุบกรมสามัญศึกษาในตอนนั้น กระทรวงธรรมการจึงมีหน่วยงานเพียง 3 หน่วยคือ กองบัญชาการ กองตรวจการศึกษากรุงเทพ ฯ และกองสุขาภิบาลโรงเรียน

(4) ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการควบคุมแบบเรียน

3. การศึกษาสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475 –ปัจจุบัน)

1. ปัจจัยของไทยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา

(1) นโยบายการจัดการศึกษาของคณะราษฎร์ ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้วางเป้าหมายสำคัญหรืออุดมการณ์ของคณะราษฎร์ มีปรากฏอยู่ในหลัก 6 ประการ ข้อที่ 6 จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร เพราะคณะราษฎร์มีความเห็นว่าการที่จะให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องจัดการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง เมื่อประชาชนมีการศึกษาดีย่อมจะทำให้ประเทศชาติเจริญขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา พ.ศ. 2475 กล่าวไว้ว่า “….การจัดการศึกษาเพื่อจะให้พลเมืองได้มีการศึกษาโดยแพร่หลาย ก็จะต้องอนุโลมตามระเบียบการปกครองที่ให้เข้าลักษณะเกี่ยวกับแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ หลักสูตรของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะต้องขยายให้สูงขึ้นเท่าเทียมอารยประเทศ ในการนี้จะต้องเทียบหลักสูตรของนานาประเทศ หลักสูตรใดสูงถือตามหลักสูตรนั้น” รัฐบาลชุดต่อๆ มาก็ได้พยายามที่จะได้จัดการศึกษาให้ทั่วถึงในหมู่ประชาชนทั่วไป ถ้าวิเคราะห์ดูจากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลพบว่า ได้ตั้งความหวังเรื่องการศึกษาไว้สูงเกินไปจะให้เท่าเทียมอารยประเทศ ซึ่งสภาวการณ์ในประเทศขณะนั้นยังไม่มีความพร้อม โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในขณะนั้น เป็นผลให้เกิดปัญหาในการจัดการศึกษานับแต่นั้นเป็นต้นมา

(2) การเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2488ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อประเทศไทยอย่างรุนแรงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้รับความเสียหาย อันสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง จึงจำเป็นต้องกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศและประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ทำให้ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตลอดจนแนวคิดใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาประเทศ ทำให้แนวคิดทางการศึกษาของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นอย่างมาก

2. วิวัฒนาการการจัดการศึกษา มีดังนี้

(1) มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว โดยจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ๆ ให้ตั้งสภาการศึกษา พ.ศ. 2475 ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ ต่อมามีการปรับปรุงการจัดการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี เหลือ 4 ปี และประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479

(2) การมอบให้ท้องถิ่นจัดการศึกษา พ.ศ. 2476 และยกฐานะท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลตราพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้น และเทศบาลได้จัดการศึกษาอย่างแท้จริงใน พ.ศ. 2478

(3) การปรับปรุงหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษาและเหตุการณ์สำคัญทางการศึกษา ดังเช่น ปี พ.ศ. 2476 มีการปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวงธรรมการและประกาศตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ปี พ.ศ. 2477 โอนคณะนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสมทบกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ปี พ.ศ. 2478 ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาทั่วประเทศ ปี พ.ศ. 2488 ประกาศใช้พระราชบัญญัติครูพุทธศักราช 2488 ปี พ.ศ. 2494 มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ปีพ.ศ.2503 ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่2 ปีพ.ศ.2520 ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่3 และปัจจุบันกำลังใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535

ฉบับที่ 4 และ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542การปฏิวัติเมื่อเดือนตุลาคม 2501 ได้มีการจัดทำและนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาใช้ ซึ่งต่อมาได้ยุบเลิกและจัดตั้งสภาการศึกษาขึ้นมาแทน สภานี้ได้พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 ขึ้นมา เป็นผลให้การศึกษาในระยะหลังได้เปลี่ยนไปอย่างมาก การศึกษาได้ขยายตัวขึ้นทุกระดับ เพราะประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา จึงจำเป็นจะต้องส่งเสริมให้พลเมืองได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น เพื่อจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพสามารถเพิ่มรายได้ของตน และช่วยยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้น ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้ให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509) ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2514) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2519 ) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2524) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529) ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534) ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539) ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544) และฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2549) ซึ่งการจัดการศึกษาในปัจจุบันได้มุ่งยึดแนวนโยบายที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545- พ.ศ. 2549) ได้จัดแผนการศึกษาระยะ เวลา 15 ปีเพื่อวางแนวทางในการพัฒนาการอย่างบูรณาการคุณภาพชีวิตในทุก ๆ ด้านและสอดรับกับวิสัยทัศน์ แนวนโยบาย มาตรการและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมไทย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545 ข : คำนำ) ส่วนการจัดการศึกษาของประเทศไทยในสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญมีการขยายสถานศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะในส่วน ภูมิภาค เช่น ปี พ.ศ. 2503 เริ่มก่อสร้างและจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรับนิสิตในปี พ.ศ. 2507 ปี พ.ศ. 2509 เริ่มก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในภาคใต้ เป็นต้น เนื่องจากมีผู้สนใจศึกษาในระดับอุดมศึกษามากขึ้นในปี พ.ศ. 2514 มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกและปี พ.ศ. 2521 ตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งที่สอง ความเคลื่อนไหวในทางการศึกษาได้นำไปสู่แนวคิดการพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษาให้สามารถพัฒนาทรัพยากรบุคคลในชาติตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีผลทำให้โครงสร้างการบริหารงานและการจัดการศึกษาได้ปรับเปลี่ยน ทั้งการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการเปิดสอu3609 ในสาขาวิชาการและวิชาชีพมุ่งพัฒนาให้ผู้รอบรู้เป็นคนเก่ง คนดีและใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข การปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการใหม่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ สภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการ

อุดมศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2545 ก : 43)

บทสรุป

การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและสร้างทักษะของบุคคลให้รู้จักดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข มีพฤติกรรมใฝ่รู้ที่จะเป็นพลังปัญญาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีช่วยขัดเกลาให้คนละอายต่อบาป มีทักษะในการประกอบอาชีพ เคารพกฎหมาย รู้คุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติ ตลอดจนสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ อีกทั้งสามารถช่วยสร้างสรรค์สังคมและพัฒนาประเทศชาติ ในการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีปรัชญาที่นิยมนำมาจัดการศึกษาได้แก่ ลัทธินิรันตรนิยม (Perennialism) สารัตถนิยม (Essentialism) พัฒนาการนิยม (Pregressivism) บูรณาการนิยม (Reconstructionism) และอัตภาวะนิยม (Existentialism) สำหรับปรัชญาการศึกษาไทยเป็นแบบผสมผสานระหว่างแนวคิดของชาติตะวันตกและอิงพุทธศาสนาประเทศไทยมีประวัติความเป็นมากับการศึกษาเป็นเวลาอันยาวนาน แบ่งการจัดการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 4 ยุค กล่าวคือ (1) การศึกษาไทยในสมัยโบราณ (พ.ศ. 1781 – พ.ศ. 2411) ยังไม่มีโรงเรียนแก่เด็กไทยในสมัยนั้นสามารถหาความรู้ได้จากที่บ้าน สำนักสงฆ์ วิชาที่สอนไม่ได้ตายตัว มีความรู้สามัญเพื่ออ่านออกเขียนได้ วิชาชีพ วิชา จริยศึกษา และศิลปะป้องกันตัว (2) การศึกษาในสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 – พ.ศ. 2475) ผลจากการเข้ามาของชาวตะวันตกและการเปิดประเทศค้าขายกับตะวันตกนั้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการเมืองการปกครอง และการศึกษาจึงได้มีความสำคัญขึ้นเพื่อพัฒนาคนเข้ามารับ ราชการนำไปสู่การเปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย จึงทำให้มีการจัดทำแผนแม่บทในการศึกษาเรียกว่าโครงการศึกษาฉบับแรกพ.ศ. 2441(3) การศึกษาสมัยปกครองตามระบอบ รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) การศึกษามีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากต้องการพัฒนาคนให้เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อีกทั้งเป็นเรื่องของสิทธิของประชาชนในการเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายปกครอง โครงการศึกษาได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้เปลี่ยนชื่อแผนการศึกษาชาติมาเป็นแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 และมีพระราชบัญญัติศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อมุ่งหวังว่าคนไทยสามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกและu3626 สังคมที่เปลี่ยนแปลงและเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพจึงได้จัดทำแผนการศึกษาระยะยาว 15 ปี เรียกว่า แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545-2559

ความหมายและลักษณะของภาษาไทย

1.1 ความหมายและความสำคัญของภาษา

คำว่า ภาษา หมายถึง คำพูด มาจากศัพท์เดิมว่า ภาษ ในภาษาสันสกฤต และคำว่า ภาส ในภาษาบาลี ในภาษาไทยใช้คำว่า ภาษ. ภาษา, ภาษณ์ (สัมภาษณ์), ประภาษ,และภาษิต ซึ่งหมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ

คำว่า ภาษา ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานปี 2542 ให้ความหมายไว้ว่า เสียง หรือ กริยา อาการที่ทำความเข้าใจกันได้ หรือคำพูดที่ใช้พูดกันโดยปริยาย หมายถึงคนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา หรือหมายความว่า มีความรู้ความเข้าใจ

ตัวภาษาจริง ๆ นั้น หมายถึง คำพูดเพียงคำเดียว หรือคำพูดที่เรียงกันเป็นข้อความที่สามารถสื่อสารให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แต่ภาษาที่จะสื่อสารกันได้นั้น ผู้ที่ส่งข้อความ หรือผู้ส่งสาร กับผู้รับข้อความหรือผู้รับสารจะต้องมีระบบเสียง ระบบการเรียงคำของภาษาเป็นแบบเดียวกันและเข้าใจวัฒนธรรมทางภาษาในทำนองเดียวกัน เช่น คนไทยสื่อสารภาษาไทยกับคนไทยด้วยกันจะเข้าใจกัน แต่ถ้าคนไทยใช้ภาษาไทยสื่อสารกับชาวเกาหลี หรือชาวญี่ปุ่น ซึ่งเขาไม่เคยรู้ระบบภาษาไทยเลย ชาวเกาหลีและชาวญี่ปุ่นนั้นจะไม่เข้าใจภาษาไทยเลย

1.2 การเกิดของภาษา

แต่ดั้งเดิม มนุษย์คงใช้ภาษาใบ้ โดยการเคลื่อนไหวทางอวัยวะของร่างกาย เช่น ยกมือ หมายถึง การส่งสัญญาณว่า ดีใจ หรือยอมแพ้

โบกมือ หมายถึง การส่งสัญญาณว่า ให้มา หรือให้ไป หรือโบกมืออำลา

ชี้นิ้ว หมายถึง การชี้เฉพาะเจาะจง หรือคำสั่งให้ทำ

สั่นศีรษะ หมายถึง การบอกปฏิเสธว่า ไม่ทำ หรือทำไม่ได้

พยักหน้า หมายถึง การยอมรับ หรือการจะปฏิบัติตาม

ยักคิ้ว หมายถึง การยิ้มแย้มแจ่มใส และอยากผูกไมตรีด้วย เป็นต้น

ต่อมาคงเริ่มใช้เสียงอุทานแบบสั้น ๆ ก่อน เช่น อุ้ย… โอ้ย… ฮ้า… แล้วค่อยขยายเป็นข้อความยาว ๆ เช่น ฮู้ฮูแฮะ โอยโอ้ย ฮ้าไฮ้ เป็นต้น สื่อความหมายเข้าใจกันในหมู่คณะเดียวกันก่อนว่าเสียงอย่างนี้ อาการอย่างนี้ หมายถึงอะไร แล้วค่อยขยายไปในหมู่คณะอื่น ๆ ต่อไป

1.3 มูลเหตุที่เกิดภาษา

นักปราชญ์ทางภาษาศาสตร์สันนิฐานว่า เกิดจากสิ่งแวดล้อมและตัวเราเองดังนี้

1.เกิดจากการเลียนเสียงจากสิ่งแวดล้อม เช่น

- จากเสียงของสัตว์ เช่น กบ กา กาเหว่า จิ้งจก ตุ๊กแก อึ่งอ่าง แมว ฯลฯ

- จากเสียงของวัตถุ เช่น ตึง ๆ ตัง ๆ โครมคราม กรุบกรับ ฉิ่งฉับ ฯลฯ

-จากเสียงของธรรมชาติ เช่น เสียงฟ้าร้องครืน ๆ เสียงฝนดังซ่า ๆ ลมพัดดังหวิว ๆ น้ำตกดังซู่ ๆ

-จากเสียงของเด็กทารกร้อง เช่น อ้อแอ้ ป้อแป้ หม่ำ ๆ อุแว้ ฯลฯ

2.เกิดจากเสียงอุทานที่เปล่งออกมาจากความรู้สึกต่าง ๆ เช่น โอ้โอ๋ โอ้โฮ วุ้ยว้าย เฮ้อ เฮ้ย ฮ้าไฮ้ เหวย ๆ เย้ว ๆ ซี้ด ๆ ฯลฯ

3.เกิดจากเสียงที่เปล่งออกมาในขณะที่ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ฮุยเลฮุย บึดจ้ำบึด ฮ้าไฮ้เชี้ยบ ๆ

4.เกิดจากการคิดคำขึ้นมาใช้และกำหนดความหมายของคำนั้น ๆ ให้เข้าใจกันได้ในหมู่คณะ ต่อมามีการคิดตัวอักษรขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์แทนเสียง แทนคำพูดนั้น ๆ จนเป็นที่เข้าใจในหมู่คนทั่วไป

1.4 ความสำคัญของภาษา

ภาษาไทยสื่อสารกันระหว่างมนุษย์และสัตว์บางชนิด เพื่อแสดงความในใจ ความคิด ความเห็นของตนให้ผู้อื่นได้รับรู้ ได้เข้าใจในความคิด และความเห็นของตน สาเหตุที่มนุษย์คิดภาษาขึ้นมาใช้นั้นเพราะว่ามนุษย์มีสติปัญญาดีกว่าสัตว์อื่น ๆ รู้จักสร้างคำแทนความหมายที่ตนต้องการ มนุษย์จึงสามารถสื่อสารกันได้รวดเร็วและพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้ากว่าสัตว์อื่น ๆ

ภาษาเป็นเครื่องมือวัดความเจริญทางวัฒนธรรมของชาติว่า ชาตินั้นมีความเจริญมากน้อยเพียงใด โดยการสังเกตจากการพูดของคนชาตินั้น ๆ ว่า พูดได้น่าฟัง พูดไพเราะอ่อนโยน หรือแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ อย่างไรบ้าง

1.5 ธรรมชาติและ ประเภทของภาษา

1.5.1 ธรรมชาติของภาษา

ภาษา คือ คำพูดหรือเสียง ที่มนุษย์ใช้สื่อความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ความต้องการ และประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันหรือสัตว์ทุกชนิดทราบความหมาย

1.5.2 ประเภทภาษา ใหญ่ ๆ แบ่งได้ 3 คือ

1. โสตภาษา ได้แก่ การเข้าใจความหมายจากการฟัง (สุตะ) เช่น การฟังการสนทนากันในชีวิตประจำวัน และการฟังเพลง การฟังการจัดรายการทางวิทยุ-โทรทัศน์ และคนตาบอดฟังการสนทนาของคนอื่น การฟังเสียงต่าง ๆ ที่อยู่รอบข้างตัวเอง

2. จักษุภาษา ได้แก่ การเข้าใจความหมายของภาษาโดยการใช้นัยน์ตาดู เช่น ดูสัญลักษณ์การจราจร การมองภาพต่าง ๆ แม้แต่ภาษาใบ้ก็ต้องใช้นัยน์ตาเป็นสำคัญ

3. สัมผัสภาษา ได้แก่ การเข้าใจความหมายของภาษาโดยการใช้มือลูบคลำว่า สิ่งนั้น สิ่งนี้ มีรูปร่างมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น เล็ก- ใหญ่ อ้วน – ผอม หรือตัวอักษรเบรลที่ใช้สอนคนตาบอดก็ใช้มือคลำดู ใช้มือสัมผัสจึงจะรู้ความหมายได้

1.6 ประโยชน์ของการเรียนหลักภาษา

1. ทำให้ภาษาไม่เปลี่ยนแปลงเร็วจนเกินไป เพราะภาษาที่ใช้กันอยู่ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ถ้าเราใช้กันอย่างไม่มีกฎเกณฑ์ ต่างคนต่างใช้ จะทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น

2. ทำให้ทุกคนทราบความหมายของคำและสำนวนความได้ถูกต้องตรงกัน หมายถึง การให้ความหมายของคำ สำนวนคำและการเรียบเรียงคำเป็นรูปประโยคเป็นไปในแนวเดียวกันโดยการกำหนดภาษามาตรฐานขึ้น (ภาษากลาง)

3. ทำให้การสื่อสารกระชับ คือ ผู้รู้ภาษาดี จะใช้คำ ใช้ประโยคได้อย่างกระชับ เนื้อความตรงตามที่ตนต้องการจะสื่อสาร เช่น จะทำการสอบในวันจันทร์นี้ อาจจะเขียนใหม่ว่า จะสอบวันจันทร์นี้ ก็จะได้ความหมายเช่นเดียวกัน หรือเพื่อแก้ไขข้อความบางตอนมีความหมายถึง 2-3 ความหมายให้กระชับขึ้น เช่น กาแฟเย็นหมดแล้ว แก้ไขเป็น กาแฟเย็นไม่มีแล้ว หรือ กาแฟชงไว้นานเกินจนเย็นไปเสียแล้ว เป็นต้น

4. ทำให้ภาษาเจริญงอกงาม เพราะการใช้ภาษาทำให้ภาษามีวิวัฒนาการอยู่เสมอ โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เช่น คำว่า กิน ต่อมาใช้คำว่า ทาน รับประทานหรือรับทาน เป็นต้น พระภิกษุ ใช้คำว่า ฉัน หรือ ฉันภัตตาหาร ส่วนเจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า เสวย หรือการสร้างคำจาก รากศัพท์ (Root) เดียวกัน เวลาใช้สามารถแผลงรูปศัพท์ได้หลายรูป เช่น ยุว หมายถึง คนหนุ่มสาว, เด็กอ่อน สามารถแผลงเป็น ยุพ – เยาว- เยาว์ เช่น พระยุพราช เยาวมาลย์ และเยาวราช เป็นต้น

1.7 ตระกูลของภาษา

การคิดตัวอักษรขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูดนั้นมีมานานแล้ว มนุษย์หลายเผ่าพันธุ์ในแต่ละซีกโลกต่างก็คิดและมีวิธีคิด วิธีใช้แตกต่างกันออกไป บางกลุ่มคล้ายคลึงกัน บางกลุ่มก็แตกต่างกันจนต้องแยกเป็นตระกูล คือ ภาษาใดมาจากที่เดียวกันหรือมีลักษณะคำ ลักษณะอักษร และหลักการใช้ภาษาคล้ายคลึงกันก็รวมเป็นตระกูลเดียวกัน เช่น

ตระกูลคำโดด มีภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาญวน คือ คำเดียวโดด ๆ มีความหมายและใช้ได้เลย มีความหมายโดยไม่ต้องแจกวิภัตติ-ปัจจัย

ตระกูลมอญ-เขมร มีภาษามอญ ภาษาเขมร ภาษาข่า ภาษาขมุ เป็นต้น

ตระกูลพม่า – ทิเบต มีภาษาพม่า ภาษาทิเบต เป็นต้น

ตระกูลวิภัตติ-ปัจจัย มีภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาอังกฤษ คือ เริ่มตั้งแต่รากคำ (Root) แล้วต้องลงวิภัตติบ้าง ปัจจัยบ้างถึงจะใช้คำตามหน้าที่ได้

1.8 ลักษณะของภาษาไทยที่เป็นตระกูลคำโดด

ภาษาไทยอยู่ในตระกูลภาษาคำโดดเช่นเดียวกับภาษาจีน และมีใช้กันแพร่หลายในเอเซียอาคเนย์ เช่น ภาษาไทยเขินในประเทศเมียนมาร์ (พม่า) ภาษาไทยน้อย ภาษาไทยดำในประเทศลาว ภาษาไทยยองในจังหวัดลำพูน – เชียงใหม่ และภาษาไทยอาหมในแคว้นอัสสัมประเทศอินเดีย

ส่วนภาษาไทยที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย ได้ประดิษฐ์ขึ้นใช้ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 1826 และได้วิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จวบจนถึงปัจจุบันซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ ต่อไปนี้

1.ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง แบ่งเป็นสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ดังนี้

-สระมี 21 รูป 32 เสียง เช่น รูป – า เรียกว่า ลากข้าง เป็นต้น

-พยัญชนะมี 44 รูป 21 เสียง เช่น รูป ศ ษ ส ซ แต่มีเสียงเดียวคือ ซ เป็นต้น

-วรรณยุกต์มี 4 รูป 5 เสียง คือ รูป _ _ _ _ แต่มี 5 เสียง คือ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา

-ตัวอักษรเลขมี 10 ตัว คือ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐

2.ภาษาไทยแท้เป็นภาษาที่มีพยางค์เดียวในคำเดียวเป็นส่วนใหญ่ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ยืน เดิน เป็นต้น

3.ภาษาไทยแท้มีตัวสะกดตามมาตรา เช่น แม่กก ใช้ตัว “ก” เป็นตัวสะกด เช่น คำว่า นก ตก อก บก งก จก เป็นต้น

4.ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตำแหน่ง วางด้านหลัง เช่น มา ตา สา

วางด้านบน เช่น มี ตี สี วางไว้ด้านล่าง เช่น กู ดู งู วางไว้รอบตัวพยัญชนะ เช่น เมีย เคี้ยว เมี่ยง เสี่ยง เสียว ๆ

5.คำ คำเดียว ในภาษาไทยมีความหมายได้หลายอย่าง จะรู้ความหมายที่แน่นอนได้ต้องอาศัยคำแวดล้อม (ปริบท) เช่น ปลาหมอตายเพราะปาก แต่ฉันไม่กลัวเพราะฉันพูดเพราะ เป็นต้น

- เขาสนุกกัน แต่เขากันไม่ให้กันเข้าไปร่วมด้วย

- เขาเป็นคนน่าขัน ที่ถือขัน ไปขันชะเนาะ

คำว่า เพราะก็ดี กันก็ดี และขันก็ดี ในแต่ละตอนของประโยคทำหน้าที่ต่างกัน ความหมายต่างกัน แต่รู้ความหมายที่ถูกต้องได้ด้วยคำแวดล้อม (ปริบท )

6.ภาษาไทยมีความประณีต คือ ในความหมายอย่างหนึ่งอาจใช้คำได้หลายคำ เช่น ความหมายว่า ขาด หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ขาดจากกัน เราสามารถใช้คำกริยาได้หลายคำ เช่น ตัด หั่น แล่ เชือด เฉือน สับ ซอย ฟัน ลาบ หรือกริยาการทำให้เจ็บช้ำ เช่น ชก ตี ต่อย แตะ ตบ เป็นต้น

7. ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำ คำในประโยคถ้าเรียงสับตำแหน่งกัน ความหมายจะเปลี่ยนไป เช่น ฉันตีเด็ก ต่างจาก เด็กตีฉัน หรือประโยคว่า ฉันกินไข่ไก่ ความหมายต่างจากประโยคที่ว่า ฉันกินไก่ไข่ หรือ ใครใช้ให้ไป ไปให้ใครใช้ เป็นต้น

8.ภาษาไทยใช้คำ ตามระดับคำและมีศักดิ์ของคำด้วย เช่น

ภาษาแบบแผน หรือภาษามาตรฐาน คือ ภาษาที่ใช้เป็นทางการ ใช้เขียนตำรา ใช้ในทางกฎหมาย จะมีความประณีต สละสลวย ชัดเจน ตรงไปตรงมา เช่น ผลการเรียนของเธอไม่ดี

ภาษากึ่งแบบแผน หรือกึ่งมาตรฐาน คือ ภาษาที่ใช้พูดและเขียนที่ดี แต่ไม่ใช่ดีจนถึงขั้นที่เป็นมาตรฐาน ใช้เขียนรายงานทั่วไป หรือการเขียนบทความ เป็นต้น เช่น ผลการเรียนของเธอแย่มาก

ภาษาปาก หรือภาษาตลาด คือ ภาษาที่ใช้พูดจากันในชีวิตประจำวัน เป็นภาษาที่สื่อสารกันโดยทั่วไป ไม่มีสะบัดสำนวนไม่มีพิธีรีตอง อะไรนัก เพียงแต่สื่อสารกันรู้เรื่องเป็นใช้ได้ นักภาษาบางท่านได้แบ่งภาษาปากออกอีกหลายระดับ พอสรุปได้ว่า เป็นภาษาที่ใช้พูดกันธรรมดา เช่น โธ่..เรียนหนังสือไม่เอาไหนเลยหรือเรียนไม่เอาถ่านเลย

ส่วนศักดิ์ของภาษา คือ การใช้คำศัพท์ที่เสมอกันในแต่ละระดับ เช่น ภาษาปากว่า พ่อข้าขับรถรับจ้าง ส่วนแม่ข้าขายของ จะเห็นคำว่า พ่อ-แม่ เป็นคำที่มีศักดิ์เสมอกันแต่ถ้ากล่าวว่าพ่อข้าขับรถรับจ้างส่วนมารดาขายของ เป็นการพูดหรือการเขียนที่ไม่เหมาะสม การใช้คำศักดิ์ที่

เหมาะสมนั้นมีอยู่หลายคู่คำ เช่น ชาย – หญิง, ชนก – ชนนีสุภาพบุรุษ – สุภาพสตรี, บิดา – มารดา, พระภิกษุ- ภิกษุณี และอุบาสก – อุบาสิกา เป็นต้น

9. ภาษาไทยมีคำพ้องรูป คำพ้องเสียง

คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่สามารถอ่านได้ 2 อย่าง เช่น โคลง เรือ เรือจึงโคลง หรือ เขาหวงแหนจอกแหนและดอกโสน ดอกโตโต เหลืองผ่อง ข้างหนอง โสน เป็นต้น

คำพ้องเสียง คือ คำไทยบ้าง คำที่ยืมจากชาติอื่นบ้าง อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายไม่เหมือนกัน จะรู้ความหมายที่ถูกต้อง ต้องดูรูปศัพท์ประกอบ มิใช่ฟังแต่เสียงของคำ เช่น เจ้าเด็กพาลกำลังถือพานเข้าไปหาสมภาร หรือ สามเณรอุ้มบาตรไปบิณฑบาตเดินไปตามบาทวิถีแต่โชคไม่ค่อยดี เพราะเศษแก้วบาดเท้า

10. ภาษาไทยมีลักษณะนาม คือ คำที่ช่วยบอกลักษณะของสิ่งของที่กล่าวถึงว่า มีลักษณะมีรูปร่างเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น พระภิกษุ 3 รูป ถือดินสอ 12 แท่ง และหนังสือ 4 เล่ม เข้าไปหาอาจารย์

11. ภาษาไทยมีคำเสริมคำให้ไพเราะ เสริมคำให้สุภาพ เช่น เชิญครับ เชิญค่ะ นั่งตรงนี้นะคะ อาตมาให้ข้อคิดและธรรมมงคลเพียงเท่านี้ เจริญพร