หน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 40

GDPR ได้ระบุความหมายของคำว่า การประมวลผล ไว้ใน Article 4 ดังนี้

Show

any operation or set of operations which is performed on personal data or on sets of personal data, whether or not by automated means, such as collection, recording, organisation, structuring, storage, adaptation or alteration, retrieval, consultation, use, disclosure by transmission, dissemination or otherwise making available, alignment or combination, restriction, erasure or destruction

ดังนั้นการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล จึงเป็น การเก็บรวบรวม การบันทึก การจัดระบบ การวางโครงสร้าง การเก็บรักษา การปรับใช้ หรือการแปรสภาพ การค้นคืน การสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม การใช้ประโยชน์ การเปิดเผยโดยการส่งต่อ เผยแพร่ หรือวิธีอื่นใดอันทำให้เข้าถึงได้ การจัดเรียงหรือรวมเข้าด้วยกัน การจำกัดการเข้าถึง การลบหรือทำลาย นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า “การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” ไว้ชัดเจน ทั้งนี้การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในความหมายของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 256 ก็คือ เนื้อหาในมาตรา 3 อนุมาตรา 1 มาตรา 5 รวมทั้งส่วนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และ ส่วนที่ 3 การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล นั่นเอง

มาตรา ๓ ในกรณีที่มีกฎหมายว่าด้วยการใดบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในลักษณะใด กิจการใด หรือหน่วยงานใดไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น เว้นแต่
(๑) บทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และบทบัญญัติ เกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง ให้บังคับตามบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัตินี้เป็นการเพิ่มเติม ไม่ว่าจะซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้นหรือไม่ก็ตาม

มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่า การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยนั้น ได้กระทำในหรือนอกราชอาณาจักรก็ตาม
ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอยู่นอกราชอาณาจักร พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรโดยการดำเนินกิจกรรมของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว เมื่อเป็นกิจกรรม ดังต่อไปนี้
(๑) การเสนอสินค้าหรือบริการให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร ไม่ว่า จะมีการชำระเงินของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ก็ตาม
(๒) การเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักร

Number of View :653

วันนี้ t-reg ขอพาทุกท่านมารู้จัก PDPA Checklist Thailand เพื่อตรวจสอบว่าองค์กรได้ทำตามที่กฎหมาย PDPA กำหนดไว้ครบถ้วนแล้วหรือยัง โดยบทความนี้นอกจากจะช่วยให้ท่านเข้าใจข้อกำหนดตามกฎหมาย PDPA แล้วทางเรายังมีตัวอย่างแนวทางปฏิบัติที่ดี มาช่วยให้ท่านเปลี่ยน PDPA ให้เป็นเรื่องง่าย และองค์กรสามารถทำตามได้แบบถูกกฎหมาย เริ่มจาก

แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) ตาม PDPA Checklist Thailand

ตามมาตรา 41 ของกฎหมายพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้กำหนดไว้ว่า 

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของตน

ซึ่งหลายคนเมื่อได้อ่านข้อความนี้แล้ว อาจมีข้อสงสัยกันใช่ไหมล่ะคะว่า เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) คือใคร ?

คำตอบก็คือ คนที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรทั้งภายใน (พนักงานในองค์กร) และภายนอก (ผู้ใช้บริการ พาร์ทเนอร์) ของบริษัทตั้งแต่กระบวนการเก็บรวบรวม ใช้งาน เปิดเผย รวมไปถึงการกำหนดทิศทางการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยและสอดคล้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยอาจจะแต่งตั้งพนักงานในองค์กรให้รับตำแหน่งนี้ หรือจะจ้าง Outsource เข้ามาดูแลในส่วนนี้ก็ได้เช่นกัน

เมื่อกฎหมายว่ามาแบบนี้แล้วองค์กรจะต้องปฏิบัติอย่างไร ?

องค์กรจะต้องมีการแต่งตั้งคณะทำงาน PDPA ภายในหน่วยงาน ซึ่งคุณสมบัติที่ดีของ DPO นั้นต้องเป็นผู้เข้าใจในกฎหมาย PDPA และด้าน Cyber Security เป็นอย่างดี รวมถึงต้องไม่ทำหน้าที่ขัดกับการปกป้องข้อมุลส่วนบุคคลเช่นฝ่าย Sales and Marketing เป็นต้น ดังนั้นการมองหา DPO ที่เป็น Outsoucre จะช่วยลดความยุ่งยากในการสรรหาแต่งตั้ง และดูแลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล หากคุณอยากศึกษาเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านได้ที่  DPO คือใคร?, 6 คำถามยอดฮิตที่พบบ่อยในองค์กร

จัดทำประกาศความเป็นส่วนตัวหรือ Privacy Notice

ในกฎหมาย PDPA หรือพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้กล่าวเกี่ยวกับ Privacy Notice ในมาตรา 23 ไว้ว่า

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลถึงรายละเอียด ดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ทราบถึงรายละเอียดนั้นอยู่แล้ว

เมื่อกฎหมายว่ามาแบบนี้แล้วองค์กรจะต้องปฏิบัติอย่างไร ?

กฎหมายระบุชัดเจนแล้วว่าต้องมีการทำ Privacy Notice หรือประกาศความเป็นส่วนตัว ซึ่งในประกาศนั้นต้องแจ้งถึงรายละเอียดข้อมูลที่เก็บไป วัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูล แหล่งวิธีการได้มาของข้อมูล การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประมวลผลส่วนไหนบ้าง การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และระยะเวลาในการเก็บ ข้อมูลที่ติดต่อได้ของผู้ควบคุมข้อมูล รวมถึงสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องระบุเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนเพื่อให้เจ้าของข้อมูลได้รับรู้ก่อนหรือระหว่างการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

ทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผล (Records of Processing Activities)

มาตรา 39 ในกฎหมายพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลไว้ว่า

ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลบันทึกรายการ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสำนักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยจะบันทึกเป็นหนังสือหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ซึ่งแปลว่าผู้ควบคุมข้อมูลหรือองค์กรนั้น ต้องมีการทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวผล หรือที่เราคุ้นกันว่าการทำ Records of Processing Activities (RoP) ซึ่งสามารถทำออกมาในรูปแบบของหนังสือทั่วไป หรือจะเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อตอบโจทย์กระแสดิจิทัลในปัจจุบัน

เมื่อกฎหมายว่ามาแบบนี้แล้วองค์กรจะต้องปฏิบัติอย่างไร ?

หลายคนคงไม่รู้จะต้องทำอย่างไรให้บรรลุตามมาตรา 39 กำหนดไว้ ซึ่งการทำ RoP นี้ต้องเริ่มจาก การสำรวจข้อมูลส่วนบุคคลที่องค์กรจัดเก็บอยู่, กำหนดวัตถุประสงค์ และระยะในการจัดเก็บข้อมูล สำรวจแหล่งจัดเก็บข้อมูล รวมถึงมาตรการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เราจัดเก็บ ซึ่งกระบวนการทำ RoP นี้จะช่วยให้องค์กรสามารถชี้แจงกับเจ้าของข้อมูล และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่มีการตรวจสอบได้อีกด้วย

อย่างที่หลายคนรู้กันว่าการที่องค์กรไหนที่ต้องการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งในทางกฎหมายก็มีการระบุไว้เช่นกันในมาตรา 19 ที่กล่าวว่า

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทำการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลไม่ได้หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอมไว้ก่อนหรือในขณะนั้น เว้นแต่บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้กระทำได้

จากกฎหมายข้อนี้ทำให้ทุกองค์กรมีการกำหนด Consent Form ซึ่งอาจทำในรูปแบบของหนังสือ หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เรามักเห็นเป็นหลาย ๆ ข้อในเวลาที่เรากำลังให้ หรือมีการอัพเดตการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

เมื่อกฎหมายว่ามาแบบนี้แล้วองค์กรจะต้องปฏิบัติอย่างไร ?

Consent Form ที่ดีต้องมีแจ้งวัตถุประสงค์ชัดเจน มีการขอความยินยอม ไม่ใช้คำกำกวมหรือประโยคที่อ่านแล้วเข้าข่ายหลอกลวง หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในวัตถุประสงค์ของการใช้ข้อมูล โดยเมื่อขอความยินยอมขอสิทธิ์ในการใช้ข้อมูลแล้ว ต้องมีช่องทางให้เจ้าของข้อมูลเรียกใช้สิทธิ์ด้วย ซึ่งกิจกรรมที่ต้องทำการขอความยินยอม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ 5 กิจกรรมยอดฮิตที่องค์กรต้องขอ consent ตามกฎหมาย PDPA

สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับการขอ Consent Form ก็คือ การขอความยินยอมกับกลุ่มบุคคลบางประเภท อาทิ ผู้เยาว์, บุคคลไร้ความสามารถ และ บุคคลเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ที่ Consent Management คืออะไรในกฎหมาย PDPA

จัดทำข้อตกลงการประมวลผลในกรณีที่มีการจ้างผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement)

ในกฎหมาย PDPA มาตรา 40 ได้กล่าวถึงผู้ประมวลผลที่ผู้ควบคุมข้อมูลจ้างวานไว้ว่า

การดำเนินงานตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่ง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มีข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อควบคุมการดำเนินงานตามหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ซึ่งสัญญาที่ทำร่วมกันจะต้องระบุถึงหน้าที่ชัดเจนในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปประมวลผลใช้

เมื่อกฎหมายว่ามาแบบนี้แล้วองค์กรจะต้องปฏิบัติอย่างไร ?

ทางผู้ควบคุมข้อมูล (องค์กร) ต้องมีการร่างสัญญาแบบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในสัญญาต้องระบุให้ชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ประมวลผลข้อมูล และการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บ ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และการดำเนินการต่อสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลในการขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลคัดค้าน, ระงับ หรือลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

บทสรุปของ PDPA Checklist Thailand

อ่านถึงตรงนี้แล้ว หลายคนคงเข้าใจในตัวของกฎหมายพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกันมากยิ่งขึ้น จากทางมาตราต่าง ๆ และแนวทางปฏิบัติที่ทางเรายกมา หากคุณยังมีข้อสงสัยว่าองค์กรของเรามีการปรับรูปแบบการปฏิบัติ และมีการทำตามที่กฎหมาย PDPA กำหนดไว้ครบถ้วนหรือไม่ ทาง t-reg ขอแนะนำ PDPA Checklist Thailand แบบประเมินความพร้อม PDPA องค์กร ให้ทุกท่านได้ตรวจสอบความพร้อมต่อกฎหมายฉบับนี้ที่จะบังคับใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าแบบฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย