สมุนไพรขับปัสสาวะ อภัยภูเบศร

สมุนไพรน่ารู้ อภัยภูเบศร : ก้ามปูหลุด ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาบำรุงไต

สมุนไพรขับปัสสาวะ อภัยภูเบศร

ก้ามปูหลุด หรือ ปีกแมลงสาบ ชื่อสากลเรียก Inch plant หรือ Wandering jew. เป็นไม้พื้นเมืองของบริเวณชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกตะวันออก แต่ได้แพร่กระจายไปหลายส่วนทั่วโลก และได้ถูกนำมาใช้เป็นไม้ประดับ ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูสวยงาม แปลกตา หมอยาพื้นบ้านไทยรู้จักใช้ก้ามปูหลุดเป็นยาขับปัสสาวะ เป็นยาเย็นแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ บรรเทาอาการปวดและอักเสบในลำคอ ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ปัจจุบันเป็นสมุนไพรที่ถูกนำไปใช้กับคนที่ปัญหาเรื่องไตและบอกกันปากต่อปาก ก้ามปูหลุดมีชื่อภาษาจีนว่า สุ่ยกัวเฉ่า(หญ้าเต่าน้ำ) ในจีนใช้พืชชนิดนี้รักษาผู้ป่วยโรคไต เพื่อให้ไตทำงานดีขึ้น วิธีใช้คือ นำก้ามปูหลุดทั้งต้น หนัก 200 กรัม พร้อมกับพุทราจีน 15 ชิ้น และขิงฝาน 12 แผ่น ต้มให้เดือด ใส่น้ำ 1.5 ลิตร  ดื่มยาต้มดังกล่าวตอนท้องว่าง หรือหลังอาหาร 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด

ในจาไมก้า มีการใช้ก้ามปูหลุดรักษาความดันโลหิตสูง ไอ วัณโรค และเชื่อว่าพืชชนิดนี้สามารถทำให้เลือดสะอาดได้ ใบนำมาตำคั้นทาเพื่อลดอาการบวม รักษาริดสีดวงทวารหนักและมีเลือดในอุจจาระ และใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการติดเชื้อในไต ในเม็กซิโก มีการนำยาต้มปรุงรสหวานจากใบก้ามปูหลุดมาผสมกับเลมอน จำหน่ายเป็นเครื่องดื่มบรรจุขวดเย็น บำรุงสุขภาพที่มีชื่อว่า Matali ในคิวบามีการรักษาพื้นบ้านที่ให้ดื่มยาต้มใบก้ามปูหลุดเพื่อกำจัดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบระยะวิกฤติ และกระตุ้นการมีประจำเดือน ในกายอานา ใช้ใบในรูปแบบชาเพื่อฟอกเลือด และรักษาไข้หวัดใหญ่ และในมาเลเซีย ใช้ยาต้มก้ามปูหลุดเพื่อให้ไตทำงานดีขึ้น ชาวบ้านในหลายประเทศเชื่อว่า ก้ามปูหลุด ใช้ลดการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบ และลดอาการอักเสบได้

การศึกษาวิจัยในห้องทดลองพบว่า ก้ามปูหลุดมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้ง Acetylcholinesterase ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมองเสื่อม ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ยับยั้ง 15-lipoxygenase ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำเริบของโรคหอบหืด ฤทธิ์รักษาการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ฤทธิ์ฆ่าแมลงต่อยุง Anopheles benarrochi

เรื่องน่ารู้

ก้ามปูหลุด มีสมุนไพรต้นที่เป็นพี่น้องใกล้ชิดกัน คือ ไผ่น้ำ ประมาณ 5-6 ปีที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ว่าเป็นสมุนไพรล้างไต และนำมาจำหน่ายอย่างกว้างขวาง โดยใช้ในสรรพคุณคล้ายกับกับก้ามปูหลุด แต่ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้พื้นบ้านในประเทศอื่นสนับสนุน และจาการสอบถามหมอจีนที่โรงพยาบาลเทียนฟ้า มูลนิธิ ท่านเคยดูแลผู้ป่วยโรคไตที่ใช้ไผ่น้ำและพบว่า มีทั้งอาการดีขึ้นและแย่ลง ถ้ามีอาการไม่มากส่วนใหญ่จะดีขึ้น แต่ถ้าอาการหนักแล้วจะแย่ลง

ที่มา : บันทึกของแผ่นดิน 11 สมุนไพรเพื่อไต

ปรึกษาหมอกับคลินิกออนไลน์ :  https://lin.ee/47PRVjiFz

อภัยภูเบศร ยาชงสมุนไพร หญ้าหนวดแมว (10 ชองซง) เลขทะเบียน : G 677/45 ยาชงสมุนไพร หญ้าหนวดแมว หญ้าหนวดแมวเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือสารฟลาโวนอยด์ เช่น Kaempferol ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะโดยการเพิ่มการขับออกของโซเดียมและคลอไรด์ แก้ขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดการเกิดนิ่วจากกรดยูริค บำรุงไต และช่วยขับกรดยูริกอันเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ ส่วนประกอบสำคัญ ทั้งต้นหญ้าหนวดแมว ยกเว้นรากและดอก วิธีใช้ ใส่ชา 1 ซองลงในแก้ว เติมน้ำเดือดตั้งทิ้งไว้ให้ชาละลายออกมา ดื่มขณะอุ่น ๆ วันละ 2 เวลา ก่อนอาหารเช้า เย็น ข้อควรระวัง ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไต เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีโปแตสเซียมสูง ไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน หากรับประทานในช่วงเย็นแล้วทำให้ ปัสสาวะบ่อยเกินไปในเวลากลางคืนจนรบกวนการนอนหลับ สามารถเปลี่ยนเวลารับประทานมาเป็นมื้อกลางวันได้ วิธีเก็บรักษา เก็บในที่แห้ง อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส ห่างจากแสงแดด

อภัยภูเบศร ยาชงสมุนไพร หญ้าหนวดแมว (10 ชองซง)

ยาชงสมุนไพร หญ้าหนวดแมว หญ้าหนวดแมวเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้าน มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือสารฟลาโวนอยด์ เช่น Kaempferol ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะโดยการเพิ่มการขับออกของโซเดียมและคลอไรด์ แก้ขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดการเกิดนิ่วจากกรดยูริค บำรุงไต และช่วยขับกรดยูริกอันเป็นสาเหตุของโรคเกาต์

ส่วนประกอบสำคัญ

ทั้งต้นหญ้าหนวดแมว ยกเว้นรากและดอก

วิธีใช้

ใส่ชา 1 ซองลงในแก้ว เติมน้ำเดือดตั้งทิ้งไว้ให้ชาละลายออกมา ดื่มขณะอุ่น ๆ วันละ 2 เวลา ก่อนอาหารเช้า เย็น

ข้อควรระวัง

  • ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไต เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีโปแตสเซียมสูง
  • ไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน
  • หากรับประทานในช่วงเย็นแล้วทำให้ ปัสสาวะบ่อยเกินไปในเวลากลางคืนจนรบกวนการนอนหลับ สามารถเปลี่ยนเวลารับประทานมาเป็นมื้อกลางวันได้

วิธีเก็บรักษา

เก็บในที่แห้ง อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส ห่างจากแสงแดด