ความแตกต่างระหว่างสังคมชนบทและสังคมเมือง

ในทางสังคมวิทยาแบ่งชุมชนออกเป็น 2 แบบ คือ ชุมชนชนบท (Rural) และเมือง (Urban) และราชบัณฑิตยสถาน (2524: 316,408) ได้ให้ความหมายของคำว่า ชนบทและเมืองไว้ดังนี้

1.ชนบท หมายถึง ส่วนที่อยู่นอกเขตเมืองหรือเขตเทศบาล มีประชากรที่เลี้ยงชีพด้วยการเกษตรกรรมเป็นสำคัญ มีระเบียบสังคมที่สอดคล้องกับลักษณะชุมชนแบบหมู่บ้าน ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มก้อน หรือกระจัดกระจายตามลักษณะภูมิประเทศหรือตามประเพณีนิยม

2.เมือง เป็นชุมชนแบบหนึ่ง เช่น ในสหรัฐอเมริกา ชุมชนเมือง ก่อน พ.ศ. 2453หมายถึงเขตที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 8,000 คนขึ้นไป แต่หลังจากปี พ.ศ. 2453 หมายถึงเขตที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 2,500 คนขึ้นไป ส่วนในประเทศไทยกำหนดให้เขตเทศบาล ที่มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป เป็นเขตเมือง

เนื่องจากชนบทและเมืองมีความแตกต่างกันทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และสิ่งแวดล้อม นักสังคมวิทยาจึงได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชุมชนชนบทและเมืองในด้านต่าง ๆ ไว้ดังนี้ (Sorokin and Zimmerman, 1929: 56-57)

1.ด้านอาชีพ (Accupation)

ชนบท เป็นชุมชนที่ประกอบด้วยประชากรและครอบครัวที่ประกอบอาชีพการเกษตร ส่วนอาชีพอื่น ๆ มีน้อยกว่าอาชีพเกษตรกรรม

เมือง ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเครื่องจักรกล อุตสาหกรรม การค้าพาณิชยกรรม นักวิชาการ การปกครอง และอาชีพอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรม

2.ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment)

ชนบท เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติและมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของประชาชนมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติโดยตรง

เมือง สิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นและมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ประชาชนห่างไกลจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ

3.ด้านขนาดของชุมชน (Size of community)

ชนบท เป็นชุมชนของเกษตรกรขนาดเล็ก ๆ แต่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในการประกอบอาชีพ

เมือง เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ขนาดของชุมชนจะมีความสัมพันธ์กับความเป็นเมือง

4.ด้านความหนาแน่นของประชากร (Density of population)

ชนบท ความหนาแน่นของประชากรในชนบทจะต่ำกว่าในเมือง

เมือง ความหนาแน่นของประชากรสูงกว่าชนบท และมีความสัมพันธ์กับความเป็นเมือง

5.ด้านความต่างแบบกันหรือความเป็นแบบเดียวกันของประชากร (Heterogeneity andhomogeneity of population)

ชนบท ประชากรมีความเป็นแบบเดียวกันในลักษณะของเชื้อชาติและความรู้สึกทางสังคม

เมือง ประชากรมีความต่างแบบกันมาก และความเป็นเมืองจะมีความสัมพันธ์กับความต่างแบบของประชากร

6.ด้านความแตกต่างทางสังคมและการแบ่งชั้นทางสังคม (Social differentiation and stratification)

ชนบท มีความแตกต่างทางสังคมและการแบ่งชั้นทางสังคมน้อย

เมือง มีความแตกต่างทางสังคมและการแบ่งชั้นทางสังคมมาก

7.ด้านการเคลื่อนที่ทางสังคม (Social mobility)

ชนบท การเปลี่ยนแปลงในด้านที่อยู่อาศัย อาชีพ และอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงน้อย ส่วนการย้ายถิ่นจะเป็นในลักษณะจากชนบทไปสู่เมือง

เมือง มีการเคลื่อนที่ทางสังคมมากกว่าชนบท การเคลื่อนที่ทางสังคมจะมีความสัมพันธ์กับความเป็นเมือง โดยปกติจะมีการย้ายถิ่นจากชนบทเข้ามาอยู่ในเมือง แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์วิกฤต คนในเมืองจะมีการอพยพจากเมืองไปสู่ชนบท

8.ด้านระบบของการกระทำระหว่างกัน (System of interaction)

ชนบท มีการติดต่อและสื่อสารกันน้อยกว่าคนในเมือง มีการติดต่อและมีความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ (Primary relation) ความสัมพันธ์จะเป็นแบบส่วนตัวง่าย ๆ แต่จริงใจ

เมือง มีการติดต่อและสื่อสารกันมาก อาณาเขตของการกระทำระหว่างกันกว้างมากกว่าในชนบท มีการติดต่อและมีความสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ (Secondary relation) ไม่มีความเป็นกันเอง ความสัมพันธ์คงอยู่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ รูปแบบความสัมพันธ์มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ผิวเผิน และมีแบบ

หน้า[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ความหมายของประชากร
  • แหล่งของข้อมูลประชากร
  • องค์ประกอบของประชากร
  • องค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร
  • การเพิ่มและลดของประชากร
  • ประวัติศาสตร์และทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของประชากร
  • การวางแผนประชากร
  • ความรู้เรื่องประชากรและชุมชนเมือง
  • ประเภทของชุมชน
  • ชานเมือง
  • ความเป็นเมือง
  • วัฒนธรรมและชีวิตในเมือง

สังคมไทย เป็นสังคมเกษตร โดยพิจารณาจากวิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพที่ตั้งของประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ชุมชนของคนไทยโดยทั่วไปเป็นชุมชนในชนบทเป็นส่วนใหญ่ และมีชุมชนในเขตเมือง โดยเฉพาะในเมืองหลักของแต่ละภูมิภาคและเมืองหลวงของประเทศ อันได้แก่ เชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ นครราชสีมา เป็นเมืองหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชลบุรีเป็นเมืองหลักของภาคตะวันออก สงขลาเป็นเมืองหลักของภาคใต้ และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย

ความแตกต่างระหว่างสังคมชนบทและสังคมเมือง

สังคมชนบท เป็นครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ครอบครัวเป็นหน่วยที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และมีลักษณะเบ็ดเสร็จช่วยกันทำงาน วัด เป็นสถานที่สำคัญอย่างหนึ่งและมีอยู่มากมาย เพื่อใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ชาวชนบทส่วนใหญ่ยึดมั่นอยู่กับประเพณีเดิม ชาวชนบทเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวชนบทมีอัตราการเกิดสูง ระดับการศึกษาและเทคนิคในอาชีพต่ำ เป็นสังคมที่มีความสัมพันธ์กันตามประเพณี ชาวชนบทส่วนใหญ่ใช้เงินไปในพิธีกรรมต่างๆ ชาวชนบทมีระดับความคิดและความเข้าใจแคบ มักมองอยู่แต่เฉพาะเรื่องใกล้ๆ ตัว ค่านิยมชาวชนบทไทย การนับถือผู้ใหญ่ ยกย่องนักเลงหรือผู้มีอำนาจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จิตใจกว้างขวาง รู้จักบุญคุณ ไม่เอารัดเอาเปรียบและไม่เบียดเบียนเพื่อนบ้าน รักญาติพี่น้องและท้องถิ่น 

ความแตกต่างระหว่างสังคมชนบทและสังคมเมือง

สังคมเมือง  เป็นครอบครัวมีความสัมพันธ์กันในลักษณะทุติยภูมิ  ความผูกพันกันในครอบครัวมีน้อย อาชีพของชาวเมืองมีมากมาย การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นศูนย์รวมของการศึกษา การปกครอง ธุรกิจการค้าและอื่นๆ ชาวเมืองส่วนใหญ่ช่วยเหลือตนเองไม่ค่อยได้ เป็นสังคมที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยการอพยพเข้ามาในเมือง  คนในเมืองมีการแข่งขันแย่งชิงกันสูง  ค่านิยมความโอ่อ่า วัตถุนิยม

     ความแตกต่างระหว่างชนบทกับเมืองลดลง เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านการสื่อสาร  การคมนาคม การเคลื่อนย้ายของชาวชนบทเข้าไปสู่ในเมือง  เนื่องจากชาวเมืองอพยพโยกย้ายไปอยู่ในชนบทหรือเขตชานเมือง เนื่องจากการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากความเจริญทางด้านการศึกษา ประชากรในชุมชนนั้นจะเปลี่ยนสภาพชีวิตความเป็นอยู่เป็นชีวิตแบบเมืองได้รวดเร็วกว่า ทั้งนี้ก็เนื่องจากการถ่ายทอดและการแพร่ทางวัฒนธรรม 

ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างสังคมชนบทและสังคมเมือง

สังคมเมือง มีความสะดวกสบายในด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร มากกว่าชนบท มีการพึ่งพาอาศัยกันน้อยกว่าในชนบท เพราะสามารถพึ่งตนเองได้ ชาวเมืองมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนา สังคม น้อยกว่าชนบท มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมด้วยฐานะทางเศรษฐกิจ ตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าชนบท มีสถาบันทางเศรษฐกิจสังคมตั้งอยู่มากกว่าชนบท

เมืองและชนบทแตกต่างกันอย่างไร

ชุมชนเมือง มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น มีสิ่งอ านวยความสะดวกมากเป็นศูนย์กลาง ในทุก ๆ ด้าน ชุมชนชนบท มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง คนในชุมชนมีความผูกพันกับธรรมชาติมาก นิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรม

สังคมชนบทหมายถึงอะไร

ชนบท หมายถึง พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่นอกเมืองและนคร เป็นเขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป มีประชากรที่เลี้ยงชีพด้วยการเกษตรกรรมเป็นสำคัญ มีระเบียบสังคมที่สอดคล้องกับลักษณะชุมชนแบบหมู่บ้าน ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มก้อน หรือกระจัดกระจายตามลักษณะภูมิประเทศหรือตามประเพณีนิยม มีความหนาแน่นของประชากรน้อยกว่าในเมือง

ลักษณะใดของสังคมชนบทและสังคมเมืองที่เหมือนกัน

สังคมเมืองกับสังคมชนบท มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต้องพึ่งพาอาศัยกัน สังคมชนบทผลิตและส่งอาหาร ตลอดทั้งผลิตผลทางการเกษตรให้แก่สังคมเมือง รวมทั้งขายแรงงานให้แก่สังคมเมือง ในขณะเดียวกัน สังคมเมืองก็เป็นตลาดขายผลิตผลทางการเกษตรเป็นแหล่งผลิตทางอุตสาหกรรม ส่งผลิตผลทางอุตสาหกรรมขายให้แก่สังคมชนบท เป็นแหล่งความรู้ทาง ...