ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานหากควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลาย ที่ทำให้เส้นประสาทเท้าเสื่อม ส่งผลต่อการรับความรู้สึก และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเล็กๆ ในเท้า จนเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรังตามมา และอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้น จนนำไปสู่การรักษาด้วยการตัดเท้าหรือตัดขาในที่สุด


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เท้าเกิดจากอะไร

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เท้า เป็นลักษณะอาการที่ปรากฏขึ้นที่เท้า เกิดจากภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่มาจากโรคเบาหวาน เกิดจาก 2 สาเหตุ หลักๆ คือ

  1. การทำลายระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลาย จนทำให้เส้นประสาทเท้าทำงานได้ผิดปกติ ส่งผลต่อการรับความรู้สึก และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเล็กๆ ในเท้า การรับความรู้สึก ร้อน เย็น เจ็บ ได้ลดลง หรือไม่รู้สึก เช่น เมื่อเกิดบาดแผลขึ้น จะไม่รู้สึกเจ็บ เมื่อตรวจดูจึงพบว่าเป็นแผลเรื้อรัง ทำให้แผลหายยาก หรือติดเชื้อไปแล้ว นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อเล็กๆ ในเท้าทำงานไม่สัมพันธ์กัน ทำให้เท้าผิดรูป ซึ่งจะทำให้การลงน้ำหนักที่เท้าไม่กระจายเหมือนปกติ มีการลงน้ำหนักที่จุดใดจุดหนึ่งในเท้ามากกว่าปกติ ทำให้เกิดแผล หนังแข็งๆ และเจ็บได้
  2. หลอดเลือดแดงตีบหรือเสื่อม ทำให้เส้นเลือดที่มาเลี้ยงเท้าทำงานได้ลดลง ส่งผลให้ปลายเท้าคล้ำ ดำ เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เมื่อเป็นแผล แผลจะหายช้า และเกิดแผลติดเชื้อได้ง่าย

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เท้ามีอาการอย่างไร

มีอาการแสดงได้หลากหลาย ในระยะแรก บางรายจะมาด้วยอาการปวดแสบปวดร้อนเหมือน โดนน้ำร้อนลวกบริเวณเท้าทั้งสองข้าง หรือ บางรายอาจมีอาการปวดแปลบๆ คล้ายเข็มตำบริเวณเท้าหรือเหมือนโดนไฟฟ้าช็อต ส่วนใหญ่มักมีอาการตอนกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ถ้าเป็นรุนแรงก็อาจมีอาการทั้งกลางวันและกลางคืน สีผิวเปลี่ยน อาจซีดลง บวมแดง หรือคล้ำขึ้นก็ได้ ปลายเท้าคล้ำ หรือดำ เท้าบวม

โดยอาการที่มักพบบ่อย คือ อาการชา โดยเริ่มที่บริเวณเท้าทั้งสองข้างก่อน แล้วค่อยๆ ลุกลามไปยังมือทั้งสองข้าง อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ความรุนแรงของอาการชามีตั้งแต่อาการน้อยมากๆ คือ ไม่รู้สึกว่าชา ต้องอาศัยการตรวจจากแพทย์ ไปจนถึงอาการรุนแรง คือ ชามากจนไม่รู้สึกสัมผัส ซึ่งในบางรายอาจมีปัญหาต่อการเดินและการทรงตัว ทำให้หกล้มได้ง่าย


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้า

  • ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี
  • มีภาวะแทรกซ้อนที่ปลายประสาทจากเบาหวาน
  • สูบบุหรี่
  • เท้าผิดรูป
  • เท้ามีหนังหนาด้าน หรือตาปลา
  • หลอดเลือดส่วนปลายที่ขาตีบ
  • ประวัติเคยมีแผลที่เท้า หรือถูกตัดขา หรือ เท้ามาก่อน
  • มีจอตาผิดปกติจากเบาหวาน หรือสายตาเสื่อม
  • มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เท้า ส่งผลให้เกิดปัญหาที่เท้าอะไรบ้าง

เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่เท้า จะทำให้พบกับปัญหาต่างๆ ดังนี้

  • เกิดแผลเบาหวาน แผลเรื้อรังหายช้า
  • หนังหนา เกิดหนังแข็งๆ ที่ฝ่าเท้า
  • ผิวแห้ง ผิวแตก
  • เล็บขบ ในผู้ป่วยเบาหวานอาจเป็นปัญหาแผลเรื้อรังได้
  • เชื้อราที่เท้า โดยเฉพาะบริเวณซอกเล็บ ง่ามนิ้วเท้า จะมีอาการคัน ผิวหนังบวมแดง ผิวหนังแตก
  • นิ้วเท้าผิดรูป เกิดจากกล้ามเนื้อเล็กๆ ในเท้าทำงานไม่สัมพันธ์กัน ทำให้นิ้วเท้าผิดรูป

การรักษาโรคโลหิตจาง

การรักษาโรคโลหิตจาง แพทย์จะทำการรักษาตามความรุนแรงของอาการผู้ป่วยแต่ละราย โดยวิธีรักษามีตั้งแต่การให้เลือดแดงทดแทน ให้ออกซิเจนในรายที่อาการค่อนข้างรุนแรงมาก และอาจให้ผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นหลัก

สำหรับผู้ป่วยโลหิตจางที่อาการไม่รุนแรง แพทย์จะรักษาตามอาการโดยให้ยาบำรุงโลหิตไปรับประทานเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเลือด แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคโลหิตจางที่สำคัญนั้น คือ การตรวจหาสาเหตุของโรคให้ชัดเจน เพื่อช่วยให้แพทย์เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมและให้ผลการรักษาที่น่าพอใจ ที่สำคัญในบางครั้งภาวะโลหิตจางก็อาจทำให้สามารถตรวจพบโรคร้ายแรงที่ซ่อนอยู่ในผู้ป่วยภาวะโลหิตจางได้

อย่างไรก็ตามเราสามารถพบโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ได้ในกลุ่มคนวัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นโรคอ้วนดังที่กล่าวไปข้างต้น หรือคนที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นเบาหวาน เราสามารถป้องกันตนเองได้เพียงหมั่นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง และสัญญาณต่าง ๆ ของร่างกายดังต่อไปนี้

1. กินน้ำเก่ง ปัสสาวะบ่อย
2. หิวบ่อย
3. อ่อนเพลีย
4. ตาพร่ามัวเห็นไม่ชัด
5. ชาตามมือ ตามเท้า
6. เป็นแผลและหายยาก หรือ มีแผลเป็น
7. น้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ

เบาหวานไม่ได้หวานเหมือนชื่อ

คนไข้เบาหวานโดยส่วนใหญ่ เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้ว มักจะมีสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือโรคแทรกซ้อน ต่าง ๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนอันตรายที่ส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต ทั้งโรคแทรกซ้อนบางชนิดที่แม้จะไม่ร้ายแรงแต่ก็ส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เกิดจาก การที่ผู้ป่วย ขาดการดูแลตนเอง ละเลยการดูแลตนเองและไม่ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นได้

4 โรคยอดฮิต ลำดับต้น ๆ ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

1. ไตวายเฉียบพลัน อาการแทรกซ้อนของโรคไต ในผู้ป่วยเบาหวานมีผลมาจากการที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเมื่อระดับน้ำตาลทน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดที่อยู่ในไต ทำให้ไตเสื่อมลง นำไปสู่การมีโปรตีนในปัสสาวะ และส่งผลให้เกิดควาเสียหายต่อไตและเมื่อปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันซึ่งมีความร้ายแรงและอาจส่งผลต่อชีวิตได้
2. จอประสาทตาเสื่อม และ โรคเบาหวานขึ้นตา ถือโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานโดยมีสาเหตุมากจากการควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี เมื่อระดับน้ำตาลเลือดไม่คงที่ร่างกายจะขับน้ำตาลไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึง ดวงตา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติบริเวณดวงตา ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกิดกับตา เช่น ต้อชนิดต่าง ๆ จอประสาทตาเสื่อม สูญเสียการมองเห็น และหากร้ายแรงอาจส่งผลให้ตาบอดได้
3. โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มักจะมีโรคแทรกซ้อนที่สำคัญก็คือ หลอดเลือดแข็ง สาเหตุก็มาจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเป็นปริมาณมาก และส่งผลให้เส้นเลือดหนาขึ้น เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ หลอดเลือดก็จะแข็งและตีบตัน และเมื่อเกิดกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะใด ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคที่อวัยวะนั้น เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ซึ่งโรคแทรกซ้อนดังกล่าวนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นโรคแทรกซ้อนอันตรายที่มีอัตราการเสียชีวิตและพิการของผู้ป่วยเบาหวานเป็นจำนวนมาก
4. อาการแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับระบบประสาทของผู้ป่วยเบาหวาน อาจจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เมื่อผู้ป่วยเบาหวานได้รับบาดเจ็บหรือได้รับแผล ก็จะไม่รู้สึกตัว แต่ก็จะก่อให้เกิดเป็นแผลเป็นขึ้นมาและแผลก็หายช้ากว่าคนปกติ ซึ่งหากขาดการดูแลอาจจะส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและลุกลามจนเกิดภาวะติดเชื้อซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้

และสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเรามักจะพบว่า อวัยวะที่มีปัญหาการเจ็บป่วยมากที่สุดก็คือ เท้า เนื่องจาก เท้าเป็นอวัยวะที่ผู้ป่วยใช้เดิน มีโอกาสเกิดบาดแผลมากที่สุด และเมื่อมีแผลผู้ป่วยก็มักจะไม่ทราบว่าตนเองมีบาดแผลเนื่องจากเสียการรับรู้ที่ปลายประสาท จะรู้ว่าตนเองบาดเจ็บก็เมื่อเห็นแผลหรือแผลเริ่มลุกลามไปแล้ว ดังนั้น หมอทุกคนจึงให้ความสำคัญกับการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ไม่แพ้การดูแลด้านอื่น ๆ

ภาวะแทรกซ้อนหมายถึงอะไร

ในการแพทย์ ภาวะแทรกซ้อน หรือ โรคแทรก (อังกฤษ: complication) เป็นการดำเนินหรือผลที่ไม่ดีของโรค ของปัญหาทางสุขภาพ หรือของการรักษา คือ โรคนั้นเองอาจแย่ลงโดยอาการหนักขึ้น มีอาการหลายอย่างขึ้น มีผลต่อยังอวัยวะอื่น ๆ หรือกระจายไปทั่วร่างกาย โรคใหม่อาจปรากฏโดยเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคที่มีก่อน การรักษาทางการแพทย์ เช่น ยา หรือการ ...

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน

ใครบ้างที่เสี่ยงเบาหวาน!.
อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป.
มีประวัติครอบครัวโรคเบาหวาน.
เป็นผู้มีน้ำหนักเกิน หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25..
มีความดันโลหิต หรือมีน้ำตาลในเลือดสูง (เป็นโรคใดโรคหนึ่ง ความเสี่ยงต่ออีกโรคก็เพิ่มขึ้น) มีระดับไขมันในเลือดสูง.
สตรีที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักบุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กก..

โรคเบาหวานคืออะไร

โรคเบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินสุลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินสุลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินสุลินในร่างกาย หรือการ ...