วันเทโวโรหณะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันพระเจ้าเปิดโลกเนื่องจากเหตุผลตามข้อใด o-net 61

วันเทโวโรหณะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันพระเจ้าเปิดโลกเนื่องจากเหตุผลตามข้อใด o-net 61

วันเทโวโรหณะ
ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี

วันเทโวโรหณะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันพระเจ้าเปิดโลกเนื่องจากเหตุผลตามข้อใด o-net 61
 

     วันเทโวโรหณะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ในดาวดึงส์ พิภพถ้วนไตรมาสและการตรัสอภิธรรมเทศนาโปรดพระมารดาในเทวโลกนั้นมาตลอดเวลา 3 เดือน พออออกพรรษาแล้วก็เสด็จมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จมาทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสนคร อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “ วันเทโวโรหณะ “ ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน 11 วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญกุศล ที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัท โบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า”วันพระเจ้าเปิดโลก” รุ่งขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ กันเป็นการใหญ่ เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จลงจากเทวโลก ของพระพุทธเจ้า โดยพุทธบริษัทได้พร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระสงฆ์ที่อยู่ทั้งหมด ในที่นั้นกับทั้งพระพุทธองค์ด้วย โดยไม่ได้นัดหมายกันมาก่อน ภัตตาหารที่ถวายในวันนั้นส่วนใหญ่เป็นเสบียงกรัง ของตนตามมีตามได้ปรากฏได้มีการใส่บาตรรในวันนั้นแออัดมาก ผู้คนเข้าไม่ถึงพระสงฆ์จึงเอาข้าวสาลีของตนห่อบ้าง ทำเป็นปั้นๆบ้าง แล้วโยนเข้าถวายพระนี่เอง จึงเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยน เป็นส่วนสำคัญของการตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีว่าถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ทุกๆปี ควรทำบุญตักบาตรให้เหมือนครั้ง ดั้งเดิมเรียกว่า”ตักบาตรเทโวโรหณะ” จนทุกวันนี้

ความสำคัญ  

วันเทโวโรหณะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันพระเจ้าเปิดโลกเนื่องจากเหตุผลตามข้อใด o-net 61

     วันเทโวโรหณะ เป็นวันที่มีการทำบุญตักบาตรที่พิเศษวันหนึ่ง กล่าวคือ ในพรรษาหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั้น  พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกนั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี  ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั้น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก  คือ  เปิดให้เห็น กันทั้ง ๓ โลกนั้นเอง การตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่อง ต่อกันมาเป็นประเพณี จนถึงเมืองไทย  จึงเรียกประเพณีนี้ ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ   เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมายนิยมสั้นๆ ว่า การตักบาตรเทโว ด้วยเหตุนี้ วันเทโวโรหณะจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันตักบาตรเทโว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันเทโวโรหณะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันพระเจ้าเปิดโลกเนื่องจากเหตุผลตามข้อใด o-net 61

ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และเสด็จถึงโลกมนุษย์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 [1]

คำว่า เทโว เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก

ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ 4) โดยลงมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่ 2) จนบรรลุโสดาปัตติผล (สาเหตุที่พระศาสดาไม่เสด็จไปแสดงธรรมในชั้นดุสิต  เพราะเทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ไม่สามารถขึ้นไปในชั้นดุสิตได้ ด้วยศักดานุภาพที่น้อยกว่า เพื่อให้โอกาสฟังธรรมแก่เทวดาเหล่านั้น) 

ครั้นถึงวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร[1] ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้ทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหารย์ หรือเปิดโลกทั้งสาม คือ สวรรค์ มนุษย์ นรก ให้เห็นกันและกันได้ ได้มีเนินเป็นอันเดียวกัน ตั้งแต่อเวจีนรกจนถึงพรหมโลก แลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดังนั้น วันนี้(ขึ้น15ค่ำ เดือน11)จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก

รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง 3 เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง ตักบาตรเทโว เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น จึงนิยม ตักบาตรเทโว กันจนเป็นประเพณีสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้

ความหมาย[แก้]

เทโวโรหณะ แปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก (ของพระพุทธเจ้า) เป็นเหตุการณ์ตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า คือในพรรษาที่ 7 ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนเทวโลกคือบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ครั้นถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากเทวโลกในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตำนานเล่าว่า พระอินทร์ทรงนิมิตบันได 3 อย่างถวาย คือ บันไดทอง บันไดแก้วมณี บันไดเงิน หัวบันไดพาดอยู่ที่ยอดเขาสิเนรุ เชิงบันไดอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสนคร เวลาเสด็จลงทรงใช้บันไดแก้วมณี เหล่าเทวดาลงทางบันไดทอง เหล่ามหาพรหมลงทางบันไดเงิน เรียกการเสด็จครั้งนั้นว่า เทโวโรหณะ

เหตุการณ์ในพุทธประวัติ[แก้]

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนอยู่เป็นประจำ ณ นครสาวัตถี จนมีประชาชนจำนวนมากหันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงเป็นเหตุทำให้เหล่าเดียรถีย์เสื่อมลง (เดียรถีย์ หมายถึง นักบวชประเภทหนึ่งมีมาก่อนพระพุทธศาสนาและเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง มีพุทธบัญญัติว่า หากเดียรถีย์จะมาขอบวชในพระพุทธศาสนาต้องมารับการฝึก เพื่อตรวจสอบว่ามีความเลื่อมใสแน่นอนเสียก่อน เรียกว่า ติตถิยปริวาส) พวกเดียรถีย์เดือดร้อนจึงคิดหาวิธีที่จะทำลายพระพุทธศาสนาโดยการกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า สาวก แต่ประชาชนก็ยังเลื่อมใสศรัทธาเหมือนเคย ในที่สุดเดียรถีย์จึงใช้อุบายทำลายพระพุทธศาสนาโดยการใช้พุทธบัญญัติที่ว่า “พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกสิ้นท่าหมดอิทธิฤทธิ์ แล้วงดการแสดง ตรงข้ามกับเหล่าคณาจารย์เดียรถีย์ ซึ่งมีปาฏิหาริย์อบรมมั่นคงเต็มที่และมีความพร้อมที่จะแสดงให้เห็นได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่เชื่อก็เชิญพระพุทธเจ้ามาแสดงปาฏิหาริย์แข่งกันก็ย่อมได้ เพื่อพิสูจน์ว่าใครจะเก่งกว่าใคร “

ฝ่ายพระพุทธเจ้าและสาวกก็เงียบเฉย เดียรถีย์จึงกล่าวร้ายหนักอีกว่า “พระพุทธเจ้าไม่มีความสามารถในการแสดงอิทธิฤทธิ์” เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงคิดใคร่ครวญและตัดสินใจที่จะแสดงปาฏิหาริย์ให้พวกเดียรถีย์ได้ประจักษ์เพื่อไม่ให้พระพุทธศาสนาโดนย่ำยี โดยพระองค์ได้ประกาศว่าจะแสดงยมกปาฏิหาริย์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ณ ใต้ต้นมะม่วง เมื่อฝ่ายเดียรถีย์รู้ ความดังนั้นจึงแบ่งพวกให้ไปทำลายต้นมะม่วงทุกต้นในเมืองสาวัตถี อีกพวกก็ช่วยกันสร้างมณฑปเพื่อแสดงปาฏิหาริย์ของตน และประกาศให้ประชาชนมาชมความล้มเหลวของพระพุทธองค์ เมื่อถึงกำหนดก็เกิดพายุใหญ่ทำให้มณฑปของเดียรถีย์พังหมดสิ้นส่วนพระพุทธเจ้ายังมิได้แสดงปาฏิหาริย์แต่อย่างใด

ในวันนั้นเอง คนเฝ้าพระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อว่า นายคัณฑะ ได้ถวายมะม่วงผลหนึ่งแก่พระพุทธเจ้าเนื่องจากมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงสั่งให้พระอานนท์นำมะม่วงไปทำน้ำปานะ (ปานะ หมายถึง น้ำ ของสำหรับดื่ม) มาถวายและเอาเมล็ดมะม่วงวางบนดิน เมื่อทรงฉันน้ำปานะเสร็จ ก็ทรงล้างพระหัตถ์โดยให้น้ำรดลงบนเมล็ดมะม่วง ทันใดนั้นเอง ก็กลายเป็นต้นมะม่วงที่งอกเงยขึ้นมาและต้นใหญ่ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็แสดงปาฏิหาริย์เนรมิตช่อไฟ ช่อน้ำเนรมิต บุคคลที่เหมือนพระองค์ทุกประการ ทรงแสดงธรรม จงกรม พระพุทธนิมิตให้ประชาชนได้ประจักษ์แก่สายตาจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาโดยทั่วกัน

วันรุ่งขึ้นเป็นวันเข้าพรรษา พระองค์ประกาศว่าจะไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาโปรดเทพบุตร อดีตพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา เพื่อเป็นการสนองพระคุณ ดังนั้นพระองค์จึงได้เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาในช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน เมื่อถึงวันออกพรรษาพระพุทธองค์จึงเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ทางประตูเมืองสังกัสสนคร เป็นการลงจากเทวโลก (เทโวโรหณะ) เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 แล้ว ในวันรุ่งขึ้น (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) ประชาชนต่างพร้อมใจกันมารับเสด็จและนำอาหารมาเพื่อทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมาก ประชาชนบางพวกอยู่ห่างไม่สามารถที่จะถวายอาหารใส่ลงบาตรได้ จึงนำข้าวสาลีมาปั้นเป็นก้อนแล้วโยนใส่ลงในบาตร จนกลายมาเป็นประเพณีนิยมที่ว่าจะต้องทำข้าวต้มลูกโยนซึ่งเป็นข้าวเหนียวห่อด้วยใบมะพร้าวไว้หางยาวเพื่อไว้ใส่บาตรในวันเทโวโรหณะ

การตักบาตร[แก้]

วันเทโวโรหณะ หมายถึง วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งพระพุทธเจ้าจะทรงถึงโลกมนุษย์ในวันรุ่งขึ้นของอีกวันหนึ่ง คือ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 และบิณฑบาตรในเช้าวันนั้น ดังนั้นวันตักบาตรเทโวจึงเป็นวันแรม1ค่ำเดือน11

ในประเพณีเทศกาลตักบาตรเทโวที่จัดขึ้นในปัจจุบัน การตักบาตรในวันนี้มีลักษณะพิเศษ คือ จะอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนรถ โดยจะมีคนลากหรือขับเคลื่อนรถไปอย่างช้าๆ โดยจะนำหน้าพระสงฆ์ และพระสงฆ์ก็จะเดินเป็นแถวเพื่อบิณฑบาตเดินตามรถที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนพุทธศาสนิกชนก็จะเรียงเป็นแถวอยู่ข้างทางเพื่อรอใส่บาตรตามลำดับ และอาจมีการนำข้าวต้มลูกโยนมาใส่บาตรเพื่อจำลองเหตุการณ์ในครั้งพุทธกาล ซึ่งแต่ล่ะวัดมักจะมีการจัดสถานที่โดยจะมีธงราวประดับประดาตามเส้นทางที่ใช้ประกอบเทศกาลบิณฑบาต (ในปัจจุบันประเพณีตักบาตรเทโว จะเป็นการตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง)

เมื่อถึงวันเทโวโรหณะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) หรือวันถัดมา(วันตักบาตรเทโว) (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยการปฏิบัติตนดังนี้

  1. เตรียมข้าวสารอาหารแห้งในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ ตามประเพณี คือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่งหรือยืนสองฝั่งทางลงจากภูเขา หรืออุโบสถ หรือศาลาการเปรียญ ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงรับบาตรตามลำดับ โดยมีการอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์
  2. หลังจากตักบาตรแล้ว มีการอาราธนาศีล สมาทานศีล และรักษาศีล
  3. ฟังธรรมและทำสมาธิตามโอกาส เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส
  4. แผ่เมตตา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับ และสรรพสัตว์

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ 14 เรื่องยมกปาฏิหาริย์ เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จากhttp://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=2

  • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548

ดูเพิ่มเติ่ม[แก้]

  • ปางเปิดโลก
  • กิจกรรมตักบาตรเทโว

วันเทโวโรหณะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันพระเจ้าเปิดโลกเนื่องจากเหตุผลในข้อใด

วันออกพรรษา ยังถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก" ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (ถัดจากวันสิ้นสุดการจำพรรษา 1 วัน) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ เรียกว่า "วันเทโวโรหณะ" หรือ "วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก" เนื่องจากในวันนั้นโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และ บาดาล (นรก) ต่างก็สามารถแลเห็นกันได้ตลอดทั้ง ...

วันเทโวโรหณะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร

การตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่อง ต่อกันมาเป็นประเพณี จนถึงเมืองไทย จึงเรียกประเพณีนี้ ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมายนิยมสั้นๆ ว่า การตักบาตรเทโว ด้วยเหตุนี้ วันเทโวโรหณะจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันตักบาตรเทโว และเมื่อถึงวันตักบาตรเทโว พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรกันที่วัด โดย ...

วันพระเจ้าเปิดโลกตรงกับวันใด *

วันเทโวโรหณะ - วันที่เกิดเหตุการณ์พระเจ้าเปิดโลกในพุทธกาล ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ตามปฏิทินจันทรคติ

วันพระเจ้าเปิดโลกมีความหมายว่าอะไร

ชาวบ้านทั่วไปเรียกวันนี้ว่า "วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก" หมายถึงเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงเปิดโอกาสให้โลกทั้ง 3 สามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้ ประกอบด้วย สวรรคโลก มนุษยโลก และนรกโลก เป็นวันแห่งอิสระ เสรีภาพของเหล่านางฟ้า เทพบุตร เทพธิดาในแดนสวรรค์ ตลอดจนเหล่าภูต ผี ปีศาจ เปรต และอสุรกายทุกรูปทุกนามในแดนนรกภูมิ สามารถจะไปไหนมา ...