กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ภาษาอังกฤษ

Do you know the meaning of this word?

You can Suggest your own translation to Longdo

Discussions

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ภาษาอังกฤษ

เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้พัฒนาระบบ โปรแกรมการคัดรับรองเอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ ซึ่งประชาชนสามารถขอรับเอกสารการทะเบียนเป็นภาษา อังกฤษได้แล้วที่เขตพื้นที่/อําเภอ

เอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง

ประชาชนสามารถขอเอกสาร การทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษ ได้แล้ว 30 ประเภท ดังนี้

1. ทะเบียนคนเกิด/สูติบัตร (หร.1)

2. ทะเบียนคนตาย/มรณบัตร (ทร.4)

3. ทะเบียนบ้าน (ทร.14)

4. หนังสือรับรองการเกิด (ทร.1/1)

5. ทะเบียนสมรส (คร.3)

6. ทะเบียนหย่า (คร.7)

7. รายการบัตรประจําตัวประชาชน

8. ทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)

9. ทะเบียนการเปลี่ยนชื่อตัว (ช.3)

10. ทะเบียนการตั้งชื่อสกุล (ช.2)

11. ทะเบียนการร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.4)

12. ทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ซ.5)

13. ทะเบียนรับรองบุตร (คร.11)

14. ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม (คร.14)

15. ทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม (คร.17)

16. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6)

17. ทะเบียนอนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.6/1)

18. หนังสือรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7)

19. ทะเบียนรับรองเป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล (ช.7/1)

20. หนังสือรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว (ช.8)

21. ทะเบียนรับรองการขอเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าว (ช.8/1)

22. หนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว (ช.9)

23. ทะเบียนรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าว (ช.9/1)

24. แบบรับรองข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรจากฐานข้อมูลการทะเบียนของสํานักทะเบียนกลาง

25. แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

26. แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ

27. แบบรับรองข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย/บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ที่คัดรับรอง รายการจากฐานข้อมูลทะเบียนบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย/บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

28. หนังสือรับรองการใช้อํานาจปกครองบุตร

29. หนังสือรับรองการใช้ค่านําหน้านามหญิง

30. หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส

ประโยชน์ของเอกสารการทะเบียนภาษาอังกฤษ

เนื่องจากการติดต่อสื่อสารและดําเนินธุรกรรมข้ามประเทศทั้ง ภาคประชาชนและภาคธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น ทําให้ปัจจุบันมี ประชาชนมาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร ประเภทคําแปลจาก ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อนําไปใช้ต่างประเทศมากขึ้น แบบฟอร์มเอกสาร ภาษาอังกฤษจะเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน ดังนี้

1.การลดภาระค่าใช้จ่ายในการแปลเอกสาร

2. ลดขั้นตอนและกระบวนการรับรองเอกสาร (ไม่ต้องรับรองการแปล)

3. เอกสารที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการแปลที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและมี มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ สามารถนําไป ใช้ต่างประเทศได้อย่างสมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับ

การรับรองเอกสาร

ก่อนที่จะนําเอกสารการทะเบียนฉบับภาษาอังกฤษไปใช้ต่อไป ประชาชนต้องนําเอกสารดังกล่าวมาขอรับรองนิติกรณ์เอกสาร ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุลในกรุงเทพฯ และ สาขาต่างจังหวัด ดังนี้

1. กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ถ. แจ้งวัฒนะ

2. สํานักงานสัญชาติและนิติกรณ์ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) คลองเตย

3. สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ.สงขลา

4. สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ. อุบลราชธานี

5. สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ.เชียงใหม่

6. สานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จ.ภูเก็ต

7. สํานักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปทุมวัน (MBK Center)

โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการนําเอกสารไปแปล เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเสี่ยงต่อการแปลผิดพลาดอีกต่อไป

ที่มา: กรมการปกครอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรมการปกครอง

Department of Provincial Administration
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ภาษาอังกฤษ

ตรากรมการปกครอง

ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2435 (130 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
งบประมาณประจำปี37,320.2986 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน

  • แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์​ [2], อธิบดี
  • สมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์, รองอธิบดี
  • พิริยะ ฉันทดิลก, รองอธิบดี
  • ร้อยตำรวจโท ภพชนก ชลานุเคราะห์, รองอธิบดี
  • สมยศ พุ่มน้อย, รองอธิบดี

ต้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เว็บไซต์https://www.dopa.go.th

กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินงานเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน การบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การดำเนินการและพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎร และการขออนุญาตต่าง ๆ ตามกฎหมาย

ประวัติ[แก้]

กรมการปกครองเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย ที่ก่อตั้งมาพร้อมกับกระทรวงมหาดไทยในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 โดยกรมการปกครองในสมัยนั้นมีชื่อว่า "กรมพลำภัง"

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วในปี พ.ศ. 2476 กรมพลำภังได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมมหาดไทย[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ "กรมการปกครอง"[4] จนถึงปัจจุบัน

กรมการปกครองตั้งอยู่ที่ ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

อำนาจและหน้าที่[แก้]

  1. เสนอแนะนโยบายและจัดทำแผน มาตรการ ติดตาม และประเมินผลด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย สืบสวนสอบสวนคดีอาญาในหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครอง และอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายใน งานการข่าว งานกิจการชายแดน งานควบคุมดูแลชาวเขาและชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพและผู้หลบหนีเข้าเมือง งานสัญชาติ และงานกิจการมวลชน
  4. สนับสนุน ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการเลือกตั้งทุกระดับ
  5. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองอาสารักษาดินแดน
  6. ดำเนินการพัฒนาและบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามกฎหมาย ว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
  7. ดำเนินการและพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชน และงานทะเบียนอื่น รวมทั้ง การบริหารจัดการฐานข้อมูลกลางเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  8. ดำเนินการพัฒนาบุคลากรในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
  9. ดำเนินการสื่อสารเพื่อการบริหารงาน การรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายในประเทศ
  10. อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายอำเภอ
  11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานภายใน[แก้]

ราชการบริหารส่วนกลาง[แก้]

  • สำนักงานเลขานุการกรม[5]
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองการสื่อสาร
  • กองคลัง
  • กองวิชาการและแผนงาน
  • วิทยาลัยการปกครอง
  • สำนักการสอบสวนและนิติการ
  • สำนักกิจการความมั่นคงภายใน
  • สำนักบริหารการทะเบียน
  • สำนักบริหารการปกครองท้องที่
  • สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน

ราชการบริหารส่วนภูมิภาค[แก้]

  • ที่ทำการปกครองจังหวัด มีปลัดจังหวัด (ผู้อำนวยการ ระดับสูง) เป็นหัวหน้าส่วนราชการ มีสำนักงานตั้งอยู่ภายในศาลากลางจังหวัด โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 กลุ่มงาน ได้แก่
    • กลุ่มงานบริหารงานปกครอง มีเจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ (จ่าจังหวัด) เป็นหัวหน้ากลุ่มงาน
    • กลุ่มงานความมั่นคง มีเจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ (ป้องกันจังหวัด) เป็นหัวหน้ากลุ่มงาน
    • กลุ่มงานการเงินและบัญชี มีนักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ (เสมียนตราจังหวัด) เป็นหัวหน้ากลุ่มงาน
  • ที่ทำการปกครองอำเภอ มีนายอำเภอ (ผู้อำนวยการ ระดับสูง) เป็นหัวหน้าส่วนราชการ มีสำนักงานตั้งอยู่ภายในที่ว่าการอำเภอ

ชุดปฏิบัติการพิเศษ[แก้]

เนื่องจากกรมการปกครองเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง[6] ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อย ปราบปรามอาชญากรรมในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง[7] และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง[7] จึงได้มีการจัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษ กรมการปกครองขึ้นมา เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามความจำเป็นดังกล่าว สังกัด ศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง[8]

สำหรับภารกิจหลักของศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง ประกอบไปด้วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ปราบปรามการค้ามนุษย์[9] ปราบปรามผู้มีอิทธิพล การจัดระเบียบและควบคุมสถานบริการ[8] การปราบปรามยาเสพติด เป็นต้น

ชุดปฏิบัติการพิเศษ กรมการปกครอง มีอักษรย่อภาษาอังกฤษว่า DOPA S.W.A.T. ซึ่งปรากฎบนเครื่องแบบและเสื้อเกราะกันกระสุนในการปฏิบัติการ[10] โดย DOPA ย่อมากจาก Department Of Provincial Administration คือชื่อหน่วยงานในภาษาอังกฤษ และ S.W.A.T. ย่อมากจาก Special Wisdom And Tactics[11][12] ซึ่งแตกต่างจากความหมายปกติที่ย่อมาจาก Special Weapon And Tactics ที่แปลว่าหน่วยอาวุธและยุทธวิธีพิเศษในหน่วยตำรวจและทหาร เนื่องจากหน่วยงานให้ความสำคัญของไหวพริบความรู้มากกว่าการใช้อาวุธ นอกจากนี้ยังนิยามคำว่า S.W.A.T. ในอีกความหมายหนึ่งด้วยคือ Spirit Wisdom Ability Team[12]

เครื่องหมายวิทยฐานะ[แก้]

ชุดปฏิบัติการพิเศษ กรมการปกครอง จะมีเครื่องหมายวิทยฐานะเช่นเดียวกับเครื่องหมายความสามารถของทหารและตำรวจ โดยเป็นเข็มพื้นหลังสีน้ำเงิน มีอักษรสีทองเขียนว่า DOPA S.W.A.T.[13] ซึ่งผู้มีสิทธิประดับได้นั้นจะต้องผ่านการฝึกหลักสูตรชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครองฯ ตามระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยเครื่องหมายวิทยฐานะหลักสูตรชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครอง ศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง พ.ศ. 2564[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ครม. ไฟเขียวตั้ง ‘วีระกิตติ์’ นั่ง อธิบดีกรมคุมประพฤติ ‘พ.ต.ต.สุริยา’ นั่ง ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
  3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๗๖
  4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๐๕
  5. ราชการบริหารส่วนกลาง
  6. "อำนาจหน้าที่". multi.dopa.go.th.
  7. ↑ 7.0 7.1 "ประวัติสำนัก/กอง". multi.dopa.go.th.
  8. ↑ 8.0 8.1 Thailand, BECi Corporation Ltd. "สุดระทึก !! ชุดเฉพาะกิจกรมการปกครอง บุกรวบด.ต.ท่องเที่ยว ตระเวนเก็บส่วยสถานบันเทิง". CH3Plus.com.
  9. ThaiLand, Kwanjai (2019-11-28). "กรมการปกครองบุกรวบแม่เล้า ช่วยสาวลาวเหยื่อคาราโอเกะค้ามนุษย์ (มีคลิป)". เดอะ พัทยานิวส์ The Pattaya News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. "ชุดฉก.ฝ่ายปกครอง รวบดต.ท่องเที่ยวเก็บส่วยสถานบันเทิงย่านบางใหญ่ นนทบุรี". จส.100.
  11. "'DOPA S.W.A.T.'ชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง". คมชัดลึกออนไลน์. 2019-04-17.
  12. ↑ 12.0 12.1 "รู้จักชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง "DOPA S.W.A.T.W" คือใคร ทำหน้าที่อะไร". NationTV. 2022-07-08.
  13. ↑ 13.0 13.1 "ข่าวประชาสัมพันธ์". multi.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยสำนักบริหารการทะเบียน