รากฟัน เทียม (ฟันหน้า Pantip)

ใครที่ กำลังใส่รากเทียม อยู่ ต้องมีข้อจำกัดด้วยหรือ? BFC Dental เลยอยากจะมาเล่าให้ฟังถึงผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษาโดยการฝังรากเทียม รวมถึงกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง และวิธีการสังเกตตนเองหากมีอาการผิดปกติระหว่างใส่รากเทียม เพื่อให้ปฏิบัติตนและดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธีเลี่ยงกิจกรรมและพฤติกรรมเคยชินถ้า กำลังใส่รากเทียม อยู่

  1. ไม่ควรทานอาหารที่มีลักษณะแข็ง เหนียว หรืออาหารที่ทำให้ต้องออกแรงเคี้ยวเยอะๆ ทำให้ส่งผลไปยังรากเทียมหรือทำให้รากเทียมหลุดได้ หากรากเทียมหลุดการแก้ไขเพื่อให้รากเทียมกลับเข้าที่เหมือนเดิมจะมีกระบวนการและวิธีการที่ซับซ้อนมาก และแน่นอนว่าคนไข้อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
  2. ไม่รักษาความสะอาดภายในช่องปาก หากขาดการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องนี้นอกจากจะส่งผลถึงสุขภาพช่องปากและฟันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ยังส่งผลต่ออายุการใช้งานของรากเทียมด้วย ถ้าไม่ดูแล การใช้งานของรากเทียมก็จะมีอายุน้อยลงหรือส่งผลร้ายแรงที่สุดคืออาจทำให้รากเทียมเสื่อมสภาพ การใส่รากเทียมใหม่อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะสุขภาพช่องปากไม่ได้รับการดูแล ซึ่งเป็นไปได้ว่าปริมาณกระดูกและเหงือกโดยรวมก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการฝังรากเทียมครั้งใหม่ ซึ่งอาจจะต้องใช้เทคนิคการเติมกระดูกร่วมด้วยในการรักษาทำให้เสียค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น
  3. การออกกำลังกายหนักๆ หรือการออกกำลังกายประเภทต้องใช้แรงปะทะ เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุการกระทบหรือกระแทกบริเวณที่ทำรากเทียม อาจทำให้รากเทียมเกิดความเสียหายและคนไข้เกิดอาการเจ็บปวด
  4. หลีกเลี่ยงกีฬาทางน้ำ โดยเฉพาะหลังการทำรากเทียมใหม่ๆ ในช่วง 1 – 2 เดือนแรก เพราะอาจทำให้แผลหรือบริเวณที่ทำรากเทียมเกิดการติดเชื้อ
  5. ลดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เนื่องจากสองสิ่งนี้เป็นตัวการที่ทำให้เหงือกอักเสบและติดเชื้อได้ง่ายที่สุด เพราะฉะนั้นควรลดการดื่มและการสูบ เพื่อให้สุขภาพช่องปากและรากเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

รากฟัน เทียม (ฟันหน้า Pantip)

ความผิดปกติเมื่อ กำลังใส่รากเทียม

  • มีอาการเหงือกบวม ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการข้างเคียงหลังการทำรากเทียมเป็นปกติอยู่แล้ว แต่หากสังเกตแล้วว่ามีอาการบวมผิดปกติ หรือมีอาการเจ็บปวดจนทนไม่ไหวร่วมด้วยเป็นเวลาหลายวัน ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อดูแลอาการทันที เพราะอาจเป็นไปได้ว่ารากเทียมที่ใส่นั้นอาจมีการติดเชื้อ
  • เจ็บฟันข้างเคียง หรือมีอาการชาหรือมีเลือดออกที่โพรงจมูก มีหนอง บริเวณฟัน เหงือก ริมฝีปาก หรือลิ้น และมีไข้ร่วมด้วย หลังใส่รากเทียมไปแล้วประมาณ 1 – 2 วัน ให้รีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อดูอาการทันที

การดูแลตัวเองให้ดีที่สุดตอน กำลังใส่รากเทียม

  • ทำความสะอาดช่องปากและดูแลให้ช่องปากสะอาดอยู่เสมอ สามารถแปรงฟันได้ปกติ โดยช่วงแรกอาจจะเลือกใช้แปรงขนนุ่มสำหรับหลังผ่าตัดโดยเฉพาะ
  • สามารถประคบเย็นด้านนอกบริเวณจุดที่ใส่รากเทียมได้หลังการผ่าตัด แต่ห้ามอมน้ำแข็งเด็ดขาด
  • เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุกับรากฟันเทียมระหว่างการเคี้ยวอาหาร รวมทั้งในระยะแรกๆ ควรลดอาหารรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เค็มจัด และอาหารร้อนจัดด้วย
  • ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันแคะบริเวณที่ทำรากฟันเทียม หรือใช้ลิ้นดุนเล่น เพราะจะทำให้แผลหายยาก

เพราะฉะนั้นการดูแลตนเองและคอยสังเกตตนเองให้ดีถ้าคุณอยู่ในระหว่างการใส่รากเทียมเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายที่จะกระทบกับรากเทียม ก็จะทำให้รากเทียมของคุณมีการใช้งานได้อีกยาวนาน หรือท่านใดที่กำลังสนใจการทำรากเทียมอยู่ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และเข้ารับการรักษาจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคโนโลยีรากเทียมที่ทันสมัยได้ที่ BFC Dental ทุกสาขา

การผ่าตัดฝังรากเทียมเป็นการรักษาเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่เสียไปด้วยรากฟันเทียมโลหะ โดยมีรูปร่างคล้ายสกรู เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาสามารถทดแทนฟันที่ขาดหายได้อย่างใกล้เคียงฟันธรรมชาติ การฝังรากเทียมสามารถทดแทนการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้หรือสะพานฟันซึ่งอาจหลวมหรือไม่พอดี และหลีกเลี่ยงการเตรียมฟันธรรมชาติเพื่อรองรับสะพานฟัน

กระบวนการผ่าตัดฝังรากเทียมขึ้นอยู่กับชนิดของรากฟันเทียมและลักษณะของกระดูกสันเหงือก การผ่าตัดฝังรากเทียมอาจมีขั้นตอนได้หลากหลายขึ้นกับความซับซ้อนของการบูรณะ โดยเป้าหมายสำคัญคือการให้ความแข็งแรงแก่รากฟันเทียม ซึ่งต้องการความยึดติดของกระดูกรอบรากฟันเทียม ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาดังนั้นกระบวนการรักษาอาจใช้เวลานานหลายเดือน

 

 

ประโยชน์ของรากฟันเทียม

 

รากฟันเทียมจะถูกฝังลงในกระดูกขากรรไกรบริเวณที่สูญเสียรากฟันธรรมชาติไป ซึ่งจะรองรับครอบฟันเทียม เนื่อด้วยรากฟันเทียมผลิตจากโลหะไทเทเนียมซึ่งสามารถเข้ากันกับเนื้อกระดูกขากรรไกรได้ดี รากฟันเทียมจึงไม่สามารถขยับ หลวม นอกจากนี้วัสดุของรากฟันเทียมไม่สามารถผุกร่อนได้ ต่างจากเนื้อฟันธรรมชาติ

 

ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับรากฟันเทียม

  • สูญเสียฟันหนึ่งซี่ หรือบางส่วนของขากรรไกร
  • กระดูกขากรรไกรหยุดการเจริญแล้ว
  • มีปริมาณกระดูกเพียงพอต่อการฝังรากเทียม หรือสามารถผ่าตัดเสริมกระดูกได้
  • มีสุขภาพเนื้อเยื่อและเหงือกที่ดี
  • ไม่มีภาวะที่ส่งผลต่อการหายของแผลในเนื้อกระดูก
  • ไม่สามารถใช้ฟันเทียมถอดได้
  • ต้องการ การพูดที่ดีขึ้น
  • สามารถรับการักษาต่อเนื่องได้
  • ไม่สูบบุหรี่

 

 

ความเสี่ยง

เฉกเช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ การผ่าตัดฝังรากเทียมมีความเสี่ยงบางประการ ปัญหาจากการผ่าตัดสามารถเกิดขึ้นและพบได้ ได้แก่

  • ติดเชื้อที่ตำแหน่งรากฟันเทียม
  • บาดเจ็บหรือทำลายอวัยวะรอบข้าง เช่น ฟันข้างเคียงหรือเส้นเลือด
  • บาดเจ็บเส้นประสาท ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวด ชา หรือความรู้สึกคล้ายเหน็บชาที่บริเวณ ฟัน เหงือก ริมฝปากและคาง
  • โพรงอากาศไซนัสอักเสบ เมื่อผ่าตัดฝังรากเทียมบริเวณฟันบนและเกิดการทะลุเป็นช่องระหว่างปากและโพรงอากาศ

 

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

การวางแผนการรักษาผ่าตัดฝังรากเทียมอาจจำเป็นต้องร่วมกันประเมินโดยทันตแพทย์เฉพาะทางหลายสาขา เช่น ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาผ่าตัดช่องปากและขากรรไกร และทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ เนื่องจากการรักษาด้วยรากฟันเทียมต้องทำการผ่าตัดอย่างน้อยหนึ่งครั้งและมากกว่าในบางกรณี การตรวจและวางแผนการรักษามีวิธีการดังต่อไปนี้

  • การตรวจช่องปากและฟัน อาจจำเป็นต้องส่งตรวจภาพรังสีสามมิติเพิ่มเติม รวมทั้งแบบจำลองฟันและกระดูกสันเหงือก
  • ทบทวนประวัติทางการแพทย์ กรุณาให้ประวัติโรคประจำตัวหรือยาได้ที่รับ ทั้งหมดให้ทันตแพทย์รับทราบ ในกรณีที่ท่านมีประวัติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือเปลี่ยนข้อเทียม อาจจำเป็นต้องให้ยาปฎิชีวนะก่อนการรักษาในบางกรณี
  • การวางแผนการรักษา เพื่อเตรียมในการรักษา รวมถึงปรึกษาร่วมกับผู้ป่วยในความคาดหวังของผลการรักษา และจำนวนและชนิดของรากฟันเทียมหรือฟันเทียมที่เลือกใช้ในแผนการรักษา

การควบคุมความเจ็บปวด สามารถทำได้หลายวิธี แม้โดยส่วนใหญ่สามารถทำหัตถการภายใต้ยาชาเฉพาะที่ แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้ยาคลายกังวลหรือ การนำสลบทั่วร่างร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อนทำหัตถการ และหลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัดควรพักฟิ้นและกลับบ้านพร้อมกับผู้ดูแล

 

การฝังรากเทียมมักให้การรักษาลักษณะผู้ป่วยนอก และมีกระบวนการหลายขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  • ถอนฟันที่จำเป็นหรือไม่สามารถบูรณะได้
  • เตรียมกระดูกสันเหงือก หรือเสริมกระดูกหากจำเป็นในบางกรณี
  • ผ่าตัดฝังรากเทียม
  • รอเวลาเพื่อการสมานของกระดูก
  • การใส่เดือยรองรับครอบฟัน
  • การใส่ครอบฟัน

กระบวนการรักษาทั้งหมดใช้เวลานานหลายเดือนจนกว่าจะเสร็จสิ้นการรักษา โดยเวลาโดยส่วนมากเพื่อการรอการหายของแผลและการสมานของกระดูก ขึ้นกับกรณี หากมีการใช้กระบวกการรักษาเพิ่มเติมบางประเภทอาจจำเป็นต้องใช้เวลานานมากขึ้น

 

การปลูกกระดูกบริเวณขากรรไกร

ในกรณีที่กระดูกสันเหงือกบางเกินกว่ารองรับรากฟันเทียมได้ การผ่าตัดปลูกกระดูกเพื่อเสริมสันกระดูกก่อนผ่าตัดฝังรากเทียม เนื่องจากแรงจากการบดเคี้ยวเกินกว่ากระดูกรอบรากฟันเทียมรองรับได้ ซึ่งนำไปสู่การล้มเหลวของรากฟันเทียม และจำเป็นต้องผ่าตัดปลูกสันกระดูกเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูกซึ่งรองรับรากฟันเทียม

ปัจจุบันวัสดุที่นำมาใช้เพื่อทดแทนกระดูกเพื่อใช้ในการผ่าตัดปลูกกระดูก มีหลากหลายทางเลือกเช่น ใช้กระดูกจากตำแหน่งอื่นของร่างกาย หรือใช้กระดูกเทียมสังเคราะห์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องปรึกษาหารือผู้ป่วยร่วมกันกับทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา

กระดูกที่ได้รับการปลูกเพื่อเสริมสร้างกระดูกเพื่อรองรับรากเทียมอาจใช้เวลานานหลายเดือน แต่ในบางกรณีหากมีความจำเป็นต้องเสริมกระดูกปริมาณไม่มาก สามารถทำพร้อมกับขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียมได้

 

การผ่าตัดฝังรากเทียม

ในระหว่างการผ่าตัดฝังรากเทียม ทันตแพทย์ทำการกรีดเปิดเหงือกเพื่อเข้าถึงกระดูก หลังจากนั้นทำการเจาะรูสำหรับรากเทียมในตำแหน่งที่ได้วางแผนไว้ เพื่อที่จะได้ทำการฝังรากเทียมโลหะเพื่อทดแทนรากฟันที่สูญเสีย ในขั้นตอนนี้จะยังมีช่องว่างระหว่างฟันหลังการผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตามการใช้ฟันเทียมถอดได้เพื่อทดแทนฟันในระหว่างที่รอการสมานของกระดูก

 

ระยะเวลาการสมานของกระดูก

เมื่อรากฟันเทียมโลหะถูกในกระดูกขากรรไกร กระบวนการสมานระหว่างกระดูกและรากเทียมจะเริ่มขึ้น ในกระบวนการนี้ กระดูกขากรรไกรจะเจริญเข้ากับยึดติดกับผิวรากฟันเทียม กระบวนการนี้ใช้เวลาประมาน 2-3 เดือน เพื่อสร้างฐานรากเพื่อรองรับฟันเทียม เช่นเดียวกับรากฟันธรรมชาติ

 

การใส่เดือยรองรับครอบฟัน

เมื่อกระบวนการสมานของกระดูกและรากฟันเทียมสมบูรณ์ ทันตแพทย์จะทำการรักษาลำดับถัดไปโดยการใส่เดือยรองรับครอบฟันซึ่งคือ ชิ้นส่วนสำหรับประกอบครอบฟันและรากฟันเทียมซึ่งถูกฝังในกระดูกเข้าด้วยกัน ขั้นตอนสามารถทำได้ภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ในคลินิกทันตกรรม

 

ขั้นตอนการใส่เดือยรองรับครอบฟัน

  • ทันตแพทย์ทำการเปิดเหงือกเพื่อเข้าถึงรากฟันเทียมที่ได้ฝังไว้
  • ยึดเดือยรองรับรากฟันเข้ากับรากฟันเทียม
  • เย็บปิดเหงือกบริเวณรอบรากฟันเทียม โดยระดับของเหงือกจะอยู่ต่ำของเดือยรองรับรากฟันเทียม

 

หลังการทำการผ่าตัด

หลังการทำการผ่าตัดรากฟันเทียม ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายจากการผ่าตัดได้ ดังต่อไปนี้

  • บวมบริเวณเหงือกและใบหน้า
  • ฟกช้ำบริเวณผิวหนังและเหงือก
  • ปวดแผลที่ทำการผ่าตัด
  • มีเลือดไหลเล็กน้อย

ผู้ป่วยจะได้รับการจ่ายยาปฎิชีวนะและยาระงับปวดหลังจากผ่าตัดฝังรากเทียม หากมีอาการบวม หรือปวดหลังผ่าตัดและ แย่ลง กรุณาติดต่อทันตแพทย์ ภายหลังจากการทำการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องรับประทานอาหารอ่อน โดยส่วนใหญ่ทันตแพทย์ใช้ไหมเย็บที่สามารถละลายได้เอง หรืออาจจำเป็นต้องตัดไหม หากไม่ได้ใช้ไหมเย็บที่สามารถละลายได้

 

ผลการรักษา

การรักษารากฟันเทียมโดยมากประสบความสำเร็จ แต่ทว่าในบางกรณีกระดูกอาจล้มเหลวในการสมานกับรากฟันเทียม เช่น ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มักพบล้มเหลวของกระดูกรากฟันเทียม และภาวะแทรกซ้อนได้มากชึ้น หากรากฟันเทียมไม่สามารถยึดกับกระดูกได้ รากฟันเทียมจำเป็นต้องนำออก ทำความสะอาดกระดูก และทำการผ่าตัดใหม่โดยรอประมาน 3 เดือน

รากฟันเทียมกี่บาท Pantip

1. รากเทียมพร้อมครอบฟัน 48,000 บาท (รากฟันเกาหลี) และ 58,000 บาท สำหรับของอเมริกา 2. ถ้าต้องเติมกระดูกรามเพิ่ม 5,000 - 8,000 บาท 3. ถ้าต้องปลูกกระดูกเพิ่ม 28,000 - 30,000 บาท

รากฟันเทียมซี่ละเท่าไร

ราคารากฟันเทียม ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หลักๆแล้วจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อรากฟันเทียมที่คลินิกเลือกใช้ และมาตรฐานการรักษาและบริการของแต่ละคลินิก โดยทั่วไปราคารากฟันเทียมซี่ละ 35,000 -100,000 บาท ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและประเมินขั้นตอนการรักษาจากทันตแพทย์ เนื่องจากบางเคสที่กระดูกไม่เพียงพอรองรับการฝังอุปกรณ์รากฟันเทียม จำเป็น ...

รากฟันเทียม dentium ดีไหม

1. รากฟันเทียมยี่ห้อ Dentium (Sandblasting with Large grits and Acid etching) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเคลือบผิวของรากฟันเทียม และเป็นรากฟันเทียมเกาหลีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีราคาไม่แพงมากนัก จึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับคนที่มีงบจำกัด

การทำรากฟันเทียมดีไหม

ข้อดี ของรากฟันเทียม สามารถบดเคี้ยวได้ดี ไม่มีปัญหากับการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่นๆ ช่วยการใส่ฟันเทียมแบบถอดได้ความรู้สึกสบาย มีความแน่นกระชับมากยิ่งขึ้น ป้องกันการสูญเสียฟัน และกระดูกข้างเคียง