วัน มหาสาวกสันนิบาต

วันมาฆบูชาหรือวันจาตุรงคสันนิบาติ ในปีนี้ตรงกับวันจันทร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2556....วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปี วันมาฆบูชาจึงเป็นวันที่สำคัญมากวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา 

ความเป็นมาของวันมาฆบูชา

เหตุที่พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วนๆ และเป็นครั้งแรกที่มีการประขุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทิศทางเดียกัน

วัน มหาสาวกสันนิบาต
วันมาฆบูชา

เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา 4 ประการ

1. เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3 )

2. พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย

3.ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้

4.พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทานการบวชให้

พระอรหันต์จำนวน 1,250 รูป ที่เข้าร่วมสันนิบาตในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ

กลุ่มที่ 1 คณะพระภิกษุอดีตชฏิล 3 พี่น้อง มีท่านอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า และบริวารทั้งหมด 1,000 รูป

กลุ่มที่ 2 คณะที่เป็นบริวารของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ มีจำนวน 250 รูป

การประชุมมหาสาวกสันนิบาตนั้น ในยุคของพระพุทธเจ้าบางพระองค์ มีการประชุมมากกว่า 1 ครั้ง ดังเช่น ในสมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้าได้ทรงประชุมสาวกสันนิบาตถึง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 มีพระอรหันตสาวก 100,000 โกฏิ ครั้งที่ 2 มีจำนวน 90,000 โกฏิ ครั้งที่ 3 มีจำนวน 80,000 โกฏิ แต่ละครั้งก็จะทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเหมือนที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประทานเอาไว้ทุกอย่าง

สาระสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์

โอวาทปาฏิโมกข์ชื่อว่าเป็นแม่บทในการเผยแผ่คำสอนพุทธศาสนา เป็นการประกาศจุดยืนที่ชัดเจนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นคำสอนที่ส่งเสริมให้มนุษย์มีความรักที่แท้จริงต่อกัน โอวาทปาฏิโมกข์แบ่งโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการ ดังนี้

อุดมการณ์ คือ เป้าหมายสูงสุดในการดำเนินชีวิต มี 3 ประการ ได้แก่

1. ความอดทน คือ ทนต่อความยากลำบากทุกอย่างเพื่อจะได้เป็นตบะคอยเผาผลาญกิเลสให้หลุดร่อนจากใจ ทนได้ก็ไปนิพพานได้ (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา)

2. นิพพาน คือ เป้าหมายสูงสุดของมนุษยชาติทั้งหมด (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)

3. ไม่เบียดเบียนกัน คือ การเลิกก่อเวรเบียดเบียนทำร้ายทางกายและจิตใจ อยู่อย่างสงบเหมือนสมณะ จึงจะสามารถทำใจให้หยุดนิ่งได้ง่าย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเห ฐยนฺโต)

หลักการ คือ หลักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องมี 3 ประการ ได้แก่

1. ไม่ทำบาปทุกชนิด จะบาปมากหรือบาปน้อยก็ไม่ทำ เพราะมีกฏแห่งกรรมคอยบังคับอยู่ ต้องศึกษาจากท่านผู้รู้ว่าสิ่งใดควรทำ หรือไม่ควรทำ บาปแม้เพียงน้อยนิดไม่คิดทำ (สพฺพปาปสฺส อกรณํ)

2. ทำความดีให้ถึงพร้อม ความดีอะไรที่มีอยู่ในโลกนี้ ถ้ามีโอกาสต้องทำให้เต็มที่ บุญแม้น้อยนิดก็ต้องคิดทำ ไม่ว่าคนอื่นจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม (กุสลสฺสูปสมฺปทา)

3. กลั่นจิตของตนให้ใส โดยหมั่นนั่งสมาธิ(Meditation)ทุกวันไม่ให้ขาด เมื่อใจใสมากแล้ว พระนิพพานก็ไม่ไกลเกินจะไปถึง เพราะสมาธิก็คือใจที่ตั้งมั่นที่เป็นกุศล (สจิตฺตปริโยทปนํ)

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก http://www.dmc.tv

มหาสันนิบาตแห่งมหาสาวก

              ครั้งพระศาสดาเสด็จประทับ ณ กรุงราชคฤห์  พระนครหลวงแห่งมคธ  ได้มีการประชุมแห่งพระสาวกคราวหนึ่ง  เรียกว่า   จาตุรงคสันนิบาต   แปลว่า  การประชุมมีองค์    คือ

              ๑.   พระสาวกผู้เข้าประชุมกันนั้น  ล้วนเป็นพระอรหันต์อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

              .   พระสาวกเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุ  สาวกครั้งแรกที่พระศาสดาประทานอุปสมบทเอง

              .   พระสาวกเหล่านั้นไม่ได้นัดหมาย  ต่างมาพร้อมกันเข้าเอง ๑,๒๕๐ องค์

              .   พระศาสดาประทานพระบรมพุทโธวาท  ซึ่งเรียกว่า  โอวาทปาฏิโมกข์  ย่อหัวใจพระพุทธศาสนาแสดง

              มหาสันนิบาตนี้  ได้มีขึ้นที่เวฬุวนาราม  ในวันมาฆปุรณมี  ดิถีเพ็ญมาฆมาส  คือ  เดือน    เวลาบ่าย  การประชุมนี้มีชื่อเล่าลือมาในพระศาสนา  จึงยกขึ้นกล่าวเป็นพระเกียรติของพระศาสดาในมหาปทานสูตร      และเป็นอภิรักขิตสมัยที่ทำบูชาของวัดทั้งหลาย  เรียกว่า มาฆบูชา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

๑ . อุทเทสว่า “ สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถที่พวกคนเขลา หมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ” จงวิจารณ์ว่า ตอนไหนแสดง ปรมัตถปฏิปทา ตอนไหนแสดงปรมัตถ์ ตอนไหนแสดงสังสารวัฏฏ์ ? เพราะเหตุไร ? ๑ . ตอนที่ว่า “ สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ ” แสดง ปรมัตถปฏิปทา เพราะประสงค์ให้ดูเพื่อนิพพิทาเป็นต้น ตอนที่ว่า “ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ” แสดงปรมัตถ์ เพราะแสดงถึงความรู้ ที่เป็นเหตุให้พ้นจากความข้องอยู่ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม อันจะพึงได้ด้วย การปฏิบัติในปรมัตถปฏิปทาโดยลำดับ ตอนที่ว่า “ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ ” แสดงสังสารวัฏฏ์ เพราะต้องวนเวียน ท่องเที่ยวไปด้วยความเขลา ฯ ๒ . ข้อว่า ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร ดังนี้ คำว่า มาร และ บ่วงแห่งมาร ได้แก่อะไร ? เพราะเหตุไรจึงชื่ออย่างนั้น ? ๒ . มาร ได้แก่กิเลสกาม คือ เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ให้รักให้ อยากได้ ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดีและทำให้เสียคน ฯ บ่วงแห่งมาร ได้แก่วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของน่าชอบใจ ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติด ฯ ๓ . ทุกขตา ความเป็นทุกข์แ

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

๑.      ๑.๑   อภิสมาจารคืออะไร ?   แบ่งเป็นกี่ประเภท ?   อะไรบ้าง ?           ๑.๒ ขันธ์แห่งจีวรประกอบด้วยอะไรบ้าง ?   ทรงมีพระพุทธานุญาตไว้อย่างไร ?   ๑.      ๑.๑   คือธรรมเนียมของภิกษุ แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ                  เป็นข้อห้าม ๑ เป็นข้ออนุญาต ๑ ฯ           ๑.๒ ประกอบด้วยมณฑล อัฑฒมณฑล และอัฑฒกุสิ ฯ ทรงมีพระพุทธานุญาตไว้                  ว่า จีวรผืนหนึ่งให้มีขันธ์ไม่น้อยกว่า ๕ เกินกว่านั้นใช้ได้ แต่ให้เป็นขันธ์ที่เป็นคี่                  คือ   ๗ , ๙ , ๑๑ เป็นต้น ฯ   ๒.      ๒.๑ ในบาลีแสดงเหตุนิสัยจะระงับจากอุปัชฌาย์ไว้เท่าไร ?   อะไรบ้าง ?           ๒.๒ ภิกษุผู้ควรจะได้นิสัยมุตตกะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?   ๒.      ๒.๑ แสดงไว้ ๕ ประการคือ อุปัชฌาย์หลีกไปเสีย ๑   สึกเสีย ๑   ตายเสีย ๑                  ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๑    สั่งบังคับ ๑ ฯ           ๒.๒ มีคุณสมบัติ คือ                         ๑) เป็นผู้มีศรัทธา   มีหิริ   มีโอตตัปปะ   มีวิริยะ   มีสติ                         ๒) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ ความเห็นชอบ เคยได้ยินได้ฟังมาก                        

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันเสาร์ ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘

๑ .   ตจปัญจกกัมมัฏฐานได้แก่อะไรบ้าง ?   จัดเป็นสมถะหรือวิปัสสนา ?   จงอธิบาย    ๑.   ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา และตโจ ฯ   เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา   ถ้าเพ่ง        กำหนดยังจิตให้สงบด้วยภาวนา เป็นสมถะ ถ้าเพ่งพิจารณาถึงความแปรปรวน        เปลี่ยนแปลงไป หรือให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้อง        เสื่อมสลายไปในที่สุด หรือให้เห็นว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน        พิจารณาเช่นนี้เป็นวิปัสสนา ฯ ๒ .   มหาภูตรูป คือ อะไร ?   มีความเกี่ยวเนื่องกับอุปาทายรูปอย่างไร ?   ๒ .   คือ รูป ที่เป็นใหญ่เป็นประธาน อันประกอบด้วย ธาตุ ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ฯ           เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งรูปย่อยซึ่งเรียกว่าอุปาทายรูป   เมื่อรูปใหญ่แตกทำลายไป       อุปาทายรูปที่อิงอาศัยมหาภูตรูปนั้นก็แตกทำลายไปด้วย ฯ   ๓ . พระพุทธเจ้าทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าพุทธัตถจริยา        คือทรงประพฤติอย่างไร ?   ๓ .   ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า คือ ได้ทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนาให้        บริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตรู้ทั่วถึงธรรมตามภูมิชั้น และทรงบัญญัติสิกข

วันมาฆบูชามีความสำคัญอย่างไร

วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป

เหตุการณ์สำคัญ 4 ประการที่เกิดขึ้นในวันมาฆบูชามีอะไรบ้าง

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดในวันมาฆบูชาตามพุทธประวัติ วันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3. พระภิกษุทั้ง 1,250 องค์นั้น ได้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย พระภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญา 6. พระภิกษุเหล่านั้นไม่ได้ปลงผมด้วยมีดโกน เพราะพระพุทธเจ้าประทาน "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ด้วยพระองค์เอง

วันจาตุรงคสันนิบาตเกี่ยวข้องเหตุการณ์ใด

น. การทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วัน ...

อัศจรรย์ 4 เกิดขึ้นในวันใด

ด้วยเหตุอัศจรรย์ 4 ประการข้างต้นนี้เอง ทำให้วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งคำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" นี้ มีความหมายตามการแยกศัพท์คือจาตุร แปลว่า 4 องค์ แปลว่า ส่วน สันนิบาต แปลว่า ประชุม ดังนั้นจึงมีความหมายว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" นั่นเอง