เศรษฐกิจประเทศฟิลิปปินส์ ปัจจุบัน

สำนักงานสถิติฟิลิปปินส์ (PSA) เปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 1/2565 ขยายตัว 8.3% เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดว่าจะขยายตัว 6.8% และดีกว่าในไตรมาส 1/2564 ซึ่ง GDP หดตัวลง

ตัวเลข GDP ที่ขยายตัวได้ดีเกินคาดอาจช่วยให้นายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของฟิลิปปินส์ มีเวลาเตรียมพร้อมรับมือความท้าทายต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ ทั้งแนวโน้มภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนต้องการให้นายมาร์กอส จูเนียร์ แก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อเป็นอันดับแรก ขณะที่อีกส่วนหนึ่งคาดหวังให้ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของฟิลิปปินส์วางนโยบายการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะที่ผู้วางแผนนโยบายของฟิลิปปินส์ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศจำเป็นต้องเติบโตในระดับ 6% เป็นอย่างน้อยในช่วง 5-6 ปีข้างหน้า เพื่อลดภาระหนี้สินของประเทศ

ด้านธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) มีกำหนดการประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 19 พ.ค.นี้ โดยปัจจุบัน BSP ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 2.0% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แทนการลดแรงกดดันด้านราคา

ในปี 2564 มิติด้านเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากผลกระทบที่รุนแรงของ COVID-19 ในปีก่อน เนื่องจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ลดระดับความเข้มงวดของข้อจำกัดการกักกันชุมชนในบางพื้นที่ โดยอนุญาตให้ธุรกิจและแรงงานบางส่วนสามารถกลับมาดำเนินงาน ทั้งนี้ ในช่วงเก้าเดือนแรก เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 4.9 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวจากการหดตัวร้อยละ 10.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ปี 2564 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะขยายตัวร้อยละ 5.3 และจะสามารถขยายตัวสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ในปี 2566 ถึงอย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวยังคงต่ำกว่าในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ร้อยละ 6.1 ในปี 2562
.
สำหรับปี 2565 รัฐบาลฟิลิปปินส์ตั้งเป้าหมายขยาย GDP ร้อยละ 7-9 และให้ความสำคัญกับการเร่งฟื้นฟูประเทศจากผลกระทบของ COVID-19 ตลอดจนเตรียมความพร้อมสำหรับโรคระบาดและภัยพิบัติทางธรรมชาติในอนาคต โดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศผ่านกรอบความคิด ‘Pandemic to Endemic’ โดยได้กำหนดนโยบายหลัก 10 ข้อ ได้แก่
.
(1) Metrics – การปรับตัวชี้วัดในการรวบรวมและรายงานจำนวนผู้ติด COVID-19 โดยระบุผู้ที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ (2) Vaccination – เร่งกระบวนการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง (3) Healthcare Capacity – เสริมสร้างระบบสาธารณสุขในทุกมิติ (4) Economy and Mobility – การใช้ Alert Level System แทนมาตรการกักกันชุมชนและการขยายระบบชนส่งมวลชนเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ (5) Schooling – การดำเนิน face-to-face learning ที่มีความต่อเนื่องและปลอดภัย (6) Domestic Travel – การยกเลิกข้อจำกัดและข้อกำหนดต่าง ๆ สำหรับการเดินทางภายในประเทศ โดยให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว สามารถเดินทางโดยใช้เพียงบัตรฉีดวัคซีนและรหัส QR สำหรับ contact-tracing เท่านั้น (7) International Travel – การผ่อนคลายข้อกำหนดการกักตัวและจัดทำเอกสารรับรองการเดินทางระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล (8) Digital Transformation – เร่งออกกฎหมายต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (9) Pandemic Flexibility Bill – เร่งเสนอพระราชบัญญัติเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้หน่วยงานภาครัฐ ในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (10) Pandemic Resilience – รวบรวมบทเรียนจากวิกฤติในปัจจุบันเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบของโรคระบาดในอนาคต
.
นอกไปจากนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังมุ่งส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลโดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม e-commerce ผ่านการดำเนินแผนงาน e-commerce Roadmap Philippines 2022 ซึ่งกำหนดการเสริมสร้าง 3 เสาหลักของอุตสาหกรรม กล่าวคือ (1) Speed (2) Security และ (3) Structure โดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมฟิลิปปินส์ตั้งเป้าหมายขยาย e-commerce ในฟิลิปปินส์ซึ่งมีมูลค่าในปี 2564 ที่ 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.3 ของ GDP เพิ่มเป็น 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 5.5 ของ GDP ภายในปี 2565 นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์ตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนธุรกิจ e-commerce จากเดิมที่มี 500,000 ราย ในปี 2563 เพิ่มเป็น 750,000 ในปี 2564 และ 1,000,000 ธุรกิจ ในปี 2565 ต่อไป
.
โอกาสและความร่วมมือระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ในปี 2565
.
เมื่อพิจารณาถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ฟิลิปปินส์ประสบในช่วงปี 2564 ประกอบกับเป้าหมายของฟิลิปปินส์สำหรับปี 2565 ไทยอาจใช้โอกาสนี้ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับฟิลิปปินส์ โดยเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพของไทยได้ในอนาคต ได้แก่
.
(1) การส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและส่งออกอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากฟิลิปปินส์ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญกับการยกระดับสถานพยาบาลและการเสริมสร้างระบบสาธารณสุขให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของปี 2565 ดังนั้น ไทยควรส่งเสริมและศึกษาลู่ทางการส่งออกสินค้าเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ นอกจากเป็นการส่งเสริมการส่งออกแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมธุรกิจไทยด้านเวชภัณฑ์และเครื่องมือทางการแพทย์ รวมไปถึงการสนับสนุน branding และสถานะของไทยในการเป็น Medical Hub of Asia อีกด้วย
.
(2) การส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงต่อเนื่องหลายลูกทุกปี ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานและภาคการเกษตรทำให้รัฐบาลฟิลิปปินส์มีความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารในประเทศ โดยส่วนของภาครัฐและวิชาการไทยอาจส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูล นวัตกรรม และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมการเกษตรของฟิลิปปินส์ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างสถานะของไทยในการเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารรายใหญ่ของภูมิภาค ขณะเดียวกัน ไทยสามารถส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยไปฟิลิปปินส์ให้แก่ภาคเอกชนไทย อาทิ สินค้าเกษตร โดยเฉพาะการส่งออกข้าวไปฟิลิปปินส์
.
(3) การส่งเสริมการค้าสินค้าไทยผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้กำหนดการส่งเสริม e-commerce และการขยายเศรษฐกิจดิจิทัลให้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของปี 2565 ทั้งนี้ แม้อุตสาหกรรม e-commerce ของฟิลิปปินส์ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่เท่ามาเลเซียหรืออินโดนีเซียในภูมิภาค แต่เศรษฐกิจดิจิทัลของฟิลิปปินส์มีศักยภาพในการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ อาทิ จำนวนประชากรที่มากเป็นอันดับสองในอาเซียน โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่กำลังได้รับการพัฒนาและการสนับสนุนจากภาครัฐ และสัดส่วนผู้บริโภคออนไลน์ใหม่ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผ่านโทรศัพท์มือถือซึ่งมีผลต่อการดำเนิน online shopping ดังนั้น ไทยควรส่งเสริมการค้าผ่านช่องทางออนไลน์กับธุรกิจฟิลิปปินส์ เช่น ผ่านการจับคู่ธุรกิจออนไลน์และงานแสดงสินค้าออนไลน์เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงให้กับธุรกิจฟิลิปปินส์ในยุค ‘new normal’ มากขึ้นในอนาคต
.

ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา

เรียบเรียง: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์เป็นอย่างไร

2.1 ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย กล่าวคือ เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากร ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ดี สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน ขณะเดียวกันประชากรฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพใน ...

ระบบเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปินส์เป็นแบบใด

ทั้งนี้ระบบเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีลักษณะคล้ายไทยคือเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร 9. สาหรับความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยนั้น ฟิลิปปินส์เป็นคู่ค้าล าดับที่18 ของไทย ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าลาดับที่8 ของฟิลิปปินส์

อุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ คืออะไร

๒.๔ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์ ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง และอุปสรรคจากความล่าช้าของขั้นตอนการดำเนินงานภาครัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศด้านการลงทุนและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการกระจายรายได้และการปฏิรูปที่ดินที่ล่าช้า ทำให้พื้นที่การเกษตรโดยเฉลี่ยลดลง

ประเทศฟิลิปปินส์ติดกับประเทศอะไรบ้าง

ที่ตั้ง ฟิลิปปินส์ไม่มี ผืนดินติดกับประเทศใดทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ไกลออกไปทางเหนือคือ ดินแดนของไต้หวัน จีนฮ่องกง และญี่ปุ่น ด้านตะวันตก คือ เวียดนามทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิค