การปลูกพืช ผสมผสาน เศรษฐกิจ พอ เพียง

เกษตรทำเงิน จากใช้พื้นที่ปลูกพืชแบบผสม 10 ชนิด(มีคลิป) เพียงไร่ครึ่งเท่านั้นสามารถสร้างรายได้ ห้รายได้เฉลี่ยเดือนละ 50,000-60,000 บาท นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างมาก เป็นตัวอย่างเกษตรกรใน จ.นครปฐม สร้างรายได้เฉลี่ยเดือนละครึ่งแสน จากการทำเกษตรประณีต ใช้เคมีน้อย โดยปลูกพืช 10 ชนิดเต็มพื้นที่เป็นชั้นๆ สลับเก็บผลผลิตหมุนเวียนขาย มีรายได้รายวัน-รายเดือนตลอดปี

ต้นสักทอง 700 ต้นปลูกเป็นแนวให้ต้นพลูได้เกาะเกี่ยว เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และสูงตามต้นสัก ให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกต้นพลูเกาะต้นทองหลางแบบเดิม เกษตรกรชัยยาบอกว่า ต้นทองหลางขึ้นรกและไม่ให้ประโยชน์ ส่วนต้นสักใบใหญ่ให้ร่มเงาดี ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้านล่างยังสามารถปลูกส้มโอ มะนาว และใบชะพลูได้เต็มพื้นที่ไร่ครึ่ง รดน้ำให้ปุ๋ยครั้งเดียวก็ถึงพืชทุกชนิด และได้ผลผลิตหมุนเวียนขาย โดยชะพลูเก็บขายได้ทุกวัน วันละ 30-40 กิโลกรัม ส่วนใบพลูให้รายได้ทุกเดือน

ร่องสวนปลูกเตยหอม รอบบ้านปลูกผักสวนครัว เช่น พริก กะเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่ ทั้งหมดใช้ปุ๋ยชีวภาพและสารสกัดธรรมชาติไล่แมลง เก็บขายได้ทุกวัน ส่งให้แม่ค้าในหมู่บ้านไปจำหน่ายในตัวเมืองนครปฐม รวมปลูกพืช 10 ชนิด ให้รายได้เฉลี่ยเดือนละ 50,000-60,000 บาท

กำนันตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี ยกสวนนี้เป็นตัวอย่างการทำเกษตรประณีตแบบธรรมชาติ ใช้สารเคมีน้อย ปลูกพืชหลากหลายชนิดในแปลงเดียวกัน ซึ่งช่วยลดต้นทุน ใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มที่ และสร้างรายได้ต่อเนื่อง เหมาะกับตำบลแหลมบัว ซึ่งเป็นพื้นที่ดินดำน้ำชุ่ม หากเกษตรกรทุกรายยึดแนวทางจะไม่เป็นหนี้ และไม่จำเป็นต้องขายที่ทำกิน

เกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ประชากร 70 เปอร์เซ็นต์ของตำบลแหลมบัว เป็นเกษตรกร ขณะนี้เกินครึ่งหันมาใช้สารชีวภาพมากขึ้น จากเดิมใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียว แต่ละรายมีพื้นที่เฉลี่ย 5 ไร่ และกำลังเดินไปสู่เกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นแหล่งผลิตเกษตรยั่งยืน อาหารปลอดภัยอีกแห่งหนึ่ง

เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมากสำหรับ เกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีคนทำแล้วเห็นผลผลิต ใช้เคมีน้อยลง ต้นทุนต่ำลงอีกทั้งยังปลอดภัยทั้งผู้ทำและผู้บริโภคอีกด้วย 

ปัจจุบันการทำเกษตรมีหลากหลายรูปแบบมากมาย และเกษตรผสมผสานเป็นหนึ่งในการทำเกษตรที่ยั่งยืนและได้ผลดี เข้าถึงกับทุกเกษตรกร สามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่คือการทำ ตามแนวทางพระราชดำริ ในเกษตรแบบผสมผสานจะมีการแบ่งพื้นที่จัดสรรเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และครอบคลุมให้ได้มากที่สุด โดยเริ่มจากการสร้างระบบนิเวศที่ดี สร้างความหลากหลายในด้านการปลูกพืชผัก ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ มีกิน มีอยู่ มีใช้ในพื้นที่ของ และขยับขยายไปสู่การทำธุรกิจเกษตร โดยอาจจะรวมกลุ่มร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรที่ดำเนินแนวทางเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี เครื่องมือเกษตรต่างๆ ตลอดจนตลาดผู้บริโภคของตนเอง มาเริ่มดูตัวอย่างเกษตรผสมพสาน

1. กลุ่มสหกรณ์การเกษตรทฤษฎีใหม่ทำสวนบ้านถ้ำ จำกัด

ตั้งอยู่ ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน 60 รวมกลุ่มเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ข้าวกล้องอินทรีย์ พึ่งตนเองได้ มีการบริหารกลุ่ม ครบถ้วนทั้ง 5 ก ได้แก่ กรรมการ กิจกรรม กองทุน กติกา การจัดการ มีกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ครบถ้วน มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ได้รับรางวัลกลุ่มเกษตรกร ดีเด่นระดับประเทศโนโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดพะเยา ปี 2551

2. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริอ่างเก็บน้ำห้วยปุ๊ (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ตั้งอยู่ ตำบล ดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ดำเนินการ 20 ไร่ มีนายขวัญใจ แก้วหาวงศ์ เป็นหัวหน้าศูนย์เรียนรู้ ได้สนับสนุนขุดสระทฤษฎีใหม่ในไร่นาให้ 1 แห่ง จึงทำการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และประมง ตามแนวทฤษฎีใหม่ กิจกรรมที่ดำเนินการ ปลูกข้าวนาปี 16 ไร่ เลี้ยงปลาในนาข้าว 2 ไร่ ปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ 1 ไร่ 2 งาน เลี้ยงปลาในกระชัง 4 กระชัง ปลูกพืชไร่ 1 ไร่ เลี้ยงกบในกระชัง 3 กระชัง ปลูกพืชผัก 2 งาน เลี้ยงไก่ดำภูพาน 40 ตัว เพาะเห็ดในโรงเรือน 1 โรง เลี้ยงสุกรภูพาน 2 ตัว เลี้ยงโค 6 ตัว เลี้ยงเป็ดเทศ 30 ตัว เลี้ยงปลา 1 บ่อ/1 ไร่/6000 ตัว ปลูกอ้อย 3 ไร

3. โครงการขุดสระเก็บกักน้ำตามแนวทฤษฎีใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
การปลูกพืช ผสมผสาน เศรษฐกิจ พอ เพียง

ตั้งอยู่ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายในโครงการเป็นการจัดทำแปลงทดลองหรือแปลงสาธิต ในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาในการปลูกข้าวคือ เมื่อปลูกข้าวแล้วมีแต่รวงข้าวไม่มีเมล็ดเพราะขาดแคลนน้ำ และในส่วนการดำเนินงานจะเป็นรูปแบบเกษตรผสมผสาน มีการปลูกพืชร่วมกัน เลี้ยงหมูร่วมกับการเลี้ยงปลา โดยเน้นการใช้ปัจจัยจากพื้นที่

4. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

ตั้งอยู่ ตำบลห้วยบง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี มีพื้นที่ดำเนินการ 32 ไร่ เป็นสถานที่ต้นแบบของการพัฒนาในลักษณะผสมผสานและเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อพัฒนาพื้นที่ขนาดเล็กที่มีสภาพแห้งแล้ง ให้เป็นศูนย์กลางในการบริการด้านการเกษตรกรรมและอื่นๆ รวมทั้งเป็นการสาธิตพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา แรกเริ่มได้จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 แปลง เพื่อศึกษาและสาธิตการเกษตรให้แก่ราษฎรได้สามารถนำไปปฏิบัติใช้กับพื้นที่ของตนเองโดย

5. โครงการฟาร์มตัวอย่างหนองหมากเฒ่า ตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ตั้งอยู่ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยให้ชื่อว่า “ฟาร์มตัวอย่างหนองหมากเฒ่า ตามพระราชดำริฯ จังหวัดสกลนคร” ในช่วงที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีราษฎรถวายฎีกาขอความช่วยเหลือในการประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อสร้างงานให้กับราษฎรที่ยากจน การดำเนินงานของฟาร์มฯ เป็นไปในลักษณะของการเกษตรแบบผสมผสาน โดยการนำหลายๆ หลักการมาปรับใช้ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษ มีการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ

6. ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตรอินทรีย์ผสมผสานและการเลี้ยงหมูหลุม

ตั้งอยู่ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยมี คุณวิมล โพธิ์มี เป็นเจ้าของโครงการนี้และการทำเกษตรอินทรีย์ มีพื้นที่แปลงนี้ทั้งหมด 12 ไร่ ทำเป็นเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานทั้งหมด ในพื้นที่ 12 ไร่ ของคุณวิมล ได้ปลูกพืชเอาไว้หลากหลายชนิด โดยพืชหลัก ได้แก่ ส้มโอ พันธุ์ขาวใหญ่ที่ปลูกไว้กว่า 100 ต้น และกล้วยน้ำว้าอินทรีย์ ด้านการเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์เอาไว้หลายชนิด เช่น หมูหลุม แม่หมูเพื่อผลิตลูกพันธุ์ ไก่พื้นเมือง ไก่พันธุ์ไข่ที่เลี้ยงแบบปล่อย ปลาดุกในบ่อดิน ซึ่งการเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดพึ่งพาอาหารจากสวนของเราเป็นหลัก

7. ศูนย์การเรียนรู้ปลูกผักบนกระเบื้องปลอดสารพิษ เห็ดปลอดขยะ เลี้ยงไส้เดือนในบ่อปูน ของกำนันตุ้ม

การปลูกพืช ผสมผสาน เศรษฐกิจ พอ เพียง

ตั้งอยู่ที่ ต.บางยอ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ จุดเริ่มต้นศูนย์เรียนรู้เริ่มจากการทำเห็ดปลอดขยะ โดยนำเห็ดที่หมดสภาพไปหมักเป็นปุ๋ย เพื่อเลี้ยงไส้เดือน แล้วนำมูลไส้เดือนที่ได้ไปใส่เครื่องร่อนเพื่อนำมาทำน้ำหมัก และยังมีการปลูกผักบนกระเบื้อง โดยเลี้ยงไส้เดือนในดินที่ใช้ปลูกผักบนกระเบื้อง ที่ไม่มีที่ไหนทำมาก่อน

ข้อดีข้อเสียของเกษตรผสมผสาน

ข้อดี

1.ช่วยก่อให้เกิดระบบหมุนเวียนในแต่ละกิจกรรมของการเพาะปลูก

2.ช่วยให้เกษตกรมีอาหารไว้บริโภคภายในครอบครัวหรือชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

3.ลดความเสี่ยงเรื่องของราคาผลผลิต โรคระบาดของศัตรูพืช

4.ช่วยให้มีรายได้ตลอดปี

ข้อเสีย

1.สภาพแวดล้อมในชุมชนหรือพื้นที่นั้นๆ ที่อาจจะต้องได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่ให้ความรู้ด้านการเกษตร

2.ในเรื่องของการขุดสระน้ำ ที่แต่ละที่สภาพดินที่ขุดนั้นอาจจะมีปัญหาภายหลัง เช่นการอุ้มน้ำ หรือดินที่ขุดได้ไม่สามารถนำมาเพาะปลูกได้