สินเชื่อ ธนาคารแห่ง ประเทศไทย

สินเชื่อ ธนาคารแห่ง ประเทศไทย

  • หน้าหลัก
  • > สถิติ

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 9 ธันวาคม 2565

ธนาคาร ออมทรัพย์ ประจำ
3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน 24 เดือน
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ          
กรุงเทพ 0.4500 0.5500 0.6500 0.8000 1.0000
กรุงไทย 0.2500 0.4700 0.5500 0.7000 1.2000
กสิกรไทย 0.2500 0.5700-0.6200 0.6500-0.7000 0.9500-1.0000 1.1500-1.2500
ไทยพาณิชย์ 0.2500 0.6200 0.7000 1.0000 1.3000
กรุงศรีอยุธยา 0.2500 0.4500 0.5500 0.7000 0.8500
ทหารไทยธนชาต 0.1250 0.5500 0.7000 0.9000 1.2000
ยูโอบี 0.1000-0.3500 0.4500-0.6000 0.2000-0.6000 0.2000-0.8000 0.2000-1.1000
ซีไอเอ็มบี ไทย 0.2000 0.4000 0.4000 0.5000 0.6000
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) - - - - -
ทิสโก้ 0.2500-2.0000 0.9500-1.0000 0.9500-1.0000 1.1000 1.2500
เมกะ สากลพาณิชย์ 0.1500 0.4000-0.5000 0.5000-0.9000 0.6000-1.3000 0.7000
เกียรตินาคินภัทร 0.2500 0.5000-0.6500 0.7000-0.8500 1.0000-1.1500 1.1000-1.2500
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 0.2500 0.9000 1.0000 1.1500 1.2000
ไอซีบีซี (ไทย) 0.3500-1.0000 0.9000 1.0000 1.1000 1.2500
ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย 0.4000 0.9500 1.0500 1.3500-1.9000 1.5500
แห่งประเทศจีน(ไทย) 0.2500 0.6250 0.7500 0.7500 0.7500
ซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) - - - - -
ต่ำสุด - สูงสุดของ ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ 0.1000-2.0000 0.4000-1.0000 0.2000-1.0500 0.2000-1.9000 0.2000-1.5500
สาขาธนาคารต่างประเทศ          
ซิตี้แบงก์ 0.1000 0.4500 0.2000 0.2000 0.2000
ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอร์เรชั่น 0.1800 0.1900 0.2100 0.2100 -
ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น - - - - -
ดอยซ์แบงก์ - - - - -
เจพีมอร์แกน เชส - - - - -
แห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น - - - - -
อินเดียนโอเวอร์ซีส์ 0.4500-0.6000 0.6000-0.7000 1.0000 1.1000 1.3000
อาร์ เอช บี 0.5000-0.7500 0.7500-0.8500 0.9500-1.0500 1.1500-1.3500 -
โอเวอร์ซี-ไชนิสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น 0.1500 0.3500 0.4500 0.4500 -
มิซูโฮ - - - - -
บีเอ็นพี พารีบาส์ - - - - -
ต่ำสุด - สูงสุดของ สาขาธนาคารต่างประเทศ 0.1000-0.7500 0.1900-0.8500 0.2000-1.0500 0.2000-1.3500 0.2000-1.3000


หมายเหตุ เป็นข้อมูลล่าสุดที่ ธปท.ได้รับจากธนาคารพาณิชย์ ณ เวลาประมาณ 12.00 น.

" - " หมายถึง ไม่มีบริการสำหรับธุรกรรมนี้

สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล บริการทางการเงินดิจิทัล เพื่อผู้ใช้บริการรายย่อย

>>ดาวน์โหลดเอกสาร


          ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความหลากหลายของข้อมูลได้เปลี่ยนโลกการเงินและก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามยังคงมีประชาชนบางกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ กลุ่มที่ไม่สามารถพิสูจน์รายได้ และกลุ่มที่ไม่มีหลักประกัน ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบของประชาชนและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในภาคการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงสนับสนุนให้มีผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (digital personal Loan) โดยออกหนังสือเวียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เมื่อเดือนกันยายน 2563  สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับรูปแบบใหม่ที่เอื้อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถดำเนินการได้ดังนี้

          1. ใช้ข้อมูลทางเลือก (alternative data) เช่น ข้อมูลการชำระเงิน การซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน e-commerce platform ในการประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้ของผู้บริโภคแทนการพิจารณาฐานะการเงินจากรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หรือกระแสเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝาก

          2. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเบิกจ่ายและรับชำระคืนหนี้ เช่น เบิกจ่ายและรับชำระคืนผ่านการโอนเงิน รวมถึงชำระหนี้ผ่านการตัดบัญชีโดยใช้บัญชีสถาบันการเงิน หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) 

          3.เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เช่น อัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียม และการแสดงภาระหนี้ เพื่อสร้างความโปร่งใสและให้ผู้กู้มีข้อมูลที่ชัดเจนในการตัดสินใจ

          ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลแก่ผู้บริโภคแต่ละรายรวมไม่เกิน 20,000 บาท และมีกำหนดระยะเวลาการชำระคืนสินเชื่อแต่ละสัญญาไม่เกิน 6 เดือน โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์ในการกู้ยืม และกำหนดอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมกันไม่เกินร้อยละ 25 ต่อปี

          สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลทางเลือกต่าง ๆ มาใช้ในการให้บริการ จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้ของผู้กู้ได้ดีขึ้น

          นอกจากนี้จะทำให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ กลุ่มที่ไม่สามารถพิสูจน์รายได้ และกลุ่มที่ไม่มีหลักประกัน รวมถึงช่วยสร้าง digital footprint ในระบบการเงินให้กับประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้บริการทางการเงินอื่น ๆ ในอนาคต