ประเทศที่มี เงินทุนสํารอง

แบงก์ชาติประชุมนักวิเคราะห์ แจงทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง มาจากการตีราคาสินทรัพย์ที่ถืออยู่ลดลงเป็นหลัก ส่วนการต่อสู้ค่าเงิน ส่งผลเพียงเล็กน้อย ย้ำทุนสำรองฯ ไทยยังอยู่สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก หรือ 1.99 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ มั่นใจต่างชาติยังขนเงินลงทุนเข้าตลาดหุ้น

18/10/2022


นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย ยืนยันว่ายังมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับภาพรวมและปัจจัยลบต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบอย่างต่อเนื่อง แต่เงินทุนสำรองฯ ของไทยก็ยังอยู่ในระดับสูงถึง 50% ของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) และอยู่ในระดับสูงสุดเป็นอันดับ 6 ของโลก (ณ วันที่ 30 ก.ย. 65 จำนวน 199,444.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ดังนั้นเรื่องของความเสี่ยงจากเงินทุนเคลื่อนย้ายรุนแรงมองว่ามีข้อจำกัด

ส่วนมูลค่าเงินกองทุนฯ สิ้นเดือน ก.ย. 65 ลดลงไปประมาณ 18.9% เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 64 (จำนวน 245,996 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) นั้น โดยหลักการแล้ว เงินทุนสำรองฯ จะลดลงได้จาก 2 ปัจจัย กล่าวคือ จากการตีราคาสินทรัพย์ที่ถืออยู่ทั่วโลกลดลง และ 2.จากการเข้าดูแลค่าเงิน ซึ่งที่ผ่านมาสาเหตุส่วนใหญ่ที่เงินทุนสำรองฯ ของไทยลดลง จะมาจากกรณีของการตีราคาสินทรัพย์ที่ลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก

“มองว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่ปรับไปตามปัจจัยพื้นฐาน จะเป็นกลไกที่ดีในการรับแรงกระแทกจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศตอนนี้ การเคลื่อนไหวของค่าเงินยังสะท้อนปัจจัยพื้นฐาน” นายปิติ กล่าว

นายปิติ กล่าวอีกว่า นับตั้งแต่ต้นปี 65 มีเงินทุนจากต่างประเทศ (ฟันด์โฟลว์) ไหลเข้ามายังตลาดทุนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเข้ามายังตลาดหุ้นไทยค่อนข้างสูง นับว่านักลงทุนมีความเชื่อถือต่อตลาดหุ้นไทยที่มีความทนทานค่อนข้างมากเมื่อเทียบมุมมองเรื่องของความเปราะบางในด้านต่าง ๆ แล้ว แต่พอมองไปในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยยังเป็นขาขึ้นสวนเศรษฐกิจโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักลงทุนดังกล่าวมีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย

“นักลงทุนต่างชาติเชื่อมั่นไทยมาก จะเห็นว่าเงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมาก หุ้นไทยไม่ปรับลดลงมากนักเมื่อเทียบกับที่อื่น ดังนั้นเรื่องเงินทุนสำรองฯ ธปท.ไม่คิดว่าจะไม่เพียงพอหากเกิดการไหลออกของเงินทุนเคลื่อนย้าย และขอย้ำว่าเงินทุนสำรองฯ ของไทยยังมีความแข็งแกร่งมาก และอยู่ในระดับที่สูงมาก” นายปิติ กล่าว

  • ประเทศที่มี เงินทุนสํารอง

    “ไทยพาณิชย์” ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.40% เริ่ม 1 ม.ค.66

  • ประเทศที่มี เงินทุนสํารอง

    “ส.ธนาคารไทย” ดีเดย์ 1 ม.ค.66 ขึ้นดอกเบี้ยกู้อีก 0.4% หลังสิ้นสุดมาตรการ FIDF

โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในปี 65 และ 66 จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมองว่าจะทยอยลดลงในไตรมาสที่ 4/65 โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้นทั้งในปี 65 และ 66 ตามการส่งผ่านต้นทุน กนง.เห็นว่าการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังเป็นแนวทางที่เหมาะสม และพร้อมที่จะปรับขนาดและเงื่อนเวลาในกรณีที่แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าเปลี่ยนไปจากที่ประเมินไว้

“กนง.จะพยายามดำเนินนโยบายการเงินให้ตลาดสามารถคาดการณ์ทิศทางได้ ไม่ต้องการจะเซอร์ไพรส์ตลาด แต่ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงนี้ อาจทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกคาดเดาสถานการณ์ในอนาคตได้ยาก ดังนั้นการจะให้ผูกมัดลงไปชัดเจนว่าจะต้องดำเนินนโยบายการเงินอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมนัก” นายปิติ กล่าว

อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะยังขึ้นต่อไปอีกระยะ แต่จะไปหยุดตอนไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการตอบสนองของเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นว่าจะเป็นอย่างไร และเห็นว่าคงอีกสักระยะกว่าที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้เต็มศักยภาพ โดยประเมินว่าอาจต้องใช้เวลา 1 ปีครึ่ง-2 ปี

ทั้งนี้จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ในปี 64 ประเทศไทยติดอันดับ 1 ซื้อทองคำสุทธิในทุนสำรองระหว่างประเทศเยอะที่สุด เพิ่มขึ้น 90.20 ตัน และอยู่อันดับ 22 สำหรับประเทศที่มีสัดส่วนการถือทองคำมากสุด หรือราว 244.2 ตัน (ข้อมูลเดือน ธ.ค.64)

สำหรับกราฟราคาทองคำตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่าปรับตัวลดลงจากระดับ 2,050 ออนซ์ มาที่ 1,652 ออนซ์ ซึ่งปรับตัวลดลงราว 400 ออนซ์

ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอยู่ที่อันดับที่ 12 ของโลก โดยมี จีน ญี่ปุ่น เเละ สวิตเซอร์แลนด์ สูงเป็นอันดับที่ 1 , 2 เเละ 3 ตามลำดับ

จากข้อมูลการจัดอันดับทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือน ก.พ. 61 ปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 12 จากจำนวนทั้งหมด 193 ประเทศ โดยช่วงเวลาดังกล่าว ไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศ สูงถึง 213,277 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนอันดับที่ 1 คือ “จีน” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 3,235,895 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือน ธ.ค.60)

อันดับที่ 2 คือ “ญี่ปุ่น” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 1,264,283 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือน ธ.ค.60)

อันดับที่ 3 คือ “สวิตเซอร์แลนด์” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 795,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือน ก.ย.60)

อันดับที่ 4 คือ “ซาอุดีอาระเบีย” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 488,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือน ธ.ค.60)

อันดับที่ 5 คือ  “รัสเซีย” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 454,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือน ก.พ.61)

อันดับที่ 6 คือ  “ไต้หวัน” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 451,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือน ธ.ค.60)

อันดับที่ 7 คือ “ฮ่องกง” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 431,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือน ธ.ค.60)

อันดับที่ 8 คือ “อินเดีย” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 421,721 ล้านเหรียญสหรัฐ  (ตัวเลข ณ เดือน ก.พ.61)

อันดับที่ 9 คือ “เกาหลีใต้” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 395,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือน ม.ค.61)

อันดับที่ 10 คือ “บราซิล” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 381,056 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือน ธ.ค.60)

อันดับที่ 11 คือ “สิงคโปร์” มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 279,899ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือน ธ.ค.60)

ประเทศที่มี เงินทุนสํารอง

ส่วนข้อมูลล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทย ของวันที่ 27 เม.ย. 61 (ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 61) ไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศ 6,809,044 ล้านบาท เทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนของวันดังกล่าว โดย 1 เหรียญสหรัฐ เท่ากับ 31.6 บาท ไทยจึงมีทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวน 215,165,790 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนก่อนหน้านั้นที่มีข่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยขาดทุน 9 แสนล้านบาทนั้น นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ชี้แจงเมื่อวันที่ 7 พ.ค. ว่า เป็นการขาดทุนทางบัญชีค่าเงิน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ อันเนื่องมาจากมีเงินจากต่างประเทศเข้ามามาก และค่าเงินบาทสูงขึ้น

สอดคล้องกับข้อมูลของ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.กระทรวงการคลัง ที่โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กของตัวเองว่า “การขาดทุนแบงค์ชาติขณะนี้ไม่ได้เกิดจากการเก็งกำไร หรือจากซื้อๆ ขายๆ เงินตราต่างประเทศ หรือจากซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเล่นหุ้น แต่เกิดจากการมีเงินสำรองมาก

“อธิบายง่ายๆ ตัวอย่างมีเงินสำรองสองแสนล้านดอลลาร์ ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเทียบกับดอลล่าร์ 1 บาท แบงค์ชาติก็จะขาดทุนทางบัญชี 200,000 ล้านบาท แต่ในทางกลับกัน ค่าเงินบาทอ่อนลงเทียบกับดอลล่าร์ 1 บาท แบงค์ชาติก็จะกลับมีกำไรทางบัญชี 200,000 ล้านบาท…”