ค รม อนุมัติ เงินช่วยเหลือเกษตรกร

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ว่า ครม.อนุมัติกรอบวงเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 เพิ่มเติม 594.64 ล้านบาท รวมวงเงินโครงการทั้งสิ้น 55,567.36 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ

ซึ่งโครงการนี้เป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือให้เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาข้าวให้มีคุณภาพดี

นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบขยายระยะเวลาโครงการออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 จะเดิมที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2565 และขยายระยะเวลาการจ่ายเงินออกไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 จากเดิมที่สิ้นสุด 30 เมษายน 2565

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

สาเหตุที่ต้องขออนุมัติกรอบวงเงินเพิ่มเติมในครั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนรอบที่ 1 ปีการผลิต 25624/65 ณ วันที่ 16 มีนาคม 2565 มีจำนวน 62,117,643 ไร่ เพิ่มขึ้น 583,099 ไร่ จากเป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้ 61,534,544 ไร่ 

โดยใช้วงเงินจ่ายช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มอีก 594.64 ล้านบาท ซึ่งเบิกจ่ายงบประมาณคงเหลือจากโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2564/2565 

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ผลการดำเนินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 ณ วันที่ 11 เมษายน 2565 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้โอนเงินให้เกษตรกรในโครงการแล้ว 4.63 ล้านครัวเรือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 53,871.65 ล้านบาท

ครม.ไฟเขียวประกันรายได้ชาวนาปี 4 วงเงินประมาณ 8.1 หมื่นล้านบาท จุรินทร์ เผยชาวนาได้ประโยชน์ 4.7 ล้านราย ส่วนพืชอื่นๆจ่อเข้า ครม.หลังจากนี้

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (15 พ.ย.) เห็นชอบโครงการ ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีที่ 4 ใช้วงเงินประมาณ 81,200 ล้านบาท มีเงิน 3 วงเงิน ได้แก่ 

1.เงินส่วนต่างๆประมาณ 18,700 ล้านบาท 

2.มาตรการคู่ขนานเก็บสต๊อกข้าวเก็บไว้ทั้งชาวนาและโรงสีมีเงินช่วยเหลือ จะทำให้ราคาข้าวไม่ตกลงไปวงเงินประมาณ 7,500 ล้านบาท 

3.การช่วยเหลือโดยลดต้นทุนการผลิต ไร่ละ 1,000 ประมาณ ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่  55,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้คาดว่าจะจ่ายได้หลังจากที่ บอร์ด ธ.ก.ส.  มีมติเพราะต้องโอนเงินเข้าตรงบัญชีชาวนาคาดว่าจะเป็นประมาณปลายเดือน และจะจ่ายเงินส่วนต่างได้รวมทั้งไร่ละ 1,000 บาท มีการทยอยจ่ายจำนวน 33 งวด คาดว่าจะมีชาวนาได้ประโยชน์ประมาณ 4.7 ล้านราย 

นายจุรินทร์กล่าวว่าสำหรับทั้งปาล์ม ข้าวโพดและมันสำปะหลัง ตอนนี้เกือบจะต้องไม่จ่ายเงินส่วนต่างแล้วเพราะราคาดีกว่ารายได้ที่ประกันเยอะ เช่น

  • ปาล์มประกันรายได้ที่กิโลกรัมละ 4 บาท/กก. ตอนนี้ราคาประมาณ 7 บาท/กก. โดยเฉลี่ย 
  • มันสำปะหลังประกันที่ 2.50 บาท/กก. ตอนนี้ 3 บาทกว่าต่อกิโลกรัม
  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประกันรายได้ที่กิโลกรัมละ 8.50 บาท ตอนนี้ราคา 11-12 บาท/กก. ราคานี้เป็นราคาที่ดีมาเป็นปีแล้ว 

ถ้าเสนอเข้า ครม.พิจารณาแค่เห็นชอบในหลักการ ส่วนเม็ดเงินอาจจะไว้ใช้ยามที่เกิดอุบัติเหตุราคาตกจริง อย่างน้อยก็มีประกันรายได้ช่วย” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโครงการการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยเบื้องต้นจ่ายเงินให้ชาวนาไปแล้ว 2 งวด 13,000 ล้านบาท คงเหลืออีก 31 งวดที่ยังไม่ได้จ่าย เนื่องจากต้องรอปรับเพิ่มเพดานการเงิน จาก 30% เป็น 35% ซึ่งเมื่อนายกรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มงบแล้ว วันนี้จะเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาอีกครั้ง โดยหากผ่านความเห็นชอบ ก็จะสามารถอนุมัติการจ่ายเงินส่วนที่เหลืออีก 76,000 ล้านบาทได้ ส่วนเงินช่วยเหลือปรับปรุงคุณภาพข้าวไร่ละ 1,000 บาท ถ้า ครม.เห็นชอบก็จะดำเนินการจ่ายเงินทันที ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่

นอกจากนี้ กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ยังจะเสนอ ครม.ขออนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะ 3 วงเงิน 10,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ราคายางสูงกว่าราคาราคาประกัน โดยเฉพาะน้ำยาง และยางก้อนถ้วย โดยน้ำยางขณะนี้ประกันที่ราคากิโลกรัมละ 57 บาท แต่ราคาจริงอยู่ที่ 60 บาทแล้ว เช่นเดียวกับยางก้อนถ้วย ประกันราคาที่กิโลกรัมละ 23 บาท แต่ขณะนี้ราคาจริงเกินราคาประกันไปแล้ว ดังนั้น จึงยังไม่จำเป็นต้องจ่ายส่วนต่างให้กับเกษตรกร

รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ยืนยันว่า เมื่อ ครม.อนุมัติผ่านความเห็นชอบแล้ว จะดำเนินการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรทันที ผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 25  มกราคมที่ผานมา ธ.ก.ส. ได้โอนเงินช่วยเหลือเกษตรกรผ่านมาตรการช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 แก่เกษตรกรอีกกว่า 16,222 ครัวเรือน เป็นจำนวนเงิน 80.23 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 (โครงการไร่ละพัน) ครั้งที่ 8 เป็นเงินกว่า 69.49 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ได้รับประโยชน์จำนวน 10,694 ครัวเรือน และโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 งวดที่ 15 และงวดที่ 1 - 14 (เพิ่มเติม) เป็นเงินกว่า 10.74 ล้านบาท มีผู้ได้รับประโยชน์จำนวน 5,528 ครัวเรือน

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (15 พ.ย. 65)  เห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว  พร้อมมาตรการคู่ขนาน  และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/2566   และอนุมัติกรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น  81,265.91 ล้านบาท  เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้จากการจำหน่ายข้าวเปลือกในราคาที่เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต   ป้องกันความเสี่ยงในการจำหน่ายผลผลิต รวมทั้งมีมาตรการคู่ขนานเพื่อการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวไม่ให้ตกต่ำควบคู่กัน  ซึ่งรายละเอียดการดำเนินการเช่นเดียวกันกับโครงการฯ ในปีผลิตที่ผ่านมา ประกอบด้วย

1. โครงการประกันรายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66   เป้าหมายเกษตรกร 4.68 ล้านครัวเรือน  โดยเป็นการจ่ายส่วนต่างระหว่างราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง (ราคาตลาด)  และราคาประกันรายได้ (10,000 -15,000 บาทต่อตัน ตามชนิดข้าว) วงเงิน รวม 18,700.13 ล้านบาท

2. มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66   ประกอบด้วย  3 โครงการ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวไม่ให้ตกต่ำ รวม 7,482.69  ล้านบาท ได้แก่  (1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66  วงเงิน  7,107.69  ล้านบาท เป็นการจ่ายสินเชื่อเพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก รวมทั้งค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาทต่อตัน    (2)  โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร เป็นการสนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหการณ์การเกษตร  กลุ่มเกษตรกร  วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน   เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป  วงเงิน 375 ล้านบาท (3)  โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก    เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการให้เก็บสต็อกในรูปแบบข้าวเปลือกและข้าวสาร  เป้าหมายเพื่อดูดซับ 4 ล้านข้าวเปลือก  เก็บสต็อกไว้อย่างน้อย 60-180 วัน (2-6 เดือน)  นับตั้งแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3  ใช้จ่ายจากงบปกติของกรมการค้าภายในหรือเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

3. โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2565/66  เป้าหมาย 4.68 ล้านครัวเรือน  ซึ่งจะจ่ายเงินตรงให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่  หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท  วงเงิน  55,083.09 ล้านบาท

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การจัดสรรวงเงินงบประมาณ เบื้องต้นเป็นไปตามกรอบมาตรา 28 ของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมาตรการคู่ขนานและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 ได้ดำเนินการเช่นเดียวกับการดำเนินการตลอด 3  ปีที่ผ่านมา ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังได้กล่าวในที่ประชุม ครม.  ว่า  เป้าหมายการส่งออกข้าวไทยในปีนี้จะสูงถึง  7.5 ล้านตัน ด้วย