คุณค่าด้านเนื้อหา ขุนช้าง ขุนแผน

คุณค่าด้านสังคม

         ๑.  ลักษณะทางสังคม  ยกตัวอย่างเช่น  ตอนขุนช้างถวายฎีกา  เป็นตอนที่ชะตาชีวิตของนางวันทองตกต่ำถึงที่สุด  คือ  ถูกพระพันวษาพิพากษาให้ประหารชีวิต  ซึ่งจะเป็นตอนที่มีหลากหลายอารมณ์  ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่อยู่ในสถานภาพใดในสังคม  กษัตริย์  สามี  ภรรยา  มารดา  บุตร  ตัวละครในตอนนี้แทบทุกคัวมีบทบาทสำคัญ  แต่ที่เด่นที่สุดมี  ๒  ตัว  คือ  สมเด็จพระพันวษาและ       นางวันทอง  จากเนื้อเรื่องผู้ที่น่ารเห็นใจไม่เพียงแต่นางวันทองเท่านั้น  สมเด็จพระพันวษาก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่น่าเห็นใจ  เนื่องจากฝ่ายหนึ่งถูกสั่งประหารและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายสั่งประหารชีวิต

         ๒.  แนวคิดเกี่ยวกับสังคม  

                ๒.๑  ฐานะและบทบาทของสตรีในสังคม     นางวันทองเป็นตัวอย่างของสตรีไทยสมัยโบราณโดยแท้  คือเกิดมาเพื่อรับบทของบุตรี  ภรรยาและมารดา  ตามที่ธรรมชาติและสังคมเป็นผู้กำหนด  และเมื่อต้องรับบทพลเมืองก็เป็นพลเมืองตามที่ผู้ปกครองพึงปรารถนาให้เป็น  เนื่องจากนางวันทองไม่มีโอกาสเลือก  อาจได้แต่เพียงคิดแต่ไม่เคยได้ปฏิบัติตามที่คิด  นางวันทองถูกกำหนด  เส้นทางของชีวิตให้เป็นไปตามความต้องการของคนอื่นทั้งสิ้น  ความเคยชินจากการเป็นผู้ปฏิบัติตาม  เมื่อสมเด็จพระพันวษาทรง    เปิดโอกาสให้นางเลือกทางเดินของชีวิตตนเอง  นางก็ว้าวุ่นใจไม่อาจตัดสินใจได้  จึงก่อให้เกิดเหตุการณือันเสร้าสะเทือนใจในที่สุด

               ๒.๒  บทบาทของกษัตริย์ต่อประชาชนในสังคมไทย  สมเด็จพระพันวษานั้น  ถ้าจะพิจารณาอย่างละเอียด  ก็จะเห็นได้ว่าแม้จะทรงเป็นเจ้าชีวิต  มีพระราชอำนาจอันล้นพ้น  แต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจอย่างปราศจากเหตุผลหรือด้วยพระอารมณ์  หากได้ ทรงปฏิบัติอย่างเหมาะสม  และทรงมีพฤติกรรมไปในทางที่สมเหตุสมผลที่สุด  เนื่องจากต้องแก้ไขปัญหาระดับประเทศแล้วยังต้องแก้ไขปัญหาระดับครอบครัวของประชาชน  เปรียบเหมือนพ่อหรือผู้ใหญ่ในครอบครัว  เวลาคนในครอบครัวมีเรื่องเดือดร้อนหรือ        เกิดเหตุการณ์วุ่นวายและมาฟ้อง  ก็ต้องทรงเป็นราชธุระ

               ๒.๓  ค่านิยมและความเชื่อเกี่ยวกับสตรี  สังคมไทยไม่นิยมสตรีเยี่ยงนางวันทอง  คือมีสามีสองคน   ในเวลาเดียวกัน  แม้โดยแท้จริงแล้วการที่มีสามีสองคนนั้นมิใช่เกิดจากความปรารถนาของนางเอง  แต่จุกนี้สังคมกลับมองข้าม  เห็นแต่เพียงผิวเผินว่านางน่ารังเกียจ

ในทางตรงกันข้าม  ค่านิยมเกี่ยวกับการมีภรรยาหลายคนในเวลาเดียวกัน  กลับปรากฎในหมู่คนชั้นสูง  โดยฌฉพาะ  ผู้มียศฐาบรรดาศักดิ์ของไทย  แต่สังคมไม่รังเกียจ  กลับนิยมยกย่อง  เพราะค่านิยมกำหนดว่าลักษระเช่นนี้เป็นเครื่องเสริมบารมีและความเป็นบุรุษอาชาไนยให้มากยิ่งขึ้น

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

สะท้อนถึงอารมณ์โกรธแค้นและสะเทือนใจ

…ยิ่งคิดเดือดดาลทะยานใจ             ฉวยได้กระดานชะนวนมา
ร่างฟ้องท่องเทียบให้เรียบร้อย          ถ้อยคำถี่ถ้วนเป็นหนักหนา…

มีการพรรณณาถึงเรื่องฝันร้าย

…ครั้งนี้น่าจะมีอันตราย                  ฝันร้ายสาหัสตัดตำรา
พิเคราะห์ดูทั้งยามอัฐกาล               ก็บันดาลฤกษ์แรงเป็นหนักหนา
มิรู้ที่จะแถลงแจ้งกิจจา                  กอดเมียเมินหน้าน้ำตากระเด็น…

ใช้ถ้อยคำเกิดความเศร้าสะเทือนใจสงสารในชะตากรรมของตัวละคร

…วันนี้แม่จะลาพ่อพลายแล้ว                 จะจำจากลูกแก้วไปสูญสิ้น
พอบ่ายก็จะตายลงถมดิน                     ผินหน้ามาแม่จะขอชม
เกิดมาไม่เหมือนกับเขาอื่น                   มิได้ชื่นเชยชิดสนิทสนม…
…ร่ำพลางนางกอดพระหมื่นไวย             น้ำตกไหลซบเซาไม่เงยหน้า
ง่วงหงุบฟุบลงกับพสุธา                      กอดลูกยาแน่นิ่งไม่ติงกาย ฯ

ผู้แต่ง

  • กรนิษฐ์ ชายป่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พิงพร ศรีแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ศิวพร จติกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ขุนช้างขุนแผน, คุณค่าวรรณคดี, วรรณคดีไทย

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารข้อเท็จจริง วิเคราะห์คุณค่าและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งเป็นวรรณคดีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมได้รับคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อไป การศึกษานี้เป็นการนำเนื้อหาข้อมูลจริงมาสำรวจและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

          ผลการศึกษา พบว่า เสภาขุนช้างขุนแผนมีคุณค่าซึ่งจำแนกได้ ดังนี้ 1. ทางด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การใช้ภาษาคำเจรจา การใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์ การใช้คำให้เกิดจินตภาพ การใช้ภาษาที่รวบรัดของกวี 2. คุณค่าทางด้านวัฒนธรรม จำแนกได้ดังนี้ 2.1 ขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรม ได้แก่ การเกิด การโกนจุก การบวชเรียน การแต่งงาน การทำศพ ประเพณีการทำบุญในวันสงกรานต์ ประเพณีการฟังเทศน์มหาชาติ ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อในเรื่องความฝัน 2.2 ความเป็นอยู่ค่านิยม จำแนกเป็นลักษณะบ้านเรือน ลักษณะครอบครัว การต้อนรับ หลักความสามัคคี คุณค่าที่กล่าวมาเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องรักษาวรรณคดีให้ทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ในฐานะเป็นตำราไทยคดีศึกษา เพราะประกอบด้วยความรู้ในทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งยังคงความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมคู่กับชาติตลอดไป ส่วนองค์ความรู้ใหม่มี ดังนี้ ประการแรก การเป็นศาสตร์และศิลป์ของบรรพชน ประการที่สอง การบูรณาการความเชื่อด้านศาสนาและวัฒนธรรมอย่างลงตัว และประการที่สาม ความร่วมสมัยของเนื้อหา

Downloads

Download data is not yet available.

References

กุสุมา รักษ์มณี. (2531). ลักษณะเฉพาะของวรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 200 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บรรเทา กิตติศักดิ์ และกัมพุชนาฎ เปรมกลม. (2524). วรรณคดีมรดก. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

มิ่งขวัญ ทองพรหมราช. (2546). ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร. กรุงเทพมหานคร: ทองพูลการพิมพ์จำกัด.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2545). มิใช่เป็นเพียง “นางเอก”. กรุงเทพมหานคร: ประพันธ์ สาส์น.

สายสมร ยุวนิมิ. (2539). คุณค่าของเสภาขุนช้างขุนแผน. สารสถาบันภาษาไทย. 3 (1), 97-103.

สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2562, จาก https://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ

เอกรัตน์ อุดมพร. (2544). วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาการศึกษา.

คุณค่าด้านเนื้อหา ขุนช้าง ขุนแผน

How to Cite

ขุนช้างขุนแผนมีคุณค่าด้านใดบ้าง

ผลการศึกษา พบว่า เสภาขุนช้างขุนแผนมีคุณค่าซึ่งจำแนกได้ ดังนี้ 1. ทางด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การใช้ภาษาคำเจรจา การใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์ การใช้คำให้เกิดจินตภาพ การใช้ภาษาที่รวบรัดของกวี 2. คุณค่าทางด้านวัฒนธรรม จำแนกได้ดังนี้ 2.1 ขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรม ได้แก่ การเกิด การโกนจุก การบวชเรียน การแต่งงาน การทำศพ ...

ขุนช้างขุนแผนให้ข้อคิดอะไร

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ๑. ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี เราจึงควรมีความกตัญญูต่อบิดามารดาผู้ที่ให้ กำเนิดเรามา ๒. การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสมัยก่อนเด็กผู้ชายจะเรียนหนังสือที่วัด ๓. วัดเป็นสถานที่ผูกพันกับชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ๔. ในสมัยก่อนจะมีการมัดจุกโกนจุกและนุ่งโจงกระเบนผูกขวัญรับขวัญ

ขุนช้างขุนแผน สะท้อนอะไร

วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนสะท้อนสภาพการด าเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมทุกด้านของชาวไทยในประวัติศาสตร์ ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา และ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไว้อย่างแจ่มแจ้ง ดังนี้ -ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต -วิถีชีวิตที่สะท้อนวัฒนธรรมไทยในเสภาขุนช้างขุนแผน

ขุนช้างขุนแผนมีลักษณะที่ดีเด่นด้านใด

"ขุนช้างขุนแผน" ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรสมัยรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของหนังสือประเภท กลอนเสภา มีสำนวนโวหารที่ไพเราะ คมคาย มีคติเตือนใจ สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิต และสังคมความเป็นอยู่ของคนไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมไทย และยังให้ ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน