ความขัดแย้งระหว่าง ประเทศไทย กับมาเลเซีย

เป็นที่รับรู้กันดีว่าความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียเป็นไปอย่างไม่ค่อยจะราบรื่นเท่าใดนัก ขึ้นๆ ลงๆ มาโดยตลอด แม้ว่าจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกันและมีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่าง หนึ่งในวัฒนธรรมที่มีเหมือนกันของทั้งสองประเทศคือภาษามลายู และภาษาก็เป็นหนึ่งในเหตุแห่งความขัดแย้งของทั้งสองประเทศเช่นกัน ความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นส่งผลให้ประชาชนของทั้งสองประเทศมีทัศนคติที่ไม่ค่อยดีต่อกัน เกิดอคติ และกระทบกระทั่งในโอกาสต่างๆ เสมอ โดยเฉพาะในสื่อและสังคมออนไลน์

  ความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย

 

ความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศเริ่มต้นขึ้นในปี 1957 เมื่อมาเลเซียประกาศเอกราช แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติสามารถสืบย้อนไปได้ไกลกว่านั้นตั้งแต่ก่อนหน้าที่ทั้งสองประเทศจะเป็นเอกราช อย่างน้อยที่สุดที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์คือตั้งแต่ยุคอาณาจักรศรีวิจายา (หรือศรีวิชัย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 จนถึงอาณาจักรสมุทราปาไซ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ตามมาด้วยยุคล่าอาณานิคม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนของทั้งสองดินแดนดำเนินมาตลอดอย่างต่อเนื่อง โดยมีสายสัมพันธ์ทางเชื้อชาติและภาษามลายูเป็นตัวร้อยรัดที่สำคัญ ในปัจจุบัน มีคนที่มีเชื้อสายจากกลุ่มคนในประเทศอินโดนีเซียตั้งรกรากในมาเลเซียจำนวนมาก เช่น คนที่มีเชื้อสายชวาตั้งรกรากบริเวณชายฝั่งตะวันตกของยะโฮร์ เซอลังงอร์ และเปรัค  ชาวบูกิสอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณชายฝั่งตะวันออกของยะโฮร์ ปาหัง และตรังกานู คนจากอาเจะห์ตั้งรกรากที่เกาะปีนัง เคดาห์ และเปรัค เป็นต้น

นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (ASEAN) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1967 และมีความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่หลายด้าน ในความสัมพันธ์แบบทวิภาคี ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจจำนวนมาก มีการลงทุนโดยนักธุรกิจมาเลเซียในประเทศอินโดนีเซีย เช่น อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ในขณะที่แรงงานจากอินโดนีเซียก็เข้าไปทำงานในภาคธุรกิจแรงงานในประเทศมาเลเซียเป็นจำนวนมาก เช่น แม่บ้าน งานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม ประมง เป็นต้น ในด้านการศึกษา ทั้งสองประเทศมีการส่งนักศึกษาแลกเปลี่ยนกันเป็นประจำทุกปี

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศไม่ได้ราบรื่นโดยตลอด แต่มีช่วงที่ความสัมพันธ์เกิดสะดุดและเกิดความขัดแย้งเป็นระยะๆ โดยความขัดแย้งของทั้งสองประเทศมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่หลังจากมาเลเซียประกาศเอกราชได้ไม่นาน กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่ต้นยุคทศวรรษ 1960 เมื่อมาเลเซียต้องการผนวกดินแดนบริเวณซาวักและซาบาห์บนเกาะบอร์เนียว (ตามการเรียกของมาเลเซีย) หรือเกาะกาลิมันตัน (ตามการเรียกของอินโดนีเซีย) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียรู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง นำไปสู่การประกาศนโยบายเผชิญหน้า (Konfrontasi) กับมาเลเซียระหว่างปี 1963-1965 โดยประธานาธิบดีซูการ์โน ซึ่งอินโดนีเซียในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบชี้นำ ซูการ์โนซึ่งชูนโยบายชาตินิยมเข้มข้นมองว่า การรวมดินแดนซาราวักและซาบาห์เข้ากับสหพันธรัฐมาเลเซียเป็นการคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศอินโดนีเซีย และมองว่าอังกฤษอยู่เบื้องหลังเรื่องดังกล่าว ส่วนมาเลเซียเป็นเพียงหุ่นเชิดของอังกฤษเท่านั้น เนื่องจากอังกฤษต้องการคงอำนาจและอิทธิพลในภูมิภาคนี้ต่อไป และในปี 1965 มาเลเซียได้รับการรับรองเป็นสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ซึ่งก่อนหน้านั้น ประธานาธิบดีซูการ์โนได้คัดค้านอย่างหนัก แต่เมื่อการคัดค้านไม่เป็นผล อินโดนีเซียจึงประกาศถอนตัวออกจากองค์การสหประชาชาติ

หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมืองในอินโดนีเซียจากซูการ์โนมาเป็นซูฮาร์โตในปี 1966 ท่าทีของผู้นำทั้งสองประเทศก็เปลี่ยนไปสู่การประนีประนอมกันมากขึ้น จนสามารถร่วมกันเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งอาเซียนได้ในปีถัดไป อย่างไรก็ตาม ทั้งสองประเทศมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนขึ้นในปี 1969 ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะซีปาดัน (Sipadan) และ ลีกิตตัน (Ligitan) ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ในน่านน้ำใกล้กับพื้นที่ชายฝั่งทะเลของรัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย และจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซียต่างอ้างความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนดังกล่าว ข้อพิพาทนี้ดำเนินมาอย่างยาวนานกว่าสามทศวรรษ จนกระทั่งในปี 1997 คู่กรณีทั้งสองเห็นพ้องต้องกันที่จะนำข้อพิพาทดังกล่าวเข้าสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้พิจารณา เนื่องจากว่าทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงและจัดการปัญหาดังกล่าวแบบทวิภาคีได้ และในปี 2002 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินว่าหมู่เกาะซีปาดันและลีกิตตันอยู่ในดินแดนประเทศมาเลเซีย

นอกจากความขัดแย้งทางเขตแดนแล้ว ทั้งสองประเทศยังเกิดความขัดแย้งเรื่องการแย่งชิงความเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเพลง ท่ารำ ผ้าบาติก กริช เรินดัง (อาหาร) อังกะลุง และกาเมอลัน (เครื่องดนตรี) เป็นต้น

 การช่วงชิงความเป็น ‘เจ้าของภาษาและวัฒนธรรมมลายู’

 

ในปี 2007 เกิดความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศเรื่องการอ้างความเป็นเจ้าของเพลง ‘ราซา ซายัง-ซายังเงอ’ (Rasa Sayang-Sayange) เมื่อประเทศมาเลเซียใช้เพลงนี้ประกอบคลิปโฆษณาท่องเที่ยวมาเลเซียซึ่งเผยแพร่ในเดือนตุลาคม 2007 รัฐมนตรีท่องเที่ยวของมาเลเซียกล่าวว่าเพลง ‘ราซา ซายัง-ซายังเงอ’ เป็นเพลงของคาบสมุทรมลายู ในขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมาลูกู (Maluku) ประเทศอินโดนีเซีย ก็อ้างว่าเพลงดังกล่าวเป็นของประเทศอินโดนีเซีย เพราะเป็นเพลงพื้นบ้านที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมของจังหวัดมาลูกูมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การอ้างสิทธิ์เหนือเพลงนี้ของมาเลเซียจึงเป็นเพียงการอ้างลอยๆ ขณะที่รัฐมนตรีท่องเที่ยวของมาเลเซียโต้กลับว่า ชาวอินโดนีเซียไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเพลง ‘ราซา ซายัง-ซายังเงอ’ เป็นเพลงพื้นบ้านของอินโดนีเซียจริงๆ

นอกจากเรื่องเพลงแล้ว ในปีเดียวกันนั้นเอง ทั้งสองประเทศยังทะเลาะกันเรื่องว่าใครเป็นเจ้าของวัฒนธรรมการใช้กริช โดยนักการเมืองมาเลเซียคนหนึ่งได้ถือกริชไปงานประชุมประจำปีของพรรค UMNO และประกาศว่ากริชเป็นวัฒนธรรมของมาเลเซีย จนก่อให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวอินโดนีเซีย และทั้งสองประเทศต่างประกาศว่าผ้าบาติก วายังกูลิต (การเชิดหนังตะลุง) และอาหารที่มีชื่อเสียงรู้จักกันไปทั่วโลกที่ชื่อ ‘เรินดัง’ เป็นวัฒนธรรมของประเทศตนเอง

ปี 2009 เกิดข้อพิพาทอีกครั้งเมื่อ Discovery Channel นำเสนอสารคดีท่องเที่ยวชื่อ ‘Enigmatic Malaysia’ โดยในตัวอย่างสารคดีมีภาพการฟ้อนรำที่เรียกว่า ‘ตารี เป็นเด็ต’ (Tari Pendet) ซึ่งเป็นการรำอวยพรของบาหลี ส่งผลให้ชาวอินโดนีเซียลุกขึ้นมาเดินขบวนประท้วงที่สวนวัฒนธรรมเดนปาซาร์ เกาะบาหลี ข่าวนี้ถูกนำเสนอในสื่อของอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลอินโดนีเซียยังได้ส่งจดหมายประท้วงไปยังมาเลเซีย ซึ่งต่อมา รัฐบาลมาเลเซียได้กล่าวขอโทษและโบ้ยว่าเป็นความผิดของ Discovery-Asia Pacific ที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสารคดีดังกล่าว

นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังพิพาทกันด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของเครื่องดนตรี ‘อังกะลุง’ และ ‘กาเมอลัน’ โดยรัฐบาลมาเลเซียได้บรรจุกาเมอลันเป็นมรดกแห่งชาติตั้งแต่ปี 2009 ขณะที่อินโดนีเซียทำการประท้วงและอ้างว่า ทางองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้รับรองว่ากาเมอลันเป็นมรดกวัฒนธรรมของอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 20004 แล้ว ต่อมาในปี 2010 มาเลเซียอ้างว่ารัฐยะโฮร์เป็นแหล่งกำเนิดเครื่องดนตรีอังกะลุง ในขณะที่อินโดนีเซียยืนยันว่าอังกะลุงถือกำเนิดที่เมืองบันดุงของชาวซุนดา หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ของอินโดนีเซีย

แม้กระทั่งเพลงชาติของมาเลเซียที่ชื่อว่า ‘เนอการากู’ (Negaraku) ซึ่งมีหมายความว่า ‘ประเทศของฉัน’ ก็กลายเป็นประเด็นขึ้นมาในปี 2009 เมื่ออินโดนีเซียอ้างว่ามาเลเซียได้ดัดแปลงจากเพลงของอินโดนีเซียที่ชื่อว่า ‘เตอรัง บูลัน’ (Terang Bulan) ที่แปลว่า ‘จันทร์กระจ่าง’ โดยอินโดนีเซียอ้างว่า ทำนองเพลง ‘เนอการากู’ เหมือนกับทำนองเพลง ‘เตอรัง บูลัน’ ซึ่งประพันธ์โดยไซฟุล บะฮ์รี (Saiful Bahri) อดีตหัวหน้าวงออร์เคสตราจาการ์ตา ภายใต้สถานีวิทยุสาธารณรัฐอินโดนีเซียและเผยแพร่ครั้งแรกในปี 1956 ก่อนหน้าที่มาเลเซียจะประกาศเอกราชในปี 1957 ขณะที่ทางมาเลเซียอ้างหลักฐานว่าเพลง ‘เนอการากู’ มาจากเพลงของรัฐเปรัค ซึ่งรับอิทธิพลทำนองมาจากเพลง ‘La Rosalie’ ของฝรั่งเศส และยังกล่าวอีกว่าเพลง ‘เตอรัง บูลัน’ ก็เอาทำนองมาจากเพลง ‘La Rosalie’ เช่นเดียวกัน การที่อินโดนีเซียอ้างว่ามาเลเซียลอกเพลงจากอินโดนีเซียจึงไม่สมเหตุสมผล

ข้อพิพาทของทั้งสองประเทศปะทุขึ้นอีกในปี 2012 เมื่อเว็บไซด์ Bernama ของมาเลเซียรายงานว่า รัฐบาลมาเลเซียจะขึ้นทะเบียนระบำ ‘ตอร์-ตอร์’ (Tor-tor) และ ‘กอร์ดัง ซัมบิลัน’ (Gordang Sambilan) เป็นมรดกแห่งชาติ นำไปสู่การมีปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรงจากชาวอินโดนีเซีย โดยระบำทั้งสองแบบเป็นของกลุ่มชาติพันธุ์มันไดลิง (Mandailing) ซึ่งปัจจุบัน อาศัยอยู่ทั้งที่บริเวณทางเหนือของเกาะสุมาตรา (อินโดนีเซีย) และในประเทศมาเลเซีย เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานว่ากลุ่มชาติพันธุ์มันไดลิงมีการตั้งถิ่นฐานในดินแดนดังกล่าวและมีการเผยแพร่วัฒนธรรมตั้งแต่ราวปี 1800 ก่อนหน้าที่จะเกิดประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเสียด้วยซ้ำ ต่อมา ในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ปี 2018 ที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ ระบำ ‘ตอร์-ตอร์’ และ ‘กอร์ดัง ซัมบิลัน’ ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีเปิดอันอลังการเพื่อเป็นการเน้นย้ำว่า นี่คือวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย

ท่ามกลางความขัดแย้งและการโต้ตอบกันไปมาอย่างเผ็ดร้อนระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ชาวอินโดนีเซียได้เรียกชื่อประเทศมาเลเซียอย่างล้อเลียนว่า ‘มาลิงเซีย’ (Malingsia) แทนคำว่า Malaysia โดยคำว่า ‘maling’ ในภาษามลายูหมายถึง ‘หัวขโมย’ เป็นการจิกกัดของชาวอินโดนีเซียที่มองว่ามาเลเซียเป็นหัวขโมย ชอบขี้ตู่ทึกทักเอาวัฒนธรรมของอินโดนีเซียไปเป็นของตน มีการเอาคำว่า ‘Malingsia’ ไปใช้ในสื่อออนไลน์และนำไปพิมพ์สกรีนบนเสื้อยืดล้อเลียนคำขวัญการท่องเที่ยวของประเทศมาเลเซียจาก “Visit Malaysia” เป็น “Visit Malingsia”

ดังที่กล่าวในตอนต้นว่า ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศไม่ได้มีแต่ความขัดแย้งเพียงอย่างเดียว การที่ทั้งสองประเทศยอมรับกติกาและคำตัดสินของศาลโลกก็ถือว่าเป็นการแก้ไขข้อพิพาทที่ดี และในเดือนเมษายน ปี 2011 มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ Kerinci ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศมาเลเซียกับรัฐบาลท้องถิ่นอำเภอ Kerinci จังหวัด Jambi บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทั้งสองฝ่ายหวังว่า การสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะช่วยทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองแน่นแฟ้นขึ้น

ความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกันเป็นเรื่องปกติ การอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนระหว่างประเทศที่มีพรมแดนติดกันก็เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป ซึ่งทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซียมีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม มีวัฒนธรรมหลายอย่างร่วมกัน ผ่านทางการติดต่อไปมาหาสู่ การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้คน และการเผยแพร่วัฒนธรรมมาตั้งแต่ยุคก่อนการเข้ามาของอาณานิคม เมื่อรัฐชาติของทั้งสองถือกำเนิดขึ้น แนวคิดเรื่อง ‘วัฒนธรรมแห่งชาติ’ และ ‘มรดกทางวัฒนธรรม’ จึงนำไปสู่ความต้องการอ้างความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมดังกล่าว และการที่ทั้งสองประเทศใช้ภาษามลายูเหมือนกัน ในด้านหนึ่งทำให้ทั้งสองประเทศเข้าใจภาษาของกันและกันได้อย่างดี แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการใช้ภาษามลายูเช่นเดียวกัน และการโต้เถียงโต้แย้งระหว่างกันก็ยิ่งสร้างความเจ็บปวดโกรธแค้นได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถจิกกัดด้วยภาษาซึ่งเข้าใจกันได้อย่างดีนั่นเอง

Related Posts

  • 'ทหาร' กับ 'การพัฒนาประชาธิปไตย' เป็นไปได้ไหม? : บทเรียนจากอินโดนีเซีย

    อรอนงค์ ทิพย์พิมล เขียนเรื่องทหารกับการพัฒนาประชาธิปไตยในอินโดนีเซียผ่านสามช่วงเวลา พร้อมทั้งตอบคำถามว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ทหารจะเข้ามามีบทบาททางการเมือง ควบคู่ไปกับการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ

  • ชวนผู้อ่านตอบแบบสอบถาม ประเมินผลงาน The101.world

    101 ขอเชิญผู้อ่านร่วมบอกเล่าความคาดหวังและให้คำแนะนำทีมงานเกี่ยวกับผลงานในช่วง 2 ปีแรกของ The101.world และก้าวต่อไปในอนาคต เพื่อพัฒนาสื่อของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้อ่านและสังคม

  • จับตา ASEAN Summit: RCEP ท่ามกลางสงครามการค้า

    ปิติ ศรีแสงนาม ชวนมองประเด็นที่น่าสนใจในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะประเด็นการประชุมสุดยอดความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ที่จะนำไปสู่เขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ก็ยังมีประเด็นท้าทายอยู่มาก

  • การเมืองเรื่องยุบพรรค : ย้อนดูการยุบพรรคการเมืองของอินโดนีเซีย

    อรอนงค์ ทิพย์พิมล ชวนย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองอินโดนีเซีย ผ่านเรื่องการ 'ยุบพรรค' การเมืองในสามยุค

  • Multiconceptual World กับความเสี่ยงระดับโลก

    คอลัมน์ Trend Rider สัปดาห์นี้ โตมร ศุขปรีชาเขียนถึง Multiconceptual World หรือวิธีการมองโลกที่แตกต่างกันของคนในโลก ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงครั้งใหญ่ของมวลมนุษย์

  • 'ทหาร' กับ 'การพัฒนาประชาธิปไตย' เป็นไปได้ไหม? : บทเรียนจากอินโดนีเซีย

    อรอนงค์ ทิพย์พิมล เขียนเรื่องทหารกับการพัฒนาประชาธิปไตยในอินโดนีเซียผ่านสามช่วงเวลา พร้อมทั้งตอบคำถามว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ทหารจะเข้ามามีบทบาททางการเมือง ควบคู่ไปกับการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ

วัฒนธรรมมลายู การเมืองอินโดนีเซีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ภาษามลายู

Print

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

เรื่อง: อรอนงค์ ทิพย์พิมล

อาจารย์ประจำสาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอนและสนใจประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย ภาษาอินโดนีเซีย ขบวนการฝ่ายซ้าย การพัฒนาประชาธิปไตย และอิสลามกับการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita