นักเรียนคิดว่าประเทศไทยได้ประโยชน์จากการเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างไรบ้าง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนมีข้อดีอย่างไร ไทยได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนในด้านใดมากที่สุด เพราะเหตุใด การรวมกลุ่มอาเซียนมีผลดีในด้านใดมากที่สุด ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอาเซียน ด้านเทคโนโลยี ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอาเซียน ด้านการท่องเที่ยว ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบที่ไทยได้รับจากอาเซียน ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอาเซียน ด้านการศึกษา ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอาเซียน ด้านแรงงาน ประโยชน์ของอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับ

ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างไรเมื่อเข้าสู่ aec

อีกไม่กี่วันทั้ง 10 ประเทศในอาเซียนจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ การค้าขายการทำธุรกิจใน 10 ประเทศสมาชิก ไม่มีกำแพงภาษี ไม่มีการกีดกันทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้า บริการ และการลงทุน ขณะที่แรงงานมีฝีมือใน 7 สาขาอาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก และนักสำรวจ สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี

ข้อตกลงร่วมกันดังกล่าวล้วนมีประโยชน์กับสมาชิกโดยรวม แต่เปรียบเหมือนกับเหรียญต้องมีสองด้านเสมอ เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อด้อยเป็นธรรมดา แต่ถ้าผู้ประกอบการรู้เท่าทันสิ่งที่จะเกิดขึ้นและรับมือได้อย่างชาญฉลาดก็จะได้เปรียบเมื่อเข้าสู่ AEC เพราะผลดีของการเข้าสู่ AEC หลัก ๆ คือ จะมีประชากรรวมกันประมาณ 600 ล้านคน ทำให้มีตลาดใหญ่ขึ้น ระบบเศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มีจำนวนแรงงานมากกว่า 300 ล้าน มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 429 ล้านไร่ ซึ่งในขณะที่โอกาสการทำธุรกิจเปิดกว้างขึ้น แต่ก็มีความท้าทายและมีคู่แข่งมากตามไปด้วย

ดังนั้นผู้ประกอบการทั้งรายเล็กรายใหญ่ย่อมจะต้องปรับตัวเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ ซึ่งอันที่จริงหากสังเกตุให้ดีผลกระทบจาก AEC ก็เริ่มมีเข้ามาแล้ว เพียงแต่อาจจะยังไม่เด่นชัด 100%

ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักวิเคราะห์ตรงกันว่าธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบในอันดับต้น ๆ มีธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจบริการ โรงแรม และรีสอร์ท ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีนักลงทุนในอาเซียนเข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้มากถึง 70% จากเดิมที่กำหนดให้แค่ 49% เท่านั้น นอกจากนี้ยังจะเกิดปัญหาสมองไหล โดยคนที่มีความรู้ความสามารถใน 7 สาขาอาชีพที่ระบุไว้ข้างต้นจะย้ายไปยังประเทศที่ได้ค่าตอบแทนสูงกว่าไม่ว่าจะเป็นมาเลเซียหรือสิงคโปร์ ซึ่งสองประเทศนี้ให้ค่าตอบแทนสูงกว่าในไทยถึง 3 เท่า

ในอีกมุมหนึ่งนักลงทุนไทยก็จะได้ประโยชน์หากเข้าไปลงทุนทำธุรกิจบริการในประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีอัตรากำไรของธุรกิจที่สูงกว่าในไทย โดยเฉพาะในสิงคโปร์ และมาเลเซีย นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และลาว ทำได้ง่ายและคล่องตัวขึ้น ซึ่งบ้านเราโดดเด่นในเรื่องธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ อย่างธุรกิจสปา รวมทั้งเรื่องโรงพยาบาล


 

นี่เป็นภาพกว้าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้... แล้วผู้ประกอบการจะรับมือกับ AEC อย่างไรดี

เรื่องนี้ไม่ยากเลยสำหรับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมและพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นศักยภาพในการแข่งขันทั้งทางด้านวัตถุดิบ การผลิต การตลาด และเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงเรื่องภาษาด้วย ซึ่งหากมีผู้ประกอบการในอาเซียนเข้ามาทำธุรกิจในไทยก็สามารถที่จะแข่งขันได้ โดยจะต้องเรียนรู้และศึกษาความได้เปรียบเสียเปรียบของคู่แข่งด้วย

อย่างไรก็ตามแม้การเปิด AEC จะทำให้มีคู่แข่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดก็คือ เรื่องคุณภาพ และจะต้องขายในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

นอกจากนี้สินค้าจะต้องมีเอกลักษณ์โดดเด่น มีความแตกต่างจากคู่แข่ง ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ในทุกมิติ เนื่องจากลูกค้ามีสินค้าให้เลือกซื้อหลากหลาย

ผู้ประกอบการจะต้องเข้าใจเทรนด์ของสินค้า อาทิ สินค้าเกษตรที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับเกษตรอินทรีย์กันมากขึ้น และจะต้องผลิตให้ได้มาตรฐานตามหลักสากล ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยลดโลกร้อน ซึ่งนับวันผู้คนในโลกจะให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้มากยิ่งขึ้นและบางประเทศใช้เป็นเหตุผลหลักในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ

สรุปแล้ว AEC ถือเป็นแรงกระตุ้นสำคัญ ทำให้ภาคธุรกิจน้อยใหญ่ตื่นตัวและเร่งพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในตลาดเสรีเช่นนี้

ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนได้มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ และไทยก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด โดยเมื่อเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2510 สภาพแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตึงเครียด อันเป็นผลมาจากสงครามเย็น ซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์

ในขณะเดียวกัน ความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศในภูมิภาค เช่น ความขัดแย้งระหว่าง มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก รวมทั้งการที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันระหว่างประเทศในภูมิภาค

ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้นได้มีบทบาทสำคัญในการเดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ และได้เชิญให้รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มาหารือร่วมกันที่แหลมแท่น จ. ชลบุรี อันนำมาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียน ที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ไทยจึงถือเป็นทั้งประเทศผู้ร่วมก่อตั้งและเป็น ‘บ้านเกิด’ ของอาเซียน

อาเซียนได้ขยายสมาชิกภาพขึ้นมาเป็นลำดับ โดยบรูไนดารุสซาลามได้เข้าเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่ 6 เมื่อปี 2527 และภายหลังเมื่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออีก 4 ประเทศ คือ เวียดนาม สปป. ลาว เมียนมา และกัมพูชา ได้ทะยอยกันเข้าเป็นสมาชิกจนครบ 10 ประเทศ เมื่อปี 2542 นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยได้มีบทบาทเชื่อมโยงประเทศที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นทวีปและประเทศที่เป็นหมู่เกาะทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง

ถึงแม้ว่า ปฏิญญากรุงเทพ จะมิได้ระบุถึงความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง โดยกล่าวถึงเพียงความร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเกษตร อุตสาหกรรม การส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค แต่อาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื่อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ลดความหวาดระแวง และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญ ไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิมในการแก้ไขปัญหากัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยซึ่งเป็นประเทศด่านหน้า

นอกจากนี้ ประเทศไทย โดยท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ก็ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความคืบหน้า โดยการริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ขึ้นเมื่อปี 2535 โดยตกลงที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0-5 ในเวลา 15 ปี ซึ่งต่อมาได้ลดเวลาลงเหลือ 10 ปี โดยประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2546 ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ดำเนินการเสร็จสิ้นในปี 2551

ในปัจจุบัน บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง คือ จีนและอินเดีย รวมทั้งแนวโน้มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ตลอดจนปัญหาท้าทายความมั่นคงในรูปแบบใหม่ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ปฏิญญากรุงเทพ ที่ก่อตั้งอาเซียน เมื่อปี 2510 ได้ระบุวิสัยทัศน์และวางรากฐานสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนตั้งแต่แรกเริ่ม แต่โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองในภูมิภาคในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากอยู่ในยุคของสงครามเย็น แนวคิดเรื่องบูรณาการในภูมิภาคจึงไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง แต่ต่อมาเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศในภูมิภาคจึงสามารถหันหน้าเข้าหากันและร่วมมือกันมากขึ้น ส่งผลให้แนวคิดที่จะมีการรวมตัวการอย่างเหนียวแน่นได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยอาจกล่าวได้ว่า ข้อริเริ่มของท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนโดยเริ่มจากเสาเศรษฐกิจ

ต่อมา ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลี เมื่อปี 2546 ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสร้าง ประชาคมอาเซียน โดยมีการจัดทำแผนงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว นำมาสู่การจัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของอาเซียน ทำให้อาซียนเป็นองค์กรที่มีกฎกติกาในการทำงาน มีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามกฎบัตรอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 และกฎบัตรฯ ได้มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงวลาเดียวกับที่ประเทศไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้รับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในทั้ง 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการวางรากฐานสำคัญและนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียนเมื่อปี 2558

2. อาเซียน : วิสัยทัศน์ในอนาคต

ถึงแม้ว่าอาเซียนจะประสบความสำเร็จในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงและความร่วมมือในภูมิภาคจนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ แต่ก็ยังมีปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขให้ลุล่วงเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือและพัฒนาการในอนาคต ที่สำคัญ คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกต่าง ๆ ของอาเซียน การนำข้อตกลงต่าง ๆ ของอาเซียนไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในด้านเส้นทางคมนาคม การสร้างความสอดคล้องระหว่างกฎระเบียบต่าง ๆ และการส่งเสริมการติดต่อระหว่างประชาชนต่อประชาชน รวมทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนยังต้องสร้างความเป็นเอกภาพและรักษาบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาค

นอกจากนี้ อาเซียนจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประชาชนทั้งในเรื่องการให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ บทเรียนจากสหภาพยุโรปชี้ให้เห็นว่า ประชาคมจะไม่สามารถบรรลุผลได้หากประชาชนไม่ให้การสนับสนุน ดังนั้น ไทยจะพยายามผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง (People-centred Community) โดยเร่งรัดการดำเนินการตามข้อตกลงต่าง ๆ ของอาเซียนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ รวมทั้งจะต้องพัฒนากรอบความร่วมมือของอาเซียนให้สามารถแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนได้อย่างทันท่วงที เช่น ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ

สำหรับการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภูมิภาคนั้น จะต้องดำเนินการทั้งในด้านกายภาพ คือ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนเครื่อข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อค้าขาย การท่องเที่ยว และการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชน นอกจากนั้น ยังต้องให้ความสำคัญต่อการทำให้ประชาชนในภูมิภาคมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและตระหนักถึงการเป็นประชากรของอาเซียนร่วมกัน ถึงแม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายในด้านเชื้อชาติ และศาสนา แต่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ก็มีรากฐานทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมร่วมกัน เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่เป็นจุดบรรจบของอารยธรรมจีนและอินเดีย ดังนั้น ประเด็นที่ท้าทายสำหรับอาเซียนในอนาคต ก็คือ การเสริมสร้างอัตลักษณ์ หรือ คุณลักษณะร่วมกันของประชาชนในอาเซียน โดยผ่านการศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สื่อสารมวลชน และการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างประชาชนให้ยอมรับถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

3. ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ

ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมาไทยได้ประโยชน์หลายประการจากอาเซียน ทั้งในแง่การเสริมสร้างความมั่นคงซึ่งช่วยเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันกว่า 101,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ในจำนวนนี้ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียนร้อยละ 25.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลมาตลอด

การรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ ยังช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย โดยขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 69 ล้านคนเป็นประชาชนอาเซียนกว่า 655 ล้านคน และเป็นแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย รวมทั้งเป็นตลาดท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย โดยในปัจจุบันนักท่องเที่ยวจากอาเซียนคิดเป็นร้อยละ 25 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางมาประเทศไทย

ในอนาคต คนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของเรา ดังนั้น การสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชน จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ

นักเรียนคิดว่าประเทศไทยได้ประโยชน์จากการเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างไรบ้าง

1. ป้องกันความขัดแย้งและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อช่วยส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาค 2. ช่วยให้มีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งมีกลไกในการควบคุมการทำงานของภาครัฐให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้น 3 . ช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมแก้ไขปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนมีข้อดีอย่างไร

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยให้การทำธุรกิจและการลงทุนร่วมกันภายในอาเซียนสะดวกมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง ขณะที่การนำจุดแข็งด้านเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมาส่งเสริมซึ่งกันและกันจะทำให้ผลิตภาพ (Productivity) ของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนดีขึ้น

ไทยได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนในด้านใดมากที่สุด เพราะเหตุใด

1. ประเทศไทยมีแรงงานที่มีทักษะฝีมือเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ 2. มีวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีศักยภาพ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และมีผลผลิตที่หลากหลาย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ผักและผลไม้สด เป็นต้น 3. มีที่ตั้งเหมาะสมในด้าน การเป็นศูนย์กลางภูมิภาค ทำให้มีข้อได้เปรียบหลายด้าน โดยเฉพาะการขนส่ง และ

การรวมกลุ่มอาเซียนมีผลดีในด้านใดมากที่สุด

1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita