องค์การระหว่างประเทศ ด้านการเมือง

13 องค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศเรียกร้องรัฐบาลไทยให้เคารพ คุ้มครอง และสนับสนุนการใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบตามกติกา ICCPR ขณะเดียวกันกลุ่มนักกิจกรรมคนรุ่นใหม่ในพม่าก็ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลไทยหยุดสลายการชุมนุม และรับฟังเสียงของประชาชน

องค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศออกแถลงการณ์ร่วมถึงทางการไทยเกี่ยวกับการชุมนุมของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในวันที่ 17 และ 25 พฤศจิกายนนี้ ส่งข้อเสนอแนะ 4 ข้อ เพื่อเรียกร้องรัฐบาลไทยให้เคารพ คุ้มครอง และสนับสนุนการใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ เพื่อให้สอดคล้องตามพันธกรณีระหว่างประเทศของไทยที่มีต่อกติกาICCPR และกฎหมายระหว่างประเทศ และเน้นย้ำว่า ให้ทางการไทยดำเนินการเพื่อประกันให้มีความรับผิดเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิ จากการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และประกันว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิสามารถใช้สิทธิการเข้าถึงการเยียวยาอย่างได้มีประสิทธิภาพ 

13 องค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศดังรายนามต่อไปนี้ Amnesty International, Article 19, ASEAN Parliamentarians for Human Rights, Asia Democracy Network, Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA), Asian Network for Free Elections (ANFREL), CIVICUS: World Alliance for Citizen Participation, Civil Rights Defenders, FIDH - International Federation for Human Rights, Fortify Rights, Human Rights Watch, International Commission of Jurists และ Manushaya Foundation ออกแถลงการณ์ร่วมประณามการใช้กำลังของตำรวจไทยที่ขาดหลักความจำเป็นและเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุมโดยสงบที่เดินขบวนไปรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และแสดงความกังวลว่าทางการไทยอาจใช้มาตรการแบบเดียวกันเมื่อผู้ชุมนุมประกาศว่า จะมีการชุมนุมอีกครั้งที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนักงานใหญ่ในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ 

ในแถลงการณ์ตอนหนึ่งระบุว่า ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้ทำการภาคยานุวัติในปี พ.ศ. 2539 คุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก (มาตรา 19) และการชุมนุมโดยสงบ (มาตรา 21) แต่ทางการไทยมักปิดกั้นการแสดงออกและจำกัดการชุมนุม ประชุม หรือเสวนาสาธารณะเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน การปฏิรูปทางการเมือง และบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคม   

โดยอ้างถึงความเห็นทั่วไปที่ 37 ซึ่งระบุเนื้อหาเกี่ยวกับพันธกรณีของประเทศไทยในการประกันสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ ว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ การใช้ความรุนแรงของบุคคลเพียงบางส่วนไม่อาจถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าร่วมชุมนุมคนอื่น ของผู้จัด หรือของการชุมนุมดังกล่าวได้ และแม้ว่าสิทธิในการชุมนุมโดยสงบอาจถูกจำกัดได้ในบางกรณี แต่รัฐมีหน้าที่ในการให้เหตุผลสนับสนุนการจำกัดสิทธิเช่นว่า ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมาย หลักความชอบธรรม หลักความจำเป็น และหลักความได้สัดส่วน  

นอกจากนั้นยังระบุว่า เนื่องจากมีเด็กเข้าร่วมการชุมนุมเหล่านี้ด้วย ซึ่งคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติซึ่งได้เน้นย้ำความเห็นต่อร่างความเห็นทั่วไปฉบับที่ 37 ว่ารัฐ “มีหน้าที่เชิงบวกในการปกป้องสิทธิเด็กและจะต้องดำเนินการโดยตระหนักว่าอาจมีเด็กอยู่ในพื้นที่ชุมนุมและปกป้องพวกเขาจากอันตรายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย รวมถึงอันตรายที่เกิดจากผู้เข้าร่วมการชุมนุมคนอื่น ๆ” 

ดังนั้นทั้ง 13 องค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศจึงมีข้อเสนอแนะต่อทางการไทย 4 ข้อ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพ คุ้มครอง และสนับสนุนการใช้สิทธิในการทำการชุมนุมโดยสงบ ตามพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทยภายใต้ ICCPR และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลไทยควร 

1. อนุญาตให้คณะราษฎรเดินขบวนในวันที่ 25 พฤศจิกายน และอนุญาตให้ผู้ชุมนุมที่ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก สามารถชุมนุมโดยสงบที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนักงานใหญ่ 

2. คุ้มครองสิทธิของผู้ชุมนุมโดยสงบ รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก โดยสอดคล้องตามความเห็นทั่วไปที่ 37 ว่าด้วยสิทธิในการชุมนุมโดยสงบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ  

3. สนับสนุนการใช้สิทธิการชุมนุมโดยสงบ และหลีกเลี่ยงจากการสลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธ รวมทั้งการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำต่อผู้ชุมนุม โดยต้องปฏิบัติให้สอดคล้องตามหลักการพื้นฐานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และแนวปฏิบัติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำทั้งขององค์การสหประชาชาติและอื่น ๆ   

4. คุ้มครองผู้ชุมนุม รวมถึงผู้ชุมนุมที่เป็นเด็ก จากความรุนแรงและการแทรกแซงของบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมกับคุ้มครองสิทธิของผู้ชุมนุมต่อต้าน ดำเนินการเพื่อประกันให้มีความรับผิดเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิ จากการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และประกันว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิสามารถเข้าถึงสิทธิในการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพได้ ตามที่ได้รับการประกันไว้ในมาตรา 2(3) ของ ICCPR 

สุดท้ายเน้นย้ำว่า ให้ทางการไทยดำเนินการเพื่อประกันให้มีความรับผิดเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิ จากการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และประกันว่าผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิสามารถใช้สิทธิการเข้าถึงการเยียวยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า Future Nation Alliance (สหพันธ์ชาติอนาคต) ได้ออกแถลงการณ์ต่อประเด็นนี้เช่นเดียวกัน ใจความว่า

“ด้วยใจที่สมานฉันท์ร่วมกับนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพในประเทศไทย”

16 ตุลาคม 2563

พวกเรา Future Nation Alliance (สหพันธ์ชาติอนาคต) เป็นกลุ่มนักกิจกรรมคนรุ่นใหม่ในประเทศเมียนมา ทำงานรณรงค์และปกป้องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพในประเทศเมียนมา

ในช่วงสองสามวันที่ที่ผ่านมา พวกเราได้รับข่าวอันน่าผิดหวังอย่างยิ่งจากประเทศไทย มีนักเรียน นักศึกษาและผู้เข้าร่วมชุมนุมอย่างสันติถูกจับโดยตำรวจ และรัฐบาลไทยประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉิน เพื่อสลายการชุมนุมอย่างสันติของประชาชน ในขณะที่ประชาชนนับร้อยนับพันบนท้องถนนกรุงเทพ ฯ กำลังเรียกร้องประชาธิปไตยและให้ปล่อยตัวประชาชนที่ถูกจับกุมในที่ชุมนุม

พวกเราขอแสดงความเคารพอย่างยิ่งในความกล้าหาญของนักสู้เพื่อเสรีภาพในประเทศไทย พวกเราขอแสดงความเคารพต่อพวกคุณทุกคน พวกเราอยากให้พวกคุณรู้ว่า คุณมีพวกเราอยู่เคียงข้างในการต่อสู้การกดขี่ทุกรูปแบบบนโลกใบนี้ 

พี่น้องทั้งชายและหญิงที่กล้าหาญทั้งหลาย จงยืนหยัดต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ความเสมอภาคและความเป็นธรรม ประชาธิปไตยจะชนะแน่นอน

พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวนักศึกษาและประชาชนผู้เข้าร่วมการชุมนุมโดยทันที และเคารพสิทธิของประชาชน พวกเราขอให้รัฐบาลไทยหยุดสลายการชุมนุมของประชาชมที่ออกมาชุมนุมอย่างสันติ ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องเริ่มรับฟังเสียงของประชาชนและร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง 

ด้วยใจที่สมานฉันท์

กลุ่ม Future Nation Alliance

องค์การระหว่างประเทศด้านการเมือง มีอะไรบ้าง

ภารกิจ หน้าที่และบทบาทขององค์การระหว่าง ประเทศด้านสังคมและการเมือง - สหประชาชาติ(UN) - กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(UNICEF) - ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(UNHCR) - องค์การอนามัยโลก (WHO) - องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC)

องค์การระหว่างประเทศคือข้อใด

องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดาเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาติ

องค์การระหว่างประเทศใดสำคัญที่สุด

2. องค์การสหประชาชาติ (United Nations) องค์การสหประชาชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. รักษาสันติภาพและความปลอดภัยของนานาชาติ 2. พัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างนานาประเทศ 3. ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเสรีภาพ ขั้นพื้นฐาน

องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างไร

บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ คือ ช่วยวางระเบียบวาระในระดับสากล เป็นตัวกลางในการเจรจาทางการเมือง จัดให้มีพื้นที่สำหรับการริเริ่มทางการเมือง และกระตุ้นการสร้างพันธมิตร ตลอดจนกำหนดประเด็นโดดเด่นต่าง ๆ เพื่อช่วยให้รัฐบาลกำหนดลำดับความสำคัญ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita