ประเทศไทยเปิดความสัมพันธ์ครั้งแรกกับสหรัฐอเมริกาในสมัยใด

ในวาระการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯครบ 180 ปี ในปีนี้ ทางหอจดหมายเหตุแห่งชาติของสหรัฐฯ ที่กรุงวอชิงตัน ได้จัดแสดงเอกสารต้นฉบับสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างไทยและสหรัฐฯเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เพื่อให้สาธารณชนได้ร่วมชมเอกสารหายากอายุเกือบ 2 ศตวรรษและร่วมเฉลิมฉลองวาระพิเศษของทั้ง 2 ประเทศ

หอจดหมายเหตุแห่งชาติของสหรัฐฯ นำเอกสารต้นฉบับสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเอกสารเก่าแก่อายุกว่า 180 ปีจัดแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกเนื่องในโอกาสครบรอบ 180 ปีความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ที่อาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงวอชิงตัน

เอกสารสนธิสัญญาฉบับนี้ ถือเป็นเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์กับสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เมื่อปีคริสตศักราช 1833 หรือพุทธศักราช 2376 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

David S. Ferriero ผู้อำนวยการใหญ่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติของสหรัฐฯ บอกว่า หากไม่ใช่โอกาสพิเศษจริงๆคงจะไม่มีการนำเอกสารสำคัญแบบนี้ออกมาแสดงอย่างแน่นอน เพราะเอกสารสนธิสัญญาฉบับนี้มีความสำคัญจึงจำเป็นต้องเก็บรักษาภายใต้สภาวะแวดล้อมที่จำกัดด้วยแสงและอุณหภูมิเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบและรักษาสภาพของต้นฉบับของเอกสารให้ดีที่สุด

เนื้อหาของสนธิสัญญามีรายละเอียดเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการค้าและมิตรภาพที่ยั่งยืนระหว่าง 2 ประเทศ ที่บันทึกใน 4 ภาษาคือ ไทย-อังกฤษ-จีน และโปรตุเกส ลงบนกระดาษความยาวกว่า 9 ฟุต ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่สหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 57 ปี ได้ลงนามกับสยามเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย

Daniel Russel ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่เดินทางไปร่วมเฉลิมฉลองงานความสัมพันธ์ 180 ปี ไทย-สหรัฐฯ ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯให้สัมภาษณ์กับ วีโอเอ ภาคภาษาไทย ว่า ความสัมพันธ์ที่มีต่อเนื่องและยาวนานกว่า 180 ปียืนยันถึงมิตรภาพที่พิเศษและแน่นแฟ้น ของทั้ง 2 ประเทศ นอกจากนี้ยังย้ำว่า ประเทศไทยไม่เพียงจะเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่เป็นพันธมิตรสำคัญของสหรัฐอเมริกาในเอเชียเท่านั้น หากแต่ยังเป็นพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ และมีความร่วมมือในหลายมิติมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง

คุณ วิชาวัฒน์ อิศรภักดี เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน บอกว่า มิตรภาพและความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นความพิเศษและมีความสำคัญที่ทั้งสองประเทศต่างมุ่งหวังที่จะสานต่อและพัฒนาความร่วมมือต่อไปในอนาคต

การจัดงานเฉลิมฉลองความสัมพันธ์อันยาวนานของทั้ง 2 ประเทศในวาระครบรอบ 180 ปี มีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องมาตลอดทั้งปี ทั้งกิจกรรมด้านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการสานสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ รวมทั้งการแสดงหาความร่วมมือด้านการทูต เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อประโยชน์ร่วมกันในฐานะที่ไทยถือพันธมิตรเก่าแก่ที่สุดในเอเชียของสหรัฐอเมริกา

ขณะที่การจัดแสดงสนธิสัญญาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติที่กรุงวอชิงตันจะจัดแสดงไปจนถึงเดือนธันวาคมนี้

    วันที่นำเข้าข้อมูล 21 มี.ค. 2560

    วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 พ.ย. 2565

    | 28,227 view

    ประวัติความสัมพันธ์


    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    กับสมเด็จพระจักรพรรดินิโคลาสที่ 2

    ไทยและรัสเซียได้ยึดถือการเสด็จประพาสรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (3-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2440/ค.ศ.1897) เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน โดยความสัมพันธ์ระหว่างพระราชวงศ์มีความใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ไทยกับรัสเซียไม่มีการติดต่อกันทางการทูตนับแต่ปี 2460 (ค.ศ.1917) เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซียจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบสังคมนิยม ทั้งนี้ ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยครั้งใหม่ ในปี พ.ศ.2491 (ค.ศ.1948) โดยได้มีการแลกเปลี่ยนคณะทูตชุดแรกระหว่างกันในระดับอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ต่อมา เมื่อสหภาพโซเวียตได้สลายตัวลงในปี 2534 (ค.ศ.1991) สหพันธรัฐรัสเซียได้เป็นผู้สืบสิทธิ์ของสหภาพโซเวียตทั้งหมด จึงถือได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียดำเนินต่อมาโดยไม่หยุดชะงัก

    เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย นาย Yevgeney Afanasiev (ตั้งแต่ปี 2548) นอกจากนี้ รัสเซียยังได้แต่งตั้งนางพงา วรรธนกุล ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองพัทยา

    การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับรัสเซียในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช

    ไทยและรัสเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันตั้งแต่ปีค.ศ. 1897 ปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสรัสเซียอย่างเป็นทางการ และรัฐบาลสยามได้แต่งตั้งราชทูตประจำกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคนแรกคือพระยาสุริยานุวัตร (เล็ก บุนนาค) ซึ่งเป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงปารีสให้มาเป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศรัสเซียโดยมีถิ่นที่พำนักในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ.1897 จนถึงปีค.ศ. 1899 รัฐบาลสยามจึงได้ส่งพระชลบุรีนุรักษ์มาเป็นราชทูตคนที่สองประจำประเทศรัสเซีย ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 และเป็นราชทูตคนแรกของไทยที่มีถิ่นที่พำนักในประเทศรัสเซีย และให้มีฐานะเป็นผู้แทนส่วนพระองค์ประจำราชสำนัก ซึ่งเป็นกุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ต้องการให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองรัฐเป็นความสัมพันธ์พิเศษระหว่างราชวงศ์ และขณะเดียวกันก็เป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ที่ต้องการให้พระยามหิบาลบริรักษ์ทำหน้าที่ดูแลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนาถในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยทหารมหาดเล็กคอร์ เดอ ปาฌ และทรงประทับอยู่ในพระราชวังฤดูหนาวในฐานะพระโอรสบุญธรรมของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นประการสำคัญด้วย

    คณะทูตไทยในสมัยของพระมหิบาลบริรักษ์มีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 6 ถนนเลียบฝั่งแม่น้ำกระทรวงราชนาวี พร้อมกับการย้ายที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนาถจากพระราชวังฤดูหนาวมาที่บ้านเลขที่ 6 นี้ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมปีค.ศ.1900 การย้ายที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนาท น่าจะมีเหตุผลสำคัญมาจากการเสด็จเยือนรัสเซียของสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ระหว่างวันหยุดคริสต์มาสปีค.ศ. 1899 ถึงวันที่ 10 ค.ศ.1900 ซึ่งรัสเซียถือว่าเป็นการเยือนระดับราชวงศ์ของไทยที่สำคัญที่สุดนับจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสรัสเซียเมื่อปีค.ศ. 1897 เป็นต้นมา สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธได้รับพระราชวโรกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และเข้าเฝ้าพระมเหสีเป็นการส่วนพระองค์ด้วย

    พระยามหิบาลบริรักษ์เป็นหัวหน้าสำนักงานสถานราชทูตไทยจนถึงวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1902 ก็พ้นตำแหน่งและรัฐบาลสยามก็ได้ส่งอัครราชทูตมาปฏิบัติงานที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กโดยมีสำนักงานที่บ้านเลขที่ 6 นี้อีก 3 ท่านได้แก่ พระยาศรีธรรมศาสน์(ค.ศ.1903-ค.ศ.1909) พระยาสุธรรมไมตรี(ค.ศ.1909-ค.ศ.1913) และพระวิศาลพจนกิจ(ค.ศ.1914-ค.ศ.1917) เป็นราชทูตคนสุดท้ายก่อนที่ไทยกับรัสเซียจะได้ยุติความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันภายหลังเกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศรัสเซียในปีค.ศ. 1917

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียหลังการปฏิวัติรัสเซียค.ศ. 1917

    รัฐบาลสยามยังไม่ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐรัสเซีย หลังเกิดการปฏิวัติชนชั้นกฎุมพี(Bourgeois Revolution) ขึ้นในประเทศรัสเซียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีค.ศ. 1917 ซึ่งส่งผลให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสิ้นสุดลง และมีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนเฉพาะกาลขึ้น รัฐบาลสยามไม่ให้การยอมรับรัฐบาลเฉพาะกาล(Provisional Government) ที่นำโดยนายอเล็กซานเดอร์ เคียเรียนสกี้(Alexander Kerensky ค.ศ. 1881-1970) ที่ขึ้นมาปกครองรัสเซีย และสำนักพระราชวังก็ไม่ยินยอมที่จะให้นาย ไอ.จี. ลอรีส-เมลิคอฟ(I.G. Loris-Melikov) ซึ่งถูกส่งมาเป็นผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลเฉพาะกาลของรัสเซียตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคมค.ศ. 1917 ยื่นพระราชสาส์นตราตั้งต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ น่าจะสะท้อนความรู้สึกห่วงใยในชะตากรรมของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และครอบครัวและความคาดหวังของราชสำนักสยามที่จะเห็นความต่อเนื่องของระบบการปกครองของรัสเซียที่มีสถาบันกษัตริย์กลับมาเป็นสถาบันหลักของระบบต่อไป

    แต่เดิมมีความเข้าใจกันว่ารัฐบาลสยามยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศรัสเซียในปีค.ศ. 1917 แต่จากการสืบค้นเพิ่มเติมในเอกสารนามสงเคราะห์ของกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช พบว่ารัฐบาลสยามมิได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัสเซียในปีค.ศ. 1917 รัฐบาลสยามไม่ถอนสถานราชทูตที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในทันทีที่เกิดการปฏิวัติสังคมนิยมขึ้นในรัสเซียเมื่อวันที่ 7 และวันที่ 8 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 แต่การไม่แสดงการยอมรับในรัฐบาลรัสเซียที่ปกครองโดยพรรคบอลเชวิค ทำให้รัฐบาลสยามต้องถอนสำนักงานของสถานราชทูตออกจากกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1918 แต่ก็ยังปฏิบัติงานการทูตต่อไปโดยย้ายสำนักงานไปอยู่ที่เมืองโวล็อกด้า(Vologda) และต่อมาที่เมืองอาร์คานเกลส์ (Archangels) ทั้งนี้ ก็เพื่อเฝ้าติดตามสถานการณ์การเมืองในประเทศรัสเซีย โดยเฉพาะ ข่าวและชะตากรรมของพระเจ้าซาร์นิโคลัสและครอบครัวโดยใกล้ชิด และในทันทีที่ข่าวการสังหารพระเจ้าซาร์นิโคลัสและครอบครัว(ชั่วข้ามคืนของระหว่างวันที่ 16-17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918) ได้รับการยืนยันชัดเจนแล้ว สถานราชทูตสยามก็ถอนตัวออกจากรัสเซียในช่วงกลางปีค.ศ. 1918 เป็นการยุติความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างสองประเทศที่ราบรื่นและแนบแน่นมาตลอดระยะเวลา 20 ปีลงอย่างเด็ดขาด

    การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตใหม่

    ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับรัสเซียได้ยุติลงตั้งแต่ที่รัสเซียได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสังคมนิยมในปีค.ศ. 1917 จนกระทั่งในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะอุบัติขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองของรัสเซียหรือของสหภาพโซเวียตภายหลังการปฏิวัติ และของไทยมีพัฒนาการไปในทางที่เอื้ออำนวยให้สองประเทศดำเนินนโยบายที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันขึ้นใหม่ โดยไม่คำนึงว่าไทยและสหภาพโซเวียตมีอุดมการณ์ทางการเมืองและมีระบอบการปกครองที่เป็นปรปักษ์กัน

    ประเทศไทยซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยภายหลังการปฏิวัติ 2475 เมื่อปีค.ศ. 1932 ตามมาพร้อมกับการดำเนินนโยบายสร้างรัฐไทยที่แข็งแกร่งของคณะผู้นำไทยใหม่ในช่วงปลายทศวรรษที่ 30 ได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อชาติมหาอำนาจตะวันตกอย่างไม่กลัวเกรง ที่สำคัญ ได้ต่อสู้กับชาติมหาอำนาจตะวันตกทั้งในเวทีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและด้านการทหารเพื่อการขจัดความไม่เป็นธรรมที่ไทยได้รับจากการถูกเอารัดเอาเปรียบโดยสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับชาติมหาอำนาจตะวันตกที่สืบเนื่องมาตั้งแต่อดีต และไม่เพียงแต่เท่านั้น ไทยยังกล้าประกาศทำสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อช่วงชิงดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงที่ไทยถูกฝรั่งเศสยึดไปในปีค.ศ. 1893 กลับคืนมาอีกด้วย ซึ่งการดำเนินนโยบายเช่นนี้ได้ ไทยจำต้องสร้างพันธมิตรกับชาติมหาอำนาจใหม่ๆ ที่มีความแข็งแกร่งทางด้านทหาร เพื่อสนับสนุนให้ไทยสามารถดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวกับชาติมหาอำนาจตะวันตกเดิมได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประเทศญี่ปุ่นแล้ว ไทยยังเลือกสหภาพโซเวียตในการสร้างพันธมิตรเพื่อต่อสู้กับมหาอำนาจตะวันตก โดยรัฐบาลไทยก็ตัดสินใจริเริ่มดำเนินการเพื่อให้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตขึ้นมาใหม่ตั้งแต่ปีค.ศ. 1939 และกระบวนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตดำเนินไปอย่างประสบความสำเร็จเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1941 และเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียต

    ไทยและสหภาพโซเวียตได้แลกเปลี่ยนสาส์นการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1946 และแลกเปลี่ยนคณะทูตชุดแรกระหว่างกัน โดยเริ่มต้นจากการที่รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งนายอรรถกิตติ์ พนมยงค์ อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศสวีเดนเป็นอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสหภาพโซเวียต โดยยื่นอักษรสาส์นตราตั้งวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1947 ในขณะที่ รัฐบาลสหภาพโซเวียตได้ส่งนายเซอร์เก เนียมชินา (Sergei S. Nemchina) นักการทูตวัย 35 ปี มาดำรงตำแหน่งอุปทูต ประจำสถานทูตสหภาพโซเวียตตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 และได้ยื่นอักษรสาส์นตราตั้งเป็นอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของสหภาพโซเวียตประจำประเทศไทย ต่อพระองค์เจ้าชัยนาท รังสิต ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อวันที่ 4 เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1948 ครั้งเมื่อเกิดรัฐประหารในประเทศไทยในปีค.ศ. 1947 และมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 นายอรรถกิตติ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐบาลไทยจึงได้ส่งพระมหิทธานุเคราะห์ อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาดำรงตำแหน่งอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสหภาพโซเวียต โดยยื่นพระราชสาส์นตราตั้งต่อนายเวียเชสลาฟ โมโลตอฟ(V.M. Molotov) ประธานคณะอภิมุขสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต(Presidium of the Supreme Soviet of USSR) เทียบเท่าตำแหน่งประมุขของประเทศเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1948

    ความสัมพันธ์ในช่วงสงครามเย็น

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตพัฒนามาเป็นลำดับภายใต้พัฒนาการของสถานการณ์โลกที่กำลังมีการก่อตัวขึ้นของสงครามเย็น สหภาพโซเวียตในฐานะประเทศสังคมนิยมเพียงประเทศเดียวในโลกที่อยู่ข้างฝ่ายผู้ชนะสงคราม ดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบ 2 ทาง ทางหนึ่ง ดำเนินความสัมพันธ์แบบปกติกับประเทศมหาอำนาจตะวันตกภายใต้นโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของสองระบบ แต่ในเวลาเดียวกัน ดำเนินนโยบายส่งออกการปฏิวัติและสนับสนุนการปฏิวัติในบรรดาประเทศที่ต่อสู้เพื่อเอกราชในเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกา ในขณะที่ด้านของประเทศไทย ขบวนการเสรีไทยซึ่งประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนสถานะของประเทศจากการอยู่ในค่ายของกลุ่มอักษะมาเป็นฝ่ายผู้ชนะสงครามได้นั้น ส่งผลให้รัฐบาลไทยในช่วงหลังสงครามโลกหันมาดำเนินนโยบายสนับสนุนค่ายโลกเสรีอย่างเต็มที่ และที่สำคัญ ในขณะที่สหภาพโซเวียตให้การสนับสนุนการปฏิวัติในประเทศจีนและในคาบสมุทรเกาหลีนั้น รัฐบาลไทยส่งกำลังทหารเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาในสงครามคาบสมุทรเกาหลีต่อต้านขบวนการนิยมคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีค.ศ. 1953 และต่อมาเป็นแกนนำสำคัญในการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ SEATO

    ดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตได้เปลี่ยนสถานะจากมิตรมาเป็นศัตรู แต่โดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ รัฐบาลของทั้งไทยและสหภาพโซเวียตกลับใช้เครื่องมือทางการทูตในทุกรูปแบบพยายามที่จะธำรงรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรและเห็นอกเห็นใจระหว่างสองประเทศให้ยั่งยืนต่อไปอย่างถึงที่สุด รัฐบาลไทยได้ส่งคณะผู้แทนคณะแรกมาเยือนสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมงานฉลองครบรอบ 800 ปีการก่อตั้งกรุงมอสโกเมื่อปีค.ศ. 1947 และที่สำคัญรัฐบาลของสองประเทศได้ตกลงร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตสู่ขั้นปกติ โดยได้แลกเปลี่ยนสาส์นในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1956 คือต่างฝ่ายต่างยกระดับหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจากระดับอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ไปสู่ระดับเอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็ม โดยรัฐบาลสหภาพโซเวียตแต่งตั้งนายอิวาน ยาคูชิน(Ivan N. Yakushin) เป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศไทยเป็นคนแรกโดยถวายสาส์นตราตั้งต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1956 ในขณะที่ฝ่ายไทยได้แต่งตั้งนายจี๊ด เศรษฐบุตร มาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มประจำสหภาพโซเวียตเป็นคนแรก พร้อมกันนั้น รัฐบาลสหภาพโซเวียตได้มอบคฤหาสน์ประจำตำแหน่งของนายนิกิต้า ครุสชอฟ (Nikita Krushchev) ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตประจำกรุงมอสโก ที่ตึกเลขที่ 3 ถนน Eropkinsky Pereylok ให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานสถานเอกอัครราชทูตไทยและทำเนียบของเอกอัครราชทูตไทยอย่างสมเกียรติและยังคงใช้เป็นทำเนียบเอกอัครราชทูตมาจนถึงทุกวันนี้ส่วนไทยก็ได้มอบอาคารเลขที่ 108 ที่ถนนสาธร ให้เป็นที่ตั้งสำนักงานสถานเอกอัครราชทูตสหภาพโซเวียต

    รัฐบาลของสองประเทศได้พยายามที่จะรักษาช่องทางการติดต่อทางการทูตระหว่างกันไว้ให้ได้ ในปีค.ศ. 1958 รัฐบาลไทยได้ส่งพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตรเยือนสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ เป็นการเยือนระดับสูงสุดนับตั้งแต่สองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเป็นต้นมา พระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตรและพระชายาได้รับการถวายการต้อนรับอย่างสมเกียรติจากนายคลิเมนต์ โวโรชิลอฟ (Kliment E. Voroshilov) ประธานคณะอภิมุขสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต ในขณะเดียวกัน รัฐบาลสหภาพโซเวียตได้ใช้การทูตวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการติดต่อและขยายความสัมพันธ์ให้ลงสู่ระดับประชาชน โดยเริ่มต้นการให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยมาเรียนที่สหภาพโซเวียตปีละจำนวน 200 ทุนตั้งแต่ปีค.ศ. 1958 เป็นต้นมา พร้อมกับการเชิญคณะนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนเยือนสหภาพโซเวียตอย่างเป็นประจำ ซึ่งรัฐบาลไทยในสมัยจอมพลป.พิบูลสงครามก็ได้ใช้มิติความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมนี้เป็นช่องทางการติดต่อและธำรงความสัมพันธ์ที่ดีกับสหภาพโซเวียตต่อไป และที่ควรบันทึกไว้ ณ ที่นี้คือ ไทยได้ส่งภาพยนตร์เรื่องสันติ-วีณาเข้าประกวดในงานมหกรรมภาพยนตร์กรุงมอสโกเมื่อปีค.ศ. 1956 ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ฉายสู่สายตาของชาวรัสเซีย

    แม้สถานการณ์โลกที่เพิ่มระดับความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น เมื่อสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกา ผู้นำโลกเสรี กับสหภาพโซเวียต ผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์ได้ขยายตัวทั่วด้านและกระจายไปยังทุกภูมิภาค โดยเฉพาะ การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และการทำสงครามประชาชนที่นำโดยขบวนการพรรคคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง ในประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ 60และต่อเนื่องถึงทศวรรษที่ 70 ถึงกระนั้นก็ตาม รัฐบาลของสองประเทศก็ประสบความสำเร็จในการขยายความสัมพันธ์ไปยังมิติใหม่ๆ โดยเฉพาะ ด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยได้มีการลงนามความตกลงทางการค้า (Trade Agreement) ฉบับแรกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1970 ซึ่งตามมาพร้อมกับการ แลกเปลี่ยนหนังสือการจัดตั้งสำนักงานผู้แทนการค้า (Trade Representative Office) ระหว่างสองประเทศ และในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1971 ได้เปิดเส้นทางคมนาคมทางอากาศระหว่างกันเป็นครั้งแรกซึ่งชาวไทยได้รู้จักสายการบินแอโรฟลอตที่ทำการบินระหว่างกรุงมอสโกกับกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินอิล 72 (Ilyushin 72) นับแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งในอีก 35 ปีหลังจากนั้น บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) จึงได้เปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ในเส้นทางกรุงเทพฯกับกรุงกรุงมอสโกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย(สหภาพโซเวียต) ในช่วงวิกฤติการณ์เขมร

    การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในกลุ่มประเทศอินโดจีนซึ่งประกอบด้วยเวียดนาม ลาวและเขมร ในช่วงปีค.ศ. 1975 มีนัยทางการเมืองที่สำคัญซึ่งไม่เพียงแต่ได้ส่งผลต่อการลดทอนบทบาทและอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างขนานใหญ่แล้วเท่านั้น หากยังได้สร้างความตึงเครียดรอบใหม่ในภูมิภาคอันเกิดจากการต่อสู้ช่วงชิงอิทธิพลระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตในระดับนำของพรรคคอมมิวนิสต์ของสามประเทศในอินโดจีนอีกด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตเข้าสู่ภาวะชะงักงัน และไม่ไว้เนื่อเชื่อใจระหว่างกัน ไทยมีความหวั่นเกรงที่จะถูกดึงให้เข้าไปมีบทบาทในความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตซึ่งทำสงครามตัวแทนระหว่างกันโดยผ่านรัฐบาลเวียดนามที่สหภาพโซเวียตให้การหนุนหลังฝ่ายหนึ่งกับรัฐบาลเขมรแดงที่จีนให้การสนับสนุนอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งจบลงด้วยการที่เวียดนามส่งกำลังทหารเข้ายึดครองกัมพูชาและจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยนายเฮง สัมรินขึ้นปกครองประเทศในปีค.ศ.1978 โดยมีกองทหารเวียดนามให้หลักประกันในด้านความมั่นคง

    รัฐบาลไทยซึ่งต้องการสร้างหลักประกันให้แก่ความมั่นคงของไทยจากความเป็นไปได้ที่เวียดนามจะยกกำลังทหารเข้าโจมตีไทย จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การรักษาระยะห่างอย่างเท่าเทียมกันกับประเทศมหาอำนาจในกรอบนโยบายต่างประเทศของไทยเป็นครั้งแรกในสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเมื่อได้เดินทางไปเข้าพบประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์(Jimmy Carter) ที่กรุงวอชิงตันแล้ว ก็ได้ตัดสินใจเดินทางไปเยือนสหภาพโซเวียตในเวลาใกล้เคียงกันในทันที ระหว่างวันที่ 21-27 มีนาคม ค.ศ. 1979 การเยือนสหภาพโซเวียตของพลเอกเกรียงศักดิ์ฯ เป็นการเยือนในระดับผู้นำรัฐบาลครั้งแรกของไทยนับตั้งแต่ที่สองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเป็นต้นมา โดยมีเป้าประสงค์ทางการเมืองที่สำคัญคือต้องการให้สหภาพโซเวียตที่สนับสนุนเวียดนาม ตระหนักถึงท่าทีที่เป็นกลางของไทยและให้สหภาพโซเวียตประกันสถานะความเป็นกลางของไทยซึ่งหมายถึง ประกันความมั่นคงของไทยที่ปราศจากการถูกโจมตีจากเวียดนาม ซึ่งนายเลโอนิด เบรฌเนฟ(Leonid Brezhnev) เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตและประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตให้การตอบสนองด้วยดี

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียในสมัยของการปฏิรูปทางการเมืองในสหภาพโซเวียต

    กระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างสรรค์สันติภาพในกัมพูชาสิ้นสุดลงในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 ซึ่งเกิดจากการผสมผสานของปัจจัยทางสากลและปัจจัยภายในที่เป็นคุณด้านต่างๆ หนุนช่วย โดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงท่าทีและนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตที่มีต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอย่างสำคัญซึ่งรัฐบาลสหภาพโซเวียตได้ส่งสัญญาณผ่านสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ(Mikhail Gorbachev) ที่ได้แสดงปาฐกถาที่เมืองวลาดิวอสต๊อกในปีค.ศ. 1986 ตามมาพร้อมกับการปรับสัมพันธภาพครั้งใหญ่ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตระหว่างปีค.ศ. 1986-1989 และการเข้าร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหากัมพูชาอย่างแข็งขันของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะ การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและสหภาพโซเวียตเป็นครั้งแรก โดยนายเอดูอาร์ด เชวาร์ดนาดเซ่ (Eduard Shevardnadze) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

    ไปเยือนไทยเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1987 ซึ่งได้หารือกับพล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในประเด็นจุดยืนและท่าทีของสหภาพโซเวียตในการแก้ไขปัญหากัมพูชา และการเยือนตอบแทนของพล อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา ระหว่างวันที่ 10-14 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลสหภาพโซเวียตให้เกียรติแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยเข้าพบนายอังเดร กรามึยโก (Andrei Gromyko) ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตที่เมืองโซชิ (Sochi) ซึ่งได้ให้คำมั่นต่อไทยเป็นครั้งแรกที่จะสนับสนุนข้อเรียกร้องให้ถอนทหารเวียดนามออกจากกัมพูชาซึ่งเป็นเงื่อนไขแรกสุดของการเจรจาเพื่อสันติภาพในกัมพูชาและสองฝ่ายได้แสดงความเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันนำสันติภาพที่ถาวรมาสู่กัมพูชาในเร็ววัน

    ความสำเร็จของการเยือนสหภาพโซเวียตของพล อ.อ. สิทธิ เศวตศิลาและแสงสว่างที่ปรากฏให้เห็นในกระบวนการเพื่อสันติภาพในกัมพูชา ได้เรียกความเชื่อมั่นและความไว้เนื้อเชื่อใจที่รัฐบาลไทยมีต่อสหภาพโซเวียตกลับคืนมา และนำมาซึ่งการเยือน”แบบละลาย”น้ำแข็งของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ได้เยือนสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 16-22 พฤษภาคม ค.ศ. 1988

    การเยือนสหภาพโซเวียตของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียต กล่าวคือ เป็นการสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับการขยายและเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในมิติต่างๆ อย่างทั่วด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ-การค้า ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ และด้านวัฒนธรรมและการศึกษา ทั้งในระดับภาครัฐและเอกชนและการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนที่ปราศจากความเคลือบแคลงระแวงใจ ที่สำคัญ ได้บุกเบิกศักราชของความสัมพันธ์ที่อยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค เอื้อประโยชน์ต่อกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของระบบการเมืองและอุดมการณ์ เป็นความสัมพันธ์ที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นที่ตั้ง และนำมาซึ่งการเสด็จเยือนของราชวงศ์ระดับสูงถึง 3 พระองค์ ได้แก่ การเสด็จเยือนสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการของพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ระหว่าง 16-21 พฤษภาคม ค.ศ. 1989 การเสด็จเยือนสหภาพโซเวียตของเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในปีเดียวกัน และการเสด็จเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 17-24 มีนาคม ค.ศ. 1993 ในขณะที่สหภาพโซเวียตได้ส่งคณะผู้แทนทางการระดับสูงนำโดยนายนิโคลัย รึฌคอฟ (Nikolai Ryzhkov) นายกรัฐมนตรี เยือนไทยเป็นการตอบแทนระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 และถือเป็นการเยือนไทยครั้งแรกในระดับหัวหน้าคณะรัฐบาล

    นายนิโคลัย รึฌคอฟ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานวโรกาสให้เข้าเฝ้า และได้หารือข้อราชการกับพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ นายกรัฐมนตรีและพล อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งฝ่ายสหภาพโซเวียตยอมรับในบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในการแก้ไขปัญหากัมพูชา และแนวทางการปฏิสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีนของไทยตามแนวทางที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยดำเนินมาตลอดกว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา

    ผลสำเร็จของการผนึกกำลังทางการทูตระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตในห้วงเวลาดังกล่าวนี้ ไม่เพียงแต่ได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างสองประเทศให้มีความมั่นคงแล้วเท่านั้น ยังได้เปิดมิติความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคอีกด้วย ไทยได้แสดงการสนับสนุนการเข้ามาปฏิสัมพันธ์ของรัสเซียในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะ สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกของรัสเซียในเวที APEC การได้รับสถานะประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) ขององค์การ ASEAN สนับสนุนบทบาทของรัสเซียในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคทั้งในกรอบ ASEAN Regional Forum และสนธิสัญญาด้านความมั่นคงกรอบต่างๆ ในขณะที่ประเทศไทยแสดงความพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยบูรณาการเขตเศรษฐกิจไซบีเรียและภาคตะวันออกไกลของรัสเซียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก

    ความสัมพันธ์ในระยะปัจจุบัน

    ในช่วงเวลา 100 ปีที่ผ่านมา ทั้งไทยและรัสเซียต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งทำให้ประเทศทั้งสองดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันไม่ใกล้ชิดอบอุ่นเหมือนเช่นความสัมพันธ์ที่ได้รับการปูทางไว้ด้วยความใกล้ชิดระหว่างอธิราชเมื่อแรกเริ่มเมื่อ 100 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของสองประเทศจัดได้ว่ามีลักษณะ “แม้จะไม่เป็นพันธมิตรกัน แต่ก็ไม่เคยเผชิญหน้ากัน” และพัฒนาการในคุณภาพดังกล่าวได้แปรเปลี่ยนอย่างขนานใหญ่ในระยะ 15 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสำคัญที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแห่งศตวรรษที่ 20 ซึ่งก็คือ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อปีค.ศ. 1991 และตามมาพร้อมกับการสิ้นสุดลงของสงครามเย็นระหว่างสองค่ายและสองระบบการเมืองที่เป็นปรปักษ์กัน

    การสิ้นสุดของสงครามเย็นได้ลดบรรยากาศความตึงเครียดของโลกและนำไปสู่บรรยากาศใหม่ของการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างฝ่ายต่างๆที่เคยยืนอยู่คนละขั้วกัน ประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆที่รับรองเอกราชของสหพันธรัรัสเซียและยอมรับในสถานะทางกฎหมายแห่งรัฐของรัสเซียในฐานะประเทศผู้สืบสิทธิ์อำนาจและพันธกรณีของสหภาพโซเวียต บนพื้นฐานดังกล่าว ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียจึงได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ซึ่งเป็นยุคแห่งการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันและการพัฒนาศักยภาพความร่วมมือให้บังเกิดผลสำเร็จสูงสุด ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของกระบวนการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียนับแต่ที่สองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเป็นต้นมา นั่นก็คือ การเยือนไทยของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2003

    การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีปูติน เป็นการเยือนไทย เป็นครั้งแรกของผู้นำประเทศระดับประมุขของรัสเซีย เป็นการเยือนที่จุดพลังให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศก้าวหน้าอย่างมีพลวัตสูงยิ่ง ในทุกด้านและทุกมิติของความสัมพันธ์โดยไม่มีข้อจำกัด บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่มีความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ดังที่ผู้นำรัสเซียได้กล่าวถึงระดับความสัมพันธ์ของไทยกับรัสเซียภายหลังการเยือนครั้งนี้ว่า “รัสเซียพึงพอใจที่ความร่วมมือระหว่างสองประเทศได้พัฒนาไปอย่างพลวัตยิ่ง โดยเฉพาะ ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ-การค้า ในขณะที่ ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการศึกษามีอนาคตที่สดใส”

    ประธานาธิบดีปูตินและนางลยุดมิล่า ปูตินา ภริยา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานวโรกาสให้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้พระราชทานงานเลี้ยงอาหารค่ำเป็นเกียรติแก่ผู้นำสูงสุดของประเทศรัสเซีย ซึ่งในวาระแห่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญนี้ พระประมุขและประมุขของสองประเทศได้พบกันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย พระประมุขของสองประเทศได้ทรงพบกันที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นเวลากว่า 105 ปีล่วงมาแล้ว ผู้นำรัสเซียได้แสดงให้เห็นถึงความเคารพที่มีต่ออดีตของความสัมพันธ์ระดับอธิราชละความสัมพันธ์อันใกล้ชิดอันอบอุ่นของสองประเทศ โดยได้ถวายสำเนาพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานเลี้ยงอาหารค่ำด้วย

    ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและลึกซึ้งของไทยกับรัสเซียซึ่งได้ก่อรูปขึ้นภายหลังการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของผู้นำรัสเซียวาระนี้ ได้สร้างกลไกการตัดสินใจระดับสูงในการผลักดันการแก้ไขปัญหาที่สำคัญระหว่างสองประเทศขึ้น นอกเหนือจากกลไกและช่องทางการติดต่อปกติที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นแล้วในทุกด้าน ได้มีการจัดตั้งกลไกการหารือและการตัดสินใจทางการเมืองระดับสูงระหว่างผู้นำเพื่อหารือในประเด็นปัญหาทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการเพิ่มขีดความสามารถของไทยในการป้องกันประเทศและความร่วมมือด้านยุทธภัณฑ์ การดำเนินความร่วมมือด้านพลังงานในระดับยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะ การเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานของไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (energy hub) และการเปิดตลาดสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูง เช่น เนื้อไก่แข่แข็งของไทย

    ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศเป็นพื้นฐานสำคัญให้ศักยภาพความร่วมมือของสองประเทศพัฒนาไปในทุกมิติและทุกด้าน มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศก้าวเลยหลัก 1 พันล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปีค.ศ. 1990 เป็นต้นมาและขึ้นสู่ระดับสูงสุดถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์ในปีค.ศ. 1993 ก่อนที่ประเทศทั้งสองจะประสบวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในปีค.ศ. 1997 และ 1998 และคาดว่าจะขึ้นสู่ระดับสูงสุด 1.9-2.0 พันล้านดอลลาร์ในปีค.ศ 2006 ในขณะที่การไปมาหาสู่ระหว่างประชาชน โดยเฉพาะ ตัวเลขนักท่องเที่ยวขยายตัวไม่หยุดยั้งและเพิ่มขึ้นเลยหลักแสนคนตั้งแต่ปีค.ศ. 2005 เป็นต้นมา ไม่เพียงแต่เท่านี้ ความร่วมมือขยายตัวไปสู่การมีความร่วมมือในสาขาใหม่ เพิ่มเติมจากสาขาความร่วมมือดั้งเดิมที่ปฏิบัติเป็นรูปธรรมแล้ว อาทิ ความร่วมมือด้านความมั่นคง ความร่วมมือด้านข่าวกรอง ความร่วมมือด้านเทคนิคการทหาร ความร่วมมือด้านอวกาศและความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    นับตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนจักรวรรดิรัสเซียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 3-10 กรกฎาคมเมื่อปีค.ศ. 1897 ซึ่งถือเป็นห้วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ที่ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับรัสเซียได้เริ่มต้นสถาปนาระหว่างกันเป็นต้นมานั้น ได้ปรากฏเหตุการณ์ต่างๆของโลกหลายเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศผันแปรไปในทิศทางต่างๆ อย่างยากที่จะมีผู้ใดสามารถพยากรณ์หรือคาดการณ์ได้ หากการเสด็จเยือนรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญยิ่งของประวัติศาสตร์ดังกล่าว หลังจากนั้นแล้วก็คงไม่มีเหตุการณ์ใดที่จะมีความสำคัญและมีความหมายอย่างยิ่งยวดต่อประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับประเทศรัสเซีย เทียบได้กับการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นผู้แทนพระองค์มาเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ 2-11 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 แต่ห้วงของเวลาระหว่างนั้นเล่า มีแต่หน้าของประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่มีลักษณะซับซ้อน มิใช่เป็นเส้นตรงที่มีแต่ความราบรื่นมาโดยตลอด ความสัมพันธ์ที่เคยขึ้นถึงระดับอธิราชในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ระหว่างปีค.ศ. 1897 ถึงปีค.ศ. 1917 ต้องมาขาดสะบั้นลงเมื่อเกิดการปฏิวัติสังคมนิยมขึ้นในรัสเซียเมื่อปีค.ศ. 1917 จนกระทั่งกลับมาสถาปนาความสัมพันธ์กันใหม่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเวลาที่หายไประหว่างนั้น ไม่มีใครยืนยันได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง จากนั้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นไป คือพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่มีอุดมการณ์และระบบการเมืองในขั้วที่แตกต่างกัน แต่สองประเทศสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จนเมื่อพัฒนาการของโลกเข้าสู่ยุคของสงครามเย็นอย่างเต็มตัวในช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70 แล้ว ไทยและรัสเซียจึงถูกจับให้ยืนอยู่คนละข้างกันและความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศแม้จะต้องเผชิญหน้ากัน แต่ก็ไม่เคยเป็นศัตรูต่อกัน การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและระบบสังคมนิยมในรัสเซียเป็นพัฒนาการของโลกที่สำคัญที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศกลับสู่ปกติ มีเหตุการณ์ในความสัมพันธ์หลายเหตุการณ์ที่เรียกว่า เป็นเหตุการณ์”ละลายน้ำแข็ง” ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ที่พัฒนาจากความไม่ปกติไปสู่ปกติ จากปกติไปสู่ความเชื่อมั่นระหว่างกัน และจากความเชื่อมั่นระหว่างกันจนในที่สุดนำไปสู่การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับประมุขและความสัมพันธ์ฉันมิตรของสองประเทศที่ก่อตัวตามมาเหมือนกับจะยืนยันในสัจธรรมของประวัติศาสตร์อีกนับครั้งไม่ถ้วนว่าประวัติศาสตร์คือกงล้อที่จะหมุนกลับมาซ้ำรอยตัวมันเองเสมอ

    การเยือนไทยของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ถือเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า “หัวรถจักร” ของขบวนพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียนับแต่ที่สองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเป็นต้นมา เพราะเป็นการเยือนไทยเป็นครั้งแรกของผู้นำประเทศระดับประมุขของรัสเซีย และที่สำคัญ ประมุขของสองประเทศได้พบกันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ได้ทรงพบกันที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นเวลายาวนานกว่า 1 ศตวรรษ ล่วงมาแล้ว ส่วนการเสด็จฯ เยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในฐานะผู้แทนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการเสด็จเยือนประเทศรัสเซียในระดับประมุขของไทยเป็นครั้งแรกในรอบ 110 ปีที่ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศรัสเซียเมื่อปีค.ศ. 1897 เป็นต้นมา เป็นการเสด็จฯ เยือนเพื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง ทั้งในฐานะประมุขของประเทศและในฐานะหลานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสืบสานความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างไทยกับรัสเซียซึ่งสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาไว้ให้จรรโลงสืบไปอย่างวัฒนาถาวร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประเทศชาติด้วยความเหนื่อยยากและด้วยความอุตสาหะวิริยะไม่ต่างจากที่พระเปตามหัยกาได้ทรงปฏิบัติมาแล้ว หากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความกังวลให้ประมุขของรัสเซียรับรู้ถึงความเป็นห่วงประเทศชาติของพระองค์ที่เกรงว่าจะตกเป็นอาณานิคมของชาติจักรวรรดินิยมในคราวที่พระองค์เสด็จรัสเซียเมื่อศตวรรษที่แล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงแสดงความห่วงกังวลให้ผู้นำรัสเซียรับรู้ถึงความเป็นห่วงในประเทศชาติของพระองค์ไม่น้อยไปกว่านั้น โดยเฉพาะ ในเรื่องความยากจนของราษฎรของพระองค์และปัญหาสภาพแวดล้อมของประเทศไทยที่เสื่อมโทรมลงจากความเห็นแก่ตัวของคนที่ตัดไม้ทำลายป่าโดยไม่เห็นแก่ภัยพิบัติที่จะเกิดแก่ส่วนรวมการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับประมุขของสองประเทศนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นฉากสุดท้ายของประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียที่มาบรรจบครบรอบตัวของมัน หากถือเอาการแลกเปลี่ยนการเยือนของประมุขสองประเทศที่เริ่มต้นจากเหตุการณ์ที่พระเจ้านิโคลัสที่ 2 เสด็จมาเยือนประเทศสยามและการเสด็จเยือนรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อศตวรรษที่แล้ว เป็นฉากเริ่มต้น แต่สำหรับคนรุ่นเราในปัจจุบัน ที่ได้เห็น ที่ได้สัมผัส และที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์การเสด็จฯ เยือนรัสเซียของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วยความปลื้มปิติยินดีนี้ การเสด็จฯ เยือนของพระองค์คือฉากเริ่มต้นของประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ที่จุดพลังให้ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองประเทศก้าวหน้าอย่างมีพลวัตสูงยิ่ง ในทุกด้านและทุกมิติของความสัมพันธ์โดยไม่มีข้อจำกัด บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในบริบทใหม่ที่มีความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประมุขเป็นแก่นแกน เมื่อพระประมุขได้ทรงขับเคลื่อนประวัติศาสตร์จนมาถึงจุดนี้แล้ว ที่เหลือคือชนรุ่นเราที่มีหน้าที่สืบสานภารกิจทางประวัติศาสตร์นี้ต่อไป และเมื่อความสัมพันธ์ของสองประเทศจะเวียนมาครบรอบตัวของมันในศตวรรษข้างหน้า ชนรุ่นนั้นของอนาคตจะเป็นผู้มาทำหน้าที่พยานของประวัติศาสตร์เหมือนที่ชนรุ่นของเรากำลังทำหน้าที่อยู่ในขณะนี้ 

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita