นิติบุคคล อาคารชุด ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภาษี อะไร

อาคารชุดเป็นที่อยู่อาศัยที่มีคนอยู่อาศัยรวมกันเป็นจำนวนมากที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันซึ่งมีกฎระเบียบ คอยควบคุมผู้ที่อาศัยให้เป็นระเบียบและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทั้งนี้ผู้ซื้อห้องชุดจะมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของ ตนเอง ซึ่งถือเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล

แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางที่ต้องใช้ร่วมกันกับเจ้าของร่วมคนอื่น ๆ ในอาคารชุด เช่น ทางเดิน สระว่ายน้ำ ลิฟต์ บันไดเลื่อน จึงจำเป็นต้องมีนิติบุคคลอาคารชุด เป็นผู้คอยทำหน้าที่ดูแล รักษาความสะอาดจัดระเบียบให้กับผู้อาศัยในอาคารชุด

ทั้งนี้คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด จะเข้ามาดูแลภายในอาคาร ซึ่งอาจจะมีบุคลากรหลายคนด้วยกัน ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ต้องมีการว่าจ้าง มีการจ่ายเงินเดือน เพื่อให้เข้ามาดูแลในอาคารชุด โดยเจ้าของห้องชุดจะต้องจ่ายเงินเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายเหล่านี้ รวมถึงค่าใช้จ่าย อื่น ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าดูแลระบบลิฟต์

เงินที่เรียกเก็บจากเจ้าของอาคารชุดนั้นจะเรียกเก็บในนามของ นิติบุคคลอาคารชุด ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 ซึ่งจะเรียกเก็บ 2 ประเภทคือ เงินกองทุน และค่าใช้จ่ายส่วนกลางจากเจ้าของห้องชุด เพื่อนำมาจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ข้างต้น

และนิติบุคคลอาคารชุด ก็เป็นนิติ บุคคลตามกฎหมายประเภทหนึ่ง แต่มิใช่นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร จึงเกิดปัญหาขึ้นมาว่าเงินกองทุน หรือเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

ที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรหรือไม่

จะพบว่า นิติบุคคลอาคารชุด ไม่ใช่นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร จึงไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล อีกปัญหาหนึ่งคือเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพราะนิติบุคคลอาคารชุดเป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มีฐานะเป็นนิติ บุคคล แยกต่างหากจากเจ้าของห้องชุด และการกระทำการเรียกเก็บเงินกองทุน และเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าสาธารณูปโภค จากเจ้า ของห้องชุด เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่าบริการ ตาม ม. 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร

ดังนั้น นิติบุคคลอาคารชุด จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ม. 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 33/2540 วินิจฉัยว่า นิติบุคคลอาคารชุดที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ซึ่งกระทำกิจการเฉพาะตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ยังไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ม. 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องนำเงินกองทุน ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภคที่เป็นค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ที่จำเป็นอย่างอื่นที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดมารวมคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม.

ดินสอพอง

เงินได้ที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องเสียภาษีหรือไม่

คำถามที่หลายคนอยากทราบคือ นิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร มีรายได้อะไรและต้องเสียภาษีอะไรบ้าง นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจำเป็นต้องมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินกำหนดให้ได้รับการยกเว้นภาษีบางประเภทอย่างเช่นรายได้จากค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จัดเก็บจากลูกบ้านเพื่อดูแลจัดการ อาคารสถานที่ สาธารณูปโภคและทรัพย์สินส่วนกลางในโครงการได้รับยกเว้นภาษีอากร ขณะที่รายได้อื่น ๆ ที่ได้รับจากสมาชิกในหมู่บ้านหรือบุคคลภายนอกยังต้องเสียภาษี มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรถือเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน ไม่ได้แสวงหากำไรและไม่เข้าข่ายบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลไม่ต้องยื่นรายการคำนวณภาษีในส่วนของรายได้จากค่าส่วนกลางที่เรียกเก็บจากลูกบ้านในโครงการเพื่อประโยชน์แก่การจัดสรรที่ดินและบริการสาธารณะ

หลังจากเจ้าของบ้านซื้อบ้านจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แล้ว มีการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรเพื่อเข้ามาดูแลทรัพย์สินส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างต่อเนื่อง โดยนิติบุคคลมีหน้าที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางซึ่งถือเป็นภาระจำยอมที่ลูกบ้านทุกคนต้องจ่ายให้โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ รายได้ส่วนนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน นอกจากนั้นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรยังได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ รวมถึงยกเว้นอากรแสตมป์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนทรัพย์สิน

2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจำเป็นต้องมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เนื่องจากรายได้อื่น ๆ ที่รับมาจากบุคคลภายนอกและรายได้ที่ลูกหมู่บ้านในโครงการจัดสรรเองยังต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีการจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุง อาคารสถานที่ การซ่อมแซมทรัพย์สินส่วนกลางนั้นเข้าลักษณะเป็นการให้บริการซึ่งเป็นรายจ่ายที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิและภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแน่นอนว่าฝ่ายนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้ 

3.ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ในส่วนของการจ่ายเงินเดือนลูกจ้างให้บุคคลธรรมดาและการจ่ายเงินให้นิติบุคคลยังจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหมายถึงพนักงานตำแหน่งต่าง ๆ ในโครงการบ้านจัดสรร ทั้งแม่บ้าน พนักงานรักษาความปลอดภัย คนสวนและ ช่าง ซ่อมบำรุง ส่วนการจ่ายเงินให้นิติบุคคล เช่น ค่าเช่า, ค่าโฆษณาและค่าบริการต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ นิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรรจึงมีหน้าที่นำรายได้ส่วนที่ต้องเสียภาษีไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้

กรณีการโอนทรัพย์สิน การจดทะเบียนสิทธิและการทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่เป็น บริการสาธารณะและสาธารณูปโภค ได้รับยกเว้นทั้งภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ นอกจากนี้ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายได้ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีนั้นต้องไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หากฐานภาษีมีมูลค่ามากกว่านั้นจะถูกจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง

การยื่นภาษีของนิติบุคคลบ้านจัดสรรจึงมีความซับซ้อนอย่างที่เห็น เมื่อมีรายได้บางส่วนที่ถูกเรียกเก็บภาษี นิติบุคคลบ้านจัดสรรต้องจัดทำรายงานประจําปีที่แสดงผลการดําเนินงาน งบดุล และบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับรองและใช้เป็นเอกสารหลักฐานเพื่อยื่นเสียภาษีประจำปีสะดวกรวดเร็วและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ช่องทางการติดต่อ

FB : Property Management Service

Website : https://pmserviceth.com/

นิติบุคคล อาคารชุด ยื่นงบ ที่ไหน

ยื่นงบการเงินต่อ กรมที่ดินภายในจังหวัดภายใน 3 เดือนนับวันแตสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องยื่นภาษีไหม

3. นิติบุคคลฯ เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้น นิติบุคคลฯ จึงไม่ต้องยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษี และไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด

นิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ เพราะเหตุใด

นิติบุคคลอาคารชุด เป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุุคล แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ตามที่กฏหมายกำหนด

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไหม

นอกจากนี้ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ยังมีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัว และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (ล.ป.10.4) ต่อสรรพากรพื้นที่ในท้องถิ่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้ ...