ร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

จากกรณีที่มีการวิพากวิจารณ์ถึงสถานประกอบการรายหนึ่ง ซึ่งได้มีการระบุว่า จะทำการหักเงินเดือนจากลูกจ้าง จำนวน 2,500 บาท สาเหตุเพราะลูกจ่างได้รับเงินเยี่ยวยาจากรัฐบาล ตามที่คณะรัฐมนตรี ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จำนวน 2,500 บาทนั้น

Show

 

ร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

 

   

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางโสภา เกียรตินิรชา รองอธิบดีและโฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า หากลูกจ้างรายใด ที่ถูกนายจ้าง หรือสถานประกอลการเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกหักเงินเดือน จากเงินเยียวยาของรัฐบาล

 

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จ่ายเงินเยียวยาให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สำหรับ 9 กลุ่มกิจการ เฉพาะจังหวัดที่กำหนด โดยลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินเยียวยา จำนวน 2,500 บาทนั้น และหากลูกจ้างถูกนายจ้างหักเงินจำนวนดังกล่าว ออกจากเงินเดือน สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546

 

ทั้งนี้ กรณีดังกล่าว นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใย ลูกจ้างที่อาจไม่ได้รับสิทธิตามวัตถุประสงค์ ที่ทางภาครัฐฯ ต้องการเยียวยาผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และหากการกระทำดังกล่าวของนายจ้าง ถือเป็นการละเมิดสิทธิ ที่ลูกจ้างพึงได้รับ จึงสั่งให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดำเนินการตามข้อกฏหมาย

 

อย่างไรก็ตาม เงินเยียวยาที่รัฐบาลจ่ายให้กับผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 คนละ 2,500 บาท เป็นเงินเยียวยาที่รัฐบาลจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเงินค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือน เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่าย เป็นค่าตอบแทนการทำงานให้กับลูกจ้าง ดังนั้น นายจ้างไม่สามารถนำเงินเยียวยา ตามมาตรา 33 ที่ลูกจ้างได้รับ มาหักจากค่าจ้างได้ ดังนั้น จึงขอเตือนนายจ้าง ที่คิดจะหักค่าจ้าง ไม่ว่าลูกจ้างจะยินยอมหรือไม่ หากฝ่าฝืนมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ลูกจ้างต้องมั่นใจว่าพวกเขาทราบกฎเกี่ยวกับค่าจ้าง และเงื่อนไขในการทำ งานอื่นๆ ของนายจ้าง ลูกจ้างสามารถถูกจ้างงานได้ในสถานะ:

  • เต็มเวลา
  • ไม่เต็มเวลา หรือ
  • ชั่วคราว(casual).

อัตราค่าจ้างขึ้นต่ำที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้างนั้นมีอยู่หลายอัตราซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทงานของลูกจ้างคนนั้นๆ ในฐานะแนวทางปฏิบัติ ลูกจ้างที่อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ควรได้รับค่าจ้างอย่างน้อยชั่วโมงละ $21.38 หรือ $26.73 หากพวกเขาไม่มีสิทธิลางานโดยได้รับค่าจ้าง ท่านสามารถใช้เครื่องคำนวณค่าจ้างออนไลน์ของเรา (Pay Calculator) เพื่อหาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับงานต่างๆ

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ คือค่าจ้างขั้นต้นทั้งหมดของลูกจ้าง (จำนวนเงินค่าจ้างก่อนหักภาษี) นายจ้างต้องเก็บภาษีจากค่าจ้างที่จ่ายให้ลูกจ้าง

สำนักงานภาษีออสเตรเลีย (Australian Taxation Office – ATO) ให้คำแนะนำและข้อมูลเกี่ยวกับภาษี และกองทุนเงินเกษียน (superannuation) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดู เว็บไซต์ ATO

ร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

ลูกจ้างสามารถรับค่าจ้างเป็นเงินสด เช็คหรือโอนเข้าบัญชีธนาคารก็ได้ ลูกจ้างจะต้องได้รับเพย์สลิปสำหรับการจ่ายเงินทุกครั้ง

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ฟ้องร้องกับกรมแรงงานอย่างไรให้เรื่องจบ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง!? บทความนี้มีคำตอบ

ร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

สิ่งหนึ่งที่น่ากลัวอย่างมากในสังคมการทำงานคือ..

วันดี คืนดี อยู่ๆนายจ้างก็ไม่ยอมจ่ายเงินเดือนให้กับลูกจ้างด้วยสารพัดเหตุผล ทำให้ลูกจ้างที่รอคอยรับเงินเดือนอยู่เกิดความเดือดร้อนไปตามกัน

ในกรณีนี้ หลายคนคงเกิดความสงสัยว่าถ้าหากนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนให้ควรทำอย่างไร ไปฟ้องร้องต่อศาลหรือกรมแรงงานดีกว่ากัน!?

ถ้าหากใครกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาที่แก้ไม่ตกนี้ รับรองว่าบทความในวันนี้จะช่วยไขความกระจ่าง ขจัดม่านหมอกแห่งความสงสัยให้กันได้อย่างแน่นอน

เล่ห์กลหลอกกรมแรงงานของนายจ้าง ที่มักทำให้ลูกจ้างแพ้การฟ้องร้อง

ร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ถ้าหากกล่าวกันตามกฎหมายก็คือการ “เลิกจ้างแบบไม่ยอมออกหนังสือเลิกจ้างอย่างเป็นทางการ” เพียงแต่การสร้างสถานการณ์ หรือใช้วาจาทำให้ลูกจ้างเข้าใจผิดว่าตัวเองถูกเลิกจ้างจนไม่มาทำงานอีก แต่เมื่อไปฟ้องร้องกับกรมแรงงานและศาล นายจ้างก็จะใช้กลยุทธ์บอกว่าไม่ได้ทำการเลิกจ้างอย่างเป็นทางการ ในขณะที่ลูกจ้างที่เข้าใจผิดไม่มาทำงานหลายวัน หรือเป็นเดือนก็จะถูกนายจ้างยกมาเป็นเหตุผลในชั้นศาลว่าหนีงานทำให้บริษัทเสียหาย ทำให้ลูกจ้างมักแพ้คดีฟ้องร้องขึ้น

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน = การเลิกจ้าง หรือเปล่า!?

ร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

ตามกฎหมายแล้วการเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานอะไร (*แต่ควรมีพยาน) สามารถทำการเลิกจ้างทางวาจาได้ หรือ ถ้านายจ้าง “ไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานต่อไปหรือไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง” ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย

การสร้างหลักฐานสนับสนุนการฟ้องร้องกับกรมแรงงาน กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

ร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

ถ้าหากนายจ้างทำการเลิกจ้างด้วยวาจา ไม่ยอมจ่ายเงินเดือน ขอแนะนำว่าควรเดินทางไปพบพนักงานตรวจแรงงานของกรมแรงงานทันที ทางกรมจะทำการโทรศัพท์สอบถามนายจ้างว่ามีการเลิกจ้างงานจริงหรือไม่ หากเป็นจริงให้ทำการยื่นคำร้องต่อกรมแรงงานเพื่อนำเรื่องสู่กระบวนการฟ้องศาล หรือเดินทางไปยังสถานีตำรวจท้องที่เพื่อลงบันทึกประจำวันเอาไว้เป็นหลักฐาน

ต้องการร้องเรียนกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนกับกรมแรงงาน ติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ใดได้บ้าง!?

ร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

สำหรับกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน แล้วมีความต้องการที่จะฟ้องกรมแรงงาน รวมไปถึงสอบถามข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ สามารถโทรสอบถามสถานที่ร้องเรียนได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1546 หรือ 0 2246 3192

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน หรือจ่ายค่าแรงไม่เป็นธรรมหากถูกกรมแรงงานฟ้องร้องโทษหนักแค่ไหน!?

ร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ค่าแรงหรือการจ่ายค่าแรงที่ต่ำกว่ากฎหมายได้กำหนดเอาไว้ เช่น ค่าจ้างในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา เป็นต้น ถือว่าเป็นความผิดที่สามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะต้องเสียค่าดอกเบี้ยให้กับลูกจ้าง และต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับจำนวนของอัตราดอกเบี้ยที่ทางกรมแรงงานกำหนดเอาไว้กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน แล้วเกิดการฟ้องร้องกันขึ้น คือ ร้อยละ 15 ต่อปี และถ้าหากเป็นกรณีจงใจไม่จ่าย ต้องจ่ายเพิ่มอีกร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างทุก 7 วัน

อ้างอิง : คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ฎ.6020/2545

“ลูกจ้างยื่นใบลาออกต่อนายจ้าง ย่อมถือเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้าง และการเลิกสัญญาจ้างมีผลในวันที่ลูกจ้างแจ้งไว้ในใบลาออกนั้น การเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างได้แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่จำเป็นต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือตกลงหรืออนุมัติแต่อย่างใด

ความรับผิดในดอกเบี้ย

เมื่อนายจ้างกระทำผิดหน้าที่โดยไม่จ่ายค่าจ้างเงินเดือนตามเวลาที่กำหนดไว้ตามวันแห่งปฏิทิน หรือเมื่อถึงเวลาจ่ายอื่นๆ ถือว่านายจ้างผิดนัดชำระหนี้ (มาตรา 204 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) ซึ่งลูกจ้างสามารถ กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้นายจ้างชำระหนี้หากยังไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดดังกล่าว ลูกจ้างชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ (มาตรา 387) และกรณีนี้เป็นกรณีที่นายจ้างผิดหน้าที่หลักในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ซึ่งทำให้ต้องรับผิดในดอกเบี้ย ตามอัตราร้อยละ 7 ต่อปี(มาตรา 224 ) หรืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี กรณีเป็นนายจ้างที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานด้วย นอกจากนั้นยังอาจต้องรับผิดในเงินเพิ่มตามกฎหมายร้อยละ 15 ทุกระยะ 7 วัน นับแต่วันผิดนัด หากนายจ้างจงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุอันสมควร (มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541)

กำหนดให้สิทธิพิเศษแก่ลูกจ้าง

กฎหมายแพ่งกำหนดให้ลูกจ้างเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ในลำดับเดียวกับค่าภาษีอากร(มาตรา 253(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) เพื่อคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่าในทางเศรษฐกิจให้ได้รับชำระค่าจ้างเงินเดือนก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์สามัญ (มาตรา 257) หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษ (มาตรา 259 (7) หรือ 272 ) แล้วแต่กรณี ดังที่จะได้กล่าวในเรื่องสิทธิของลูกจ้าง ความเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์นี้มีได้สำหรับค่าจ้างเงินเดือนที่ค้างชำระ รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือเงินประเภทอื่นด้วยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่นายจ้าง

บทสรุปส่งท้าย : กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ฟ้องร้องกับกรมแรงงานได้หรือเปล่า!?

ร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน

กรมแรงงานเป็นหน่วยงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับสิทธิที่เหมาะสมตามกฎหมาย…

ดังนั้น เมื่อเกิดกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนก็สามารถที่จะฟ้องกรมแรงงานได้ในทันที อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรมแรงงานเองเป็นหน่วยงานราชการและขั้นตอนการฟ้องศาลก็ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน

การฟ้องร้องกับนายจ้างจึงอาจจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาสักหน่อยกว่าที่จะสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จึงควรใจเย็นสักนิด เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถขับเคลื่อนไปจนเสร็จสิ้นกระบวนการ…

นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างแจ้งความได้ไหม

. ถ้านายจ้างไม่จ่ายตามที่บอก นายจ้างมีโทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสน แล้วจะดำเนินคดีกับนายจ้างได้อย่างไรล่ะ อันนี้คือปัญหาที่หลายคนอยากรู้ จริงๆ แล้วสามารถเอาหลักฐานไปแจ้ง ตร ดำเนินคดีได้เลย เพราะกรณีแบบนี้เป็นคดีอาญา ซึ่ง ตร เค้าสามารถดำเนินคดีได้ ตร สามารถสอบสวนคดีนี้ได้

ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนจะทำอย่างไร

ถ้าหากนายจ้างทำการเลิกจ้างด้วยวาจา ไม่ยอมจ่ายเงินเดือน ขอแนะนำว่าควรเดินทางไปพบพนักงานตรวจแรงงานของกรมแรงงานทันที ทางกรมจะทำการโทรศัพท์สอบถามนายจ้างว่ามีการเลิกจ้างงานจริงหรือไม่ หากเป็นจริงให้ทำการยื่นคำร้องต่อกรมแรงงานเพื่อนำเรื่องสู่กระบวนการฟ้องศาล หรือเดินทางไปยังสถานีตำรวจท้องที่เพื่อลงบันทึกประจำวันเอาไว้เป็น ...

จ่ายเงินเดือนช้า ผิดกฎหมายไหม

หรือเมื่อถึงเวลาจ่ายอื่นๆ ถือว่านายจ้างผิดนัดชำระหนี้ (มาตรา 204 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) ซึ่งลูกจ้างสามารถ กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้นายจ้างชำระหนี้หากยังไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดดังกล่าว ลูกจ้างชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ (มาตรา 387) และกรณีนี้เป็นกรณีที่นายจ้างผิดหน้าที่หลักในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ซึ่งทำให้ต้อง ...

ร้องเรียนนายจ้างได้ที่ไหน

หากนายจ้างปฏิบัติไม่สอดคล้องตามกฎหมาย ท่านสามารถร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่/จังหวัดที่ท่านทำงานหรือที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10.